ปรับตัวเข้ากับที่ ทำงาน ไม่ได้

  • หน้าแรก

  • บทความที่เกี่ยวข้อง

  • Management Tips

  • ปรับตัวให้เข้ากับงานที่(ไม่)ถูกใจ


     Post Today - จะว่าไปก็มีคนอยู่จำนวนไม่น้อยที่ได้ทำงานในสิ่งที่ตัวเองชอบ ชนิดว่าถูกใจใช่เลย นี่แหละฉัน!! เรียกว่าเรียนจบมาโดยตรงทางด้านไหนแล้วก็ได้มีโอกาสใช้วิชาความรู้นั้นชนิด เต็มความสามารถ แล้วก็ไม่รู้สึกเบื่อหน่ายกับงานที่ทำแม้แต่น้อย มีแต่จะเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ไอเดียบรรเจิดตลอดเวลา เพราะกลุ่มคนพวกนี้ถือว่างานเป็นใหญ่ อาจจะเพราะถูกสายอาชีพทำให้รู้สึกว่างานตนเองมีค่าและยิ่งใหญ่เสมอใน สายตาตนเอง รวมถึงสายตาคนรอบข้างที่ภูมิใจกับงานของตนเองในเมื่อมีคนที่สมหวังในหน้าที่การงาน แน่นอนอีกฟากหนึ่งของอารมณ์ ความรู้สึก พวกเขาอาจจะแทบเหวี่ยงแห จับปลาประหนึ่งว่า ร่อนใบสมัครไปทุกที่ทุกแห่ง ตำแหน่งหนึ่งไม่ได้ ตำแหน่งสองก็ยังดี หรือไม่อย่างนั้นตำแหน่งไหน ก็ได้ ทำงานอะไรก็ได้ ขอเพียงให้บริษัทเปิดรับเข้าไปทำงาน ไปพิสูจน์ฝีมือกันดูสักตั้งว่า แม้ไม่ได้เรียนมาทางด้านนี้แต่จะสามารถทำงานนี้ได้จริงหรือ ถ้าไม่แบบเทคนิเชียลจริงๆ เชื่อว่าก็มีหลายคนเคยผ่านประสบการณ์ตรงนี้มาแล้ว ซึ่งบรรยากาศแบบนี้จะเห็นกันมากในบรรดานักศึกษาจบใหม่ แล้วกำลังมองหางานที่ถูกใจ แต่บังเอิญงานที่ถูกใจดันมี ผู้แข่งขันล้นตลาด ตนเองจึงถูกกวาดตลาดที่อาจ (ไม่) ถูกใจในตอนแรกนักแต่หากมองโลกในแง่ดีเข้าไว้ มีงานทำดีกว่าเดินตกงาน เหงื่อตก เพราะมัวแต่รองานที่ถูกใจเรียกไปสัมภาษณ์ ซึ่งอนาคตก็เห็นกันชัดๆ ว่ายาก หากไม่ได้เป็นลูกเศรษฐีเปิดบริษัท หรือเป็นทายาทธุรกิจพันล้าน เอาง่ายๆ แค่ว่าตอนนี้มีแต่บทตัวประกอบ แต่ตัวเองสมัครไปเป็นพระเอก นางเอก ถามว่าถ้าเป็นอย่างนี้แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ตัวประกอบเขาแสดงอะไร แท้จริงแล้วมีความสำคัญอย่างไร

ปรับตัวเข้ากับที่ ทำงาน ไม่ได้

เอาเป็นลองไปดูกันว่า หากคุณหรือเพื่อนตกอยู่ในสภาพนี้ควรทำอย่างไรเพื่อหาทางออกที่ดีให้ชีวิต อาจจะไม่เพอร์เฟ็กต์แต่อย่างน้อยก็ช่วยให้คุณรู้สึกมีค่าขึ้น  ไม่ใช่ทำงานที่ ไม่ถูกใจแล้วตัวเองจะหมดค่าไปด้วยเสียเมื่อไหร่!!

     •

เปิดใจให้กว้าง
     • 
เลิกหมกมุ่นหางานใหม่ (ตลอดเวลา)

