ความสัมพันธ์อาเซียนกับประเทศคู่เจรจา (Dialogue Partners ส่วน ใหญ่ แล้ว เน้น ไป ที่ เสา หลัก ใด)

สหราชอาณาจักรเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับกลุ่มประเทศอาเซียนในวันนี้ (5 สิงหาคม) นับเป็นการลงนามประเทศคู่เจรจาครั้งแรกในรอบ 25 ปีของกลุ่มประเทศอาเซียน สถานะประเทศคู่เจรจาอาเซียน-สหราชอาณาจักรจะนำไปสู่ความร่วมมือที่แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นระหว่างสหราชอาณาจักรและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการค้า การลงทุน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการศึกษา

นายโดมินิก ราบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการพัฒนาสหราชอาณาจักรจะเข้าร่วมพิธีต้อนรับสหราชอาณาจักรในฐานะประเทศคู่เจรจาอาเซียนกับรัฐมนตรีจากประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียนแบบเสมือนจริงผ่านระบบออนไลน์ โดยตั้งแต่สหราชอาณาจักรสมัครเข้าร่วมเป็นประเทศคู่เจรจาในปี พ.ศ.2563 นายราบได้เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน 2 ครั้งและได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกรอบอาซีนในที่ประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศและการพัฒนาของกลุ่มประเทศ G7 เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

อาเซียนนับเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลซึ่งมีประเทศสมาชิก 10 ประเทศในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก โดยการเข้าร่วมเป็นประเทศคู่เจรจาของสหราชอาณาจักรนี้จะสานสัมพันธ์ระหว่างสหราชอาณาจักรและกลุ่มประเทศอาเซียนอย่างเป็นทางการ รวมถึงการเข้าร่วมประชุมประจำปีระดับรัฐมนตรีต่างประเทศและเศรษฐกิจอาเซียนและรัฐมนตรีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

สถานะประเทศคู่เจรจาจะทำให้สหราชอาณาจักรเข้าถึงศูนย์กลางของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ทั้งนี้สหราชอาณาจักรจะทำงานร่วมกับอาเซียนและประเทศสมาชิกที่เผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ ที่สำคัญร่วมกัน เช่น ความมั่นคงทางทะเลและอาชญากรรมข้ามชาติ การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการค้า และกระชับความร่วมมือด้านต่าง ๆ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เช่น ประเด็นการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

นายโดมินิก ราบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการพัฒนาของสหราชอาณาจักรกล่าวว่า

ผมยินดีที่วันนี้สหราชอาณาจักรได้รับสถานะคู่เจรจาอาเซียนอย่างเป็นทางการ นับเป็นประเทศแรกที่ได้รับสถานะนี้ในรอบ 25 ปี

ช่วงเวลานี้นับเป็นช่วงที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับสหราชอาณาจักรในการให้ความสำคัญกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้นกับอาเซียนนี้จะทำให้เกิดการสร้างงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหลายตำแหน่ง ส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคง ด้านเทคโนโลยีและความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ และปกป้องเสาหลักของกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล

ด้วยสถานะประเทศคู่เจรจาใหม่นี้จะช่วยให้สหราชอาณาจักรและกลุ่มประเทศอาเซียนมีความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจแนบแน่นยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) สูงถึง 3.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 106 ล้านล้านบาท) มูลค่าการค้าโดยรวมระหว่างสหราชอาณาจักรและกลุ่มประเทศอาเซียนอยู่ที่ 32.3 พันล้านปอนด์ (ราว 1.49 ล้านล้านบาท) ในไตรมาสทั้ง 4 ไปจนถึงปลายไตรมาสที่ 1 ของปีพ.ศ.2564 ด้วยศักยภาพที่ยิ่งใหญ่นี้จะเสริมการค้าและสร้างงานอีกหลายตำแหน่งในสหราชอาณาจักร นางลิซ ทรัสส์ รัฐมนตรีการค้าระหว่างประเทศของสหราชอาณาจักรกล่าวว่า

