ข้อใดคือราชวงศ์ที่ครองราชย์สมบัติยาวนานที่สุดในสมัยกรุงศรีอยุธยา

๘ ราชวงศ์ปกครองราชอาณาจักรไทย! ยาวนานที่สุดคือ “จักรี” สืบมาจากราชวงศ์พระร่วง!!

เผยแพร่: 5 เม.ย. 2564 10:11   ปรับปรุง: 5 เม.ย. 2564 10:11   โดย: โรม บุนนาค


วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๔ คือวันที่ราชวงศ์จักรีมีอายุยืนยาวมาถึง ๒๓๙ ปีแล้ว สร้างบ้านเมืองร่มเย็นและสงบสุขที่สุดในภูมิภาค ตั้งแต่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์กษัตริย์ของคนเผ่าไทยรวบรวมผู้คนสร้างราชอาณาจักรแห่งนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๗๙๒ และยืนยงตลอดมาโดยมีราชวงศ์ปกครองจนถึงปัจจุบัน ๘ ราชวงศ์

ก่อนหน้านั้น หลักฐานจากศิลาจารึกกล่าวว่า มีเมืองสุโขทัยมาก่อนแล้ว เป็นเมืองของคนเผ่าไทย ที่มีพ่อขุนศรีเนานำถมปกครอง เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ ขอมสมาดโขลนลำพง ขุนนางขอม ได้นำกำลังเข้ายึดเมืองสุโขทัยไว้ พ่อขุนผาเมือง โอรสพ่อขุนศรีเนานำถม เจ้าเมืองราด กับพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ผู้เป็นพระสหาย ซึ่งเป็นเมืองของคนเผ่าไทยเช่นกัน ได้ร่วมกันเข้ายึดกรุงสุโขทัยคืน แล้วสถาปนาพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีกรุงสุโขทัยเป็นเมืองหลวง

จึงถือได้ว่า ราชอาณาจักรไทยได้สถาปนาขึ้นใน พ.ศ.๑๗๙๒ มีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วง

กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ๑๒๐ ปี มีกษัตริย์ปกครอง ๙ พระองค์ อยู่ในราชวงศ์พระร่วงทั้งหมด ก่อนจะเข้ารวมกับกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๑๙๑๒

กรุงศรีอยุธยาสถาปนาขึ้นใน พ.ศ.๑๘๙๔ โดยพระเจ้าอู่ทอง เป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์อู่ทอง เป็นราชธานี ๔๑๗ ปี มีกษัตริย์ปครอง ๓๓ พระองค์ (ไม่นับขุนวรวงศาธิราช) อยู่ใน ๕ ราชวงศ์ คือ

ราชวงศ์อู่ทอง มีกษัตริย์ ๓ พระองค์ ครองราชย์รวมกันยาวนาน ๔๑ ปี

ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีกษัตริย์ ๑๓ พระองค์ ครองราชย์รวมกันยาวนาน ๑๗๘ ปี

ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ ๗ พระองค์ ครองราชย์รวมกันยาวนาน ๖๑ ปี

ราชวงศ์ปราสาททอง มีกษัตริย์ ๔ พระองค์ ครองราชย์รวมกันยาวนาน ๕๘ ปี

ราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ ๖ พระองค์ ครองราชย์รวมกันยาวนาน ๗๙ ปี

กรุงธนบุรี มีอายุอยู่ในช่วงสั้นเพียง ๑๕ ปี มีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นกษัตริย์เพียงพระองค์เดียว
กรุงรัตนโกสินทร์ สถาปนาขึ้นใน พ.ศ.๒๓๒๕ มีกษัตริย์ปกครอง ๑๐ พระองค์ อยู่ในราชวงศ์เดียว คือราชวงศ์จักรี ครองราชย์ยาวนานถึง ๒๓๙ ปีแล้ว

