การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยามี อะไร บาง

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยา

การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยามี อะไร บาง
1. ลักษณะทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม บริเวณที่เป็นที่ตั้งศูนย์กลาง ของอาณาจักรอยุธยาคือกรุงศรีอยุธยา และบรรดาหัวเมืองชั้นในที่อยู่โดยรอบปริมณฑล สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูกและทำการค้ากับต่างชาติ ทำให้การดำเนินชีวิตเกี่ยวพัน กับเรื่องการทำมาหากินและการค้าขาย นอกจากนี้การมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ในอาณาจักรก็ช่วยสร้างสรรค์ภูมิปัญญาทางด้านศิลปกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับไม้ เป็นต้น
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยามี อะไร บาง
2. ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม อาณาจักรอยุธยามีการปกครองแบบสังคมศักดินา  ประกอบด้วยคนชั้นมูลนายและไพร่ มีสถาบัน พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจและการปกครอง ราษฎรนับถือพระพุทธศาสนาผสมผสานกับคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ดังนั้นการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาจึงเกี่ยวกับ การรู้จักควบคุมกำลังคนให้เป็นระเบียบ เพื่อควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในสังคมโดยใช้กุศโลบายทางศาสนาเป็นเครื่องมืออบรบสั่งสอนผู้คน
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยามี อะไร บาง
3. การรับอิทธิพลจากภายนอก อาณาจักรอยุธยามีการติดต่อค้าขาย กับชาวต่างชาติทั้งในทวีปเอเชีย และยุโรป ทำให้สามารถนำเอาภูมิปัญญาบางอย่าง ของชาติเหล่านั้นมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สำหรับ ชาวอยุธยาจนกลายเป็นภูมิปัญญาไทย เช่น ทางด้านนาฏศิลป์ ดนตรี ศิลปกรรม วรรณกรรม อาหารการกิน และการแต่งกาย เป็นต้น

การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยา

การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยามี อะไร บาง
การสร้างภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยานั้นมี อยู่มากมายหลายชนิดที่ทำให้คนไทย สมัยอยุธยาสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ท่ามกลางสภาพแวดล้อม ที่มีความหลากหลาย ซึ่งภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยาเน้นให้เห็นถึงความสามารถ และสติปัญญาในการแก้ไขปัญหาสำหรับการดำรงชีวิต ของคนไทยสมัยนั้น ภูมิปัญญาไทย เหล่านั้นมีทั้งสิ่งที่เป็นนามธรรม และสิ่งที่เป็นรูปธรรม และมีมากมายหลายประเภท เช่น ด้านการเมือง การปกครอง ด้านภาษาและวรรณกรรมและด้านศิลปกรรม เป็นต้น ในพัฒนาการทางด้านต่างๆ ก็มีภูมิปัญญาแฝงอยู่ด้วย เช่น
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยามี อะไร บาง
1. ภูมิปัญญาที่เป็นนามธรรม ซึ่งเป็นคติความเชื่อของข้อห้าม ข้อปฏิบัติในวิถีชีวิตของผู้คน เช่น
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยามี อะไร บาง
ก) ความเชื่อทางไสยศาสตร์ ซึ่งปรากฏในวรรณกรรม เรื่องลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยามี อะไร บาง
ขุนช้างขุนแผน และตำราพิชัยสงคราม เช่นฤกษ์ยาม เวทมนตร์คาถา เครื่องรางของขลัง
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยามี อะไร บาง
ข) ความเชื่ออันเนื่องมาจากศาสนา เช่น เรื่องบุญ-กรรม การประพฤติในศีลในธรรม การทำบุญกุศลเพื่อการเกิดใหม่ที่ดีในภพหน้า เป็นต้น
