4-11 ม นาคม 2561 พระราชทานปร ญญาบ ตร

มหาวิทยาลัยรามคำแหง จะจัดให้มีพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีละ 1 ครั้ง รวมผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก (ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค) ซึ่งนักศึกษาระดับปริญญาตรีสามารถเทียบปีการศึกษาที่จบการศึกษา และปีที่จะได้รับพระราชทานปริญญาบัตร ได้จากตารางนี้

ปีการศึกษาที่จบปี พ.ศ. ที่จะได้รับปริญญาบัตรจบปีการศึกษา 2560 จบภาค 1, ภาค 2 และภาคฤดูร้อน /2560รุ่นที่ 44 ได้รับพระราชทานปริญญาบัตร เมื่อวันที่ 18-21 มีนาคม 2562จบปีการศึกษา 2561 จบภาค 1, ภาค 2 และภาคฤดูร้อน /2561รุ่นที่ 45 ได้รับพระราชทานปริญญาบัตร เมื่อวันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ 2563 \>>ดูย้อนหลังไม่ได้<<จบปีการศึกษา 2562 จบภาค 1, ภาค 2 และภาคฤดูร้อน /2562รุ่นที่ 46 ได้รับพระราชทานปริญญาบัตร เมื่อวันที่ 4-5, 7-8 เมษายน 2565 \>>คลิกดูพิธีย้อนหลัง<<จบปีการศึกษา 2563 จบภาค 1, ภาค 2 และภาคฤดูร้อน /2563รุ่นที่ 47 22-24 กุมภาพันธ์ 2566 \>>ดูย้อนหลังไม่ได้<<จบปีการศึกษา 2564 จบภาค 1, ภาค 2 และภาคฤดูร้อน /2564รุ่นที่ 48 คาดว่าจะได้รับปี พ.ศ.2567จบปีการศึกษา 2565 จบภาค 1, ภาค 2 และภาคฤดูร้อน /2565รุ่นที่ 49 คาดว่าจะได้รับปี พ.ศ.2568จบปีการศึกษา 2566 จบภาค 1, ภาค 2 และภาคฤดูร้อน /2566รุ่นที่ 50 คาดว่าจะได้รับปี พ.ศ.2569จบปีการศึกษา 2567 จบภาค 1, ภาค 2 และภาคฤดูร้อน /2567รุ่นที่ 51 คาดว่าจะได้รับปี พ.ศ.2570จบปีการศึกษา 2568 จบภาค 1, ภาค 2 และภาคฤดูร้อน /2568รุ่นที่ 52 คาดว่าจะได้รับปี พ.ศ.2571

หมายเหตุ : การคาดการณ์กำหนดการดังกล่าวอ้างอิงจากกำหนดการรับปริญญาบัตรในรุ่นที่ผ่านมาและสถานการณ์ปกติ มหาวิทยาลัยจะประกาศกำหนดการพิธีพระราชทานปริญญาบัตรอีกครั้ง

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรในประเทศไทย

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรในประเทศไทยมีขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตคณะแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือผู้ได้รับปริญญาเวชบัณฑิตคือแพทยศาสตรบัณฑิต จำนวน 34 คน เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 เวลา 17.00 น. ณ ห้องประชุมตึกบัญชาการ (ตึก 1 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

ลำดับพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกนั้น เริ่มจากเมื่อพระบรมวงศานุวงศ์และผู้รับเชิญเข้าร่วมพิธีเข้าสู่ห้องประชุมแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่ห้องประชุม ทรงเทียนชนวนที่พระพุทธรูปและพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อจากนั้นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ (มหาอำมาตย์เอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร) ทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยบัณฑิตพิเศษแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานครุยกิตติมศักดิ์แก่ข้าราชการของมหาวิทยาลัยสองท่าน คือ บัณฑิตโท (คือมหาบัณฑิตในปัจจุบัน) ทางวิทยาศาสตร์แก่พระยาภะรตราชาผู้บัญชาการ (คืออธิการบดีในปัจจุบัน) และบัณฑิตเอก (ดุษฎีบัณฑิตในปัจจุบัน) แก่ศาสตราจารย์ น.พ. A.G.Ellis คณบดีคณะแพทยศาสตร์ (ซึ่งต่อมาเป็นอธิการบดีคนแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่าง พ.ศ. 2478 – 2479) หลังจากนั้นผู้บัญชาการของมหาวิทยาลัยกล่าวญัตติกรรม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานประกาศนียบัตร (คือปริญญาบัตรในปัจจุบัน) แก่เวชบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2471 จำนวน 18 คน และเมื่อปี พ.ศ. 2472 จำนวน 16 คน บัณฑิตใหม่กล่าวคำปฏิญญา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานรางวัลเหรียญทองและเหรียญเงินสำหรับผู้ได้คะแนนยอดเยี่ยมตลอดหลักสูตร 4 ปี เหรียญทองแดงสำหรับผู้ได้คะแนนเป็นที่ 1 ต่อจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯพระราชทานพระบรมราโชวาท ถวายไทยธรรมแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์ถวายอดิเรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินกลับ พิธีครั้งนั้นถือเป็นต้นแบบของพิธีพระราชทานปริญญาบัตรในมหาวิทยาลัยต่างๆ จนถึงปัจจุบัน

