Csr ม ความส าค ญก บธ รก จอย างไร

ซีเอสอาร์ เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษว่า Corporate Social Responsibility (CSR) หรือ บรรษัทบริบาล หมายถึง การดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กร ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในระดับใกล้และไกล ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กร ในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข

หากพิจารณาแยกเป็นรายคำศัพท์ คำว่า Corporate มุ่งหมายถึงกิจการที่ดำเนินไปเพื่อแสวงหาผลกำไร (หมายรวมถึงองค์กรประเภทอื่นได้ด้วย) ส่วนคำว่า Social ในที่นี้ มุ่งหมายถึงกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กันหรือมีวิถีร่วมกันทั้งโดยธรรมชาติหรือโดยเจตนา รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รายรอบประกอบ และคำว่า Responsibility มุ่งหมายถึงการยอมรับทั้งผลที่ไม่ดีและผลที่ดีในกิจการที่ได้ทำลงไปหรือที่อยู่ในความดูแลของกิจการนั้นๆ ตลอดจนการรับภาระหรือเป็นธุระดำเนินการป้องกันและปรับปรุงแก้ไขผลที่ไม่ดี รวมถึงการสร้างสรรค์และบำรุงรักษาผลที่ดีซึ่งส่งกระทบไปยังผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ

คำว่า กิจกรรม (activities) ในความหมายข้างต้น หมายรวมถึง การคิด การพูด และการกระทำ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ การวางแผน การตัดสินใจ การสื่อสารประชาสัมพันธ์ การบริหารจัดการ และการดำเนินงานขององค์กร

สังคมในความหมายของความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ จะพิจารณาตั้งแต่ผู้มีส่วนได้เสียในองค์กร ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียนอกองค์กร ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่ สังคมใกล้ และสังคมไกล

สังคมใกล้ คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับองค์กรโดยตรง ได้แก่ ลูกค้า คู่ค้า ครอบครัวของพนักงาน ชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ ซึ่งรวมถึงสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศ

สังคมไกล คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรโดยอ้อม ได้แก่ คู่แข่งขันทางธุรกิจ ประชาชนทั่วไป เป็นต้น

ในระดับของลูกค้า ตัวอย่างซีเอสอาร์ของกิจการ ได้แก่ การสร้างผลิตภัณฑ์ที่เน้นคุณค่ามากกว่ามูลค่า ความรับผิดชอบในผลิตภัณฑ์ต่อผู้บริโภค การให้ข้อมูลขององค์กรและตัวผลิตภัณฑ์อย่างเพียงพอและอย่างถูกต้องเที่ยงตรง มีการให้บริการลูกค้าอย่างตรงไปตรงมา เป็นต้น

ในระดับของคู่ค้า ตัวอย่างซีเอสอาร์ของกิจการ ได้แก่ การแบ่งปันหรือการใช้ทรัพยากรร่วมกันหรือการรวมกลุ่มในแนวดิ่งตามสายอุปทาน ความรอบคอบระมัดระวังในการผสานประโยชน์อย่างเป็นธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบต่อคู่ค้า เป็นต้น

ในระดับของชุมชนและสภาพแวดล้อม ตัวอย่างซีเอสอาร์ของกิจการ ได้แก่ การสงเคราะห์เกื้อกูลชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ การส่งเสริมแรงงานท้องถิ่นให้มีโอกาสในตำแหน่งงานต่างๆ ในองค์กร การสนับสนุนแนวทางการระแวดระวังในการดำเนินงานที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ และการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข เป็นต้น

ในระดับของประชาสังคม ตัวอย่างซีเอสอาร์ของกิจการ ได้แก่ การสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มหรือเครือข่ายอื่นๆ ในการพัฒนาสังคม การตรวจตราดูแลมิให้กิจการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน การรับฟังข้อมูลหรือทำประชาพิจารณ์ต่อการดำเนินกิจการที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม และการทำหน้าที่ในการเสียภาษีอากรให้รัฐอย่างตรงไปตรงมา เป็นต้น

ในระดับของคู่แข่งขันทางธุรกิจ ตัวอย่างซีเอสอาร์ของกิจการ ได้แก่ การดูแลกิจการมิให้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแข่งขันด้วยวิธีการทุ่มตลาด การดำเนินงานในทางต่อต้านการทุจริต รวมทั้งการกรรโชก และการให้สินบนในทุกรูปแบบ เป็นต้น ผู้บริโภคยังคงให้ความสำคัญกับเป้าหมายส่วนตัว อาทิ เป้าหมายด้านสุขภาพหรือหน้าที่การงาน แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็เริ่มให้ความสำคัญกับบริษัทหรือแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) มากขึ้น โดยเป้าหมายของธุรกิจนั้น ไม่ได้วัดเพียงแค่ด้านผลกำไรหรือตัวเลข แต่ต้องเป็นการสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสาธารณชนด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงอยากแนะนำแนวทางการทำ CSR ดังนี้

1. การลงทุนริเริ่มในสิ่งใหม่ๆ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

โดยอาจจะสนับสนุนองค์กรระดับท้องถิ่นหรือระดับประเทศ ผ่านการบริจาค หรือแม้แต่อาจจัดงานรณรงค์ เพื่อแก้ปัญหาใดๆ และอาจใช้ความเชี่ยวชาญขององค์กรในการเป็นกระบอกเสียง เพื่อให้คนหันมาเห็นความสำคัญของปัญหา หรือเข้ามาช่วยเหลือ บางองค์กรอาจส่งเสริมหรือเชิญชวนให้พนักงานบริจาค เพื่อช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา การสร้างรายได้ หรือด้านสุขภาพ เป็นต้น