นับเป็นข่าวดีอย่างยิ่งและแสดงให้เห็นถึงการดำเนินการของสหราชอาณาจักรสู่ระดับสากลเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์แน่นแฟ้นไปทั่วโลกในฐานะประเทศคู่ค้าอิสระ

การเป็นประเทศคู่เจรจาพร้อมด้วยการเข้าร่วมในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) และการเจรจากับประเทศต่าง ๆ เช่น สิงคโปร์ และ เวียดนาม จะเปิดโอกาสให้ธุรกิจอังกฤษได้เข้ามาในภูมิภาคนี้ซึ่งมีอัตราการเติบโตที่สูงและมีประชากรกว่า 650 ล้านคน ทำให้ธุรกิจอังกฤษสามารถเติบโตและสร้างงานได้ทั่วทั้งสหราชอาณาจักร นายโดมินิก ราบได้เยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว 5 ครั้งตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการพัฒนาของสหราชอาณาจักร แสดงให้เห็นถึงความสำคัญที่มากขึ้นของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกดังที่ได้ระบุไว้ในรายงานทบทวนนโยบายแบบองค์รวม (Integrated Review) ของสหราชอาณาจักร

การประกาศในวันนี้เกิดขึ้นในห้วงเวลาที่สหราชอาณาจักรและภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกมีความร่วมมือด้านการทหารและความมั่นคงเพิ่มมากยิ่งขึ้น ขณะที่กองเรือหลวง Carrier Strike Group แห่งสหราชอาณาจักร นำทัพโดยเรือหลวง HMS Queen Elizabeth เดินทางเยือนภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกและได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กับประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างสำเร็จลุล่วงไปแล้วหลายประเทศ โดยได้วางแผนทำกิจกรรมเพิ่มเติมในฤดูใบไม้ร่วงที่จะถึง

ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สหราชอาณาจักรได้ประกาศเข้าร่วมเจรจาในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ซึ่งเป็นหนึ่งในเขตการค้าเสรีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก มีมูลค่ามากถึงร้อยละ 13 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมโลกในปีพ.ศ.2562 ในปัจจุบันมีประเทศสมาชิกอาเซียน 4 ประเทศเข้าร่วมในความตกลง CPTPP ได้แก่ สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย และบรูไน

ความสัมพันธ์อาเซียนกับประเทศคู่เจรจา (Dialogue Partners ส่วน ใหญ่ แล้ว เน้น ไป ที่ เสา หลัก ใด)

1. อาเซียนมีสมาชิกกี่ประเทศ และมีประเทศใดบ้าง

อาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ  ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนิเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์  ไทย และเวียดนาม

2. อาเซียนก่อตั้งเมื่อไหร่ ประเทศไหนบ้างที่ร่วมก่อตั้ง

อาเซียนตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 หลังการลงนามในปฏิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือที่รู้จักอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) โดยรัฐมนตรีจาก 5 ประเทศ ได้แก่ 

  1. นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีว่าการะทรวงการต่างประเทศอินโดนิเซีย
  2. ตุน อับดุล ราซัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย
  3. นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์
  4. นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงค์โปร์
  5. และ พันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย

3. ทำไมถึงจำเป็นต้องตั้งอาเซียน

ประเทศผู้ร่วมก่อตั้งเห็นว่าการตั้งองค์กรความร่วมมือระดับภูมิภาคน่าจะมี ส่วนช่วยป้องกันการเกิดความขัดแย้ง และส่งเสริมการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งนี้ ปฏิญญากรุงเทพฯ กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์สำหรับอาเซียน 7 ประการ ได้แก่

ความสัมพันธ์อาเซียนกับประเทศคู่เจรจา (Dialogue Partners ส่วน ใหญ่ แล้ว เน้น ไป ที่ เสา หลัก ใด)

  1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
  2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
  3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
  4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
  5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และการปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
  6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  7. ร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ

4. ประเทศสมาชิกใหม่เข้าร่วมกับอาเซียนเมื่อใด

ความสัมพันธ์อาเซียนกับประเทศคู่เจรจา (Dialogue Partners ส่วน ใหญ่ แล้ว เน้น ไป ที่ เสา หลัก ใด)

 
หลังการจัดตั้งอาเซียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2510 อาเซียนเปิดรับสมาชิกใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นระยะ  โดยบรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิก เมื่อ 7 มกราคม 2527  เวียดนาม เข้าเป็นสมาชิก เมื่อ 28 กรกฎาคม 2538  ลาว และ พม่า เข้าเป็นสมาชิก เมื่อ 23 กรกฎาคม 2540  ขณะที่กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิก เมื่อ 30 เมษายน 2542 การเข้าร่วมของประเทศสมาชิกใหม่เหล่านี้สอดคล้องกับปฏิญญาอาเซียน ซึ่งระบุไว้ว่า อาเซียนพร้อมรับทุกประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พร้อม ที่จะรับเป้าหมาย หลักการและวัตถุประสงค์ขององค์กรเป็นสมาชิก

5. อะไรคือความสำเร็จของอาเซียน

นับแต่ก่อตั้ง ประเทศสมาชิกอาเซียนพยายามส่งเสริมการยึดมั่นในบรรทัดฐานร่วมกัน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้กำหนดนโยบาย ความร่วมมือที่เกิดขึ้นระหว่างกันมีส่วนช่วยป้องกันความขัดแย้งไม่ให้เกิด ขึ้นในภูมิภาค ทำให้ไม่มีสงครามระหว่างกัน และยังประสบความสำเร็จในการส่งเสริมให้อาเซียนเป็นเวทีที่ประเทศมหาอำนาจ หลายประเทศเข้าร่วมหารือในฐานะประเทศคู่เจรจา (Dialogue Partnerships) รวมทั้งมีความร่วมมือในกรอบความร่วมมืออาเซียน + 3 (ASEAN Plus Three) ด้วย นอกจากนี้อาเซียนยังสร้างเวทีหารือด้านการเมืองและความมั่นคง ซึ่งเป็นเพียงเวทีเดียวในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ผ่านการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum – ARF หรือ เออาร์เอฟ) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit) อาเซียนได้วางรากฐานของการบูรณาการทางเศรษฐกิจในภูมิภาคโดยการจัดตั้งเขตการ ค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) และยังมีความตกลงอื่น ๆ ทั้งในอาเซียนเองและกับประเทศคู่เจรจา เพื่อส่งเสริมให้อาเซียนเป็นระบบเศรษฐกิจที่เปิดต่อประชาคมโลก ส่งเสริมความร่วมมือในระดับภูมิภาคในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม การต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อร้ายแรง และความร่วมมือสาขาอื่นอีกมากมาย ตลอดจนส่งเสริมความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันให้เกิดขึ้นในภูมิภาค

6. กฎบัตรอาเซียนคืออะไร

กฎบัตรอาเซียนคือธรรมนูญของอาเซียนที่จะทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล  เป็นการวางกรอบกฎหมายตลอดจนโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน  โดยนอกจากการประมวลสิ่งที่ถือเป็นค่านิยม หลักการ และแนวปฏิบัติในอดีตของอาเซียนมาประกอบกันเป็นข้อปฏิบัติอย่างเป็นทางการ สำหรับประเทศสมาชิกแล้ว  ยังมีการปรับปรุงแก้ไขและสร้างกลไกใหม่ขึ้นพร้อมกับกำหนดขอบเขตหน้าที่และ ความรับผิดชอบขององค์กรสำคัญในอาเซียน  ตลอดจนความสัมพันธ์ในการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้  เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน  โดยมีเป้าหมายให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
กฎบัตรอาเซียนประกอบด้วย บทบัญญัติ 13 บท 55 ข้อ ครอบคลุมเป้าหมายและหลักการ สมาชิกภาพ โครงสร้างองค์กรของอาเซียน องค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน เอกสิทธิ์และความคุ้มกัน กระบวนการตัดสินใจ การระงับข้อพิพาท งบประมาณและการเงิน การบริหารจัดการ เอกลักษณ์และสัญลักษณ์ของอาเซียน และความสัมพันธ์กับภายนอก

