คณะน ต ศาสตร รามค าแหง ม สาขาอะไรบ าง

สวัสดี​ครับผมชื่อมาวิน ตอนนี้ผมกำลัง​ศึกษา​อยู่คณะนิติศาสตร์​ ม.ราม​คำแหง​ ผมรู้สึกว่่าทำไม หลักสูตร​นิติศาสตร์​บัณฑิต​ และคณะอื่น ของ มร. ยากจังครับ ซึ่งกลับกัน เพื่อนผมที่เรียนนิติศาสตร์​(รวมทั้งคณะ

สมาชิกหมายเลข 7114984

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

มหาวิทยาลัย

การเรียน

จะเรียนนิติรามดีไหมมมมมม กลัวยากกก

ผมรู้สึกสับสนกับชีวิตมากเลย คือว่าผมตัดสินใจจะเรียนครู ม.ราชฏัช อะคับ แต่ครูผมบอกว่าไห้ผมเรียนนิติราม ผมคิดว่าเรียนนิติรามอาจมีโอกาศได้ดีกว่า มันเรียนยากไหมคับ คือบ้านผมอยู่สิงห์บุรี และต้องไปฟังบรรยา

สมาชิกหมายเลข 1987936

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

จังหวัดลพบุรี

จังหวัดสิงห์บุรี

ปัญหาชีวิต

การเรียน

ค่าเทอมนิติฯรามฯเทอมละเท่าไหร่?เรียนกี่เทอม?ใครเคยเรียน?เสียค่าอะไรอีกไหม? จบกี่ปี?.............................

ห้ามนานเกินกี่ปี ยากไหม ต้องเข้าชั้นเรียนบ้างไหม?

ผู้พิชิตกษัตริย์อาเธอร์

การเรียน

การศึกษา

มหาวิทยาลัย

แอดมิชชั่น

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คณะนิติศาสตร์ มธ มีสาขาอะไรบ้าง

คือเราสงสัยอะค่ะว่านิติ มธ.มีสาขาอะไรบ้าง เราลองไปหาขอมูลดูมันก็ไม่ตรงกันอะค่ะ บางเว็บก็บอกระดับ ป.ตรี มีแค่สาขานิติศาสตร์สาขาเดียว บางเว็บก็บอก มี6สาขา อีกเว็บก็บอกปี3ถึงจะมีสาขาย่อย6สาขา คือเรางงมาก

สมาชิกหมายเลข 6550764

การศึกษา

คณะนิติศาสตร์

ปริญญาตรี

การเรียน

มหาวิทยาลัย

สมัครเรียน รามคำแหง ส่วนกลาง น.ศ ใหม่ ต้องเรียนที่ไหนครับ ราม1 หรือ ราม2 ครับ

คือผมจะไปสมัครเรียนที่รามครับ แต่ยังไม่ทราบว่าต้องเรียนที่ไหน สำหรับส่วนกลาง ผมจะไปหางานแถวนั้นทำด้วยครับ เลยอยากถามเพื่อนๆพี่ๆว่า ผมต้องไปที่ราม1 หรือ ราม2 แล้วค่าใช้จ่ายในการสมัคร ประมาณเท่าไหร่

สมาชิกหมายเลข 1787155

การศึกษา

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

การเรียน

ติวเตอร์

สมาชิกหมายเลข 7859244

สมาชิกหมายเลข 6294900

สมาชิกหมายเลข 7850731

สมาชิกหมายเลข 7861306

สมาชิกหมายเลข 4489251

อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะนิติศาสตร์

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (อังกฤษ: Faculty of Law, Ramkhamhaeng University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยรามคำแหง กระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดตั้งขึ้นพร้อมกับมหาวิทยาลัยรามคำแหงอาศัยข้อบังคับและพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของประเทศไทยในอดีตและต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ได้ตอบสนองความต้องการของคนในสังคมด้วยการเปิดโอกาสทางการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้อย่างมีคุณธรรมเพื่อนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ปัจจุบันคงเปิดดำเนินการและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลตอบรับที่ดีและการปรับตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ประวัติ[แก้]

