บร ษ ท เอ ม.เค.ท แม กเนต ก จำก ด

กรุงเทพธุรกิจ ชวนตามไปดูผลการดำเนินงานธุรกิจร้านอาหารครึ่งปีแรก ยักษ์เล็กยักษ์ใหญ่ ใครโตมากโตน้อย แบรนด์ไหนยังครองใจกลุ่มเป้าหมายกันบ้าง

  • “เอ็มเค สุกี้” ยืนหนึ่งทำเงินสูงสุด

เริ่มจากบิ๊กแบรนด์​ “เอ็มเค” ร้านสุกี้เบอร์ 1 ของเมืองไทยภายใต้อาณาจักร บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) สร้างรายได้จากการขายไตรมาส 2 ที่ 4,435 ล้านบาท เติบโต 10% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 459 ล้านบาท เติบโต 4.5% ทำให้ภาพรวม 6 เดือนแรกบริษัททำเงิน 8,524 ล้านบาท เติบโต 13.5% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 784 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.4% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

เอ็มเค เรสโตรองต์ มีแบรนด์ในพอร์ตโฟลิโอจำนวนมาก เมื่อแยกศักยภาพการทำเงิน เอ็มเคสุกี้ยังนำโด่ง สัดส่วน 75% ตามด้วยยาโยอิ 18% แหลมเจริญ 6% และอื่นๆ 1% สำหรับการขายนั้น บริการนั่งทานในร้านหรือ Dine-in ฟื้นตัวถ้วนหน้า โดยครึ่งปีแรกการนั่งทานในร้านสัดส่วน 85% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน 77% ที่เหลือเป็นซื่อกลับบ้าน(Take-Away) 6% และเดลิเวอรี 9%

แม้ภาพรวมยอดขายและกำไรจะเติบโต แต่สิ่งที่ขยับขึ้นเป็นเงาตามตัวคือ “ต้นทุน” ซึ่งครึ่งปีแรกค่าใช้จ่ายต่างๆของบริษัทอยู่ที่ 4,774 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยค่าใช้จ่ายพนักงานสักส่วนมากสุด 51% ที่เหลือเป็นการหักค่าเสื่อมราคา ค่าเช่า ค่าสาธารณูปโภค

บร ษ ท เอ ม.เค.ท แม กเนต ก จำก ด

  • “ไมเนอร์ ฟู้ด” ครึ่งปีอู้ฟู่กว่า 15,000 ล้านบาท

บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด(มหาชน) มีธุรกิจโรงแรมเป็นหัวใจสำคัญ แต่ภายใต้เครือยังมีธุรกิจอาหารสารพัดแบรนด์ดัง เช่น เดอะ พิซซ่า คัมปะนี, เบอร์เกอร์คิง, ซิซซ์เลอร์, บอนชอน, สเวนเซ่นส์, เดอะ คอฟฟี่ คลับฯ ซึ่งมีร้านรวมแล้ว 2,581 สาขาให้บริการ แบ่งเป็นร้านที่ลงทุนเอง 1,300 สาขา หรือราว 50% และแฟรนไชส์ 1,281 สาขา ซึ่งในไทยยังมีร้านให้บริการสัดส่วนมากสุด 1,943 สาขา และต่างประเทศ 638 สาขา ครอบคลุมตลาด 22 ประเทศ ในเอเชีย โอเขียเนีย ตะวันออกลาง ยุโรป เม็กซิโก และประเทศแคนาดา

ธุรกิจอาหารถูกเคลื่อนผ่าน บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด และทำเงินสัดส่วน 21% ของทั้งกลุ่มไมเนอร์ ฯ(MINT) ซึ่งทำรายได้รวมครึ่งปี 2566 อยู่ที่ 73,729 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ทั้งนี้ธุรกิจอาหารมีรายได้รวมไตรมาส 2 อยู่ที่ 7,715 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และรายได้รวมครึ่งปีแรกอยู่ที่ 15,444 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% เมื่อแบ่งเป็นยอดขายของร้านทุกสาขารวมกับแฟรนไชส์ ไตรมาส 2 ทำเงินเติบโต 17.5% โดยยอดขายจากร้านเดิม(Same-Store-Sales)เติบโต 8.1% ขณะที่ 6 เดือนแรก บริษัททำเงินเติบโต 18.7% และยอดขายร้านเดิมโต 6%

  • “ซีอาร์จี” ต้นทุนวัตถุดิบแพง-ค่าไฟพุ่ง ฉุดกำไร

อีกหนึ่งยักษ์ใหญ่ธุรกิจอาหารอย่าง บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัดหรือซีอาร์จี ในเครือของโรงแรมเซ็นทรัลพลาซา ผลงานธุรกิจร้านอาหารเติบโตไม่แพ้ใคร ซึ่งไตรมาส 2 สร้างรายได้จากการขาย 3,166 ล้านบาท เติบโต 9% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 135 ล้านบาท หดตัวลง 2% ด้านยอดขายสาขาเดิมยังคงเติบโต 5% เพราะการนั่งทานที่ร้านฟื้นตัว ส่วนเดลิเวอรีแผ่วลงไม่แตกต่างจากผู้เล่นรายอื่น ส่วนกำไรที่ลดลง เพราะ “ต้นทุนวัตถุดิบ” เพิ่มขึ้น และค่าไฟฟ้าที่พุ่งแรงมาก