ความสำคัญอย่างหนึ่งของพิธีพระราชทานปริญญาบัตร นอกเหนือความภูมิใจในเกียรติยศที่บัณฑิตทุกคนได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์แล้ว ได้แก่พระบรมราโชวาทที่พระราชทานในตอนท้ายของพิธี ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับ ทรงชี้แนะแนวทางที่ควรปฏิบัติสำหรับบัณฑิตที่จะออกไปทำงานในฐานะหน้าที่ต่างๆ กัน พระราชดำริที่พระราชทาน หรือพระราชทรรศนะที่ทรงชี้แนะ ล้วนเป็นผลมาจากประสบการณ์ของพระองค์เอง แล้วอาศัยพระบรมราชปรีชาญาณวิเคราะห์ ทรงชี้แจงพระราชทานบัณฑิตใหม่ให้ใคร่ครวญหรือไตร่ตรองตาม พระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานพระบรมราโชวาทอันมีคุณค่ายิ่งเช่นนี้ เป็นที่เทิดทูนไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมของบัณฑิตทุกคน

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จัดขึ้นที่หอประชุมสมเด็จย่า มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในวันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นวันเดียวกับพิธีเปิดมหาวิทยาลัยและพิธีเปิดศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธร โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ซึ่งเป็นบัณฑิตรุ่นแรก เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2542 และสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2545 มีจำนวน 46 คน เป็นบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 32 คน และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการอาหาร จำนวน 14 คน บัณฑิตที่รับพระราชทานปริญญาบัตรคนแรก คือ นายกิจติพงษ์ ต๊ะหล้า จากสำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศนับเนื่องถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรจำนวน 20 ครั้ง ดังนี้

จำนวนผู้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจำแนกตามสำนักวิชา

สำนักวิชาศิลปศาสตร์

ปีการศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก

รวม

2546 55 - - 55 2547 71 - - 71 2548 85 38 - 123 2549 81 39 - 120 2550 119 13 - 132 2551 461 15 - 476 2552 298 39 3 340 2553 294 22 3 319 2554 342 47 13 402 2555 422 49 6 477 2556 352 30 2 384 2557 171 23 4 198 2558 120 19 1 140 2559 146 4 7 157 2560 191 9 11 211 2561 187 3 4 194 2562 217 2 1 220 2563 196 1 2 199 2564 192 1 1 194

สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

ปีการศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก

รวม

2547 25 - - 25 2548 22 7 - 29 2549 20 4 - 24 2550 24 9 1 33 2551 20 11 - 31 2552 30 10 3 43 2553 29 2 3 34 2554 26 1 4 31 2555 55 16 7 78 2556 48 7 - 55 2557 64 7 8 79 2558 90 7 7 104 2559 62 10 8 80 2560 79 5 9 80 2561 70 13 15 98 2562 92 5 10 107 2563 72 3 6 81 2564 50 12 22 84

สำนักวิชาการจัดการ

ปีการศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก

รวม

2546 - 45 - 45 2547 54 42 - 96 2548 297 38 - 335 2549 326 34 - 360 2550 432 21 - 453 2551 435 39 - 474 2552 349 40 - 389 2553 359 44 - 403 2554 450 53 - 503 2555 496 97 - 593 2556 408 42 - 450 2557 449 100 - 549 2558 839 68 - 907 2559 934 44 - 978 2560 1,162 36 3 1,201 2561 927 40 8 975 2562 1,235 29 1 1,265 2563 1,091 12 2 1,105 2564 952 29 - 981

สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

ปีการศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก

รวม

2545 32 - - 32 2546 71 - - 71 2547 112 - - 112 2548 134 - - 134 2549 169 6 - 175 2550 106 2 - 108 2551 192 6 - 198 2552 175 - - 175 2553 116 - - 116 2554 164 2 - 166 2555 186 7 - 193 2556 146 2 - 148 2557 177 6 - 183 2558 272 8 - 280 2559 254 8 1 263 2560 314 8 6 328 2561 215 - 4 219 2562 252 2 2 256 2563 217 1 4 222 2564 205 5 2 212

