2024 ทำไม อบต บางแห งไม เก บภาษ บำร งท องท

องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่สำคัญตามกฎหมายในการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การให้บริการทางสังคม การดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ฯลฯ โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น การดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว จำเป็นต้องมีรายได้เพียงพอต่อการใช้จ่าย ซึ่งเป็นภาระค่อนข้างมากสำหรับ อบต. กฎหมายได้กำหนดให้ อบต. มีรายได้บางประเภทเป็นของตนเองเพื่อให้สามรถบริหารกิจการภายใต้ ขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ได้ เช่น รายได้จากภาษีอากร รายได้จากค่าธรรมเนียมต่าง ๆ รายได้จากเงินอุดหนุน เงินกู้ เป็นต้น

โครงสร้างรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล อบต. จะมีโครงสร้างรายได้ ดังนี้ 1. ภาษีอาการ ประกอบด้วย 1.1 ภาษีอากรที่ อบต. จัดเก็บเอง - ภาษีป้าย - ภาษีบำรุงท้องที่ - ภาษีโรงเรือนและที่ดิน - อากรฆ่าสัตว์

1.2 ภาษีได้รับจัดสรรจากกระทรวงมหาดไทย - ภาษีสุราและสรรพสามิต - ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะ (ขณะนี้ยังไม่ได้รับขณะนี้รอการแก้ไข พ.ร.บ. จัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่ม) 1.3 ภาษีและค่าธรรมเนียมที่ได้รับจัดสรรจากจังหวัด - ภาษีและค่าธรรมเนียม 2. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุราและใบอนุญาตการเล่นการพนัน - อบต.ต้องออกข้อบังคับตำบลเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มไม่เก ิน 10% ของค่าธรรมเนียม 3. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิ น 4. รายได้จากทรัพยากรธรรมชาติ - อากรรังนกอีแอ่น ได้เฉพาะ 9 จังหวัดภาคใต้ คือประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎรธานี พัทลุง กระบี่ ตรัง พังงา สตูล และตราด - ค่าธรรมเนียมน้ำบาดาล - ค่าภาคหลวงและค่าธรรมเนียมป่าไม้ - อากรประทานบัตร ใบอนุญาต และอาชญาบัตรการประมง 5. รายได้จากภาคหลวงแร่และค่าภาคหลวงปิโตรเลียม - อบต. ได้รับการจัดสรรปีละ 4 งวด โดยมีหลักเกณฑ์การจัดสรรของแร่ 30% จากค่าภาคหลวง และปิโตรเลียม 20% จากค่าภาคหลวง 6. เงินอุดหนุนจากรัฐบาล 7. รายได้จากเงินทีเก็บตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ - ได้รับในอัตรา 5% ของเงินทีเก็บไดตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติในเขต อบต. ใด ให้ อบต. นั้นทุกแห่ง เท่ากันแบ่งการจัดสรรเป็น 4 งวด จัดสรรให้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับเงิน 8. เงินกู้ 9. รายได้ประเภทอื่น ๆ - ค่าปรับจราจรทางบก เมื่อมีการปรับให้ผู้ทำการเปรียบเทียบปรับนำค่าปรับส่งเป็นรายไ ด้ให้ อบต. ทั้งจำนวน โดยจ่ายเงินรางวัลให้ผู้แจ้งความนำจับ และเจ้าหน้าที่ผู้จับ คนละ 17.5% องเงินที่เปรียบเทียบปรับ ถ้าไม่มีผู้แจ้งความนำจับ ให้จ่ายเจ้าหน้าที่ผู้นำจับ 25% - รายได้จากทรัพย์สิน - รายได้จากสาธารณูปโภคและการพาณิชย์ - เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่มีผู้อุทิศให้ - รายไดอื่นตามที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐต้องให้ ฯลฯ การ จัดเก็บรายได้ของอบต. ไม่ว่าจะเป็นภาษีอากร ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ จะต้องมีกฎหมายให้อำนาจไว้ ปัจจุบันมีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้ของ อบต. แต่รายได้ที่กฎหมายให้อำนาจท้องถิ่นจัดเก็บเองที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย และค่าธรรมเนียมค่าใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. การสาธารสุข

