สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ภาษาอังกฤษ

หลักสูตรระดับปริญญาโท (ปกติ)

ชื่อปริญญา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ)

อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย) : วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ)

ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ : Master of Science (Biotechnology)

อักษรย่อปริญญา (English) : M.Sc. (Biotechnology)

สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (พ.ศ. 2560)

สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (พ.ศ. 2555)

สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (พ.ศ. 2552)

แนะนำหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เน้นให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานสำคัญทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และมีความรู้และความสามารถในการค้นคว้าวิจัยเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพระดับบูรณาการได้อย่างเหมาะสม พร้อมทั้งเป็นผู้ที่มีคุณธรรมและจริยธรรม

วัตถุประสงค์ 

เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีคุณลักษณะต่อไปนี้

(1) เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่สามารถวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่ตอบสนองต่อภาคอุตสาหกรรมอย่างมืออาชีพและมีความคิดเชิงสร้างสรรค์ในการสร้างนวัตกรรม

(2) เพื่อผลิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพที่มีคุณธรรมและจริยธรรม

(3) เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการสร้างและประยุกต์ใช้ความรู้ใหม่ในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการพัฒนางานและสังคม

(4) เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และแสดงออกซึ่งภาวะผู้นำ

(5) เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา 

1) นักวิชาการ/นักวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพในสถาบันวิจัยของหน่วยงานของรัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ

2) พนักงานฝ่ายออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพในโรงงานอุตสาหกรรม 

3) ครู/อาจารย์ในสถาบันการศึกษาที่สอนในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพและสาขาที่เกี่ยวข้อง

4) ผู้ประกอบการ/เจ้าของธุรกิจ/ที่ปรึกษาผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

แผน ก แบบ ก 1

1) เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และมีผลการเรียนเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00

2) คุณสมบัติอื่นๆ ที่นอกเหนือจากข้อ 1) ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

แผน ก แบบ ก 2

1) เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง หรือปริญญาตรีทางวิศวกรรมศาสตร์สาขาวิชาวิศวกรรมเคมีหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

2) นักศึกษาที่ไม่มีพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ให้ลงทะเบียนเรียน วิชา 853-524 พื้นฐานเทคนิควิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

3) คุณสมบัติอื่นๆ ที่นอกเหนือจากข้อ 1) และ 2) ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

โครงสร้างหลักสูตร

หมวดวิชา

หลักสูตร

แผน  ก     แบบ ก 1

แผน  ก     แบบ ก 2

หมวดวิชาบังคับ

-

12

หมวดวิชาเลือกไม่น้อยกว่า

-

6

วิทยานิพนธ์

36

18

รวมไม่น้อยกว่า

36

36

เกี่ยวกับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย:หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร

ภาษาอังกฤษ:Bachelor of Science Program in Agricultural Biotechnology

รหัส : 25420021100673

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย

ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร)

ชื่อย่อ : วท.บ. (เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร)

ภาษาอังกฤษ

ชื่อเต็ม : Bachelor of Science (Agricultural Biotechnology)

ชื่อย่อ : B.S. (Agricultural Biotechnology)

ปรัชญา และ/หรือ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อเป็นผู้นำและเป็นกำลังสำคัญในการสร้างฐานแห่งการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย และก่อให้ เกิดการพัฒนาการเกษตรได้อย่างรวดเร็ว ทันกับสถานการณ์ และสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล

วัตถุประสงค์

  1. ผลิตบุคลากรเพื่อสนับสนุนการศึกษา วิจัย และพัฒนาการเกษตรด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ
  2. ผลิตทรัพยากรบุคคลด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร เพื่อตอบสนองความต้องการของภาครัฐ และภาคเอกชน
  3. ผลิตบุคลากรที่มีความรู้พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร เพื่อการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสําเร็จการศึกษา

  • นักวิชาการและพนักงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ทั้งในภาครัฐและเอกชน
  • บุคลากรในทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
  • ธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องโดยตรงและโดยออมกบการผลิตสินค้าเกษตรหรือการเกษตรกรรมในแขนง ต่าง ๆ รวมถึงงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรในทุกแขนง