2024 ทำไม กยศ.ข นอย ระหว างดำเน นการผลการดำเน นงานสถานศ กษา

สถานศึกษาที่มีคุณลักษณะตามที่กองทุนกำหนด และประสงค์จะเข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุน ให้ยื่นคำขอเข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุน พร้อมกับแนบเอกสารประกอบผ่านระบบกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาแบบดิจิทัล Digital Student Loan Fund System : DSL และจัดส่งเอกสารดังกล่าวทางไปรษณีย์ให้กองทุนพิจารณา ก่อนสิ้นเดือนกันยายนของปีก่อนหน้าวันเริ่มต้นปีการศึกษานั้น โดยเอกสารและหลักฐานมีดังต่อไปนี้

(1) เอกสารแสดงผลการรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาที่เป็นปัจจุบัน

(2) หนังสือรับรองจากสภามหาวิทยาลัย สภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สภาสถาบันการอาชีวศึกษาคณะกรรมการบริหารโรงเรียน หรือคณะบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีหน้าที่ ในลักษณะเดียวกันของสถานศึกษาซึ่งรับรองว่าสถานศึกษามีความพร้อมในการดำเนินงานกองทุน และจะกำกับดูแลให้สถานศึกษามีความพร้อมในการดำเนินงานกองทุนตลอดเวลาที่เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุน

(3) เอกสารหรือหลักฐานอื่น ตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอเข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุนและเอกสารหรือหลักฐานอื่น ตามที่กำหนดในขั้นตอนการแนบเอกสารผ่านระบบกองทุนเงิน ให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาแบบดิจิทัล Digital Student Loan Fund System : DSL

สถานศึกษาที่ได้รับความเห็นชอบให้เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุนแล้ว ต้องทำบันทึกข้อตกลงกับกองทุนตามแบบบันทึกข้อตกลง ว่าด้วยการเข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาให้เรียบร้อยก่อน จึงจะเริ่มดำเนินงานการให้กู้ยืมได้

บันทึกข้อตกลง มีข้อกำหนดให้สถานศึกษามีหน้าที่ในเรื่องดังต่อไปนี้

  1. การจัดให้มีการเตรียมการและคัดเลือกผู้กู้ยืมเงิน
  2. การจัดทำสัญญาและการนำส่งสัญญากู้ยืมเงิน
  3. การตรวจสอบการรับโอนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาและการส่งคืน
  4. การจัดทำทะเบียนผู้กู้ยืมเงินและการเก็บเอกสาร
  5. การกำกับและส่งเสริมผู้กู้ยืมระหว่างศึกษา
  6. การติดตามผู้กู้ยืมเงินให้ชำระเงินคืนกองทุน

2024 ทำไม กยศ.ข นอย ระหว างดำเน นการผลการดำเน นงานสถานศ กษา

* สำหรับสถานศึกษาที่ยังไม่เคยเข้าร่วมการดำเนินงานกับกองทุน ขอเข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

1.

2.

หมายเหตุ

* เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินการให้กู้ยืมระบบใหม่ (DSL) กองทุนขอแนะนำให้ดำเนินการผ่าน Google Chrome


รหัสของสถานศึกษา

เมื่อสถานศึกษาได้เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุนเรียบร้อยแล้ว สถานศึกษาจะได้รับรหัสสำหรับการดำเนินการระบบ DSL โดยรหัสดังกล่าวจะมีภาษาอังกฤษ u (ตัวยูพิมพ์เล็ก) นำหน้า แล้วตามด้วยตัวเลขรหัสจำนวน 7 ตัว เช่น โรงเรียนวังโพนงามวิทยา รหัสของสถานศึกษา คือ u0000011 เป็นต้น

การเปลี่ยนรหัสผู้จัดการสิทธิ์สูงสุด (Super User)

สถานศึกษาต้องทำเป็นหนังสือพร้อมแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องแจ้งกองทุนเพื่อขอเปลี่ยน

การเปลี่ยนรหัสผู้ทำรายการ (Maker) และหรือรหัสผู้ตรวจสอบรายการ (Checker)

สถานศึกษาสามารถเข้าระบบด้วยรหัสผู้จัดการสิทธิ์สูงสุด (Super User) เพื่อทำการเพิ่มผู้ใช้งาน/ระงับ User ดังกล่าวได้

หมายเหตุ กรณีสถานศึกษาที่ไม่มีวิทยาเขต ไม่ต้องกำหนดรหัสผู้ดูแลระบบ (Admin) ให้กำหนดเฉพาะรหัสผู้ทำรายการ (Maker) และรหัสผู้ตรวจสอบรายการ (Checker) สำหรับดำเนินงานในระบบ DSL

สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างปี หรือจบการศึกษา สถานศึกษาต้องรายงานสถานภาพ ตามจริง โดยระบบจะมีให้สถานศึกษารายงาน เช่น ศึกษาต่อในสถานศึกษานั้นๆ ผู้กู้ยืมรายเก่าเลื่อนชั้นปีที่ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินในสถานศึกษาปัจจุบัน สำเร็จการศึกษา ลาออก ให้ออก

การรายงานสถานภาพการศึกษาโดยผู้กู้

สำหรับผู้กู้ที่ต้องรายงานจะเกิดจาก กรณีดังนี้

กรณีที่ 1 ผู้กู้ยืมเงินมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างปี เช่น ย้ายสถานศึกษา หรือ ไม่กู้ยืมเงินต่อ

กรณีที่ 2 ผู้กู้ยืมเงินที่ศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่ไม่ได้เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุน

ดังนั้น เพื่อรักษาสถานภาพการศึกษา ว่า “กำลังศึกษาอยู่” ระบบDSLจะแจ้งเตือน ให้ผู้กู้มารายงานสถานภาพ เมื่อพบว่าไม่มีการรายงานสถานภาพมาแล้ว 1 ปี (365 วัน) นับจากวันที่รายงานสถานภาพครั้งล่าสุด โดยจะแจ้งเตือนผ่าน Email และ Notification ให้ผู้กู้ยืมเข้าระบบเพื่อรายงานสถานภาพ โดยระบบจะมีให้ดาวน์โหลด กยศ. 204 เพื่อรายงานและลงนามรับรองโดยสถานศึกษาปัจจุบัน และสแกนข้อมูลเข้ามาในระบบ หากยังไม่ถึงระยะเวลา 365 วัน ฟังก์ชันการรายงานสถานภาพจะไม่ขึ้นค่ะ ดังนั้น ผู้กู้ยืมเงินยังไม่ต้องดำเนินการใดๆเพราะรายงานสถานภาพจะไม่มีปุ่มแจ้งเตือน ให้คลิกค่ะ

การส่งรายงานสถานภาพ กยศ.204

หากผู้กู้ยืมเงินประสงค์รายงานสถานภาพด้วยตนเอง (กยศ. 204) ผู้กู้ยืมเงินสามารถจัดส่งเอกสารดังกล่าว ไปที่ธนาคารที่ผู้กู้ยืมเงินเปิดบัญชีรับโอนเงินค่าครองชีพ (ธนาคารกรุงไทย และ/หรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย) โดยการส่งไปรษณีย์ไปที่สำนักงานใหญ่

1.1 คุณสมบัติทั่วไปและลักษณะต้องห้ามของนักเรียนหรือนักศึกษาที่จะขอกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้

ก. คุณสมบัติทั่วไป ดังนี้

(1) มีสัญชาติไทย

(2) ศึกษาหรือได้รับการตอบรับให้เข้าศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่ร่วมดำเนินงานกับกองทุน

(3) เป็นผู้ขอกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาในการเข้าศึกษาที่สถานศึกษาเพียงแห่งเดียวในคราวภาคการศึกษาเดียวกัน

(4) มีผลการเรียนดีหรือผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลของสถานศึกษา

(5) มีความประพฤติดี ไม่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษาขั้นร้ายแรงหรือไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสื่อมเสีย เช่น หมกมุ่นในการพนัน เสพยาเสพติดให้โทษ ดื่มสุราเป็นอาจิณหรือเที่ยวเตร่ในสถานบันเทิงเริงรมย์เป็นอาจิณ เป็นต้น

ข. ลักษณะต้องห้าม ดังนี้

(1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาใดสาขาหนึ่งมาก่อน เว้นแต่จะได้กำหนดเป็นอย่างอื่นในคุณสมบัติเฉพาะสำหรับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาลักษณะหนึ่งลักษณะใด

(2) เป็นผู้ปฏิบัติงานและรับเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนในลักษณะเต็มเวลา เว้นแต่จะได้กำหนดเป็นอย่างอื่นในคุณสมบัติเฉพาะสำหรับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาลักษณะหนึ่งลักษณะใด

(3) เป็นบุคคลล้มละลาย

(4) เป็นหรือเคยเป็นผู้ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(5) เป็นหรือเคยเป็นผู้ที่ผิดนัดชำระหนี้กับกองทุน เว้นแต่ได้ชำระหนี้ดังกล่าวครบถ้วนแล้ว

