ต วการ ต นน กเร ยน ม.ปลาย น าร กๆ

ต วการ ต นน กเร ยน ม.ปลาย น าร กๆ

หมายเหตุ :

* ไม่อยู่ในหลักสูตรแต่พี่ๆ WE แนะนำให้เรียน เพราะเป็นบทที่เป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปต่อยอดในบทอื่นๆ ต่อได้ ** กำหนดการเชิงเส้นไม่อยู่ในหลักสูตร แต่พี่ๆ WE คิดว่าควรเรียนเพิ่มเติม จึงจัดให้อยู่ท้ายต่อจากบทสถิติ

ต วการ ต นน กเร ยน ม.ปลาย น าร กๆ

เมื่อจบกลุ่ม B สามารถเลือกเรียนได้ 3 รูปแบบคือ

1. กลุ่ม C 2. กลุ่ม D 3. กลุ่ม E ** แนะนำ : เรียน กลุ่ม C ก่อน กลุ่ม D เนื่องจาก กลุ่ม C มีความเป็นรูปธรรมมากกว่า กลุ่ม D ** แนะนำ : เรียนกลุ่ม E ก่อน F เนื่องจากกลุ่ม F เป็นเนื้อหาฟิสิกส์แผนใหม่ ซึ่งมีความซับซ้อนมากกว่า กลุ่ม E ** แนะนำ : ควรเรียนกลุ่ม C และ D ให้จบก่อนเรียนกลุ่ม F เนื่องจากเป็นพื้นฐานความรู้ในการเรียน

ต วการ ต นน กเร ยน ม.ปลาย น าร กๆ

* น้อง ม.4 ให้ไล่เรียนตามแผนภาพได้เลย ** ส่วนน้องที่เพิ่งมาเก็บเนื้อหาตอน ม.5 ให้เรียนกลุ่มพื้นฐานชีวะ และกลุ่มพันธุศาสตร์ก่อน จากนั้นกลุ่มอื่นๆ จะเรียนอันไหนก่อนหรือหลังก็ได้ ถ้าจะเรียนให้ตรงกับที่โรงเรียนสอนอยู่ก็ดี *** สำหรับน้อง ม.6 ไม่มีเวลามานั่งเรียนเก็บเนื้อหาแล้ว ไปเรียนคอร์ส ULTIMATE ได้เลยและฝึกทำโจทย์อย่างต่อเนื่อง อย่าประมาทนี่ไม่ใช่เวลามาขี้เกียจแล้วนะ

ต วการ ต นน กเร ยน ม.ปลาย น าร กๆ

ต วการ ต นน กเร ยน ม.ปลาย น าร กๆ

ความถนัดแพทย์ ม.ปลายม.4ม.5ม.6เทอม 1เทอม 2เทอม 1เทอม 2เทอม 1เทอม 2 ความถนัดแพทย์

ต วการ ต นน กเร ยน ม.ปลาย น าร กๆ

ต วการ ต นน กเร ยน ม.ปลาย น าร กๆ

สำหรับการเรียนคณิต ม.4 จะเป็นการเรียนต่อยอดจากคณิต ม.ต้น และเป็นพื้นฐานของวิชาคณิตศาสตร์ในปีต่อ ๆ ไป เช่น เซต ตรรกศาสตร์ จำนวนจริง แต่ว่าในแต่ละเทอมจะมีบทเรียนอะไรบ้าง เราไปดูพร้อม ๆ กันเลยย

คณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 1

เซต

  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเซต ได้แก่ การเขียนเซต ลักษณะความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของเซต สมาชิกและจำนวนสมาชิกในเซต สับเซต และเพาเวอร์เซต
  • การดำเนินการระหว่างเซต โดยการนำเซตสองเซตขึ้นไปมาดำเนินการ ซึ่งมี 4 การดำเนินการ ได้แก่ ยูเนียน อินเตอร์เซกชัน ผลต่าง และ คอมพลีเมนต์
  • การแก้ปัญหาโดยใช้เซต เป็นการแก้โจทย์ปัญหาที่เกี่ยวกับเซต ซึ่งเน้นไปที่การหาจำนวนสมาชิกภายใน เซตต่าง ๆ