บร ษ ท เอ ม.เค.ท แม กเนต ก จำก ด
ผ่าน 6 เดือนแรก ซีอาร์จี มีร้านอาหารเปิดให้บริการทั้งสิ้น 1,590 สาขา เพิ่มขึ้น 78 สาขาเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแบรนด์หัวหอกที่เปิดสาขาเพิ่มคือ อาริกาโตะ 36 สาขา เคเอฟซี 19 สาขา อานตี้ แอนส์ 12 สาขา และมิสเตอร์ โดนัท 10%

สำหรับครึ่งปีแรก บริษัทสร้างรายได้จากการขาย 6,176 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และกำไรสุทธิ 226 ล้านบาท หดตัว 7%

  • “เอสแอนด์พี” ทุบสถิติทำกำไร 6 เดือน สูงสุดรอบ 7 ปี

ยืนหนึ่งในตลาดอาหารและเบเกอรีมา 5 ทศวรรษ และยังเดินหน้าสร้างการเติบโตต่อสำหรับบริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด(มหาชน) ขณะที่ผลงานครึ่งปีแรกบริษัทสร้างยอดขาย 2,892 ล้านบาท เติบโต 12% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 194 ล้านบาท เติบโต 14% โดยกำไรครึ่งปีแรกยังทุบสถิติสูงสุดในรอบ 7 ปี เมื่อแบ่งยอดขาย การรับประทานที่ร้านไตรมาส 2 เติบโต 56% และครึ่งปีโตถึง 59% โดยเฉาะสาขาในห้างค้าปลีก และโรงพยาบาล ส่วนการซื้อกลับบ้านเติบโต 7% ด้านเดลิเวอรี่ค่อนข้างแผ่วและสัดส่วนการทำเงินลดลง

สำหรับโจทย์ท้าทายครึ่งปีหลัง ยังเป็น “ต้นทุน” โดยเฉพาะราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น หากรัฐไม่มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ไม่ใช่แค่เอสแอนด์พีที่ได้รับผลกระทบ แต่เป็นภาคธุรกิจโดยรวมทั้งประเทศ

บร ษ ท เอ ม.เค.ท แม กเนต ก จำก ด

  • เดลิเวอรีแผ่ว ยอดขายหดตัว 32%

บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) มีร้านอาหารหลายแบรนด์เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น อากะ(AKA) เซ็น เรสเตอรองส์ ออน เดอะ เทเบิล และเขียง ฯ ซึ่งมีร้านให้บริการทั้งสิ้น 327 สาขา( มิ.ย.66)เป็นร้านที่บริษัทเป็นเจ้าของ 157 สาขา และแฟรนไชส์ 170 สาขา

ผลงานไตรมาส 2 บริษัทสร้างรายได้จากการขายและบริการ 961 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% และกำไรสุทธิ 50 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% เมื่อรวมผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก ทำรายได้จากการขายและบริการ 1,867 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และกำไรสุทธิ 88 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54%

เคลื่อนธุรกิจผ่านครึ่งทางของปี 2566 บริษัทมีการเปิดร้านอาหารใหม่ 15 สาขา ส่วนพฤติกรรมผู้บริโภค กลับมาทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น รวมถึงบริษัทมีการปรับภาพลักษณ์แบรนด์และทำการตลาดต่างๆ ส่งผลให้รายได้จากการนั่งทานที่ร้าน 6 เดือนแรกเติบโตถึง 31% อีกด้านเดลิเวอรีแผ่วลงเห็นได้ชัด เพราะรายได้ “หดตัว” 32%

เซ็นฯ เป็นอีกบริษัทที่แบกรับต้นทุนเพิ่ม ซึ่งภาพรวมค่าใช้จ่ายครึ่งปีขยับขึ้นเป็น 481 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19% จากช่วงเดยวกันปีก่อน สาเหตุหลักมาจากทั้งค่าเช่าบริการ ค่าสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายพนักงานเพิ่มตามจำนวนสาขาที่เปิด เป็นต้น

  • อาฟเตอร์ ยู เบ่งอาณาจักรขนมหวาน

ส่วนร้านขนมหวานพันล้านอย่าง บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด(มหาชน) ทำผลงานไตรมาส 2 ปี 2566 สร้างรายได้จากการขาย 299 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 43 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ 6 เดือนแรกปี 2566 สร้างรายได้จากการขาย 563 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 32% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 77 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 57% จากช่วงเดียวกันปีก่อน