นอกจากที่กำหนดในข้อ ก. และ ข. นักเรียนหรือนักศึกษาผู้จะขอกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะและไม่มีลักษณะต้องห้ามเฉพาะอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดสำหรับการให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาในลักษณะนั้นๆ ด้วย

1.2 คุณสมบัติเฉพาะของนักเรียนหรือนักศึกษาผู้กู้ยืมเงินกองทุน ในลักษณะที่ 1 ให้การสนับสนุน และส่งเสริมการศึกษาแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่แคลนทุนทรัพย์

นักเรียนหรือนักศึกษาผู้จะขอกู้ยืมเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ในลักษณะที่ 1 นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ของระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาและการชำระเงินคืนกองทุน พ.ศ. 2561 แล้ว จะต้องมีคุณสมบัติเฉพาะดังต่อไปนี้

(1) เป็นผู้ที่มีรายได้ต่อครอบครัว ไม่เกินสามแสนหกหมื่นบาทต่อปี ทั้งนี้ รายได้ต่อครอบครัวให้พิจารณาจากหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้

(ก) รายได้รวมของนักเรียนหรือนักศึกษาผู้ขอกู้ยืมเงิน รวมกับรายได้ของบิดามารดา ในกรณีที่บิดามารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง

(ข) รายได้รวมของนักเรียนหรือนักศึกษาผู้ขอกู้ยืมเงิน รวมกับรายได้ของผู้ปกครอง ในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครอง มิใช่บิดามารดา

(ค) รายได้รวมของนักเรียนหรือนักศึกษาผู้ขอกู้ยืมเงิน รวมกับรายได้ของคู่สมรส ในกรณีผู้ขอกู้ยืมเงินได้ทำการสมรสแล้ว

ให้นักเรียนหรือนักศึกษาผู้ขอกู้ยืมเงินแนบหลักฐานใบสรุปยอดเงินเดือนที่ได้รับทั้งเดือน (สลิปเงินเดือน) หรือสำเนาบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เว้นแต่ครอบครัวที่ไม่มีรายได้ประจำหรือไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ให้จัดหาเจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับบำเหน็จบำนาญ สมาชิกสภาเขต สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือหัวหน้าสถานศึกษาที่นักเรียนหรือนักศึกษาผู้ขอกู้ยืมเงินศึกษาอยู่ เป็นผู้รับรองรายได้ เพื่อให้กองทุนใช้ประกอบการพิจารณารายได้ต่อครอบครัวดังกล่าวด้วย

กยศ อยู่ระหว่างสถานศึกษาตรวจสอบ คืออะไร

- สถานะ “อยู่ระหว่างกองทุนพิจารณาอนุมัติ” หมายถึง มหาวิทยาลัยตรวจสอบเอกสารเรียบร้อยแล้ว รอการอนุมัติจากองทุนฯ เพื่อปรากฎสถานะ “คำขอกู้ยืมเงินได้รับการอนุมัติ”

กยศ อยู่ระหว่างสถานศึกษาตรวจสอบ กี่วัน

กองทุนจะโอนเงินค่าครองชีพเดือนแรกให้แก่ผู้กู้ยืมภายใน 7 วัน นับจากวันที่สถานศึกษาทำการตรวจสอบยืนยันข้อมูลและแนบเอกสารการกู้ยืมของผู้กู้ยืมในระบบ DSL เรียบร้อยแล้วและสถานศึกษาจะต้องจัดส่งเอกสารการกู้ยืมที่ถูกต้องและครบถ้วนให้ธนาคารโดยเร็ว

สาเหตุที่ กู้ กยศ ไม่ผ่าน มีอะไรบ้าง

มีสาเหตุดังนี้ 1. กองทุนยังไม่ได้รับข้อมูลหรืออยู่ระหว่าง ดาเนินการนาข้อมูลหลักสูตรเข้าระบบ 2. กองทุนยังไม่ได้รับข้อมูลหรืออยู่ระหว่าง ดาเนินการนาผลประเมินสถานศึกษาเข้าระบบ 3. กองทุนนาเข้าผลประเมินภายในของ สถานศึกษาแล้ว แต่ผลประเมินไม่ผ่าน จึงกู้ยืมได้เฉพาะรายเก่าเลื่อนชั้นปี

เพราะเหตุใดถึงกู้กยศ

กยศ. มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เงินกู้ยืมแก่นักเรียน นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าใช้จ่ายที่จำเป็น