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยามี อะไร บาง
 2. ภูมิปัญญาในด้านการเมืองการปกครองในสมัยอยุธยา คือ
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยามี อะไร บาง
ก) การสร้างสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นศูนย์รวมของคนไทย ให้มีความเข้มแข็ง และมีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพของราษฎร  เมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงนำลัทธิเทวยราชเอาจากเขมรมาดัดแปลงกับสังคมไทย  ทำให้สถานะ ของพระมหากษัตริย์เปรียบเสมือน  
เป็นสมมติเทพ ขณะเดียวกันพระมหากษัตริย์ก็ยังทรง เป็นธรรมราชา ตามแบบอย่างสุโขทัย 
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยามี อะไร บาง
ข) การควบคุมกำลังคนสำหรับป้องกันราชอาณาจักร และสำหรับราชการแผ่นดิน การที่อาณาจักรมีอาณาเขตกว้างขวางมาก และมีผู้คนจำนวนมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีศึกสงครามกับอาณาจักร ใกล้เคียงกำลังไพร่พลจึงมีความสำคัญต่ออาณาจักรอยุธยา การจัดระบบไพร่ในสมัยอยุธยาจึงเป็นภูมิปัญญาไทย ที่สำคัญคือชายฉกรรจ์ทุกคนที่เรียกว่า "ไพร่" ต้องสังกัดมูลนาย มิฉะนั้นไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เมื่อลงทะเบียนสักเลกสังกัดมูลนายแล้ว ต้องมีการกำหนดระยะเวลา ในการใช้แรงงานของชายฉกรรจ์เหล่านี้ทั้งในยามสงบ และในยามสงครามที่เรียกว่า "การเข้าเวร" โดยมีกำหนดเวลาปีละ 6 เดือน คือใช้แรงงานให้กับหลวง 1 เดือน  และออกเวรมาอยู่กับครอบครัว 1 เดือนสลับกันไป การจัดระบบไพร่ทำให้ทางราชการ ทราบจำนวนของไพร่พลผ่านทางมูลนาย  และสามารถเกณฑ์ผู้คนที่เป็นไพร่พลเหล่านี้ได้ 
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยามี อะไร บาง
3. ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรม ส่วนใหญ่เนื่องมาจากพระพุทธศาสนาของผู้คนในอาณาจักร ซึ่งแบ่งเป็นด้านต่างๆ คือ
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยามี อะไร บาง
 ก)ประติมากรรม เกี่ยวกับการสร้างพระพุทธรูป แบ่งเป็น 3 ระยะ คือระยะที่ 1 นิยมสร้าง พระพุทธรูปศิลปะอู่ทองที่ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัยปางมารวิชัยและสมาธิ ประดิษฐานไว้กลางแจ้งเช่นที่วัดมงคลบพิตร วัดพนัญเชิง และวัดธรรมิกราช ลักษณะของพระพุทธรูปแบบอู่ทอง คือ มีไรพระศกและชายจีวรปลายตัดเป็นเส้นตรง ระยะที่ 2 นิยมสร้างพระพุทธรูปประทับยืน ทรงเครื่อง เช่นที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ และระยะที่ 3
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยามี อะไร บาง
ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง นิยมสร้างปางห้ามสมุทรทรงเครื่อง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช นิยมสลักพระพุทธรูปด้วยศิลา  เชื่อกันว่าในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองไทยปราบเขมรได้จึงนิยมใช้หิน (ศิลา) สลักพระพุทธรูปตามอย่างเขมรอยู่ระยะหนึ่ง ลักษณะเฉพาะคือมีพระเนตร  และพระโอษฐ์เป็นขอบสองชั้น หรือมีพระมัสสุบางๆ อยู่เหนือพระโอษฐ์ พระพุทธรูปทรงเครื่องมี 2 แบบ คือ แบบทรงเครื่องใหญ่ และแบบทรงเครื่องน้อย เป็นลักษณะแบบอยุธยาอย่างแท้จริง
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยามี อะไร บาง
ข) สถาปัตยกรรม ระยะแรกนับตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธาน
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยามี อะไร บาง
จนถึงแผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถ นิยมสร้างแบบศิลปะลพบุรีหรืออู่ทองเป็นพระปรางค์ เช่น พระปรางค์ที่วัดพุทไธศวรรย์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดราชบูรณะ ระยะที่ 2 เมื่อสมเด็จพระบรมไตร-โลกนาถ เสด็จขึ้นไปเมืองพิษณุโลกจึงได้รับแบบอย่างสถาปัตยกรรม ศิลปะสุโขทัยเข้ามาด้วย โดยมักสร้างพระสถูปอันเป็นหลักของพระอาราม เป็นเจดีย์แบบทรงลังกา มากกว่าการสร้างพระปรางค์ เช่น เจดีย์ใหญ่ 3 องค์ ในวัดพระศรีสรรเพชญ พระเจดีย์ใหญ่วัดชัยมงคล ระยะที่ 3
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยามี อะไร บาง
ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ทรงนิยมถ่ายแบบอย่างพระปรางค์ และสถาปัตยกรรมของขอมมาสร้างในอยุธยา เช่น ที่วัดไชยวัฒนาราม และนิยมสร้างพระเจดีย์เหลี่ยมหรือเจดีย์ย่อมุม ไม้สิบสองขึ้นด้วย องค์ที่งดงามมากคือที่วัดชุมพลนิกายาราม และในสมัยพระนารายณ์มหาราช มีชาวฝรั่งเศสเข้ามารับราชการในกรุงศรีอยุธยา จึงมีการสร้างตำหนักและอาคาร 2 ชั้นที่ก่อด้วยอิฐ ซึ่งมีความมั่นคงและถาวรมากขึ้น ต่างจากเดิมที่ใช้อิฐ หรือศิลาเฉพาะการสร้างศาสนสถานเท่านั้น ระยะที่ 4 ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจนถึงเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2310 การสร้างเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองยังเป็นที่นิยมกัน เช่น เจดีย์วัดภูเขาทอง โบสถ์วิหารสมัยอยุธยาตอนปลาย มักทำฐานและหลังคาเป็นเส้นอ่อนโค้ง มักใช้เสากลมก่ออิฐสอปูน ตรงหัวเสาจะมีบัวทำเป็นบัวตูม เป็นต้น
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยามี อะไร บาง
ค) จิตรกรรม จิตรกรรมในสมัยอยุธยา ส่วนใหญ่จะเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา ในระยะแรกได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะแบบลพบุรี สุโขทัยและลังกา โดยมีบางภาพที่มีลักษณะแข็งและหนัก ใช้สีดำ ขาว เหลือง และแดง มีการปิดทองบนภาพบ้างเล็กน้อยเช่นภาพเขียนบนผนังในกรุพระปรางค์วัด ราชบูรณะ ระยะต่อมามักเป็นภาพวาดเกี่ยวกับเรื่องไตรภูมิมีภาพพุทธประวัติประกอบนิยม ใช้สีเบญจรงค์บนพื้นขาวหรือสีอ่อน ในสมัยสมเด็จพระเชษฐาธิราช จนสิ้นสุดสมัยอยุธยาจิตรกรรมอยุธยา แสดงให้เห็นถึงลักษณะของจิตรกรรมไทยบริสุทธิ์อย่างสมบูรณ์ สีที่วาดนิยมใช้หลายสี นิยมปิดทองลงบนรูป และลวดลาย แต่การเขียนภาพต้นไม้ ภูเขา และน้ำ แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปะจีนอยู่บ้าง
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยามี อะไร บาง
ง)ประณีตศิลป์ ศิลปะแบบอยุธยาที่พบ ได้แก่ เครื่องไม้ เช่น ประตูจำหลัก ธรรมาสน์ ตู้หนังสือพระไตรปิฎก หีบใส่หนังสือสวดและหนังสือเทศน์ เครื่องไม้เหล่านี้ทำฐานหรือหลังคาเป็นแบบอ่อนโค้ง นอกจากนี้วัตถุที่ขุดพบในพระเจดีย์หรือพระปรางค์ต่างๆ เช่น วัตถุที่ขุดพบที่พระปรางค์วัดราชบูรณะ ส่วนงานเรื่องรัก เป็นการประดิษฐ์เกี่ยวกับเครื่องมุก ลายรดน้ำ และการประดับกระจก รวมทั้งการทำหัวโขนด้วย และงานเครื่องถมและเครื่องคร่ำพบในสมัยอยุธยาตอนปลาย เครื่องถ้วยชามนิยมใช้สี เบญจรงค์ คือ ดำ แดง ขาว เขียวหรือคราม และเหลือง เป็นลายเทพพนมหรือกนก เป็นต้น
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยามี อะไร บาง