2. การใช้แรงงานอย่างมี "จริยธรรม"

องค์กรต่างๆ เริ่มตระหนักว่าทั้งพนักงานมีแนวโน้มจะเป็นพนักงาน ในอนาคตล้วนมองหาบริษัทที่ดูแลพนักงาน ทั้งในและนอกเวลางาน ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่า องค์กรดึงดูดคนที่มีความสามารถมากพอ และมีจริยธรรมธุรกิจที่ดี ด้วยการให้แรงจูงใจที่ดีและแข่งขันได้ สร้างสถานที่ทำงานที่สะดวกสบาย และสร้างความผูกพันในหมู่พนักงานเสมอๆ

3. การส่งเสริมการทำบุญเพื่อการกุศล

อาจมีพันธกิจในการสร้างการเปลี่ยนแปลง ด้วยการตั้งทีมงานด้านความรับผิดต่อสังคมขึ้นมา เพื่อให้องค์กรสามารถช่วยเหลือกลับคืนสู่สังคม เช่น บางบริษัทอาจจูงใจให้พนักงานร่วมทำการกุศล หรืออาจไปร่วมกับพันธมิตร ภายนอกองค์กรเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม การใส่ใจกับเรื่องสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มมองหาหนทางที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงหันมาสนับสนุนแบรนด์หรือธุรกิจที่ทำเช่นเดียวกัน

4. การใส่ใจกับเรื่องสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มมองหาหนทางที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงหันมาสนับสนุนแบรนด์หรือธุรกิจที่ทำเช่นเดียวกัน

5. การมุ่งลดโลกร้อน

ซึ่งเป็นกระแสในปัจจุบันพอดี ธุรกิจต่างๆ สามารถเปลี่ยนแปลงองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือลดภาวะโลกร้อน โดยมีหลากหลายวิธีที่สามารถทำได้ เช่น การเพิ่มการรีไซเคิล การลดการใช้พลังงาน และนำการบริหารจัดการของเสีย เช่น การลดการใช้กระดาษ การนำของเสียกลับมาทำปุ๋ย การลดการใช้พลาสติก และการออกนโยบายต่างๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น นโยบายการเดินทางโดยรถสาธารณะ คาร์พูล หรือการให้ผลประโยชน์แก่ผู้ใช้รถไฮบริด หรือการเข้าพักที่โรงแรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

การทำ CSR ถือว่าเป็นการทำประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงช่องทางของผู้บริโภคกับชุมชนได้ดี ที่สุดและสามารถวางแผนร่วมกับการทำประชาสัมพันธ์ขององค์การได้ ดังนั้น การทำ CSR ควบคู่ไปกับการทำธุรกิจไม่ใช่เรื่องยาก นอกจากนี้การทำ CSR ไม่ใช่เป็นการแข่งขันในการทุ่มเงินเพื่อสังคม ทว่าเป็นทำอย่างไรให้พนักงานมีใจที่เป็น CSR โดยแนวทางนี้ถือเป็นการนำ CSR ที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง เพราะยังมีผลประโยชน์ทางอ้อมในการเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในองค์กรอีกด้วย

เริ่มทำ CSR อย่างไรดี

1.ต้องพิจารณาว่ากิจกรรมนั้นทำแล้วส่งผลต่อผู้อื่น สิ่งแวดล้อม หรือระบบนิเวศโดยรวมหรือไม่ การทำ CSR จะเป็นกิจกรรมที่แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อการดำเนินงานนั้น ไม่ว่าจะดำเนินการตามข้อกฎหมายกำหนด หรือเป็นการบรรเทาผลกระทบนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดไว้

2. “สังคม” ที่อยู่ในคำว่า “Corporate Social Responsibility” คือ การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมกับผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กรก่อน และต้องมีความรับผิดชอบในการจ่ายค่าจ้างเงินเดือนหรือผลตอบแทนให้ตรงต่อเวลาการจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัยและอาชีวอนามัยสังคมหรือผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร

3. ผู้บริหารหรือผู้จัดการที่องค์กรต้องรับผิดชอบดeเนินการจัดวางระบบการบริหารให้มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ มีโครงสร้างและกลไกการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีการเสริมสร้างวัฒนธรรมค่านิยมองค์กรและทัศนคติของบุคลากรที่เอื้อต่อการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อเป็นรากฐานให้เกิดการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กร

สรุป

องค์กรที่เริ่มจากการทำ CSR ภายในองค์กรได้ดั่งข้างต้นจะมีความพร้อมต่อการขับเคลื่อน CSR ภายนอกองค์กรมากกว่าองค์กรที่เริ่มต้นจากการทำกิจกรรม CSR เพื่อสังคมภายนอก ตั้งแต่แรก อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่เริ่มจากการมีบรรษัทภิบาล หรือ Corporate Governance (CG) ในองค์กร ซึ่งเป็นฐานสำหรับการดำเนิน เรื่อง CSR กับสังคมภายนอกองค์กรในขั้นต่อไป หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้หน่วยงานที่กำลังเริ่มทำ CSR ได้เข้าใจว่าควรจะเริ่มทำ CSR จากตรงจุดไหนก่อน

หากใครที่สนใจไปทำกิจกรรม CSR สามารถติดต่อใช้บริการเช่ารถบัส ของ DASH MV ได้ที่เบอร์ 092-185 6699 หรือ LINE: @DASHMV ซึ่งจะทำให้การเดินทางของคุณจะปลอดภัยและสบายใจได้อย่างแน่นอน เพราะความปลอดภัยถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด