เหตุใดเมื่อนักเรียนพูดรายงานการศึกษาค้นคว้าเสร็จสิ้นแล้วควรมีการประเมินการพูดของตนเอง

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การพูดรายงานการศึกษาค้นคว้า  คือ การบอกเล่า ชี้แจง แสดงผลจากเรื่องที่ไปศึกษาค้นคว้า   การพูดรายงานมีความสำคัญในฐานะที่เป็นการเผยแพร่ความรู้ความคิด เพื่อสร้างความเจริญงอกงามทางสติปัญญา ดังนั้นจึงถือว่าเป็นทักษะที่ควรศึกษาเรียนรู้และฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

จุดประสงค์
- นักเรียนสามารถอธิบายหลักการพูดรายงานการศึกษาค้นคว้าได้
- นักเรียนสามารถพูดรายงานการศึกษาค้นคว้าได้
- นักเรียนตระหนักเห็นถึงความสำคัญของการพูดในชีวิตประจำวัน 
 

การวัดผลและประเมินผล

- แบบประเมินการพูดรายงานการศึกษาค้นคว้า
 - เกณฑ์การประเมินสมรรถนะผู้เรียน
- แบบประเมินการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
 

ปีการศึกษา 2562 / 2

ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2

กลุ่มสาระ ภาษาไทย

หน่วย รายวิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท22102 ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 แลกเปลี่ยนพิจารณ์

ชั่วโมง พูดรายงานการศึกษาค้นคว้า

เรื่อง พูดรายงานการศึกษาค้นคว้า (2) 22 ม.ค. 63

การพูดรายงานการศึกษาค้นคว้าภูมิปัญญาท้องถิ่น

การพูดรายงาน เป็นการพูดนำเสนอผลของการศึกษาค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้ฟังการพูดรายงานการศึกษาค้นคว้านี้อาจเป็นการนำเสนอในชั้นเรียน  หรือกลุ่มก็ได้

การพูดรายงานการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น  คือ    การพูดชี้แจง  บอกเล่าหรืออธิบาย  เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า   เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความรู้  ความเข้าใจการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับท้องถิ่น   เช่น   อาหารพื้นบ้าน   ยาสมุนไพร    หัตถกรรมพื้นบ้าน  หัวข้อภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นักเรียนสามารถค้นคว้าเรียบเรียง   เช่น   ความเชื่อ  ศิลปะ   หัตถกรรมภาษา   ประเพณี   เป็นต้น

แนวทางการพูดรายงานการศึกษาค้นคว้า

1.             นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาเรียบเรียงเนื้อหาเพื่อนำไปพูดรายงานโดยให้มีความชัดเจน  สั้น  กระชับ

2.              พูดดำเนินเรื่องไปตามลำดับเหตุการณ์  ไม่สับสน  วกวน

3.             มีตัวอย่างหรือสถิติประกอบการพูดรายงานตามความเหมาะสม

4.             เลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับระดับของผู้ฟัง  ไม่ควรใช้ภาษาที่ยากหรือง่ายเกินไป

5.             ไม่พูดเกินเวลา  ใช้เวลาพูดให้พอดีกับเวลาที่กำหนดไว้

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น

                ภูมิปัญญาไทย    หมายถึง  องค์ความรู้ความสามารถ  และทักษะของคนไทยอันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้  เลือกสรร  ปรุงแต่ง  พัฒนาและถ่ายสืบต่อกันมา

1.            ขอบข่ายของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

ได้กำหนดไว้   9   ด้านดังนี้

1.             ด้านเกษตรกรรม   ได้แก่   ความสามารถการทำการเกษตรแบบผสมผสาน  การแก้ปัญหาการเกษตรด้านการตลาด

2.             ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม  ได้แก่    การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

3.             ด้านการแพทย์แผนไทย  ได้แก่     ความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชน

4.             ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  

5.             ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน     ได้แก่    การจักการกองทุนของชุมชนในรูปของสหกรณ์ออมทรัพย์

6.             ด้านศิลปกรรม    ได้แก่   สร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปะ  เช่น  จิตรกรรม   ประติมากรรม

7.             ด้านภาษาและวรรณกรรม  ได้แก่   ความสามารถในการอนุรักษ์และสร้างสรรค์ผลงานทางด้านภาษา

8.             ด้านปรัชญา  ศาสนาและประเพณี   ได้แก่   การถ่ายทอดหลักธรรมคำสอนทางศาสนา

9.             ด้านโภชนาการ  ได้แก่    ความสามารถในการเลือกสรร  ปรุงแต่งอาหารและยา

2.            ลักษณะเฉพาะของวรรณกรรมท้องถิ่น

1.            เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาด้วยการเล่าปากไปสู่ปาก

2.            เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีการเคารพบรรพบุรุษผีสางเทวดาในงานพิธีต่างๆ

3.            เป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาจากคนยุคหนึ่งสู่คนอีกยุคหนึ่ง

4.            จะใช้ภาษาถิ่น  เป็นคำง่ายๆ  สื่อความหมายอย่างตรงไปตรงมา

5.            มีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในท้องถิ่น

3.            ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านภาษาและวรรณกรรม

1.            ปริศนาคำทาย 

2.            ภาษิต  สำนวน  คำพังเพย

3.            เพลงพื้นบ้าน 

4.            นิทานพื้นบ้าน

5.            ภาษาถิ่น

6.            ผู้สร้างสรรค์ผลงานทางภาษาในท้องถิ่น

ขั้นตอนการเขียนรายงาน      มีดังนี้
      1.    การเลือกเรื่อง และ ตั้งชื่อเรื่อง 

      2.    การกำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่อง

      3.    การเขียนโครงเรื่อง

      4.    การเขียนเนื้อหา

      5.    บทสรุป

      6.    อ้างอิง

ให้นักเรียนเลือกหัวข้อต่อไปนี้เพื่อศึกษาค้นคว้าทำเป็นรายงาน

๑.       อาหารพื้นบ้าน

๒.     ประเพณีพื้นบ้าน

๓.     นิทานพื้นบ้าน

๔.     ความเชื่อในท้องถิ่น

๕.     หัตถกรรมพื้นบ้าน