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายภาษีที่ อบต. จัดเก็บเอง 1. ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษี บำรุงท้องที่ หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากการถือครอง และการทำประโยชน์ในที่ดินภาษีบำรุงท้องที่มีลักษณะเป็นภาษีทรัพ ย์สินประเภทหนึ่ง โดยเรียกเก็บจากเจ้าของที่ดิน - กฎหมายที่ให้อำนาจท้องถิ่นจัดเก็บภาษีประเภทนี้ คือ พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ 2508 - ภาษีบำรุงท้องที่เก็บใน อบต. ใด ก็ถือเป็นรายได้ของ อบต.นั้น - ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ ได้แก่ เจ้าของที่ดิน ซึ่งหมายถึงบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลโดยอาจมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิ น หรือครอบครองที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน ถ้าบุคคลหลายคนเป็นเจ้าของร่วมกัน ให้บุคคลเหล่านั้นมีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันในการเสียภาษี - ฐานภาษี ภาษีบำรุงท้องที่ ใช้ราคาประมาณกลางของที่ดิน เป็นฐานในกาปรระเมินภาษีโดยต้องเป็นราคาปานกลางที่ดินตามที่คณะ กรรมการตีราคาปานกลางที่ดินกำหนดขึ้นทุก ๆ 4 ปี ปัจจุบันใช้ราคาปานกลางของปี 2521 ถึง พ.ศ. 2524 - ที่ดินที่ไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ม. 8) ได้แก่ที่ดินเป็นที่ตั้งพระราชวัง ที่ดินสาธารณะ ที่ดินส่วนราชการท้องถิ่น ที่ดินเพื่อการพยาบาล การศึกษา ที่ดินใช้ในศาสนกิจ สุสนที่มิได้รับประโยชน์ตอบแทน ที่การรถไฟ ประปา การไฟฟ้า ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที ่ดิน ฯลฯ - อัตราภาษี กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีท้าย พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 - ระยะเวลาการชำระภาษี ตั้งแต่เดือนมกราคม ? เดือนเมษายน ของทุกปี - เงินเพิ่ม เจ้าของที่ดินไม่ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภบท.5) ภายในกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ ถ้าย่น ภบท. 5 ไม่ถูกต้อง ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีฯ และถ้าชี้เขตแจ้งจำนวนที่ดิน ทำให้จำนวนที่ดินที่ต้องเสียภาษีฯ ลดน้อยลง ต้องเสียเงินเพิ่มอีกหนึ่งเท่าของภาษีบำรุงท้องที่ที่ประเมินเพ ิ่มเติม

สรุปการบริหารการจดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ ก. การยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท. 5) (เฉพาะปีแรกที่ตีราคาปานกลางฯ) 1. จัดทำประกาศ อบต. ประธานกรรมการบริหาร อบต. จัดทำประกาศ อบต. ให้เจ้าของที่ดินยื่นแบบแสดงรายการที่ดินเพื่อเสียภาษีบำรุงท้อ งที่ประจำปี พ.ศ. 2541 ? 2544 ต่อเจ้าพนักงานประเมิน (ภ.บ.ท. 2) ณ สำนักงาน อบต. ที่ที่ดินของผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ตั้งอยู่ หรือสถานที่อื่นที่ อบต. กำหนดโดยประกาศล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน (ม. 29) - ต้องดำเนินการภายในเดือนมกราคมของปีแรกของการตีราคาปานกลางของท ี่ดินตาม ม.16 (พ.ศ. 2541) (ครั้งต่อไป พ.ศ. 2545) - ภ.บ.ท. 5 ใช้ได้ทุกปีในรอบระยะ 4 ปี ของการตีราคาปานกลาง (พ.ศ. 2541 ? 2544) 2. แต่งตั้งเจ้าพนักงาน ประธานกรรมการบริหาร อบต.ออกคำสั่ง อบต. แต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินและเจ้าพนักงานสำรวจ (ภ.บ.ท.15) 3. ผวจ. ออกคำสั่งจังหวัด มอบหมายให้เจ้าพนักงานสำรวจทำการสำรวจและยื่นแบบแสดงรายการที่ด ิน (ภ.บ.ท.5) แทนเจ้าของที่ดิน (ภ.บ.ท.3ป (ม.24 วรรค 2) 4. เจ้าพนักงานสำรวจจัดทำประกาศ ให้เจ้าของที่ดินชี้เขต และแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินแก่เจ้าพนักงานสำรวจ 5. เจ้าของที่ดินยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท. 5) ต่อเจ้าพนักงานประเมินภายในเดือนมกราคมของปีแรกของการตีราคาปาน กลางของที่ดิน (พ.ศ. 2541) (ม.24 และ ม.30) 5.1 กรณีเปลี่ยนแปลงเจ้าของที่ดินและจำนวนเนื้อที่ดิน เจ้าของที่ดินต้องยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท. 5) ต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เปลี่ยนแปลง (ภ.บ.ท. 8 ก) (ม.31) 5.2 กรณีเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเป็นเหตุให้การลดหย่อนตาม ม.32 หรืออัตราภาษีบำรุงท้องที่เปลี่ยนไป เจ้าของที่ดินต้องยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท. 5) ต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เปลี่ยนแปลง (ภ.บ.ท. 3 ก) (ม.31) 6. เจ้าพนักงานสำรวจดำเนินการสำรวจ เมื่อสำรวจรายการที่ดินเสร็จแล้วรวบรวมส่งเจ้าพนักงานประเมินเพ ื่อดำเนินการต่อไป (ภ.บ.ท. 16)

ข. การประเมินและคำนวณภาษีบำรุงท้องที่ (เฉพาะปีแรกที่ตีราคาปานกลางฯ) ประธานกรรมการบริหาร อบต. ออกคำสั่ง อบต. แต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินและให้อำนาจหน้าที่ ดังนี้ 1. รับแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) จากเจ้าของที่ดิน หรือเจ้าพนักงานสำรวจ (ม.24?27,ม.31? 32) 2. ตรวจสอบความถูกต้องของ ภ.บ.ท.5 โดยเข้าไปในที่ดินหรือสถานที่เกี่ยวข้องแก่การจัดเก็บภีบำรุงท้ องที่ (ม.47(1)) หรือมีหนังสือเรียกผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ หรือส่งบัญชีเอกสารมาตรวจสอบได้ (ม47(2)) โดยตรวจความถูกต้องด้านจำนวนเนื้อที่ดิน ลักษณะการใช้ที่ดิน ที่ดินที่ไม่ต้องชำระภาษี จำนวนที่ดินที่ต้องชำระภาษี และการลงลายมือชื่อ 3. อำนาจแจ้งการประเมินย้อนหลัง ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่ทราบว่าเจ้าของที่ดิน ยังมิได้ย่นแบบ ภ.บ.ท. 5 ตาม มาตรา 24 4. คำนวณจำนวนเนื้อที่ดินที่ต้องชำระภาษี จำนวนเนื้อที่ทั้งหมด ? หัก ที่ดินตาม ม.8(8) ? ม.8(8) คือที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับ จำนวนที่ดินที่ยื่นชำระภาษี ? โรงเรือนที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนฯ หัก ได้รับลดหย่อนตาม ม.22 ? จำนวนที่ดินที่ต้องชำระภาษี X 5. คำนวณภาษีบำรุงท้องที่ ราคาปานกลางของที่ดินไร่ละ ? อัตราภาษีบำรุงท้องที่ไร่ละ Y ภาษีบำรุงท้องที่จำนวน X,Y 6. ลงลายมือชื่อใน ภ.บ.ท. 5 แล้วมอบแบบ ภ.บ.ท.5 ส่วนของเจ้าของที่ดินให้ 7. จัดทำทะเบียนที่ดินเพื่อจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.6) 8. จัดทำประกาศ อบต. แจ้งการประเมิน เพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่ ประจำปี 2541 ? 2544 (ภ.บ.ท.10) (ม.33)

