เง นฝากออมทร พย เส ยภาษ เร ม 15 พ.ค 2562

ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2564 บัญชีเงินฝากที่เป็นเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศทุกประเภทจะได้รับความคุ้มครองภายใต้ พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝากในวงเงิน 1 ล้านบาท ต่อ 1 รายผู้ฝากเงิน ต่อ 1 สถาบันการเงิน

ธปท. มีการใช้คุกกี้ที่จำเป็นต่อการใช้งานหรือให้บริการเว็บไซต์ รวมทั้งมีการใช้คุกกี้อื่น (อาทิ คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ คุกกี้เพื่อวิเคราะห์การประเมินผลใช้งานและการโฆษณา) เพื่อช่วยปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานหรือการให้บริการเว็บไซต์ได้ดียิ่งขึ้น โดยหากท่านคลิก “ยอมรับการใช้งานคุกกี้ทุกประเภท” ถือว่าท่านยอมรับการใช้งานคุกกี้อื่นนอกจากคุกกี้ที่จำเป็นด้วย ซึ่งท่านสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้เพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ของ ธปท.

คุกกี้ที่จำเป็นคุกกี้อื่นทางเลือกยอมรับปฏิเสธยอมรับยอมรับ

คุกกี้ที่จำเป็นต่อการใช้งานหรือให้บริการเว็บไซต์

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการใช้งานหรือการให้บริการพื้นฐานของเว็บไซต์ ธปท. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ

คุกกี้อื่นเพื่อการใช้งานเว็บไซต์และเพื่อการวิเคราะห์

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ ธปท. จดจำผู้ใช้งาน และตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้ รวมทั้งช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ นอกจากนี้ คุกกี้ดังกล่าวยังทำให้เห็นการปฏิสัมพันธ์ของท่านในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ธปท. และใช้วิเคราะห์ข้อมูลการใช้งาน เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และการนำเสนอบริการบนเว็บไซต์

โดยทั่วไปบัญชีเงินฝากออมทรัพย์จะคิดดอกเบี้ยให้ผู้ฝากทุกวัน แต่จะจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ฝากปีละ 2 ครั้ง คือ ในเดือนมิถุนายนและธันวาคม ซึ่งดอกเบี้ยที่ได้รับในแต่ละงวดก็จะมารวมเป็นเงินต้นสำหรับคิดดอกเบี้ยในแต่ละวันต่อไปด้วย

ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 55) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ สรุปได้ดังนี้

1. หากได้รับดอกเบี้ยจากบัญชีออมทรัพย์รวมทุกบัญชีจากธนาคารแห่งเดียวกันเกิน 20,000 บาทในปีภาษีนั้น ธนาคารมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 15% และนำส่งกรมสรรพากรต่อไป

2. หากมีการฝากออมทรัพย์หลายธนาคารและมีดอกเบี้ยรับรวมกันทุกแห่งเกินกว่า 20,000 บาทในปีภาษีนั้น ผู้ฝากมีหน้าที่แจ้งแก่ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ย เพื่อให้ดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งกรมสรรพากรต่อไป

ตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์

วันที่ 1 มกราคม นาย ก. ฝากเงินประเภทออมทรัพย์ที่ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง จำนวน 10,000 บาท ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี โดยธนาคารพาณิชย์กำหนดจะจ่ายดอกเบี้ยสำหรับเงินฝากออมทรัพย์ให้ทุก ๆ 6 เดือน ในวันที่ 30 มิถุนายน และ 31 ธันวาคม ของทุกปี (สมมติให้ในปีนี้เดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน) ดังนั้น หากนาย ก. ฝากเงิน 10,000 บาท ไว้ทั้งปี โดยไม่ถอนเงินออกหรือฝากเงินเพิ่ม และไม่ได้ถอนดอกเบี้ยออกมาใช้ในระหว่างปี ดอกเบี้ยที่นาย ก. จะได้รับในปีนี้จะสามารถคำนวณได้ดังนี้