7. อาเซียนจำเป็นต้องมีกฎบัตรหรือไม่

แม้ อาเซียนจะตั้งขึ้นมานานถึง 40 ปี และมีการจัดทำเอกสารความตกลงกันไปหลายฉบับ แต่ตลอดเวลาที่ผ่านมาความร่วมมือส่วนใหญ่ของอาเซียนเป็นรูปแบบของความตกลง กันอย่างไม่เป็นทางการ และมักใช้ความสัมพันธ์เชิงบุคคลในการขับเคลื่อนความร่วมมือทั้งในด้านการ เมือง เศรษฐกิจ และความร่วมมือด้านอื่น ๆ โดยปราศจากกฎบัตรหรือธรรมนูญที่ใช้เป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับสำหรับการอยู่ร่วม กันและการขับเคลื่อนองค์กรอย่างแท้จริง
ด้วยเหตุนี้ทำให้ในเดือนธันวาคม 2548 ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบร่วมกันว่าถึงเวลาแล้วที่อาเซียนควรที่จะมีกฎบัตรที่ จะประกอบด้วยหลักการพื้นฐานของอาเซียน เป้าหมาย วัตถุประสงค์ และโครงสร้างของความร่วมมือที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของประชาคมอาเซียน ได้  ผู้นำอาเซียนจึงแต่งตั้นคณะผู้ทรงคุณวุฒิ  ซึ่งมาจากประเทศสมาชิกประเทศละ 1 คน เพื่อให้จัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับทิศทางและเนื้อหาที่ควรปรากฎในกฎบัตร และมีการนำเสนอรายงานดังกล่าวในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเมื่อเดือน มกราคม 2550 จากนั้นจึงส่งมอบให้คณะทำงานระดับสูงยกร่างกฎบัตรจนแล้วเสร็จ  หลังการเจรจาหารือระหว่างรัฐสมาชิกอาเซียนที่มีอำนาจอธิปไตยทั้ง 10 ประเทศ ผู้นำอาเซียนหวังว่า กฎบัตรอาเซียนจะมีประสิทธิภาพมากพอให้อาเซียนบรรลุเป้าหมายในการรวมตัวกัน และมีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะทำให้องค์กรสามารถเผชิญกับปัญหาท้าทายต่าง ๆ ได้ในอนาคต ทั้งนี้ผู้นำอาเซียนได้ลงนามให้การรับรองกฎบัตรอาเซียน ซึ่งถือเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญที่ปรับเปลี่ยนอาเซียนเป็นองค์กร ที่มีสถานะทางกฎหมาย เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 แต่กฎบัตรอาเซียนจะมีผลบังคับใช้ได้จริงก็เมื่อประเทศสมาชิกให้สัตยาบันต่อ กฎบัตรครบทั้งหมด
แม้ว่ากฎบัตรอาเซียนจะไม่สามารถเปลี่ยน วัฒนธรรมการทำงานของอาเซียนได้ในทันที แต่อย่างน้อยก็จะช่วยให้อาเซียนมีความน่าเชื่อถือ มีรูปแบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และมีวัตถุประสงค์ในการทำงานที่ชัดเจนมากขึ้น ทั้งยังเสริมสร้างความเข้าแข็งให้กับองค์กร และทำให้อาเซียนมีสถานะนิติบุคคลแยกออกจากรัฐสมาชิก ดังนั้น กฎบัตรอาเซียนจะช่วยให้อาเซียนมีทรัพยากรเพิ่มขึ้น ช่วยเร่งรัดวิวัฒนาการขององค์กร และช่วยให้อาเซียนปรับตัวเข้ากับสภาวะแวดล้อมของภูมิภาครวมถึงการเปลี่ยน แปลงของโลกในปัจจุบันได้มากขึ้นด้วย