สำนักวิชาอุตสาหกรรมการเกษตร

ปีการศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก

รวม

2545 14 - - 14 2546 23 - - 23 2547 30 - - 30 2548 18 - - 18 2549 38 - - 38 2550 38 - - 38 2551 35 3 - 38 2552 35 1 - 36 2553 16 2 - 18 2554 29 1 - 30 2555 23 2 - 25 2556 28 - - 28 2557 39 4 1 44 2558 51 4 - 55 2559 53 9 1 63 2560 100 6 1 107 2561 48 8 1 57 2562 60 7 - 67 2563 47 3 - 50 2564 35 11 - 46

สำนักวิชานิติศาสตร์

ปีการศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก

รวม

2548 17 - - 17 2549 151 - - 151 2550 191 - - 191 2551 225 15 - 240 2552 177 13 - 190 2553 244 20 - 264 2554 258 13 - 271 2555 308 14 - 322 2556 231 10 - 241 2557 238 14 - 252 2558 262 11 - 273 2559 176 5 - 181 2560 283 10 - 181 2561 205 4 - 209 2562 260 4 - 264 2563 213 1 - 214 2564 238 4 - 242

สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง

ปีการศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก

รวม

2549 - 38 - 38 2550 - 15 - 15 2551 17 34 - 51 2552 63 38 - 101 2553 77 44 - 121 2554 87 27 - 114 2555 84 42 - 126 2556 90 47 - 137 2557 122 23 - 145 2558 83 29 - 112 2559 102 26 - 128 2560 117 47 - 164 2561 115 55 - 170 2562 112 29 - 141 2563 120 12 1 133 2564 117 21 - 138

สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ปีการศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก

รวม

2551 35 - - 35 2552 103 - - 103 2553 92 - - 92 2554 210 1 - 211 2555 197 3 - 200 2556 227 - - 227 2557 228 1 - 229 2558 240 1 - 241 2559 216 4 - 220 2560 325 5 - 230 2561 136 10 - 146 2562 193 10 - 203 2563 140 5 - 145 2564 148 1 - 149

สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์

ปีการศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก

รวม

2553 62 - - 62 2554 82 - - 82 2555 76 - - 76 2556 92 - - 92 2557 93 - - 93 2558 84 - - 84 2559 122 - - 122 2560 125 - - 125 2561 106 - - 106 2562 120 - - 120 2563 117 - - 117 2564 148 - - 148

สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ

ปีการศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก

รวม

2552 - 15 - 15 2553 - 67 - 67 2554 - 50 - 50 2555 - 53 1 54 2556 - 64 - 64 2557 - 63 1 64 2558 - 68 - 68 2559 - 73 1 74 2560 - 38 1 39 2561 - 57 1 58 2562 - 39 4 43 2563 - 36 6 42 2564 - 55 2 57 สำนักวิชาจีนวิทยา ปีการศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก รวม 2557 219 1 - 220 2558 196 1 - 197 2559 325 - - 325 2560 385 1 - 386 2561 394 - - 394 2562 413 - - 413 2563 450 - - 450 2564 411 - - 411

สำนักวิชานวัตกรรมสังคม

ปีการศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก

รวม

2559 67 - - 67 2560 - - - 77 2561 50 - - 50 2562 60 - - 60 2563 51 1 - 52 2564 33 2 - 35

สำนักวิชาแพทยศาสตร์

ปีการศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก

รวม

2561 32 - - 32 2562 34 - - 34 2563 28 - - 28 2564 32 - - 32

สำนักวิชาการแพทย์บูรณาการ

ปีการศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก

รวม

2561 108 - - 108 2562 177 - - 177 2563 152 - - 152 2564 169 - - 169

สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์

ปีการศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก

รวม

2562 27 - - 27 2563 23 - - 23 2564 28 - - 28

ปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ปกปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีลักษณะ ดังนี้