ตรรกศาสตร์

  • ประพจน์ จะพูดถึงความหมายและลักษณะของสิ่งที่เป็นประพจน์ และสิ่งที่ไม่เป็นประพจน์
  • การเชื่อมประพจน์ จะนำประพจน์สองประพจน์ขึ้นไปมาดำเนินการ ซึ่งมี 5 การดำเนินการ ได้แก่ นิเสธ และ หรือ ถ้า…แล้ว… และ ก็ต่อเมื่อ
  • การหาค่าความจริงของประพจน์ ประพจน์ต่าง ๆ จะมีค่าความจริงได้แก่ จริง และ เท็จ ซึ่งเราสามารถหา ค่าความจริงของรูปแบบของประพจน์ใด ๆ ได้
  • สมมูลและนิเสธของประพจน์ จะพูดถึงรูปแบบของประพจน์ที่มีค่าความจริงตรงกันไม่ว่ากรณีใด ๆ
  • สัจนิรันดร์และการอ้างเหตุผล จะพูดถึงรูปแบบของประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็นจริงเสมอ รวมไปถึงรูปแบบของประพจน์ที่แสดงถึงการอ้างเหตุผล ซึ่งมีส่วนของเหตุ และส่วนของผล
  • ตัวบ่งปริมาณและประโยคเปิด จะพูดถึงรูปแบบและลักษณะของประโยคเปิดที่มีตัวบ่งปริมาณ รวมไปถึงการ หาค่าความจริง สมมูล และนิเสธ

จำนวนจริง

  • ระบบจำนวนจริง จะพูดถึงโครงสร้างของเซตของจำนวนจริง รวมไปถึงสมบัติต่าง ๆ ของจำนวนจริง
  • พหุนามตัวแปรเดียว เป็นการปูพื้นฐานของเรื่องนี้ ซึ่งเราเคยเรียนใน ม.ต้น มาแล้วส่วนหนึ่ง โดยเป็นการ ดำเนินการของเอกนามที่นำมาประกอบกันเป็นพหุนาม
  • การแยกตัวประกอบของพหุนาม เมื่อจำนวนจริงสามารถแยกตัวประกอบได้ พหุนามก็สามารถทำได้เช่นกัน ซึ่งจะมีเครื่องมือต่าง ๆ ที่สามารถแยกตัวประกอบของพหุนามได้
  • สมการพหุนาม เป็นการแก้สมการหาค่าของตัวแปรโดยอาศัยการเท่ากันของจำนวนจริง และมีเรื่องใหม่ซึ่งได้แก่ เศษส่วนของพหุนาม โดยจะมีสมบัติเพิ่มเติมนั่นคือ คำตอบของสมการจะไม่ทำให้ตัวส่วนเป็นศูนย์เด็ดขาด
  • อสมการพหุนาม เป็นการแก้สมการหาค่าของตัวแปรโดยอาศัยการไม่เท่ากันของจำนวนจริงและช่วง
  • ค่าสัมบูรณ์ จะพูดถึงระยะห่างของจำนวนต่าง ๆ บนเส้นจำนวน รวมไปถึงการแก้สมการและอสมการค่าสัมบูรณ์

คณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 2

ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน

  • ความสัมพันธ์ จะพูดถึงเซตของคู่อันดับที่นำสมาชิกตัวหน้าของคู่อันดับมาจากเซตหนึ่ง และสมาชิกตัวหลังของคู่อันดับมาจากอีกเซตหนึ่ง
  • ฟังก์ชัน จะพูดถึงลักษณะของความสัมพันธ์รูปแบบหนึ่ง และลักษณะของฟังก์ชันรูปแบบต่าง ๆ
  • การใช้ฟังก์ชันในชีวิตจริง จะพูดถึงลักษณะของฟังก์ชันต่าง ๆ ที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน รวมไปถึง การสร้างฟังก์ชัน
  • กราฟของฟังก์ชัน เป็นการสร้างกราฟของฟังก์ชันต่าง ๆ ในชีวิตจริง
  • การดำเนินการของฟังก์ชัน พูดถึงฟังก์ชันสองฟังก์ชันขึ้นไปมาดำเนินการบวก ลบ คูณ หาร หรือฟังก์ชันที่ ซับซ้อนมากขึ้นอันได้แก่ ฟังก์ชันประกอบได้
  • ฟังก์ชันผกผัน พูดถึงลักษณะของความสัมพันธ์ที่มีการสลับสมาชิกตัวหน้ากับตัวหลัง

ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม

  • เลขยกกำลัง จะพูดถึงพื้นฐานของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม ซึ่งได้แก่ เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ และพูดถึงสมบัติการดำเนินการของเลขยกกำลังรวมไปถึงรากและจำนวนจริงในรูปกรณฑ์
  • ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล จะพูดถึงฟังก์ชันของเลขยกกำลังและกราฟ รวมไปถึงลักษณะของฟังก์ชัน เอกซ์โพเนนเชียล
  • สมการและอสมการเอกซ์โพเนนเชียล จะพูดถึงการแก้สมการและอสมการในรูปของเลขยกกำลัง โดยอาศัยสมบัติการดำเนินการของเลขยกกำลัง
  • ฟังก์ชันลอการิทึม หรือฟังก์ชันผกผันของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล จะพูดถึงลักษณะของฟังก์ชันลอการิทึมและกราฟ รวมไปถึงลักษณะของฟังก์ชันลอการิทึม
  • สมบัติของลอการิทึม จะพูดถึงสมบัติของลอการิทึม โดยอาศัยสมบัติของเอกซ์โพเนนเชียล
  • สมการและอสมการลอการิทึม จะพูดถึงการแก้สมการและอสมการในรูปของลอการิทึมโดยอาศัยสมบัติและ ข้อจำกัดต่าง ๆ
  • การประยุกต์ของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม เป็นการนำฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึมไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันในศาสตร์เดียวกันหรือศาสตร์อื่น เช่น ฟิสิกส์ เคมี

เรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย

  • เรขาคณิตวิเคราะห์ จะพูดถึงคุณสมบัติและลักษณะต่าง ๆ ของเส้นตรง สมการและการวาดกราฟ ความสัมพันธ์ที่เป็นเส้นตรง
  • ภาคตัดกรวย จะพูดถึงความสัมพันธ์ที่เกิดจากการตัดกรวยในระนาบต่าง ๆ รวมไปถึงการวาดกราฟ ซึ่งได้แก่ วงกลม วงรี พาราโบลา และไฮเพอร์โบลา รวมไปถึงการเลื่อนกราฟของความสัมพันธ์เหล่านี้

คณิต ม.4 เป็นด่านแรกของคณิตศาสตร์ ม.ปลาย ซึ่งเนื้อหาก็จะเริ่มจากพื้นฐานแล้วค่อย ๆ ไต่ระดับความยากขึ้น แต่ไม่ต้องกังวลกันน้าาา พี่เชื่อว่าถ้าน้อง ๆ ทบทวนบทเรียนหรือทำโจทย์เป็นประจำ ยังไงก็เก่งขึ้นแน่นอน !! แต่ถ้าใคร ลองดูแล้วยังไม่เข้าใจ อยากได้ตัวช่วยเพิ่ม พี่แนะนำคอร์สติวเสริมเกรด ม.4 เลยย เพราะคอร์สนี้จะเริ่มสอนปูพื้นฐาน พาทำโจทย์พร้อมเทคนิคอีกมากมายย ถ้าใครสนใจ คลิก ดูรายละเอียดกันก่อนเลยยย

คณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.4

เซต

  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเซต ได้แก่ การเขียนเซต ลักษณะความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของเซต สมาชิกและจำนวนสมาชิกในเซต สับเซต และเพาเวอร์เซต
  • การดำเนินการระหว่างเซต โดยการนำเซตสองเซตขึ้นไปมาดำเนินการ ซึ่งมี 4 การดำเนินการ ได้แก่ ยูเนียน อินเตอร์เซกชัน ผลต่าง และ คอมพลีเมนต์
  • การแก้ปัญหาโดยใช้เซต เป็นการแก้โจทย์ปัญหาที่เกี่ยวกับเซต ซึ่งเน้นไปที่การหาจำนวนสมาชิกภายใน เซตต่าง ๆ

ตรรกศาสตร์เบื้องต้น

  • ประพจน์ จะพูดถึงความหมายและลักษณะของสิ่งที่เป็นประพจน์ และสิ่งที่ไม่เป็นประพจน์
  • การเชื่อมประพจน์ จะนำประพจน์สองประพจน์ขึ้นไปมาดำเนินการ ซึ่งมี 5 การดำเนินการ ได้แก่ นิเสธ และ หรือ ถ้า…แล้ว… และ ก็ต่อเมื่อ
  • การหาค่าความจริงของประพจน์ ประพจน์ต่าง ๆ จะมีค่าความจริงได้แก่ จริง และ เท็จ ซึ่งเราสามารถหา ค่าความจริงของรูปแบบของประพจน์ใด ๆ ได้

หลักการนับเบื้องต้น

  • หลักการบวกและหลักการคูณ เป็นพื้นฐานในการทำงานของหลักการนับ ซึ่งมีทั้งหมดสองหลักการที่ต้องเลือกใช้ให้ถูกต้อง
  • การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้นของสิ่งของที่แตกต่างกันทั้งหมด โดยอาศัยหลักการบวกและหลักการคูณ นำมาซึ่งการนับการทำงานเชิงเส้นทั้งหมดที่เป็นไปได้
  • การจัดหมู่สิ่งของที่แตกต่างกันทั้งหมด อธิบายลักษณะที่แตกต่างกันระหว่างการเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่

ความน่าจะเป็น

  • การทดลองสุ่ม ปริภูมิตัวอย่าง และเหตุการณ์ เป็นสามคำพื้นฐานที่นำไปสู่เรื่องของความน่าจะเป็น โดยอาศัยจำนวนวิธีการทำงานที่เราสนใจเทียบกับจำนวนวิธีการทำงานทั้งหมดที่เป็นไปได้
  • ความน่าจะเป็น จะพูดถึงสัดส่วนของจำนวนวิธีการทำงานที่เราสนใจเทียบกับจำนวนวิธีการทำงานทั้งหมดที่ เป็นไปได้

คลิปติวคณิตเพิ่มเติม ม.4

ต วการ ต นน กเร ยน ม.ปลาย น าร กๆ

คณิตศาสตร์ ม.5 เรียนเรื่องอะไรบ้าง ?

สำหรับคณิต ม.5 น้อง ๆ จะยังได้ใช้พื้นฐานวิชาคณิตศาสตร์ที่ได้เรียนมาจากคณิต ม.4 มาต่อยอดเนื้อหาต่าง ๆ รวมไปถึงเนื้อหาใหม่ที่จะได้เรียนเพิ่มกันด้วย แต่จะมีบทไหนบ้าง เรามาดูพร้อม ๆ กันเลยยย

คณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 1

ฟังก์ชันตรีโกณมิติ

  • ฟังก์ตรีโกณมิติต่าง ๆ จะพูดถึงการหาค่าของฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุมต่าง ๆ โดยอาศัยวงกลมหนึ่งหน่วย
  • กราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติ จะพิจารณากราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะพิเศษนั่นคือ เป็นฟังก์ชันที่เป็นคาบ
  • ฟังก์ชันตรีโกณมิติของผลบวกและผลต่างของมุม จะพูดถึงการหาค่าของฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุมที่มีลักษณะซับซ้อนยิ่งขึ้น
  • ตัวผกผันของฟังก์ชันตรีโกณมิติ เช่นเดียวกับในบทความสัมพันธ์และฟังก์ชัน เราจะได้เรียนตัวผกผัน ซึ่งสำหรับฟังก์ชันตรีโกณมิตินั้นมีข้อจำกัดบางอย่างในการพิจารณาตัวผกผัน
  • เอกลักษณ์ตรีโกณมิติและสมการตรีโกณมิติ พูดถึงลักษณะพิเศษซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของตรีโกณมิติโดยอาศัยวงกลมหนึ่งหน่วย รวมไปถึงการนำเอกลักษณ์นี้ไปใช้ในการแก้สมการตรีโกณมิติ
  • กฎของไซน์และกฎของโคไซน์ จะพูดถึงลักษณะบางอย่างภายในสามเหลี่ยมใด ๆ ซึ่งสามารถใช้กฏทั้งสองไปประยุกต์ใช้ได้
  • การหาระยะทางและความสูง เป็นการนำความรู้อัตราส่วนตรีโกณมิติและฟังก์ชันตรีโกณมิติไปประยุกต์ใช้ในการหาระยะทางและความสูง