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อตั้งขึ้นพร้อมกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2514 โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหงตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 88 ตอน 24 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2514 โดยใช้อาคารสถานที่จัดนิทรรศการของงานแสดงสินค้านานาชาติ ตำบลหัวหมาก เป็นสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยชั่วคราว และมหาวิทยาลัยอนุมัติให้ใช้อาคารกลางน้ำ (ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงเป็นที่ทำการสภาอาจารย์) ให้เป็นสถานที่ทำการของคณะนิติศาสตร์ ต่อมารัฐบาลอนุมัติให้สถานที่ตั้งชั่วคราวเป็นสถานที่ตั้งถาวรของมหาวิทยาลัย คณะนิติศาสตร์จึงได้รับอนุมัติให้สร้างอาคารที่ทำการถาวร คือ อาคาร LOB (Law Office Building) ปัจจุบัน คือ อาคารคณะนิติศาสตร์ และต่อมาได้รับงบประมาณเพิ่มเติมทางคณะจึงได้ทำการสร้างอาคารอีกหลัง คือ อาคาร LOB 2 (Law Office Building) ปัจจุบันอาคารนี้ตั้งอยู่เคียงข้างกับอาคารคณะนิติศาสตร์เดิม

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้จัดการศึกษาโดยแบบการศึกษาเปิดแบบตลาดวิชา ให้โอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ทุกคนที่ใฝ่หาความรู้ จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว โดยมีผู้สมัครเข้าเป็นนักศึกษาหลายแสนคนและได้ผลิตบัณฑิตนิติศาสตร์ออกไปรับใช้สังคมแล้วมากมาย บัณฑิตเหล่านี้ได้กระจายอยู่ตามหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐและเอกชน ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ยอมรับทั้งในด้านคุณภาพและความสามารถในการปฏิบัติงาน ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ได้สร้างชื่อเสียงเกียรติคุณแก่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงด้วยดีเสมอมา

โครงสร้างคณะ[แก้]

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้มีการจัดแบ่งส่วนราชการและการจัดการบริหารงานภายในองค์กร ดังนี้

คณะนิติศาสตร์

  1. ภาควิชากฎหมายทั่วไป
  2. ภาควิชากฎหมายแพ่ง
  3. ภาควิชากฎหมายพาณิชย์
  4. ภาควิชากฎหมายมหาชน
  5. ภาควิชากฎหมายวิธีสบัญญัติ
  6. ภาควิชากฎหมายเพื่อการพัฒนา
  7. ภาควิชากฎหมายระหว่างประเทศ
  8. สำนักงานเลขานุการคณะนิติศาสตร์
  9. สำนักงานบัณฑิตศึกษา
  10. โครงการหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคพิเศษ

คณาจารย์[แก้]

ปัจจุบันคณะนิติศาสตร์มีคณาจารย์ทั้งสิ้น 66 คน แบ่งตามตำแหน่งทางวิชาการดังต่อไปนี้

  • รองศาสตราจารย์ จำนวน 33 คน
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 13 คน
  • อาจารย์ จำนวน 20 คน

ทำเนียบคณบดี[แก้]

รายนามคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้

คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง 1. ศ.สง่า ลีนะสมิต พ.ศ. 2514 – พ.ศ. 2518 2. รศ.ดร.สมศักดิ์ สิงหพันธุ์ พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2519 3. ศาสตราจารย์ ดร.วารี นาสกุล พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2522 4. รศ.สัญชัย สัจจวานิช พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2526 5. รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2530 6. รศ.พูนศักดิ์ วรรณพงษ์ พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2534 7. รศ.พรชัย สุนทรพันธุ์ พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2537 8. รศ.จรัล เล็งวิทยา พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2553 (รักษาการ) 9. รศ.ประเสริฐ ตัณศิริ พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2547 10. รศ.สุขสมัย สุทธิบดี (รักษาการ) พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2549 11. รศ.ทองสุก กรัณยพัฒนพงศ์ พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2557 12. ผศ.ดร.วิณัฏฐา แสงสุข 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561 13. รศ.ประโมทย์ จารุนิล (ปฏิบัติราชการแทนและรักษาการ) 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 - 30 เมษายน พ.ศ. 2562 14. อาจารย์ ดร. มนตรี กวีนัฏยานนท์ (รักษาการ) 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2562 15. ผศ.ดร. บุญชาล ทองประยูร (รักษาการ) 10 ตุลาคม พ.ศ. 2562 - 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (รักษาการ) 3 กันยายน พ.ศ. 2563 - 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 (รักษาการ) 16. รศ.สุวรรณี เดชวรชัย (รักษาการ) 20 ธันวาคม พ.ศ. 2562 - 14 มกราคม พ.ศ. 2563 17. ผศ.สาธิน สุนทรพันธุ์ (รักษาการ) 15 มกราคม พ.ศ. 2563 - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 18. รศ.เริงรณ ล้อมลาย (รักษาการ) 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 - 2 กันยายน พ.ศ. 2563 19. ผศ.ดร.อาจรณ เชษฐสุมน (รักษาการ) 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2564 20. รศ.ดร.ฐากูร ศิริยุทธ์วัฒนา 10 สิงหาคม พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน

การเรียนการสอน[แก้]

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดการศึกษาโดยใช้แบบการศึกษาเปิดแบบตลาดวิชา ให้โอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ทุกคนที่ใฝ่หาความรู้ เปิดทำการเรียนการสอนใน 4 หลักสูตร อนุปริญญา 1 หลักสูตร และหลักสูตรปริญญาอีก 3 หลักสูตร ดังต่อไปนี้

ปริญญาตรี

ปริญญาโท ปริญญาเอก

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (นบ.)

หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (นม.)

หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต (นด.)

การบรรยาย[แก้]

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้วางแนวทางในการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับการเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชา โดยการบรรยายในชั้นเรียนนั้น จะไม่มีการบังคับให้เข้าชั้นเรียนแต่ประการใด และแบ่งการบรรยายเป็น 2 SECTION ในวิชาที่เป็นวิชาบังคับ โดยที่นักศึกษาจะเข้า SECTION ใดก็ได้ ตามที่ตนสะดวก อีกทั้งนักศึกษาที่ไม่สะดวกเข้าเรียนก็สามารถศึกษาทางไกล โดยศึกษาผ่านการดูถ่ายทอดสดการบรรยาย(RU Cyber Class Room) วิดีโอคำบรรยายย้อนหลัง(RU Course On Demand) หรืออ่านจากตำราเรียนของมหาวิทยาลัยก็ได้

รายนามบุคคลที่มีชื่อเสียงจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง[แก้]