ค. การรับชำระภาษีบำรุงท้องที่ 1. แต่งตั้งเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ประธานกรรมการบริหาร อบต. แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ?ผู้รับเงิน? และพนักงานเจ้าหน้าที่ ?ผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อในใบเสร็จรับเงิน? (ม.9(2), (ม.34) (นส. ด่วนที่สุด มท. 0311.3/ว172 ลว.25 มกราคม 2543) 2. ระยะเวลาชำระภาษี เจ้าของที่ดินผู้มีหน้าที่ต้องชำระภาษีต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ?ผู้รับเงิน? ภายในเดือนเมษายน ของทุกปี 3. พนักงานเจ้าหน้าที่ ?ผู้รับเงิน? ตรวจความถูกต้อง จากทะเบียนที่ดินเพื่อจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.6) ประกาศ อบต. แจ้งการประเมินเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.10) และจำนวนเงินที่รับชำระภาษี แล้ว - ลงลายมือชื่อในฐานะผู้รับเงินในใบเสร็จรับเงิน (ภ.บ.ท.11) - ส่งมอบเรื่องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ?ผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อในใบเสร็จรับเงิน? 4. พนักงานเจ้าหน้าที่ ?ผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อในใบเสร็จรับเงิน? ตรวจความถูกต้อง เช่นเดียวกับข้อ 3 แล้ว - ลงลายมือชื่อในฐานะ ?ผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อในใบเสร็จรับเงิน? (ภ.บ.ท.11) - มอบใบเสร็จรับเงิน (ภ.บ.ท.11) (ฉบับที่ 1) ให้แก่ผู้เสียหาย - มอบใบเสร็จรับเงิน (ภ.บ.ท.11) (ฉบับที่ 2) ให้แก่เจ้าพนักงานบัญชี 5. เจ้าพนักงานประเมินจัดทำสรุป การจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ในทะเบียนที่ดินเพื่อจัดเก็ฐภาษีบำร ุงท้องที่ (ภ.บ.ท.6) ตรวจความถูกต้องแล้วลงลายมือชื่อ โดยตรวจ - จำนวนเนื้อที่ดิน กรณี ม.24 และ ม.32 - ที่ดินไม่ต้องชำระภาษี (ม.8(8) และ ม.22) - จำนวนเนื้อที่ดินที่ต้องชำระภาษี - การลงลายมือชื่อ - ภาษีบำรุงท้องที่ค้างชำระ (ม.38)

ง. การอุทธรณ์ 1. กรณีเจ้าของที่ดินเห็นว่าการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ไม่ถูกต้อง มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ผวจ. โดยยื่นแบบ ภ.บ.ท.12 แก่เจ้าพนักงานประเมินภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน (บ.49) 2. ผู้อุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ ผวจ. ต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ (ม.52) 3. เจ้าของที่ดินไม่เห็นพ้องด้วยกับราคาปานกลางของที่ดิน มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ผวจ. ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ประกาศราคาปานกลางและอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาลได ้เช่นเดียวกัน (ม.20 และ ม.49 ? 52)

2. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษี โรงเรือนและที่ดิน หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ กับที่ดินใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น หลักการสำคัญ ในการพิจารณาว่าทรัพย์สินใด อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน พิจารณาได้ดังนี้

