ตัวอย่าง แผนการ สอน แบบ active learning

ตัวอย่าง แผนการ สอน แบบ active learning
สรุปง่ายๆ ; การเรียนรู้แบบ Active Learning คือ การจัดการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ (1) อภิปรายกลุ่ม (ทำงานกลุ่มและมีการอภิปรายลงข้อสรุป) (2) ลงมือปฏิบัติ (ทำชิ้นงานบางอย่าง) (3) นำเสนอผลงาน (สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้) (4) วิจัยค้นคว้าพัฒนาได้เอง (ต่อยอดเป็นโครงงานหรือสร้างนวัตกรรม)

การออกแบบการจัดการเรียนรู้ (หรือการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้) จะใช้การสอนแบบใดก็ได้ที่ตอบโจทย์ข้างต้น ซึ่งหากทำได้จะช่วยส่งเสริมเรื่อง STEM Education ที่กำลังฮอตในปัจจุบัน ได้ด้วย ซึ่งในที่นี้ขอนำเสนอวิธีจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงสังคมวัฒนธรรม (sociocultural approach) ของ Anantasook(2016) ซึ่งมี 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นกระตุ้นความสนใจ 2. ขั้นสำรวจและค้นหา 3. ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป 4. ขั้นสร้างผลผลิตของความเข้าใจ 5. ขั้นสะท้อนผลผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้

ดาวน์โหลดตัวอย่างแผนดังกล่าวได้ที่นี่ :>> [http://www.astroeducation.com/stem-teaching-plan/] ขอขอบคุณ : ภาพประกอบจากคู่มือการอบรมครูจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ของ อจท.

วันที่ 13 มิถุนายน 2566 ขอนำเสนอ Active Learning คือกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระท าและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระท าลงไป (Bonwell, 1991) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้สมมติฐานพื้นฐาน 2 ประการคือ 1) การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์, และ 2) แต่ละบุคคลมีแนวทางในการ เรียนรู้ที่แตกต่างกัน (Meyers and Jones, 1993) โดยผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้(receive) ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้(co-creators) ( Fedler and Brent, 1996)

ตัวอย่างเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน รวมทั้งสามารถใช้ได้กับนักเรียนทุกระดับ ทั้งการเรียนรู้เป็นรายบุคคล การเรียนรู้แบบกลุ่มเล็ก และการเรียนรู้แบบกลุ่มใหญ่ McKinney (2008) ได้เสนอตัวอย่างรูปแบบหรือเทคนิค การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้ดี ได้แก่

1.การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนดแต่ละคน ประมาณ 2-3 นาที (Think) จากนั้นให้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนอีกคน 3-5 นาที (Pair) และนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share)

2.การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยจัดเป็นกลุ่มๆ ละ 3-6 คน

3.การเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน (Student-led review sessions) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้และพิจารณาข้อสงสัยต่าง ๆ ในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ โดยครูจะคอยช่วยเหลือกรณีที่มีปัญหา

4.การเรียนรู้แบบใช้เกม (Games) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนนำเกมเข้าบูรณาการในการเรียนการสอน ซึ่งใช้ได้ทั้งในขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน การสอน การมอบหมายงาน และหรือขั้นการประเมินผล

5.การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ (Analysis or reactions to videos) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ดูวีดีโอ 5-20 นาที แล้วให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น หรือสะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู อาจโดยวิธีการพูดโต้ตอบกัน การเขียน หรือ การร่วมกันสรุปเป็นรายกลุ่ม

6.การเรียนรู้แบบโต้วาที (Student debates) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้ เพื่อยืนยันแนวคิดของตนเองหรือกลุ่ม

7.การเรียนรู้แบบผู้เรียนสร้างแบบทดสอบ (Student generated exam questions) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างแบบทดสอบจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว

8.การเรียนรู้แบบกระบวนการวิจัย (Mini-research proposals or project) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่อิงกระบวนการวิจัย โดยให้ผู้เรียนกำหนดหัวข้อที่ต้องการเรียนรู้ วางแผนการเรียน เรียนรู้ตามแผน สรุปความรู้หรือสร้างผลงาน และสะท้อนความคิดในสิ่งที่ได้เรียนรู้ หรืออาจเรียกว่าการสอนแบบโครงงาน(project-based learning) หรือ การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน(problem-based learning)

9.การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze case studies) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้อ่านกรณีตัวอย่างที่ต้องการศึกษา จากนั้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแนวทางแก้ปัญหาภายในกลุ่ม แล้วนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด

10.การเรียนรู้แบบการเขียนบันทึก (Keeping journals or logs) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้พบเห็น หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน รวมทั้งเสนอความคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบันทึกที่เขียน

11.การเรียนรู้แบบการเขียนจดหมายข่าว (Write and produce a newsletter) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนร่วมกันผลิตจดหมายข่าว อันประกอบด้วย บทความ ข้อมูลสารสนเทศ ข่าวสาร และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วแจกจ่ายไปยังบุคคลอื่นๆ

12.การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Concept mapping) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนออกแบบแผนผังความคิด เพื่อนำเสนอความคิดรวบยอด และความเชื่อมโยงกันของกรอบความคิด โดยการใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง อาจจัดทำเป็นรายบุคคลหรืองานกลุ่ม แล้วนำเสนอผลงานต่อผู้เรียนอื่นๆ จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคนอื่นได้ซักถามและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

แผนการสอน Active Learning มีอะไรบ้าง

สรุปง่ายๆ ; การเรียนรู้แบบ Active Learning คือ การจัดการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ (1) อภิปรายกลุ่ม (ทำงานกลุ่มและมีการอภิปรายลงข้อสรุป) (2) ลงมือปฏิบัติ (ทำชิ้นงานบางอย่าง) (3) นำเสนอผลงาน (สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้) (4) วิจัยค้นคว้าพัฒนาได้เอง (ต่อยอดเป็นโครงงานหรือสร้างนวัตกรรม)

Active Learning 5 ขั้นตอนมีอะไรบ้าง

หนึ่งในเทคนิคสำคัญที่นำมาใช้สอดแทรกไปกับเนื้อหาการเรียน คือ 5 เสต็ปส์พัฒนาการเรียนการสอน เริ่มจาก 1. การตั้งคำถาม 2. การแสวงหาความรู้สารสนเทศ 3. สร้างองค์ความรู้ 4. เรียนรู้เพื่อการสื่อสาร และ 5. การตอบแทนสังคม นำความรู้ไปเผยแพร่

ตัวอย่างกิจกรรม Active Leening มีอะไรบ้าง

Active Learning คืออะไร?.

สารบัญ ... .

การเรียนรู้โดยเน้นปัญหา (Problem-Based Learning) ... .

การเรียนรู้โดยเน้นโครงงาน (Project-Based Learning) ... .

ระดมสมอง (Brainstorming) ... .

แสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) ... .

การเรียนรู้ผ่านเกม (Game-Based Learning) ... .

การสรุปผังความคิด (Mind Mapping/Concept Mapping).

ขั้นตอนการสอนแบบ Active Learning มีกี่ขั้นตอน

การเรียนรู้แบบ active learning นั้นหากต้องการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพจะมีด้วยกันอยู่ 5 ขั้น ตอน active learning ซึ่งมักจะรู้จักกันใน 5 STEPS Active Learning ที่ผู้สอนควรที่จะออกแบบจัดการเรียนรู้ให้ได้ตามนี้เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของผู้เรียน 5 ขั้นตอนการสอนแบบ Active Learning.