  1. นายกองใหญ่ บรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี
  2. ร้อยตรี นายกองใหญ่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี
  3. ทวิช กลิ่นประทุม อดีตรองนายกรัฐมนตรี
  4. พินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี
  5. วราเทพ รัตนากร อดีตรองนายกรัฐมนตรี
  6. อนุชา นาคาศัย รัฐมนตรี
  7. ชีพ จุลมนต์ ประธานศาลฎีกาคนที่ 44 และนายกสภามหาวิทยาลัยรามคำแหงท่านปัจจุบัน
  8. ปิยกุล บุญเพิ่ม ประธานศาลฎีกาคนที่ 47
  9. โชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ ประธานศาลฎีกาคนที่ 48
  10. ดร.ชัยยพล พสุรัตน์บรรจง​ หัวหน้าพรรคพลัง​
  11. ธนฤกษ์ นิติเศรณี ประธานศาลอุทธรณ์
  12. ชัยยุทธ ศรีจำนงค์ ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลฎีกา
  13. นพพร โพธิรังสิยากร ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
  14. วงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ อัยการสูงสุด
  15. สราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
  16. ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์ ผู้ช่วยพิพากษาศาลฎีกา เลขาธิการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
  17. วิวัฒน์ ว่องวิวัฒน์ไวทยะ ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ลำดับที่ 1 เนติบัณฑิต สมัยที่ 52
  18. ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  19. ร้อยตำรวจเอก นายกองใหญ่ ดร.เฉลิม อยู่บำรุง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี
  20. รองศาสตราจารย์ ดร.โภคิน พลกุล อดีตประธานรัฐสภา
  21. เจริญ จรรย์โกมล อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
  22. ดร.วราเทพ รัตนากร อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  23. ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  24. วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  25. วุฒิพงศ์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  26. อนุรักษ์ จุรีมาศ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
  27. นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
  28. ประเสริฐ บุญชัยสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  29. นายกองเอก สิทธิชัย โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  30. นายกองเอกบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  31. นายกองเอกวิสาร เตชะธีราวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  32. เฉลิมชัย ศรีอ่อน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
  33. นายกองเอกสุรชัย ศรีสารคาม อดีตปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  34. สมชาย นีละไพจิตร ทนายความ / นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน
  35. พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
  36. พล.ต.อ.ดร.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  37. ศาสตราจารย์ พลตำรวจโทหญิง ดร.นัยนา เกิดวิชัย อดีตคณบดีคณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  38. นายกองเอก เจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยเบฟเวอร์เรจ จำกัด (มหาชน)
  39. นิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)
  40. ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช กรรมการสภาทนายความ
  41. อาจารย์ วันชัย สอนศิริ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  42. ไตรภพ ลิมปพัทธ์ พิธีกรรายการโทรทัศน์ / ประธานกรรมการบริษัท บอร์น แอนด์ แอสโซซิเอทด์ จำกัด
  43. ณัฐวรา วงศ์วาสนา (มี้นท์) ดารานักแสดงชาวไทย
  44. อานุภาพ ใจแสน ลำดับที่1 เนติบัณฑิต สมัยที่ 43
  45. วิญญู พิชัย ลำดับที่1 เนติบัณฑิต สมัยที่ 47
  46. เอก ขำอินทร์ ลำดับที่1 เนติบัณฑิต สมัยที่ 53
  47. ภัทรา อยู่สำราญสุข ลำดับที่1 เนติบัณฑิต สมัยที่ 54
  48. ลีนา จังจรรจา นักธุรกิจ ทนายความ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง
  49. นิติธร ล้ำเหลือ ทนายความแห่งสภานนทนายความแห่งประเทศไทย
  50. ณัฐปกรณ์ พิชญปัญญาธรรม ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์​
  51. ลัดดาวรรณ หลวงอาจ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลชั้นต้น ​
  52. ภาณุพงศ์ จาดนอก นักเคลื่อนไหวทางสังคมและเป็นแกนนำผู้ประท้วงใน การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 จากกลุ่มผู้นำเยาวชนภาคตะวันออก ปัจจุบันต้องเผชิญกับข้อหาหลายอย่างรวมถึง การปลุกระดม
  53. ก้อง ห่วยไร่ นักร้องเพลงลูกทุ่ง หมอลำ
  54. ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ (โป่ง หิน เหล็ก ไฟ) นักร้องชาวไทย
  55. วัน อยู่บำรุง สส พรรคเพื่อไทย

สัญลักษณ์[แก้]

  • ตรา - เป็นรูปศิลาจารึก เพื่อระลึกถึงพ่อขุนรามคำแหงผู้ประดิษฐ์อักษรไทย
  • สี - สีขาวเป็นสีประจำคณะนิติศาสตร์ เป็นสัญลักษณ์ถึงความสะอาดบริสุทธิ์และอวมลทิน ทั้งนี้ ชุดครุยคณะนิติศาสตร๋ใช้แถบสีขาวเป็นแถบครุย
  • สัญลักษณ์ - ตราชูหรือดุลพ่าห์เป็นสัญลักษณ์อยู่บริเวณด้านหน้าของศิลาจารึกของพ่อขุน หมายถึงความยุติธรรม เที่ยงธรรม และมีคุณธรรม

อ้างอิง[แก้]

  • คณะผู้บริหาร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • คู่มือแนะแนวการศึกษา คณะนิติศาสตร์ ปีการศึกษา 2563
  • ผลการประชุมสภามหาวิทยาลัย
  • [1]
  • ผลการประชุมสภามหาวิทยาลัย
  • ผลการประชุมสภามหาวิทยาลัย
  • ขอแสดงความยินดีแด่ รศ.ดร.ฐากูร ศิริยุทธ์วัฒนา ในโอกาสที่ได้รับเลือกจากบุคลากรคณะนิติศาสตร์และได้รับแต่งตั้งโดยสภามหาวิทยาลัยรามคำแหงให้ดำรงตำแหน่ง “คณบดีคณะนิติศาสตร์” ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
  • หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง พุทธศักราช 2563 (สำหรับนักศึกษาส่วนกลาง รหัสนักศึกษาขึ้นต้น 63 เป็นต้นไป)
  • หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง พุทธศักราช 2563 (สำหรับนักศึกษาส่วนภูมิภาค รหัสนักศึกษาขึ้นต้น 63 เป็นต้นไป)
  • หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง พุทธศักราช 2560 (สำหรับนักศึกษาส่วนกลาง รหัสนักศึกษาขึ้นต้น 60-62)
  • "หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง พุทธศักราช 2560 (สำหรับนักศึกษาส่วนภูมิภาค รหัสนักศึกษาขึ้นต้น 60-62)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-17. สืบค้นเมื่อ 2020-08-03.
  • หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง พุทธศักราช 2560 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123, ตอนที่ 18 ข, 11 กันยายน พ.ศ. 2549, หน้า 7

คณะนิติราม มีสาขาอะไรบ้าง

คณะนิติศาสตร์.

ภาควิชากฎหมายทั่วไป.

ภาควิชากฎหมายแพ่ง.

ภาควิชากฎหมายพาณิชย์.

ภาควิชากฎหมายมหาชน.

ภาควิชากฎหมายวิธีสบัญญัติ.

ภาควิชากฎหมายเพื่อการพัฒนา.

ภาควิชากฎหมายระหว่างประเทศ.

สำนักงานเลขานุการคณะนิติศาสตร์.

ม.รามคําแหง มีจังหวัดไหนบ้าง

ภาคเหนือ – เชียงราย ที่ตั้ง – เชียงให ม่ ที่ตั้ง – แพร่ ที่ตั้ง.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ – อุดรธานี ที่ตั้ง – นครพนม ที่ตั้ง – หนองบัวลำภู ที่ตั้ง ... .

ภาคกลาง – สุโขทัย ที่ตั้ง – ลพบุรี ที่ตั้ง – เพชรบูรณ์ ... .

ภาคตะวันออก – ปราจีนบุรี ที่ตั้ง.

ภาคตะวันตก – กาญจนบุรี ที่ตั้ง.

ภาคใต้ – พังงา ที่ตั้ง – นครศรีธรรมราช ที่ตั้ง – ตรัง.

ม.รามมีคณะนิติศาสน์ใหม

เว็บไซต์ : www.law.ru.ac.th. โทร.02-310-8170, 02-310-8174-75.

มหาวิทยาลัยรามคําแหง ส่วนภูมิภาค มีคณะอะไรบ้าง

เปิดรับสมัคร 4 คณะ ได้แก่ คณะนิติศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ คณะสื่อสารมวลชน สาขาวิชานิเทศศาสตร์และสื่อดิจิทัล และคณะรัฐศาสตร์ กลุ่มวิชาเอกบริหารรัฐกิจ