  1. ขนาด ยาว 24.5 ซม. กว้าง 19 ซม. พับได้
  2. ทำด้วยผ้าไหมสีแดง ยกเว้นระดับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ทำด้วยผ้าไหมสีขาว
  3. หน้าปกมีตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงปั้มเป็นรอยดุนตรงกลาง ขนาดความสูง 4 ซม. ส่วนปกระดับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประดับตรา สัญลักษณ์ไว้ด้านมุมขวาของปกบน
  4. แบ่งเป็นระดับชั้นของปริญญา ด้วยริบบิ้นสีทอง ที่มุมขวาของปกโดยระดับอนุปริญญา ไม่มีริบบิ้น ระดับบัณฑิตใช้ริบบิ้น 1 เส้น ระดับมหาบัณฑิตใช้ริบบิ้น 2 เส้น ระดับดุษฏีบัณฑิตใช้ริบบิ้น 3 เส้น ส่วนระดับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ใช้ริบบิ้นสีทอง 3 เส้น คาดบนพื้นสีแดง และประดับตราสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยไว้ที่มุมด้านขวา

4-11 ม นาคม 2561 พระราชทานปร ญญาบ ตร

ปริญญาบัตรระดับบัณฑิต ที่ใช้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

อักษรย่อชื่อปริญญาของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

สาขาวิชา

ปริญญาตรี ปริญญาโท

ปริญญาเอก

การบัญชี บช.บ. บช.ม. ปร.ด. นิติศาสตร์ น.บ. น.ม. ปร.ด. บริหารธุรกิจ บธ.บ. บธ.ม. ปร.ด. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ศศ.บ. ศศ.ม. ปร.ด. รัฐประศาสนศาสตร์ รป.บ. รป.ม. ปร.ด. วิทยาศาสตร์ วท.บ. วท.ม. ปร.ด. วิศวกรรมศาสตร์ วศ.บ. วศ.ม. ปร.ด. ศิลปกรรมศาสตร์ ศศ.บ. ศศ.ม. ปร.ด. ศึกษาศาสตร์ ศษ.บ. ศษ.ม. ปร.ด. เศรษฐศาสตร์ ศ.บ. ศ.ม. ปร.ด.

จากราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 45ก วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนที่ 102ก วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548

ชุดครุยของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ครุยของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มี 2 ประเภทคือ ครุยประจำตำแหน่ง และครุยวิทยฐานะ

1.ครุยประจำตำแหน่ง แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1.1 ครุยประจำตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย

1.2 ครุยประจำตำแหน่งอธิการบดี

1.3 ครุยประจำตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัย

1.4 ครุยประจำตำแหน่งคณาจารย์และผู้บริหาร

2.ครุยวิทยฐานะ แบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ

2.1 ครุยบัณฑิต

2.2 ครุยมหาบัณฑิต

2.3 ครุยดุษฎีบัณฑิต

4-11 ม นาคม 2561 พระราชทานปร ญญาบ ตร

ชุดครุยบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

แถบประดับครุยวิทยฐานะมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้นำแถบซึ่งเป็นองค์ประกอบของตุงประจำมหาวิทยาลัย อันเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะ และความเป็นสิริมงคลอันสูงยิ่งมาประดับไว้บนแถบสำรดของครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยในแถบตุงประกอบด้วย

ลายปราสาท หมายถึง สรรค์ชั้นดาวดึงส์

ลายหนู หมายถึง ปีประสูติของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ตรงกับปี พ.ศ.2543

ลายพญานาค หมายถึง สัตว์ที่ปรากฏในศิลปวัฒนธรรมล้านนาตามตำนานเป็นสัตว์ที่พิทักษ์พุทธศาสนา

ลายเสือ หมายถึง ปีที่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ตรงกับปีขาล พ.ศ.2541

4-11 ม นาคม 2561 พระราชทานปร ญญาบ ตร

แถบประดับครุยวิทยฐานะมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

สีประจำสำนักวิชา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

1.สำนักวิชาการจัดการ สีฟ้า

2.สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สีน้ำเงิน

3.สำนักวิขานิติศาสตร์ สีขาว

4.สำนักวิขาพยาบาลศาสตร์ สีแสด

5.สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สีเหลือง

6.สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง สีบานเย็น

7.สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สีเขียวอ่อน

8.สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ สีเขียวเข้ม

9.สำนักวิชาวิชาศิลปศาสตร์ สีเทา

10.สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร สีชมพู

11.สำนักวิชาแพทยศาสตร์ สีเขียว

12.สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ สีม่วงแก่

13.สำนักวิชานวัตกรรมสังคม สีเหลืองนวล

14.สำนักวิชาจีนวิทยา สีแดง

15.สำนักวิชาการแพทย์บูรณาการ สีเขียวอมฟ้า

จากประกาศของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เรื่องการกำหนดสีประจำสำนักวิชาของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พ.ศ. 2562 ประกาศ ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562

การปฏิญาณตนในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร

เมื่อรับพระราชทานแล้ว บัณฑิตทุกคนกล่าวคำปฏิญาณตนพร้อมกัน ต่อพระพักตร์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นอกจากนี้ บัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จะต้องกล่าวคำปฏิญาณตนต่อหน้าพระราชานุสาวรีย์ฯ ณ ลานพระราชานุสาวรียามเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีด้วย

คำกล่าวปฏิญาณตนของผู้รับพระราชทานปริญญาบัตรทั้งหมดเรียบเรียงโดยรองศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย อธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

คำปฏิญาณตนของบัญฑิตมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร

(ผู้แทนกล่าว)

ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาท

ข้าพระพุทธเจ้า (กล่าวชื่อผู้นำ) ขอพระราชทานพระราชวโรกาสนำผู้สำเร็จการศึกษาซึ่งได้รับพระราชทานปริญญาบัตรในวันนี้ กล่าวคำปฏิญาณตนดังต่อไปนี้

(บัณฑิตกล่าวพร้อมกัน)

ข้าพระพุทธเจ้า (กล่าวชื่อตนเอง) ผู้เป็นบัณฑิตแห่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ขอให้คำสัตย์ปฏิญญาต่อหน้าพระรัตนตรัย พระพักตร์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและต่อหน้าผู้ซึ่งเฝ้าทูลละอองพระบาทอยู่ ณ ที่นี้ว่า

ข้าพระพุทธเจ้า จักเทิดทูนและจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จักปฏิบัติตนต่อผู้มีพระคุณด้วยความเคารพและกตัญญุตา จักใช้ศิลปะวิทยาการที่มหาลัยแม่ฟ้าหลวงได้ประสิทธิ์ประสาทในการประกอบกิจการงานโดยสุจริต จักตั้งใจจิตให้มั่นคงดำรงอยู่ในคุณธรรม จักน้อมนำเกียรติคุณของวิชาชีพให้เกริกไกร รักษาไว้ซึ่งความสามัคคีของปวงชน จักยอมพลีตนเพื่อประโยชน์แห่งประชาและจักขอรักษาไว้ซึ่งความเป็นบัณฑิต อันทรงศักดิ์และสิทธิ์แห่งปริญญาเพื่อเทิดทูนและเชิดชูชื่อมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงให้คงอยู่ตลอดไป

(ผู้แทนกล่าว)

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม

คำปฏิญาณตนของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงต่อหน้าพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ข้าพระพุทธเจ้า นาย/นางสาว (กล่าวชื่อตนเอง) ผู้เป็นบัณฑิตแห่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงขอถวายสัตย์ปฏิญาณ ต่อเบื้องหน้าพระราชานุสาวรีย์แห่งองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ว่า

ข้าพระพุทธเจ้า นาย/นางสาว (กล่าวชื่อตนเอง) จักเคารพและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จนกว่าชีวิตจะหาไม่ จะยึดมั่นดำรงตนอยู่ในกรอบแห่งศีลธรรมของความเป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบต่อสังคมและบ้านเมือง จักความสามารถ และประสบการณ์ ที่ได้ศึกษาและอบรมมา อย่างเต็มความสามารถเพื่อประโยชน์แห่งตน และความวัฒนาสถาพรของประเทศชาติสืบไป

ข้าพระพุทธเจ้า จักยึดมั่นรักษาไว้ ซึ่งเกียรติภูมิและเกียรติศักดิ์ของความเป็นบัณฑิตแห่งมหาวิทยาลัย ด้วยความภาคภูมิและมุ่งมั่นที่จะเจริญรอยตามพระราชปณิธาน แห่งองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีตลอดไป

คุณสมบัติบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงที่พึงประสงค์

บัณฑิตของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ควรเป็นผู้มีความรู้ในวิชาการที่ศึกษาอย่างเพียงพอ เหมาะสมกับปริญญาที่ได้รับ ทั้งทางด้านภาษา และองค์ความรู้เฉพาะสาขาที่ศึกษา สามารถเปลี่ยนแปลงหรือประยุกต์ใช้ความรู้ที่มีอยู่ในการปฏิบัติภารกิจได้ ด้วยภูมิปัญญาและภูมิธรรม มีความคิดริเริ่มที่จะพัฒนา และปรับปรุงตนเองและหน้าที่การงานอยู่เป็นนิจ มีมนุษยสัมพันธ์และคุณธรรมในการดำรงชีวิต มีความคิดกว้างไกล และสอดคล้องกับทิศทางของประชาคมนานาชาติ ยึดมั่นในเอกลักษณ์ของความเป็นไทย และมุ่งประโยชน์ของสังคมและชาติเป็นหลัก