เมทริกซ์

  • ความรู้เบื้องต้นของเมทริกซ์ เป็นการทำความเข้าใจลักษณะของข้อมูลที่เป็นแถวและหลัก นอกจากนี้ จะพูดถึงการเท่ากันของเมทริกซ์ พีชคณิตของเมทริกซ์ ได้แก่ การบวก ลบ คูณ และเมทริกซ์ที่มีลักษณะพิเศษ บางประการ
  • ดีเทอร์มิแนนต์ เป็นการหาค่าประจำตัวของเมทริกซ์ ซึ่งจะพูดถึงดีเทอร์มิแนนต์ของเมทริกซ์ที่มีขนาด 2×2 และ 3×3 เท่านั้น และการดำเนินการบางอย่างกับการเปลี่ยนแปลงค่าดีเทอร์มิแนนต์
  • เมทริกซ์ผกผัน เป็นการหาตัวผกผันการคูณของเมทริกซ์ ซึ่งจะพิจารณาเฉพาะเมทริกซ์ผกผันขนาด 2×2 เท่านั้น
  • การหาคำตอบของระบบสมการเชิงเส้น เป็นการนำความรู้ของเมทริกซ์ทั้งหมดไปประยุกต์ใช้กับการแก้ระบบสมการเชิงเส้น ซึ่งมีจำนวนสมการมากกว่า 2 สมการ และมีตัวแปรมากกว่า 3 ตัวแปร โดยอาศัยการดำเนินการตามแถว

เวกเตอร์

  • เวกเตอร์และสมบัติของเวกเตอร์ จะพูดถึงลักษณะเบื้องต้นของเวกเตอร์ การเท่ากันของเวกเตอร์ นิเสธของ เวกเตอร์ การบวก ลบเวกเตอร์ และการคูณเวกเตอร์ด้วยสเกลาร์
  • เวกเตอร์ระบบพิกัดฉากสามมิติ จะพูดถึงระบบพิกัดฉากสามมิติและเวกเตอร์ในระบบพิกัดฉากสามมิติ ซึ่งอาศัยความรู้ของเมทริกซ์มาช่วยแสดงลักษณะของเวกเตอร์ต่าง ๆ
  • ผลคูณเชิงสเกลาร์ สำหรับการคูณเวกเตอร์ด้วยเวกเตอร์ จะได้ผลคูณสองแบบ แบบแรกคือผลคูณเชิงสเกลาร์ ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เป็นสเกลาร์ และสมบัติต่าง ๆ ของผลคูณเชิงสเกลาร์
  • ผลคูณเชิงเวกเตอร์ เป็นการคูณเวกเตอร์ด้วยเวกเตอร์แบบที่สอง ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เป็นเวกเตอร์ และ สมบัติต่าง ๆ ของผลคูณเชิงเวกเตอร์ รวมไปถึงการนำเวกเตอร์ไปประยุกต์ใช้โดยการประกอบรูปสี่เหลี่ยม ด้านขนานและทรงสี่เหลี่ยมด้านขนานจากเวกเตอร์สองเวกเตอร์ขึ้นไป

คณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 2

จำนวนเชิงซ้อน

  • ความรู้เบื้องต้นของจำนวนเชิงซ้อน อธิบายลักษณะของจำนวนเชิงซ้อนที่ขยายความมาจากจำนวนจริง ซึ่งจะมีทั้งส่วนจริงและส่วนจินตภาพ
  • สมบัติเชิงพีชคณิตของจำนวนเชิงซ้อน อธิบายเอกลักษณ์และการดำเนินการของจำนวนเชิงซ้อน
  • กราฟและค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเชิงซ้อน เป็นการนำความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเวกเตอร์มาวาดกราฟของจำนวนเชิงซ้อน และหาค่าสัมบูรณ์หรือขนาดของจำนวนเชิงซ้อน
  • รูปเชิงขั้วของจำนวนเชิงซ้อน เป็นการเขียนจำนวนเชิงซ้อนในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชันตรีโกณมิติและ เวกเตอร์
  • รากที่ n ของจำนวนเชิงซ้อน เป็นการหารากของจำนวนเชิงซ้อนซึ่งในการเขียนแบบปกติอาจไม่สามารถหารากที่ซับซ้อนได้ จำเป็นต้องใช้รูปเชิงขั้วในการหารากที่ซับซ้อน
  • สมการพหุนามตัวแปรเดียว อธิบายลักษณะของสมการพหุนามที่มีสัมประสิทธิ์เป็นจำนวนจริงทั้งหมด แต่มี คำตอบของสมการเป็นจำนวนเชิงซ้อน