  1. ต้องมีทรัพย์สิน อันได้แก่ โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง กับที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้าง คำว่า ?โรงเรือน? ตามบทบัญญัติใน พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มิได้กำหนดคำนิยามไว้ แต่มีคำพิพากษาศาลฎีกา ได้วินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานว่า ?มีความหมายธรรมดา? โรงเรือนจึงน่าจะหมายถึง บ้าน ตึกอาคาร ร้านค้า โรงแรม โรงพยาบาล ฯลฯ ส่วนคำว่า ?สิ่งปลูกสร้าง? มีลักษณะการก่อสร้างติดที่ดินเป็นการถาวร เช่น ท่าเรือ สะพาน ถังเก็บน้ำมัน เป็นต้น
  2. ต้องไม่เข้าข้อบทยกเว้นภาษี ตามมาตรา 9 และมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ดังนี้ 1. พระราชวังอันเป็นส่วนของแผ่นดิน 2. ทรัพย์สินของรัฐบาลที่ใช้เพื่อการสาธารณะ และทรัพย์สินของการรถไฟฯ 3. ทรัพย์สินของโรงพยาบาลสาธารณะ และโรงเรียนสาธารณะ ซึ่งกระทำกิจการมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล 4. ทรัพย์สินที่ใช้เฉพาะศาสนกิจ และเป็นที่อยู่ของสงฆ์ 5. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ซึ่งปิดไว้ตลอดปี และเจ้าของมิได้อยู่เอง หรือให้ผู้อื่นอยู่ นอกจากคนเฝ้า 6. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของการเคหะแห่งชาติที่ผู้เช่าซื้ออาศ ัยอยู่มิได้ใช้เป็นที่เก็บสินค้า หรือประกอบการอุตสาหกรรม หรือประกิจการหารายได้ มาตรา 10 โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ซึ่งเจ้าของอยู่เอง หรือให้ผู้แทนอยู่ เฝ้ารักษา มิได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้า หรือประกอบอุตสาหกรรม ไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ผู้มีหน้าที่ชำระภาษี โดยทั่วไปได้แก่ ?เจ้าของทรัพย์สิน? นั้นโดยแยกเป็น 2 กรณีตาม ม.40 ดังนี้
  3. หากเจ้าของทรัพย์สินอันได้แก่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื ่น ๆ และที่ดิน เป็นเจ้าของเดียวกัน เจ้าของทรัพย์สินนั้นก็เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี
  4. แค่ถ้าที่ดิน และโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ เป็นคนละเจ้าของ กฎหมายกำหนดให้เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ต้องเป็นผู้เสียภาษี ฐานภาษีของภาษีประเภทนี้ คือ โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างกับที่ดินที่ใช้ต่อเนื่อง ดังนั้นการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน จึงอาจแบ่งทรัพย์สินออได้เป็น 2 ประเภท คือ ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน และทรัพย์สินที่ไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน อัตราการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินให้จัดเก็บจากค่ารายปีของ ทรัพย์สินนั้นในอัตราร้อยละ 12.50 ของค่ารายปี ค่า รายปี หมายถึง จำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นให้เช่า ให้ถือว่าค่าเช่านั้นคือค่ารายปี ในกรณี ที่มีเหตุอันสมควร ที่ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าค่าเช่านั้นมิใช่จำนวนเงินสม ควรที่จะให้เช่าได้ หรือกรณีที่หากค่าเช่าไม่ได้ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีได้ตามหลักเกณฑ์ที่รั ฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่มท 0307/ว.2393 ลงวันที่ 10 กันยายน 2538) การประเมินค่ารายปีเพื่อจัดเก็บภาษี ให้นำค่ารายปีที่ล่วงมาแล้วเป็นฐานในการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้อง เสียในปีต่อมา ระยะเวลาการชำระภาษี ตั้งแต่เดือนมกราคม ? กุมภาพันธ์ ของทุกปี การ ผ่อนชำระ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไปผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะขอผ่อนชำระค่าภาษีได้ในวงเงินค ่าภาษีที่จะขอผ่อนชำระจะต้องมีจำวนตั้งแต่เก้าพันบาทขึ้นไป

