ใครเป็นผู้อุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ 2

สรุปการทำสังคายนาครั้งที่ ๒

สาเหตุ :  ปรารภภิกษุเหล่าวัชชีบุตร ชาวเมืองเวสาลี
มีความต้องการที่ จะเลี่ยงพระวินัย จึงแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ
ซึ่งขัดกับหลักพระธรรมวินัยทำเมื่อ  : พระพุทธศักราช ๑๐๐ ปี

สถานที่ทำ  :ณ วาลุการาม เมืองเวสาลี เพื่อชำระวัตถุ ๑๐ ประการ

เวลาทำ :ทำอยู่ ๘ เดือนจึงสำเร็จ

ประธานสงฆ์    :พระยสกากัณฑกบุตร

การกสงฆ์  :พระอรหันต์ขีณาสพ ๗๐๐ รูป

ผู้อุปถัมภ์ :พระเจ้ากาฬาโศกราช แห่งกรุงเวสาลี

 พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานได้เริ่มก่อตัวขึ้นแล้วหลังจากมีการแตกแยกกัน
เมื่อพิจารณาถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการแตกแยกแล้ว
ไม่น่าจะก่อให้เกิดการแตกแยกที่ยิ่งใหญ่ขนาดนี้ วัตถุ ๑๐
ประการที่ภิกษุชาววัชชียกขึ้นก็ถือตามพุทธมติที่ได้ตรัสกับพระอานนท์เถระก่อนที่ปรินิพพานว่า“อานนท์ โดยล่วงไปแห่งเราถ้าสงฆ์ปรารถนาจะถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียบ้าง ก็จงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียได้”[1]

เมื่อพิจารณาตามนัยนี้
ความเห็นของภิกษุชาววัชชีก็ยังถือว่าไม่เป็นการนอกรีตนอกรอย
เพราะประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงเฉพาะสิกขาบทเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ส่วนสิกขาบทที่สำคัญก็ยังคงอยู่

ภิกษุฝ่ายวินัยวาทีเห็นว่าสมควรจะรักษาไว้เช่นเดิม
แม้จะเป็นสิกขาบทเล็กน้อยก็ไม่ควรจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอะไร
ซึ่งความเห็นเช่นนี้ก็นับว่ามีเหตุผลทั้งสองฝ่าย
แต่ความเสียหายได้เกิดขึ้นอย่างรุนแรง
ก็ตรงที่ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมผ่อนผันให้แก่กันและกัน

 แต่ถ้าพิจารณาในในเรื่องของทิฐิหรือความคิดเห็นแล้ว
สาเหตุการแตกแยกคงมิใช่เฉพาะในด้านศีลอย่างเดียว คงมีเหตุผลด้านอื่นๆ ด้วย
คือความไม่ลงรอยกันในระหว่างสงฆ์ชาวเมืองต่างๆ
ความไม่ยอมรับระบบอาวุโสในหมู่สงฆ์และความต้องการเป็นผู้นำในหมู่สงฆ์ด้วยกัน
จากหลักฐานที่ปรากฏจะเห็นได้ว่า
มีการวิ่งเต้นเข้าหาพระผู้ใหญ่คือพระเรวตะด้วยกันทั้งสองฝ่าย
มีการดำเนินการทางการเมือง คือเข้าไปขอความอุปถัมภ์จากพระเจ้าแผ่นดิน
เพราะทุกฝ่ายต่างก็ต้องการฐานอำนาจทั้งทางโลกและทางธรรมเป็นเครื่องสนับสนุนและในขณะเดียวกันก็ต้องการบีบบังคับอีกฝ่ายหนึ่งให้ยอมจำนนโดยปริยาย
กลายเป็นเรื่องขัดแย้งอย่างอื่นที่มีศีลเป็นเพียงสาเหตุเท่านั้น