ราชวงศ์จักรีแม้จะห่างไกลจากราชวงศ์พระร่วงมาเป็นเวลาหลายร้อยปี แต่ก็มีหลักฐานว่าสืบเชื้อสายถึงกัน คือ
ได้ทราบกันแล้วว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระราชโอรสอีก ๒ พระองค์ที่ครองราชย์ต่อมา คือสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ อยู่ในราชวงศ์สุโขทัยที่สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์พระร่วง

พระราชธิดาองค์หนึ่งของสมเด็จพระเอกาทศรถได้สมรสกับพระยาราม ขุนนางเชื้อสายมอญลูกศิษย์พระมหาเถรคันฉ่อง ที่อพยพติดตามสมเด็จพระนเรศวรเข้ามาเมื่อครั้งประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง มีธิดาปรากฏชื่อเป็นที่รู้จักกันทั่วไปคือ หม่อมบัว ซึ่งได้รับโปรดเกล้าฯเป็น พระองค์เจ้า กรมพระเทพามาตย์ พระนมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และเป็นที่รู้จักกันดีในนาม “เจ้าแม่วัดดุสิต”

หม่อมบัวสมรสกับหม่อมเจ้าเจิดอำไพ มีบุตรธิดา ๓ คน คือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) แม่ทัพเอกของสมเด็จพระนารายณ์ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ราชทูตของสมเด็จพระนารายณ์ และท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมของสมเด็จพระนารายณ์

เจ้าพระยาโกษาปาน มีบุตรชื่อ ขุนทอง รับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ ๘ หรือพระเจ้าเสือ ได้เป็นพระอัษฎาเรืองเดช ตำแหน่งสุดท้ายได้เป็น เจ้าพระยาวรวงศาธิราช เสนาบดีคลัง

เจ้าพระยาวรวงศาธิราชมีบุตรชายชื่อ ทองคำ รับราชการกับเจ้าฟ้าเพชร กรมพระราชวังบวร มีตำแหน่งเป็น จมื่นมหาสนิท และได้ย้ายครอบครัวไปอยู่ที่หมู่บ้านสะแกกรัง เมืองอุทัยธานี เพื่อรวบรวมสิ่งของสำหรับกองทัพ เช่น ช้าง ข้าว และไพร่พล ให้กรมพระราชวังบวร

ในระหว่างที่อยู่หมู่บ้านสะแกกรังนี้ ภรรยาของจมื่นมหาสนิทได้คลอดบุตรเป็นชาย ให้ชื่อว่า ทองดี ครั้นปี พ.ศ.๒๒๕๑ กรมพระราชวังบวรได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ จมื่นมหาสนิทได้เลื่อนขึ้นเป็น พระยาราชนุกูล ปลัดทูลฉลองกรมมหาดไทย จึงย้ายครอบครัวกลับมาอยู่กรุงศรีอยุธยา และเมื่อทองดีมีอายุเข้ารับราชการได้ จึงได้รับโปรดเกล้าฯเป็น หลวงพิพิธอักษร สังกัดกรมมหาดไทย จนได้เลื่อนขึ้นเป็น พระอักษรสุนทร เสมียนตรากรมมหาดไทย

ในขณะเป็นหลวงพิพิธอักษรนั้น ทองดีได้สมรสกับ ดาวเรือง หลานสาวของเจ้าพระยาอภัยราชา สมุหนายก มีบุตรสาวคนแรกชื่อ สา บุตรคนที่สองเป็นชายชื่อ ราม คนที่สามเป็นหญิงชื่อ แก้ว คนที่สี่เป็นชายชื่อ ทองด้วง และคนที่ห้าเป็นชาย ชื่อ บุญมา

“ทองด้วง” ก็คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระปฐมบรมราชวงศ์จักรี และพระผู้สถาปนากรุงเทพมหานคร

พระองค์จึงสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาโกษาปาน และสืบสาวย้อนไปถึงเจ้าแม่วัดดุสิต สมเด็จพระเอกาทศรถ ราชวงศ์สุโขทัย และราชวงศ์พระร่วง

ราชอาณาจักรไทยยั่งยืนอย่างมั่นคงโดยยึดมั่นในระบอบมมีพระมหากษัตริย์กษัตริย์เป็นประมุขมาตั้งแต่ พ.ศ.๑๗๙๒ ที่สถาปนากรุงสุโขทัย จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๗๗๑ ปีแล้ว โดยเฉพาะกษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ทรงยึดมั่นในทศพิธราชธรรม เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก จึงทำให้บ้านบ้านร่มเย็นผาสุก เจริญรุ่งเรื่อง แม้ในยามเกิดวิกฤติจากการล่าอาณานิตม ก็ทรงนำชาติรอดปลอดภัยมาได้อย่างมหัศจรรย์ ในขณะที่ประเทศรอบด้านต้องสูญเสียเอกราช ถูกปล้นทรัพย์สมบัติของชาติและทรัพยากรของประเทศไป ต่างตกอยู่ในความยากจนข้นแค้น ประชาชนจึงพร้อมใจกันถวายความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

แต่วันนี้กลับมีคนที่มาอาศัยแผ่นดินเกิด ต้นตระกูลเพิ่งจะหนีอดตายเข้ามาอาศัยได้ไม่นาน แต่กอบโกยไปจนมั่งคั่ง ลูกคาบช้อนทองออกมาไม่ต้องทำมาหากินก็รวย และยังไม่ได้ทำคุณให้แผ่นดินเกิดแม้แต่น้อย มีแต่สร้างความวุ่นวายและสร้างคดีให้ตัวเองแบบไม่มีน้ำยามาตลอด กลับเหิมเกริมคิดจะล้มระบอบกษัตริย์ เปลี่ยนประเทศที่มาอาศัยให้เป็นสาธารณรัฐตามคำยุยงของฝรั่งประเภท “หมาหางด้วน” ด้วยหวังว่าเจ้านายจะให้ครองอำนาจแทนกษัตริย์

แม้จะมีคนบางคนหลงเชื่อเพราะหลงคารมและรู้ไม่ทัน ทั้งไม่รู้เบื้องหลังอันชั่วร้าย แต่ไม่นานก็จะรู้ คงไม่มีใครโง่ได้ตลอดกาล เชื่อได้ว่าประชาชนของประเทศนี้ไม่มีใครนิ่งดูดายให้สถาบันหลักของชาติและเป็นสิ่งที่ตนเคารพเทิดทูน มีคนเหิมเกริมลบหลู่ถึงขั้นนี้ได้ เดินชนเสา ยังแค่คิ้วแตก ถ้าเอาหัวชนกำแพง จะเป็นยังไง...แล้วจะรู้

พระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์สมบัตินานที่สุดในสมัยกรุงศรีอยุธยาคือกษัตริย์พระองค์ใด

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา พระราชโอรสในพระเจ้าปราสาท พระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2175 ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2199 – 2231 ตลอดระยะเวลาครองราชย์ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ

ราชวงศ์แรกที่ครองกรุงศรีอยุธยา คือ ราชวงศ์อะไร

ราชวงศ์อู่ทอง (ครั้งที่ 1) 1. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1. (พระเจ้าอู่ทอง)

กษัตริย์พระองค์แรกและองค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา คือข้อใด

ราชวงศ์บ้านพลูหลวง.

กษัตริย์องค์สุดท้ายสมัยกรุงศรีอยุธยาก่อนเสียกรุงครั้งที่ ๒ คือใคร

สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยานั้น มีพระนามเดิมว่า "กรมขุนอนุรักษ์มนตรี" เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ พระองค์แรก คือ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ หรือเจ้าฟ้ากุ้ง ผู้ต้องพระราชอาญาสิ้นพระชนม์ไปแล้ว