หลักการนับเบื้องต้น

  • หลักการบวกและหลักการคูณ เป็นพื้นฐานในการทำงานของหลักการนับ ซึ่งมีทั้งหมดสองหลัก
  • การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้นของสิ่งของที่แตกต่างกันทั้งหมด โดยอาศัยหลักการบวกและหลักการคูณ นำมาซึ่งการนับการทำงานเชิงเส้นทั้งหมดที่เป็นไปได้
  • การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้นของสิ่งของที่ไม่แตกต่างกันทั้งหมด โดยอาศัยหลักการบวกและหลักการคูณ นำมาซึ่งการนับการทำงานเชิงเส้นที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น
  • การเรียงสับเปลี่ยนเชิงวงกลมของสิ่งของที่แตกต่างกันทั้งหมด โดยอาศัยหลักการบวกและหลักการคูณ นำมาซึ่งการนับการทำงานเชิงวงกลมทั้งหมดที่เป็นไปได้
  • การจัดหมู่สิ่งของที่แตกต่างกันทั้งหมด อธิบายลักษณะที่แตกต่างกันระหว่างการเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่
  • ทฤษฎีบททวินาม อธิบายลักษณะการกระจายและสัมประสิทธิ์การกระจายพหุนามเลขยกกำลังของ ตัวแปรสองตัวแปร

ความน่าจะเป็น

  • การทดลองสุ่ม ปริภูมิตัวอย่าง และเหตุการณ์ เป็นสามคำพื้นฐานที่นำไปสู่เรื่องของความน่าจะเป็น โดยอาศัยจำนวนวิธีการทำงานที่เราสนใจเทียบกับจำนวนวิธีการทำงานทั้งหมดที่เป็นไปได้
  • ความน่าจะเป็น จะพูดถึงสัดส่วนของจำนวนวิธีการทำงานที่เราสนใจเทียบกับจำนวนวิธีการทำงานทั้งหมดที่เป็นไปได้
  • กฎที่สำคัญบางประการของความน่าจะเป็น เป็นการเชื่อมโยงและประยุกต์ความน่าจะเป็นกับเรื่องของเซต

เนื้อหาของคณิตศาสตร์ ม.5 ก็จะเพิ่มระดับความยากขึ้นมาอีก บทไหนที่เคยเรียนเป็นพื้นฐานก็จะถูกนำกลับมา ต่อยอดกันในปีนี้ ซึ่งบางเรื่องก็อาจจะมีสูตรเยอะหน่อย แต่ถ้าน้อง ๆ เข้าใจวิธีการคิดของบทนั้น ๆ ไม่ว่าจะเจอโจทย์ที่หลอกแค่ไหน ก็ทำอะไรน้อง ๆ ไม่ได้แน่นอน !!

แต่ถ้าใครเรียนที่โรงเรียนแล้วไม่เข้าใจ กลับมาอ่านเองก็ยังไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มจากตรงไหนดี ลองมาดูคอร์สเสริมเกรด ของพี่ได้น้า เพราะพี่จะสอนตั้งแต่ปูพื้นฐาน และพาตะลุยแบบฝึกหัด โจทย์ซ้อมมือไปจนถึงข้อสอบแข่งขัน !! บอกก่อนเลยว่าใครพื้นฐานไม่ดีก็เรียนได้สบายมากกก ถ้าใครสนใจและอยากดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก ตรงนี้เลยย

คณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.5

เลขยกกำลัง

  • เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม ทบทวนว่าเลขยกกำลังคืออะไร รวมถึงสมบัติของเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม ทั้งจำนวนเต็มบวก ศูนย์ และจำนวนเต็มลบ
  • รากที่ n ของจำนวนจริง รู้จักกับรากที่สอง และรากที่ n ของจำนวนจริงความหมายของค่าหลักของรากที่ n รู้จักกับเครื่องหมายกรณฑ์และสมบัติที่เกี่ยวข้องกับจำนวนจริงในรูปกรณฑ์
  • เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ เรียนรู้ว่าเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ (เศษส่วน) มีความหมายว่าอย่างไร รวมถึงทฤษฎีบทที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของเลขยกกำลังเหล่านี้ว่าเหมือนหรือต่างกับเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มหรือไม่

ฟังก์ชัน

  • ฟังก์ชัน พูดถึงความสัมพันธ์ของข้อมูลสองกลุ่ม ในหัวข้อนี้จะบอกว่าฟังก์ชันคืออะไร แล้วความสัมพันธ์ของข้อมูลในแบบใดจึงจะเรียกได้ว่าเป็นฟังก์ชัน
  • ฟังก์ชันเชิงเส้น ศึกษาว่าฟังก์ชันเชิงเส้นเขียนในรูปฟังก์ชันอย่างไร กราฟมีหน้าตาแบบไหน รวมถึงโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับฟังก์ชันเชิงเส้นในชีวิตประจำวัน
  • ฟังก์ชันกำลังสอง มาเรียนรู้ว่าฟังก์ชันในลักษณะใดที่เรียกได้ว่าเป็นฟังก์ชันกำลังสอง และกราฟมีหน้าแบบใด มีองค์ประกอบใดที่ควรรู้เกี่ยวกับกราฟของฟังก์ชันกำลังสองบ้าง รวมถึงตัวอย่างโจทย์ของฟังก์ชันนี้
  • ฟังก์ชันขั้นบันได เป็นฟังก์ชันอีกรูปแบบหนึ่งที่พบได้พอสมควรในชีวิตประจำวัน หัวข้อนี้จะพาให้เห็นตัวอย่างของฟังก์ชันชนิดนี้ว่ามีความหมายอย่างไร ใช้งานอย่างไร กราฟมีหน้าตาแบบใด
  • ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ฟังก์ชันรูปแบบสุดท้ายที่จะได้ศึกษา จะมาดูกันว่าหน้าตาของฟังก์ชันเป็นอย่างไร และลักษณะของกราฟเป็นอย่างไร และการที่ค่าบางตัวในฟังก์ชันเปลี่ยนไปจะมีผลอย่างไรกับกราฟของ ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล

ลำดับและอนุกรม

  • ลำดับ รู้จักว่าลำดับคืออะไร การเขียนแสดงลำดับ รู้จักกับพจน์ทั่วไปของลำดับ และเรียนรู้ลำดับประเภทต่าง ๆ ที่สำคัญ
  • อนุกรม หัวข้อนี้จะพูดถึงความหมายของอนุกรม รวมถึงอนุกรมประเภทต่าง ๆ ที่สำคัญว่ามีอนุกรมใดบ้าง
  • การประยุกต์ของลำดับและอนุกรม พูดถึงดอกเบี้ยทบต้น มูลค่าปัจจุบันและมูลค่าอนาคต ค่างวด หัวข้อนี้จะอธิบายว่าจะใช้ความรู้เรื่องลำดับและอนุกรมมาใช้อธิบายและหาค่าต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างไร

คลิปติวคณิตเพิ่มเติม ม.5

ต วการ ต นน กเร ยน ม.ปลาย น าร กๆ

คณิตศาสตร์ ม.6 เรียนเรื่องอะไรบ้าง ?

คณิต ม.6 ถือเป็นด่านสุดท้ายของคณิต ม.ปลายที่เนื้อหาอาจจะน้อยกว่าชั้นปีอื่น ๆ แต่เนื้อหาในแต่ละบทเข้มข้นสุด ๆ แถมบางบทยังเป็นเนื้อหาที่ใช้ต่อยอดคณิตศาสตร์ของมหาลัยฯ อีกด้วยย มาลองดูกันว่าจะมีเนื้อหาอะไรบ้าง !!!!