การทำสังคายนาครั้งที่ 1 นี้ จัดที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างภูเขาเวภารบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย ทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว 3 เดือน พระอรหันต์จำนวน 500 องค์เข้าร่วมประชุม โดยมีพระมหากัสสปะเถระเป็นประธานฝ่ายสงฆ์และเป็นองค์ปุจฉา (ถาม) พระอุบาลีเถระเป็นองค์วิสัชนา (ตอบ) พระวินัย พระอานนท์เถระเป็นองค์วิสัชนาพระสูตร พระเจ้าอชาตศัตรู กษัตริย์ผู้ครองกรุงราชคฤห์เป็นองค์อุปถัมภก และเป็นประธานฝ่ายฆราวาส ใช้เวลา 7 เดือนจึงเสร็จ

ข้อที่น่าสังเกตในการทำสังคายนาครั้งที่ 1 นี้ คือ คำที่ใช้เรียกหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า จะใช้คำว่า “ธรรมวินัย” ยังไม่ปรากฏมีความว่า “พระไตรปิฎก” และ “พระอภิธรรม”

สังคายนาครั้งที่ 2

การประชุมทำสังคายนาในครั้งที่ 2 นี้เกิดขึ้นหลังจากพุทธปรินิพพานแล้ว 100 ปี สาเหตุที่นำไปสู่การสังคายนา คือ ภิกษุชาวแคว้นวัชชีจำนวนมากจงใจละเมิดพระวินัย คือ สิกขาบทอันมีมาในพระปาติโมกข์ 10 ประการคือ

1. สิงคิโลณกัปปะ เก็บเกลือเอาไว้ปรุงอาหารฉันได้ (ผิด เพราะสะสมอาหาร ปรับอาบัติปาจิตตีย์)
2. ทวังคุลกัปปะ ฉันโภชนะเมื่อเวลาบ่ายตอนที่ตะวันล่วงไปแล้ว 2 องคุลีได้ (ผิด เพราะฉันโภชนะในเวลาวิกาล ปรับอาบัติปาจิตตีย์)
3. คามันตรกัปปะ ภิกษุฉันเสร็จแล้วเข้าไปในละแวกบ้าน ฉันโภชนะอีกซึ่งเป็นอาหารเหลือได้ (ผิด เพราะฉันอาหารพร่ำเพรื่อ คือฉันแล้วฉันอีก ปรับอาบัติปาจิตตีย์)
4. อาวาสกัปปะ มีสีมาเดียวกัน แต่ทำอุโบสถไม่พร้อมกันได้ (ผิด เพราะไม่สามัคคีกัน ปรับอาบัติทุกกฏ)
5. อนุมติกัปปะ สงฆ์ยังไม่พร้อม อาจทำสังฆกรรมไปก่อนได้ ผู้มาทีหลังจึงขออนุมัติ (ผิด เพราะให้ทำฉันทะมาก่อนแล้วยจึงทำสังฆกรรม ปรับอาบัติทุกกฎ)
6. อาจิณณกัปปะ ประพฤติตนตามธรรมเนียมที่อาจารย์เคยประพฤติมาได้ (ผิด เพราะความประพฤติบางอย่างถือว่าไม่สมควร)
7. อมถิตกัปปะ นมสดที่แปรสภาพแต่ยังไม่ถึงความเป็นนมส้ม ภิกษุฉันอาหารแล้วจะดื่มนมอันเป็นของเหลือ (อนติริตตะ) ได้ (ผิด เพราะโภชนะอันเป็นอนติริตตะ)
8. ชโลคิงปาตุง ดื่มสุราอย่างอ่อนที่ยังไม่ถึงความเป็นน้ำเมาได้ (ผิด เพราะดื่มสุราและเมรัย ปรับอาบัติปาจิตตีย์)
9. อทสกัง นิสีทนัง ใช้ผ้าปูที่นั่งไม่มีชายได้ (ผิด เพราะละเมิดบัญญัติที่ให้ภิกษุต้องนั่งผ้าปูที่มีชาย ปรับอาบัติปาจิตตีย์)
10. ชาตรูปรชตัง รับเงินและทองได้ (ผิด เพราะห้ามมิให้ภิกษุรับเงินและทอง ปรับอาบัติปาจิตตีย์)


ในคราวนั้น พระยสกากัณฑบุทต ชาวเมืองปาฐา จาริกมาถึงเมืองเวสาลี เห็นพวกภิกษุชาววัชชีประพฤติผิดบัญญัติ 10 ประการ จึงได้นำเอาเรื่องนี้ไปแจ้งแก่พระเถระหลายรูป ในที่สุดพระเถระทั้งหลายก็เห็นพ้องกันว่าควรจะชักชวนภิกษุชาวเมืองปาวาและ ภิกษุชาวเมืองอวันตี มาประชุมทำสังคายนา และการทำสังคายนาครั้งที่ 2 ก็เกิดขึ้นในที่สุด

การทำสังคายนาครั้งที่ 2 นี้ ทำที่วาลิการาม เมืองเวลาสี แคว้นวัชชี ประเทศอินเดีย พระอรหันต์เข้าร่วมประชุมจำนวน 700 รูป พระสัพพกามีเถระ เป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์และเป็นองค์วิสัชนา พระเรวตเถระเป็นองค์ปุจฉา พระเจ้ากาลาโศกราช กษัตริย์ผู้ครองแคว้นมคธและวัชชีเป็นองค์อุปถัมภกและเป็นประธานฝ่ายฆราวาส ใช้เวลาทำสังคายนาครั้งนี้ 8 เดือนจึงเสร็จ
ในการประชุมสังคายนาครั้งนี้มติในที่ประชุมสงฆ์ตัดสินว่า การที่ภิกษุชาววัชชีประกาศวัตถุ 10 ประการนั้นผิดทุกข้อ ซึ่งถือว่าเป็นบัญญัติที่หลีกเลี่ยงคำสอนของพระบรมศาสดา เมื่อมติออกมาเช่นนี้ จึงเป็นผลให้ภิกษุชาววัชชีประมาณ 700 รูป แยกตัวออกไป ไม่ยอมปฏิบัติตามหลักพระวินัยเดิมที่พระเถระผู้ใหญ่กำหนดในการทำสังคายนาครั้งนี้ และมีภิกษุอื่น ๆ ที่เห็นด้วยกับพวกภิกษุวัชชีบุตรอีกรวมแล้วประมาณ 10,000 รูป จากนั้นก็พากันจัดทำสังคายนาขึ้นใหม่ เรียกว่า “มหาสังคีติ” ประกาศขื่อของพวกตนว่า “มหาสังฆิกะ” ซึ่งแปลว่า พวกมากหรือหมู่ใหญ่

นัก ปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาเชื่อว่า กลุ่มมหาสังฆิกะ เป็นกลุ่มที่เป็นต้นกำเนิดนิกายมหายาน เพราะเป็นกลุ่มที่ประกาศแยกออกมาอย่างชัดเจน แล้วมาร่วมกันรจนาพระธรรมในความหมายใหม่ว่า ธรรมนั้นเป็นพาหนะใหญ่ ช่วยขนเอาสรรพสัตว์ได้อย่างกว้างขวาง ไม่ยอมถอนวัตถุ 10 ประการ และยึดถือหลักปฏิบัติตามมติและทิฐิของครูอาจารย์เป็นสำคัญ จึงกลายเป็นฝ่าย อาจริยวาท (อาจริยวาทิน) แล้วเรียกพวกตนว่า “มหายาน” และเรียกฝ่ายตรงกันข้ามว่า “เถรวาท” หรือ “หีนยาน” ดังนั้นผลของการทำสังคายนาครั้งที่ 2 นี้ทำให้พระพุทธศาสนาแยกออกเป็น 2 นิกายใหญ่ ๆ คือ กลุ่มเถรวาทหรือหีนยาน กับกลุ่มอาจริยวาทหรือมหายาน และทั้ง 2 นิกายนี้ก็ยังแยกออกเป็นนิกายย่อย ๆ อีก กล่าวคือ

1. กลุ่มเถรวาท บางทีเรียกว่า “สถวีร” แยกเป็นนิกายย่อย ๆ อีก 16 นิกาย (รวมทั้งนิกายเดิมคือ สถวีร)
2. กลุ่มอาจาริยวาท หรือบางทีเรียกว่า “มหาสังฆิกะ” แยกออกเป็นนิกายย่อย ๆ อีก 10 นิกาย (รวมทั้งนิกายเดิมคือ มหาสังฆิกะ)

เมื่อพุทธศักราชล่วงไปได้ประมาณ 1,000 ปี ฝ่ายมหายานได้หันเหลัทธิและทิฐิของตนไปผสมผสาน และปะปนกับลัทธิท้องถิ่นที่เผยแผ่เข้าไปถึงบ้าง ผสมผสานกับลัทธิในศาสนาอื่นบ้าง เช่น ศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) เป็นต้น จึงเป็นเหตุให้เกิดลัทธิใหม่ขึ้น เช่น ลัทธิโยกาจาร เป็นลัทธิที่ผสมผสานระหว่างลัทธิพุทธกับตันตระของพราหมณ์ จนกลายเป็น “พุทธตันตรยาน” และ “วัชรยาน” ซึ่งเป็นพุทธศาสนาอีกแบบหนึ่ง ซึ่งจะเห็นได้ในทิเบต ที่รู้จักในชื่อว่า ลัทธิลามะของทิเบต


สังคายนาครั้งที่ 3

การทำสังคายนาครั้งที่ 3 นี้ มีสาเหตุมาจากพระพุทธศาสนาได้รับความยอมรับนับถืออย่างกว้างขวาง มีผู้มีศรัทธาขอบวชในพุทธศาสนาจำนวนมาก จนเป็นสาเหตุให้นักบวชนอกศาสนาขาดลาภสักการะ พวกนี้บางทีเรียกว่า “เดียร์ถีย์” ได้ปลอมบวชในพุทธศาสนา แสดงลัทธิขัดต่อหลักพุทธศาสนา ทำการเผยแพร่ลัทธิของตนในนามพระพุทธศาสนา เป็นผลให้เกิดการรังเกียจ แตกแยกและเคลือบแคลงสงสัยในวงการพุทธศาสนา จนไม่ทำอุโบสถสังฆกรรมร่วมกันเป็นเวลานานถึง 7 ปี พระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งเป็นกษัตริย์ผู้ทรงศรัทธาเลื่อมใสพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า และทรงเป็นองค์อุปถัมภก ทรงวิตกว่าหากไม่แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว ก็จะทำให้พุทธศาสนาเสื่อมสลายไป ดังนั้น พระองค์จึงทรงอาราธนาพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระให้ช่วยชำระสอบสวน และกำจัดพวกเดียร์ถีร์ออกไปจากธรรมวินัยเสีย ในครั้งนั้นพวกภิกษุที่ปลอมบวชในพระพุทธศาสนาได้ถูกจับสึกเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้น พระเจ้าอโศกมหาราชก็ทรงให้อาราธนาภิกษุผู้บริสุทธิ์ร่วมกันทำอุโบสถสังฆกรรม พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเห็นเป็นโอกาสสมควรจึงได้จัดให้มีการทำสังคายนาขึ้น
หลังจากการทำสังคายนาครั้งที่ 3 นี้เสร็จสิ้นลงแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชกับพระโมคัลลีบุตรติสสเถระ ได้มีความเห็นร่วมกันว่า ในอนาคตพุทธศาสนาอาจไม่มั่นคงอยู่ในอินเดีย จึงเห็นควรส่งพระสมณทูตออกไปเผยแผ่ในส่วนต่าง ๆ ของอินเดียและในต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการส่งพระสมณทูตออกประกาศพุทธศาสนา โดยแบ่งออกเป็น 9 สาย ภายใต้พระราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช พระสมณทูต 9 สายคือ