8. กฎบัตรอาเซียนช่วยให้อาเซียนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไร

มีข้อกำหนดใหม่ ๆ มากมายในกฎบัตรอาเซียนที่จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างการทำงานและกลไกต่าง ๆ ของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนเพิ่มความยืดหยุ่นในการแก้ไขปัญหา เช่น

  1. กำหนดให้เพิ่มการประชุมสุดยอดอาเซียนจากเดิมปีละ 1 ครั้ง เป็นปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้ผู้นำมีโอกาสหารือกันมากขึ้น พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงเจตจำนงทางการเมืองที่จะผลักดันอาเซียนไปสู่การรวม ตัวกันเป็นประชาคมในอนาคต
  2. มีการตั้งคณะมนตรีประจำประชาคมอาเซียนตามเสาหลักทั้ง 3 ด้าน คือ การเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เพื่อกำหนดทิศทางและประสานงานเพื่อให้การดำเนินงานของแต่ละเสาหลักมีเอกภาพ มากขึ้น
  3. กำหนดให้ประเทศสมาชิกแต่งตั้งเอกอัครราชฑูตประจำอาเซียนไปประจำที่กรุง จาการ์ตา ซึ่งไม่เพียงแต่จะแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจแน่วแน่ของอาเซียนที่จะทำงานร่วม กันอย่างใกล้ชิดเพื่อมุ่งไปสู่การรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคต แต่ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปร่วมประชุมและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพใน การประสานงานระหว่างประเทศสมาชิก
  4. หากประเทศสมาชิกไม่สามารถตกลงกันได้โดยหลักฉันทามติ ให้ใช้การตัดสินใจรูปแบบอื่นได้ตามที่ผู้นำกำหนด
  5. เพิ่มความยืดหยุ่นในการตีความหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน โดยมีข้อกำหนดว่า หากเกิดปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ส่วนรวมของอาเซียนหรือเกิดสถานการณ์ฉุก เฉิน ประเทศสมาชิกต้องหารือกันเพื่อแก้ไขปัญหา และกำหนดให้ประธานอาเซียนเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
  6. กฎบัตรอาเซียนจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนในฐานะองค์กรระหว่างรัฐบาล ในการมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรอื่น ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นในอนาคต

9. กฎบัตรอาเซียนจะเสริมสร้างกลไกการติดตามความตกลงต่าง ๆ ให้มีผลเป็นรูปธรรมได้อย่างไร

กฎบัตรอาเซียนสร้างกลไกตรวจสอบและติดตามการดำเนินการตามความตกลงต่างๆ ของประเทศสมาชิกในหลากหลายรูปแบบ อาทิ (1) ให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนดูแลการปฏิบัติตามพันธกรณีและคำตัดสินขององค์กร ระงับข้อพิพาท (2) หากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงต่างๆ ทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่างรัฐสมาชิก สามารถใช้กลไกและขั้นตอนระงับข้อพิพาททั้งที่มีอยู่แล้วและที่จะตั้งขึ้น ใหม่เพื่อแก้ไขข้อพิพาทที่เกิดขึ้นโดยสันติวิธี (3) หากมีกรณีละเมิดพันธกรณีในกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง ผู้นำอาเซียนสามารถกำหนดมาตรการใด ๆ ที่เหมาะสมเพื่อลงโทษได้ แม้จะไม่ได้ระบุโทษอย่างชัดเจนว่าเป็นการเพิกถอนสิทธิ หรือขับออกจากการเป็นสมาชิกก็ตาม
มาตรการต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้สมาชิกให้ความสำคัญกับความตกลง และกฎกติกาในการอยู่ร่วมกันมากขึ้น รวมถึงมีการปฏิบัติตามพันธกรณีต่างๆ มากขึ้น เพราะมีกลไกตรวจสอบและติดตามผลไปจนถึงการลงโทษในกรณีที่มีการละเมิดกฎบัตร ที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ประเทศสมาชิกได้รับประโยชน์จากความตกลงที่มีของอาเซียนอย่าง เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้นนั่นเอง