     •  อย่าดูถูกงานที่ทำ
     •  ให้ความรักกับงานถามตัวเองดูทุกวันนี้คุณให้ความรักกับงานที่ทำแล้ว หรือยัง เต็มที่หรือยัง หรือว่าด้อยประสิทธิภาพลงไปทุกวันอีกต่างหาก ในเรื่องของความรักเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่นๆ เพราะว่าการให้ความรักกับงานที่ทำ แม้อาจจะไม่ใช่ สายงานที่ชอบโดยตรง แต่อย่างน้อยก็ยังรักงานที่ทำอยู่ ก็ช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น นอกจากนี้ ความรักยังไม่ใช่แค่ใส่ลงไปในงาน เพราะยังต้องเติมความรักให้กับเพื่อนร่วมงาน เจ้านาย ลูกน้อง ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชา รวมไปถึงกระทั่งรักองค์กร เรียกว่ารักให้เหมือนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน และคุณนั้นเข้าใจงานของคุณมากแค่ไหน อ่านเพิ่มเติมได้ที่:"งาน ของคุณ" อารมณ์ไหน?ซึ่งการที่มีความรัก ความหวังดีให้กันนั้น ก็จะช่วยลดดีกรีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นได้มาก เพราะจะทำให้เกิดความสามัคคีปรองดองรักใคร่กัน พาให้องค์กรเจริญก้าวหน้าไปอีกด้วย แต่เมื่อใดเกิดการอิจฉาริษยา แทงข้างหลัง เลื่อยขาเก้าอี้กันเมื่อไร บอกได้คำเดียวว่า คุณจะไม่มีความสุขในการทำงานได้เลย แถมยังจะก่อให้เกิดคำกล่าวที่ว่า "ทำดีได้ แต่อย่าเด่น จะเป็นภัย" อีกต่างหาก เอาเป็นว่าอยากมีความสุขกับชีวิตการทำงาน ก็ลองหัดรักในงานที่ทำ เมื่อรักแล้วสนุก ก็เหมือนไม่ได้รู้สึกเหนื่อย ไม่มีแรงกดดัน เหลือสมองไว้คิดสร้างสรรค์งานได้อีกเพียบ แยกแยะระหว่างงานที่ทำกับงานที่ชอบ


ที่มา : http://www.jobjob.co.th

ปรับตัวเข้ากับที่ ทำงาน ไม่ได้

          มีใครบ้างที่ไม่กังวลกับการเปลี่ยนที่ทำงานใหม่? แน่ละ จะไม่ให้กังวลได้อย่างไร เพราะจะมีอะไรที่รออยู่ข้างหน้าก็ไม่รู้ จะสดใสสวยงามอย่างที่วาดเอาไว้หรือไม่ ก็กังวลไปหมด ไม่ว่าเจ้านายจะดีหรือเปล่า เพื่อนร่วมงานจะคุยกับเราหรือไม่ ตอนเที่ยงจะทานข้าวกับใคร เราจะเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้หรือเปล่า แต่ถ้ามัวแต่มานั่งกังวลคงไม่ดีแน่ ดังนั้นเรามาค่อย ๆ ปรับจูนกันทีจะจุดดีว่า

          1. มิตรภาพสำคัญ ย้ายที่ทำงานใหม่ เราเป็นสมาชิกใหม่ อย่างแรกเลย เราต้องเป็นมิตร ฉะนั้นใครจะเป็นมิตรกับเราหรือไม่เราไม่รู้ แต่เราเป็นมิตรไว้ก่อนเลยไม่เสียหาย เข้าไปวันแรกแจกรอยยิ้มทักทาย แค่นี้ความตึงเครียดของการไม่รู้เขารู้เราก็บรรเทาไปเยอะ แล้วก็วางตัวเป็นมิตรกับทุก ๆ คนด้วยการทักทายพูดคุยเรื่องทั่วไป หรือแนะนำตัวว่าเป็นใครมาจากไหน พร้อมฝากเนื้อฝากตัวเป็นเพื่อนร่วมงานที่ดีไว้ก่อนเลย

          2. สุภาพอ่อนโยน ไม่มีใครไม่ชอบความสุภาพนุ่มนวล จึงเป็นการดีที่เราจะใช้ความสุภาพเพื่อแสดงออกถึงความจริงใจกับออฟฟิศใหม่ หากเราสุภาพกับเพื่อนร่วมงานตั้งแต่ตอนต้น เราก็จะได้รับการตอบรับอย่างสุภาพกลับคืนมาเช่นกัน การทำงานก็ทำอย่างสุภาพนุ่มนวล เพื่อให้ทุกคนเห็นว่าเราให้เกียรติและจริงใจกับงาน ไม่ใช่เจออะไรที่ผิดไปจากที่คิดไว้ก็ชักสีหน้า บ่นพึมพำ หรือแสดงอาการไม่พอใจจนเกินไป แบบนี้ไม่มีใครอยากจะเข้าใกล้น้องใหม่อย่างเราแน่ ๆ

          3. ขยันเรียนรู้ จริงอยู่เราอาจจะมีประสบการณ์การทำงานมาแล้วหลายปี แต่การไปทำงานที่ใหม่ก็เหมือนกับการเริ่มนับหนึ่งใหม่เบา ๆ เพราะวัฒนธรรมองค์กรของแต่ละที่นั้นไม่เหมือนกัน ดังนั้น ไม่ว่าเราจะแก่กล้าประสบการณ์มาจากไหน หากเปลี่ยนที่ทำงานใหม่เราก็ต้องขยันเรียนรู้ อะไรที่ไม่เข้าใจหรือไม่มั่นใจก็ถามจากเพื่อนร่วมงานที่อยู่มาก่อน แต่การถามทุกครั้งควรถามอย่างสมเหตุสมผล ไม่ใช่ว่าถามไปซะทุกเรื่อง แบบนี้น่าจะไม่ใช่เรื่องที่ดี

          4. เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม สุภาษิตสอนใจที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ใช้ได้ผลดีเสมอ การเข้าไปทำงานที่ใหม่ก็เช่นกัน เข้าไปช่วงแรก ๆ หมั่นสังเกตว่าเพื่อนร่วมงานของเราเขาทำงานอย่างไร สื่อสารอย่างไร เช่น ที่ทำงานบางที่สื่อสารกันผ่าน line แบบนี้เราก็ต้องหมั่นเช็คข้อความ หมั่นตอบ ไม่ใช่รู้ตัวอีกทีเขาคุยสรุปงาน สั่งงานกันผ่าน line จนจบแล้วแต่เรากลับเพิ่งเข้าไปเห็น แบบนี้อาจจะเสียงานได้ ดังนั้นสังเกตให้มากเพื่อการปรับตัวให้ไว แบบนี้มีชัยแน่นอน

          5. รับผิดชอบหน้าที่ แน่นอนว่าการเข้าไปทำงานช่วงแรก ๆ เราจะยังรู้สึกเก้ ๆ กัง ๆ เพราะไม่แน่ใจเรื่องขอบข่ายความรับผิดชอบในหน้าที่ของเรา และอาการนี้แหละที่จะทำให้งานเราหลุด กลายเป็นคนไม่รับผิดชอบไปซะอย่างนั้น ดังนั้น เราควรถามจากหัวหน้างานให้ชัดเจนตั้งแต่วันแรก ว่างานที่เราต้องรับผิดชอบ หรือต้องตัดสินใจนั้นมีอะไรบ้าง เพื่อที่เราจะได้ไม่ปล่อยหลุดให้ใครมาว่าเราได้ทีหลังว่าขาดความรับผิดชอบ

          6. ติดตามงานของตัวเอง เป็นน้องใหม่ไม่ใช่แค่ต้องตั้งใจทำงาน แต่เราต้องใส่ใจงานด้วยการติดตามและเช็คผลอยู่เป็นระยะ โดยเฉพาะในช่วงแรก ๆ ที่เรายังไม่ค่อยรู้จักใคร ยิ่งต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ เช่น งานที่ต้องทำกันเป็นทีม เราทำเสร็จแล้วก็ต้องส่งต่อให้คนในทีมคนอื่นสานต่อ เราควรติดตามผลงานว่า งานที่เราทำไปเป็นอย่างไร มีผิดพลาดตรงไหน ต้องไขตรงไหนบ้างหรือเปล่า ไม่ใช่เสร็จงานแล้ว ก็เลยตามเลยไปไม่สนใจงานนั้นอีกเลย เพราะงานที่ทำไม่ได้จบที่เราแค่คนเดียว ดังนั้น การติดตามและเช็คผลงาน จึงเป็นหน้าที่ของน้องใหม่อย่างเราที่ต้องใส่ใจอย่างมาก

          7. สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา การสื่อสารถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในองค์กร ดังนั้นการไปเริ่มงานที่ใหม่เราควรให้ความสำคัญกับการสื่อสาร ต้องพยายามจับประเด็นสิ่งที่ฟังให้ได้ ถ้าหากจำไม่ได้ต้องจดบันทึกเอาไว้ และเมื่อคุณต้องเป็นคนสื่อสารออกไป คุณต้องสื่อสารออกไปให้ตรงจุด ไม่พูดจาวกวนไปมา เรื่องไหนที่ไม่เข้าใจต้องพูด ต้องถามออกไป ไม่ใช่เออออห่อหมกไปก่อน แล้วเก็บกลับมานั่งงงคนเดียวที่โต๊ะ เพียงเพราะอายที่จะพูดว่าไม่เข้าใจ อายที่จะพูดว่าไม่รู้ ขอเตือนว่าถ้างานออกมาผิดพลาดเพียงเพราะอายที่จะถาม ผลสุดท้ายจะอายกว่าเดิม เพราะงานผิดพลาดก็ได้

          การเริ่มงานใหม่อาจมีหลายอย่างที่ติดขัด ไม่ราบรื่น อย่าเพิ่งท้อใจไป เพราะนี่เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดขึ้นกับการเริ่มต้นอะไรใหม่ ๆ สิ่งที่เราทำได้นั่นคือการตั้งสติเรียบเรียงความคิด ค่อย ๆ ปรับตัวไปเรื่อย ๆ ทีละนิด แล้วเดี๋ยววันหนึ่งเมื่อคุณเข้าใจวัฒนธรรมองค์กร เข้าใจลักษณะงาน เข้าใจสไตล์หัวหน้าและเพื่อนร่วมงาน ทุกอย่างก็ผ่านฉลุย jobsDB ขอเป็นกำลังใจให้งานใหม่ที่ใช่ ชีวิตที่ชอบ

#icanbebetter

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

ปรับตัวเข้ากับที่ ทำงาน ไม่ได้

คว้างานที่ใช่ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

5 วิธีอัพเงินเดือนแบบก้าวกระโดดเมื่อเปลี่ยนที่ทำงาน

วิธีรักษา Connection หลังเปลี่ยนงาน