จ) นาฏศิลป์ นับตั้งแต่สมัยพระรามาธิบดีที่ 1 จนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม การแสดงแต่เดิมเป็นการละเล่นพื้นบ้าน ส่วนใหญ่เป็นการฟ้อนรำในพิธีกรรมต่างๆ โดยศิลปะการแสดงเริ่ม มีแบบแผนขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ซึ่งได้รับแบบอย่างมาจากละครหลวงของเขมร โดยโปรดให้มี "การเล่นดึกดำบรรพ์" ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเขมร ภายหลังได้พัฒนามาเป็นนาฎศิลป์ไทยประเภทหนึ่งที่เรียกว่า "โขน" ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นต้นมา ศิลปะการแสดงที่สำคัญของไทย คือ โขน ละคร และระบำ ซึ่งใช้ผู้ชายเป็นผู้แสดง และมีการฟ้อนรำที่ผู้หญิงแสดงเป็นหมู่
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยามี อะไร บาง
ในสมัยพระเจ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระบรมโกศ พระองค์โปรดการเล่นละครมาก จึงได้มีการส่งเสริมการละครจนเจริญรุ่งเรืองสืบต่อมา สมัยนี้มีละคร 2 ประเภท คือ ละครใน ใช้ตัวละครเป็นหญิงทั้งหมด และละครนอกใช้ตัวละครเป็นผู้ชายทั้งหมด
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยามี อะไร บาง
ฉ) วรรณกรรม ในสมัยอยุธยา ได้มีการสร้างสรรค์ทาง ด้านภาษาและวรรณกรรมที่สะท้อนถึง ภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยาได้หลายลักษณะ โดยในระยะแรกเป็นแนวสดุดีและเกี่ยวกับศาสนา เช่น ลิลิตโองการแช่งน้ำใช้ในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ลิลิตยวนพ่ายเพื่อสดุดีชัยชนะของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเหนือศึกล้านนา มหาชาติคำหลวง ต่อมาเป็นแนวการสั่งสอนและยอพระเกียรติ เช่น กาพย์มหาชาติ ส่วนตอนปลายนิยมแต่งเป็นกาพย์เห่เรือ กาพย์ห่อโคลง โดยเป็นแนวศาสนา บันทึกเหตุการณ์และความรัก วรรณกรรมสำคัญเช่น พระมาลัยคำหลวง ตัวอย่างวรรณกรรมด้านวิชาการ เช่น หนังสือจินดามณี และด้านศาสนาและคำสอน เช่น พระมาลัยคำหลวง
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยามี อะไร บาง
หนังสือจินดามณีแต่งโดยพระโหราธิบดี เป็นวรรณคดีที่มีคุณค่าทั้งทางด้านภาษา และด้านการเมือง แต่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นแบบเรียนตำราเรียนเล่มแรกของไทย ที่กล่าวถึงอักขรวิธีว่าด้วยพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ของไทย เป็นแบบฝึกหัดอ่านและฝึกหัดเขียนภาษาไทยให้แตกฉาน รวมทั้งมีการอธิบายการแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนประกอบตัวอย่างด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชาวเมือง อ่านออกเขียนได้ ไม่ไปเข้ารีตตามแบบฝรั่ง เป็นภูมิปัญญาไทยทางด้านภาษา และวรรณกรรมสำหรับใช้ต่อต้านการแทรกแซงทาง วัฒนธรรมของชาติตะวันตก
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยามี อะไร บาง
พระมาลัยคำหลวงเป็นวรรณกรรม ที่เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ทรงนิพนธ์ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เนื้อหากล่าวถึงพระมาลัยเสด็จขึ้นมา จากการโปรดสัตว์ในแดนนรก พบกับชายผู้หนึ่งซึ่งถวายดอกบัว 3 ดอกให้ พระมาลัยจึงนำดอกบัว นั้นไปถวายพระจุฬามณี และได้พบกับพระอินทร์จึงสนทนากันถึง เรื่องการทำความดี และผลของการกระทำความดีต่างๆ หลังจากนั้นพระมาลัยจึงนำเนื้อความเหล่านั้น กลับมาเทศนาโปรดมนุษยโลก นับเป็นกรอบ หรือแบบแผนในการดำเนินชีวิตตามคติพระพุทธศาสนา ของชาวอยุธยา เป็นการปลูกฝังคนไทยให้เป็นคนดี สร้างกุศลกรรม ละเว้นอกุศลกรรม รู้จักเรื่องบาป บุญ นรก สวรรค์ การทำบุญ และการได้เกิดในยุคพระศรีอาริย์ เป็นวิธีการสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นในจิตใจ