10. กฎบัตรอาเซียนจะช่วยให้อาเซียนเป็นประชาคมเพื่อประชาชนได้อย่างไร

ข้อบทต่าง ๆ ในกฎบัตรอาเซียนแสดงเป้าหมายชัดเจนว่าอาเซียนกำลังผลักดันองค์กรให้เป็น ประชาคมเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ในข้อแรกของกฎบัตรฯ จึงกำหนดให้การลดความยากจนและช่องว่างการพัฒนาเป็นเป้าหมายหนึ่งของอาเซียน โดยจะมีการศึกษาหาวิธีการระดมทุนแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ทุกประเทศมีความพร้อมสำหรับการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน และเพื่อให้ความร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
กฎบัตร อาเซียนยังเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในอา เซียนผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรต่าง ๆ ของอาเซียนมากยิ่งขึ้น ทั้งยังกำหนดให้มีความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสมัชชารัฐสภาอาเซียน ซึ่งเป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐสภาของประเทศสมาชิก
ในระหว่างการเจรจายกร่างกฎบัตรฯ ไทยได้ผลักดันเรื่องการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนมาโดยตลอด จนในที่สุดกฎบัตรฯ กำหนดให้มีการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนของอาเซียน เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนซึ่งสอด คล้องกับค่านิยมที่ปรากฎอยู่ในรัฐธรรมนูญไทยหลายฉบับ รวมถึงฉบับปัจจุบันที่ได้ให้การคุ้มครองสิทธิเหล่านี้ไว้อย่างครอบคลุมและ กว้างขวาง
หากมองในระดับภูมิภาค การจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนจะช่วยยกสถานะของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้เป็นอนุภูมิภาคแรกในเอเชียที่มีกลไกดังกล่าว จากเดิมที่เอเชียเคยเป็นภูมิภาคเดียวที่ไม่มีกลไกสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาค นอกจากนี้ กลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียนยังเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ประชาชนในอาเซียนได้ ประโยชน์โดยตรงจากการรวมตัวกันมากขึ้น

11. ทำไมจึงจำเป็นต้องสร้างประชาคมอาเซียน

ความสัมพันธ์อาเซียนกับประเทศคู่เจรจา (Dialogue Partners ส่วน ใหญ่ แล้ว เน้น ไป ที่ เสา หลัก ใด)

ในยุคโลกาภิวัฒน์ที่สถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  ประเทศต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการรวมตัวกันในภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ  ขณะที่ปัญหาหลายอย่างซึ่งเคยเป็นปัญหาในประเทศกลับขยายวงกว้างขึ้นเป็นปัญหา ระหว่างประเทศ  อาทิ  ปัญหาสิ่งแวดล้อม  ภัยพิบัติทางธรรมชาติ  โรคติดต่อ  อาชญากรรมข้ามชาติ  หรือแม้แต่ปัญหายาเสพติด  อาเซียนจึงต้องปรับตัวให้เท่าทันสถานการณ์เพื่อให้สามารถรับมือกับความ เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
หันกลับมามองในเอเชีย จีนและอินเดียทวีบทบาทในภูมิภาคมากขึ้นตามลำดับ  การผนึกกำลังของอาเซียนซึ่งมีประเทศสมาชิก 10 ประเทศให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น  ย่อมทำให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเผชิญกับการเปลี่ยน แปลงและปัญหาท้าทายได้ดียิ่งขึ้น  เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน  และช่วยให้เสียงของอาเซียนมีน้ำหนัก  เพราะการที่สมาชิกทั้ง 10 ประเทศมีท่าทีเป็นหนึ่งเดียวในเวทีระหว่างประเทศจะทำให้ประเทศและกลุ่มความ ร่วมมืออื่น ๆ ให้ความเชื่อถือในอาเซียนมากขึ้นและทำให้อาเซียนมีอำนาจต่อรองในเวทีระหว่าง ประเทศมากขึ้นด้วย
ในปี 2546 ผู้นำอาเซียนต่างเห็นพ้องกันว่า  ถึงเวลาแล้วที่อาเซียนควรจะร่วมมือกันให้เหนียวแน่น  เข้มแข็ง  และมั่นคงยิ่งขึ้น  จึงกำหนดให้มีการสร้างประชาคมอาเซียนที่ประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN Political Security Community)  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community)  และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community)  ภายในปี 2563  ซึ่งต่อมาได้เลื่อนกำหนดเวลาสำหรับการรวมตัวกันให้เร็วขึ้นเป็นปี 2558

12. ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียนคืออะไร  และมีเป้าหมายอย่างไร

อาเซียนตระหนักว่าสันติภาพ  ความมั่นคง  และเสถียรภาพทางการเมืองเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาในด้านอื่น ๆ  ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียนจึงเป็นเสาหลักความร่วมมือหนึ่งในสามเสา หลักของประชาคมอาเซียนที่เน้นการรวมตัวของอาเซียนเพื่อสร้างความมั่นใจ  (confidence  building)  เสถียรภาพ (stability)  และสันติภาพ (peace)  ในภูมิภาค  ทั้งนี้  เพื่อให้ประชาชนในอาเซียนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและปราศจากภัยคุกคามจาก ด้านการทหารและภัยคุกคามในรูปแบบใหม่  เช่น  ปัญหายาเสพติด  ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ
ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน  มีเป้าหมาย 3 ประการ  ได้แก่  (1) สร้างประชาคมให้มีค่านิยมร่วมกันในเรื่องของการเคารพความหลากหลายของแนวความ คิดและส่งเสริมให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางของนโยบายและกิจกรรมภายใต้เสาการ เมืองและความมั่นคง  (2) ให้อาเซียนสามารถเผชิญกับภัยคุมคามความมั่นคงในรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่และ ส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์  (3) ให้มีปฏิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลก  โดยอาเซียนมีบทบาทนำในภูมิภาคและจะช่วยส่งเสริมเสถียรภาพและความมั่นคงของ ภูมิภาค  ทั้งนี้  อาเซียนกำลังจัดทำแผนงานสำหรับการจัดตั้งประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN  Political Security  Community  Blueprint - APSC  Blueprint)  ซึ่งมีความคาดหวังให้เสร็จภายในปลายปี 2551

13. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคืออะไร มีเป้าหมายอย่างไรและไทยได้ประโยชน์อย่างไร

ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนเป็นเป้าหมายด้านเศรษฐกิจหลักที่สำคัญในการขับเคลื่อนความ ร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน  ภายหลังการลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนก็มีความคืบหน้าที่ดีในความร่วม มือต่าง ๆ เป็นลำดับและในที่สุดอาเซียนได้มุ่งหวังที่จะจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจในปี 2558  ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญคือการเป็นตลาดและเป็นฐานการผลิตร่วมกัน  โดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้า  บริการ  การลงทุน  แรงงานฝีมืออย่างเสรีและเงินลงทุนที่เสรีมากขั้น  มีความสามารถในการแข่งขันสูง  มุ่งสร้างความเท่าเทียมในการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศอาเซียน  และการส่งเสริมการรวมกลุ่มอาเซียนเข้ากับประชาคมโลก ขนาดของตลาดอาเซียนที่ใหญ่ขึ้นทำให้อาเซียนมีอำนาจซื้อสูงขึ้นตามมา  เช่นเดียวกับความสามารถในการแข่งขันกับภูมิภาคอื่นที่เพิ่มขึ้น  ซึ่งช่วยให้สมาชิกสามารถปรับตัวเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ ได้เป็นอย่างดี
การคมนาคมขนส่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็น ประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง  อาเซียนจึงมีโครงการเชื่อมโยงเส้นทางหลวงอาเซียน  มีความร่วมมือระหว่างประเทศในการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟจากสิงคโปร์ ผ่านไปยัง มาเลเซีย ไทย กัมพูชา เวียดนามและสิ้นสุดที่เมืองคุนหมิง ประเทศจีน นอกจากนี้ การปรับมาตรฐานของเส้นทางคมนาคมทางบกและทางรถไฟให้มีมาตรฐานเดียวกันก็จะส่ง เสริมความร่วมมือของอาเซียนด้านการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้นด้วย
ขณะ ที่การเจรจาเพื่อเปิดตลาดในระดับพหุภาคีภายใต้องค์การการค้าโลกยังมีท่าที ว่าจะไม่สามารถสรุปผลได้ในอนาคตอันใกล้  ประเทศต่าง ๆ จึงได้พยายามที่จะทำข้อตกลงการค้าเสรีไม่ว่าจะในระดับทวีภาคี หรือระดับภูมิภาค ในส่วนของอาเซียนมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคโดยการจัดทำ เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area - AFTA หรือ อาฟต้า) มาแล้ว 15 ปี และเริ่มรวมตัวกับประเทศหรือกลุ่มคู่ค้าสำคัญ เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี สหภาพยุโรป ฯลฯ ความเหนียวแน่นใกล้ชิดระหว่างกันจะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้อาเซียนสามารถ สร้างประโยชน์สูงสุดจากการรวมตัวกับประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ต่อไป
หากอาเซียนสามารถสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้สำเร็จ  ไทยจะได้ประโยชน์จากการขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า  และเปิดโอกาสการค้าบริการในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง เช่น ท่องเที่ยว โรงแรมและภัตตาคาร  สุขภาพ ฯลฯ  ซึ่งอาเซียนยังมีความต้องการด้านการบริการเหล่านี้อีกมาก  นอกจากนี้  ยังจะช่วยเสริมสร้างโอกาสในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมายังอา เซียน  ซึ่งจะเพิ่มอำนาจการต่อรองของอาเซียนในเวทีการค้าโลก  และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอาเซียนโดยรวม

14. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน คือ อะไรและมีเป้าหมายอย่างไร

อาเซียนมุ่งหวังประโยชน์จากการรวมตัวกันเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อให้ประชาชนมีความอยู่ดีกินดี  ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ  มีสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันโดยเน้นการส่งเสริมความ รู้  ความเข้าใจระหว่างประเทศสมาชิกในด้านความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์  มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ระดับภูมิภาคร่วมกัน
ทั้งนี้  การเสริมสร้างรากฐานและความเชื่อมโยงระหว่างกันที่แข็งแกร่งนำไปสู่ความเข้า ใจของการเป็นเพื่อนบ้านที่ดี  การรู้เขารู้เรา  และมีความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกภายใต้สังคมที่เอื้ออาทร  โดยแผนปฏิบัติการเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community - ASCC) ได้กำหนดกิจกรรมความร่วมมือที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางโดยเน้นความร่วมมือใน ด้านต่าง ๆ ได้แก่

  1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Development)
  2. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection)
  3. สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights)
  4. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Ensuring Environmental Sustainability)
  5. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building ASEAN Identity)
  6. การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap)
  7. เน้นให้มีการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเขียน นักคิดและศิลปินในภูมิภาค ตลอดจนการเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนในภูมิภาคโดยเฉพาะใน ระดับประชาชน
    ทั้งนี้ ไทยจะได้ประโยชน์อย่างมากจากการที่รากฐานสำคัญของประชาคมอาเซียนที่ประชาชน มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน  และเข้าใจถึงผลประโยชน์ที่มีร่วมกัน  ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้การสร้างประชาคมอาเซียนสามารถประสบความสำเร็จด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.prcmu.cmu.ac.th/scoop_detail.php?sco_sub_id=208