ขั้นตอนการชำระภาษี

  1. (ไม่ชัดยังไม่พิมพ์)
  2. พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพิจารณาแบบฯ และถ้าเห็นจำเป็นมีอำนาจสั่งให้ผู้รับประเมินแสดงรายการเพิ่มเต ิมละเอียดยิ่งขึ้น หรือเข้าไปตรวจทรัพย์สินได้ด้วยตนเอง
  3. เมื่อได้ส่วนตรวจตราแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะกำหนด - ประเภทของทรัพย์สิน - ค่ารายปีของทรัพย์สิน - ค่าภาษีที่จะต้องเสีย และ แจ้งรายการต่าง ๆ ดังกล่าวไปยังพนักงานเก็บภาษีให้พนักงานเก็บภาษีแจ้งรายการประเ มินไปให้ผู้รับประเมินทรัพย์สินในท้องที่ของตนทราบโดยไม่ชักช้า
  4. เมื่อผู้รับประเมินได้รับแจ้งการประเมิน (ภรต.8) แล้วต้องไปชำระภาษีต่อพนักงานเก็บภาษีภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน การชำระภาษีอาจชำระ ณ สำนักงาน อบต. หรือชำระโดยการส่งธนาณัติ ตั๋วแลกเงินของธนาคาร หรือเช็คที่ธนาคารรับรองทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือชำระผ่านธนาคารก็ได้
  5. ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ถือเป็นค่าภาษีค้างชำระ ต้องเสียเงินเพิ่มตามที่กฎหมายกำหนดมาตรา 43
  6. การร้องขอให้พิจารณาประเมินใหม่ การร้องขอให้ยกเว้น ขอให้ปลดภาษี หรือขดลดภาษี (การอุทธรณ์) ต่อคณะกรรมการบริหาร อบต. ให้ใช้แบบพิมพ์ ภ.ร.ต.9 ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งตามมาตรา 24 ให้ อบต. รับค่าร้องทุกกรณี เมื่อรับคำร้องแล้วต้องลงทะเบียนรับ แล้วเสนอผู้มีหน้าที่ตามลำดับจนถึงคณะกรรมการบริหาร อบต. โดยไม่ชักช้า หากไม่ยื่นภายในกำหนดเวลาต้องมีหนังสือแจ้งความ (ภรต.10) ให้ผู้รับกาประเมินทราบว่าหมดสิทธิที่จะให้พิจารณาทบทวนใหม่
  7. ถ้าผู้ค้างชำระภาษีไม่ชำระภาษีและเงินเพิ่มภายใน 4 เดือน ให้มีการบังคับคดีเป็น 2 แนวทางที่หนึ่งดำเนินการทางศาล และแนวทางที่สองให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังส ือให้ยึด อายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม 3. ภาษีป้าย - กฎหมายที่ให้อำนาจท้องถิ่นจัดเก็บภาษีป้าย คือ พ.ร.บ. ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 - ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ เจ้าของป้าย แต่ในกรณีที่หาตัวผู้เสียภาษีป้ายไม่ได้ผู้ครอบครองป้ายจะต้องเ ป็นผู้เสียภาษีป้าย - ฐานภาษี เรียกเก็บจากป้ายตามขนาดและชนิดของป้าย โดยมีหลักสำคัญในการพิจารณาคือ 1. ป้ายที่ต้องเสียภาษี ต้องมีลักษณะ (มาตรา 6) ดังนี้
  8. เป็นป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมาย
  9. มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่น เพื่อหารายได้ 2. ป้ายที่ไม่ต้องเสียภาษี
  10. เป็นป้ายที่ไม่เข้าลักษณะป้ายตามมาตรา 6
  11. เป็นป้ายที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 8 ดังนี้ - ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพ เพื่อโฆษณามหรสพ - ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้า หรือสิ่งห่อหุ้มหรือบรรจุสินค้า - ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว - ป้ายที่แสดงไว้ที่คน หรือสัตว์ - ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ แต่มีพื้นที่ไม่เกินที่กฎหมายกำหนด - ป้ายของราชการส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น - ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กา รของรัฐ และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ - ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย - ป้ายของโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่แสดง ณ บริเวณของโรงเรียนเอกชน หรือสถานบันอุดมศึกษาเอกชน - ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลการผลิตอันเกิดจากการเกษตรขอ งตน - ป้ายของวัด หรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์การศาสนาหรือการกุศล - ป้ายของสมาคม หรือมูลนิธิ - ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง การหาพื้นที่ของป้าย เพื่อคำนวณภาษีป้าย 1. ป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้ คือป้ายซึ่งมีขนาด ลักษณะ และพื้นที่สามารถมองเห็นได้มีการกำหนดไว้เป็นแผ่น ให้คำนวณพื้นที่เป็นตารางเซนติเมตร โดยให้เอาส่วนที่กว้างที่สุด คูณด้วยส่วนที่ยาวที่สุด 2. ป้ายที่ไม่มีขอบเขตกำหนดได้ คือป้ายที่แสดงข้อความ ชื่อ ยี่ห้อ โดยไม่มีขอบเขตเช่นเขียนที่ผนังกำแพง ผนังอาคาร ให้คำนวณพื้นที่เป็นตารางเซนติเมตร โดยให้วัดจากตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่อยู่ริมสุด เป็นขอบเขตสำหรับกำหนดความกว้างที่สุดและยาวที่สุด แล้วจึงเอาส่วนที่กว้างที่สุด คูณด้วยส่วนที่ยาวที่สุด อัตราภาษีป้าย ปรากฏตามบัญชีอัตราภาษีป้าย ท้าย พ.ร.บ. ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 โดยแบ่งตามประเภทของป้าย ไว้ดังนี้ ประเภทที่ 1 ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน อัตรา 3 บาท/500 ตร.ซม. ประเภทที่ 2 ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศหรือเครื่องหมายอัตรา 20 บาท/ตร.ซม. ประเภทที่ 3 อัตรา 40 บาท/ 500 ตร.ซม. (ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย (ข) ป้ายที่อักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่าง ประเทศ ป้ายตามประเภทที่ 1 ? 3 เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท ระยะเวลาการชำระภาษี 1. ตั้งแต่เดือนมกราคม ? เดือนมีนาคม ของทุกปี 2. ติดตั้งป้ายใหม่หลังเดือนมีนาคม หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้ายทำให้ต้องเสียภาษีเพิ่ม ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน 15 วันนับแต่วันที่ติดตั้งป้าย หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย 3. กรณีโอนป้าย ผู้รับโอนจะต้องแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วัน

แผนปฏิบัติงานการจัดเก็บภาษีป้ายประจำปี ก. ขั้นเตรียม 1. ตรวจสอบและคัดลอกรายชื่อผู้อยู่ในเกณฑ์เสียภาษีในปีงบประมาณ ก.ย. 2. สำรวจและจัดเตรียมแบบพิมพ์ต่าง ๆ ต.ค. 3. ประชาสัมพันธ์ขั้นตอนและขั้นตอนการเสียภาษี พ.ย. ? ก.พ. 4. จัดทำหนังสือแจ้งให้ผู้เสียภาษีทราบเพื่อยื่นแบบแสดงรายการภาษี ป้าย (ภ.ป.1) ธ.ค. ข. ขั้นดำเนินการจัดเก็บ 1. กรณีมีป้ายก่อนเดือนมีนาคม - รับแบบ ภ.ป.1 และตรวจสอบความถูกต้อง ม.ค. ? มี.ค. - ประเมินค่าภาษีและมีหนังสือแจ้งผลการประเมิน (ภ.ป.3) ม.ค. ? มี.ค. 2. กรณีมีป้ายหลังเดือนมีนาคม - รับแบบ ภ.ป.1 และตรวจสอบความถูกต้อง (ภ.ป.3) ม.ค. ? มี.ค. - ประเมินค่าภาษีและมีหนังสือแจ้งผลการประเมิน ม.ค. ? มี.ค. 3. การชำระภาษี กรณีปกติ - รับชำระภาษี (ชำระในวันที่ยื่นแบบหรือชำระภาษีภายในกำหนดเวลา) ม.ค. ? มี.ค. กรณีพิเศษ (1) ชำระภาษีเกินเวลาที่กำหนด - รับชำระภาษีและเงินเพิ่ม (2) ผู้ประเมินไม่พอใจผลการประเมินภาษี 1. รับคำร้องอุทธรณ์ขอให้ประเมินภาษีใหม่ (ภ.ป.4) ก.พ. ? พ.ค. 2. ออกหมายเรียกให้มาชี้แจงหรือออกตรวจสถานที่ ก.พ. ? มิ.ย. 3. ชี้ขาดและแจ้งผลให้ผู้ร้องทราบ (แบบ ภ.ป.5) มี.ค. ? ก.ค. 4. รับชำระภาษีและเงินเพิ่ม มี.ค. ? ก.ย. 5. ปฏิบัติตามคำสั่งศาล (กรณีนำคดีไปสู่ศาล) หมายเหตุ กรณีมีป้ายหลังเดือนมีนาคม การยื่นแบบการประเมิน การชำระค่าภาษีและการอุทธรณ์ ให้ปฏิบัติระหว่าง เมษายน ? ธันวาคม

ค. ขั้นประเมินผลและเร่งรัดการจัดเก็บ 1. ไม่ยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายในกำหนดเวลา - มีหนังสือแจ้งเตือนผู้ยังไม่ยื่นแบบ เม.ย. (เมื่อใกล้จะสิ้นสุดเวลาที่ประกาศกำหนดเวลาให้ยื่นแบบ) - มีหนังสือแจ้งเตือนไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเวลา - ครั้งที่ 1 เม.ย. - ครั้งที่ 2 พ.ค. - แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง (อำเภอ) เม.ย. ? ก.ค. เพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ไม่ยื่นแบบ - รับชำระภาษี และเงินเพิ่มตามมาตรา 25 เม.ย. ? ก.ย. 2. ยื่นแบบ ภ.ป.1 แล้วแต่ไม่ยอมชำระภาษีภายในกำหนดเวลา - มีหนังสือแจ้งเตือนผู้ที่ยังไม่ชำระภาษี - ครั้งที่ 1 พ.ค. - ครั้งที่ 2 มิ.ย. - ครั้งที่ 3 ก.ค. - รับชำระภาษี และเงินเพิ่มตามมาตรา 25 พ.ค. ? ก.ย. - ดำเนินกรบังคับจัดเก็บภาษี (ยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน) กรณีหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษี ต.ค. เป็นต้นไป

4. ค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข ความหมายของค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับ ตาม พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 - ค่าธรรมเนียม เป็นรายได้ที่เรียกเก็บจากบริการที่ท้องถิ่นจัดให้ เช่น การเก็บขยะ มูลฝอย และสิ่งปฏิกูล ฯลฯ - ค่าใบอนุญาต เป็นรายได้ที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบการ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ต้องขออนุญาตประกอบการ - ค่าปรับ เป็นโทษทางอาญาและเป็นรายได้ที่เรียกเก็บจากผู้กระทำความผิดหรื อละเมิดข้อบังคับ หรือกฎหมาย ประเภทของกิจการที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมและใบอนุญาต

  1. กิจการที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม เช่น การเก็บขนขยะมูลฝอย หรือสิ่งปฏิกูล
  2. กิจการที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมและออกใบอนุญาต เช่น - ใบอนุญาตให้ดำเนินกิจการเก็บขยะหรือกำจัดสิ่งปฏิกูล - ใบอนุญาตกิจการค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ - ใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาด - ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายหรือสะสมอาหาร - ใบอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
  3. กิจการที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมและออกหนังสือรับรองการแจ้ง เช่น - การจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสะสมอาหาร ในอาคารหรือในพื้นที่ซึ่งมีพื้นที่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร และเป็นการขายของในตลาด