สายที่ 1 มีพระมัชฌันติกเถระ เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย คือ แคว้นกัษมีระ (แคชเมียร์) และแคว้านคันธาระ
สายที่ 2 มีพระมหาเทวเถระ เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาทางทิศใต้ของประเทศอินเดีย คือ แคว้น
มหิสมณฑล (ปัจจุบัน คือ รัฐไมซอร์)
สายที่ 3 มีพระรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย ซึ่งได้แก่ แคว้นวนวาสีประเทศ
สายที่ 4 มีพระธรรมรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาแถบชายฝั่งตะวันตกของอินเดีย อันได้แก่ แคว้น
อปรันตกชนบท (ปัจจุบัน คือ แถบบริเวณเหนือเมืองบอมเบย์)
สายที่ 5 มีพระมหาธรรมรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองบอมเบย์ อันได้แก่ แคว้นมหาราษฎร์
สายที่ 6 มีพระมหารักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาที่โยนกประเทศ (กรีซ)
สายที่ 7 มีพระมัชฌิมเถระ เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาทางดินเดียภาคเหนือ (แถมเทือกเขาหิมาลัยและประเทศเนปาล)
สายที่ 8 มีพระโสณเถระและพระอุตตรเถระ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบสุวรรณภูมิ (ดินแดนที่เรียกว่า สุวรรณภูมิ ไม่อาจตกลงกันได้ว่าที่ใด แต่มีความเป็นกว้าง ๆ ว่า คือดินแดนที่เป็นประเทศพม่า (เมียนมาร์) ไทย ลาว ญวน เขมร และมลายู)
สายที่ 9 มีพระมหินทเถระ เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนา ณ ลังกาทวีป (ปัจจุบัน คือ ศรีลังกา)

สังคายนาครั้งที่ 4

การ ทำสังคายนาครั้งที่ 4 นี้ ไม่ได้ทำในประเทศอินเดีย แต่จัดทำขึ้นที่ลังกา เมื่อพุทธศักราช 236 (บางแห่งว่า พ.ศ. 238) โดยพระมหินทเถระที่เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาที่ลังกา ได้เป็นพระเถระองค์สำคัญในการจัดทำสังคายนาครั้งนี้ โดยจัดขึ้นที่ถูปาราม อนุราชบุรี ประเทศศรีลังกา วัตถุประสงค์สำคัญในการจัดครั้งนี้ก็เพื่อความตั้งมั่นแห่งพุทธศาสนาและเป็น การวางรากฐานให้ชาวศรีลังกาท่องจำพุทธวจนะตามแนวที่จัดระเบียบไว้แล้วใน อินเดีย ไม่ปรากฏหลักฐานว่าทำอยู่นานเท่าไรจึงสำเร็จ

ตามที่หลักฐานปรากฏในบางแห่งระบุว่า การทำสังคายนาครั้งที่ 4 นี้ จัดทำที่เมืองบุรุษปุระในอินเดียภาคเหนือ ซึ่งเป็นการจัดทำของฝ่ายมหายาน (อาจาริยวาท) โดยความอุปถัมภ์ของพระเจ้ากนิษกะ แต่ฝ่ายเถรวาทได้แก่ ไทย ลาว พม่า เขมร ลังกา ไม่ยอมรับรอง เพราะถือว่าเป็นการสังคายนาของนิกายอื่น ผลอันหนึ่งของการสังคายนาครั้งนี้ คือ ฝ่ายมหายานใช้ภาษาสันสกฤต ในการจารึกพระไตรปิฎก

สังคายนาครั้งที่ 5

การทำสังคายนาครั้งที่ 5 นี้ จัดขึ้นที่มหาวิหาร ประเทศลังกา เมื่อพุทธศักราช 450 ปี (บางแห่งเป็น พ.ศ. 433) สาเหตุของการจำทำครั้งนี้เกิดจากพระราชดำริของพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย (บางแห่งเป็นทุฏฐคามินีอภัย) กษัตริย์ปกครองลังกา ที่ว่าเมื่อกาลเวลาล่วงไป หากยังคงใช้วิธีการท่องจำพระพุทธวจนะ โดยไม่มีการจารึกไว้หเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว ความคลาดเคลื่อนและผิดพลาดอาจเกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้คำสอนของพุทธศาสนาผิดไปจากเดิม ในที่สุดพุทธศาสนาก็จะเสื่อมสูญไปตามกาลเวลา
อาศัยพระราชดำริของกษัตริย์ลังกานี้เอง จึงเกิดการทำสังคายนาครั้งที่ 5 ขึ้น โดยพระองค์ทรงโปรดให้พระพุทธทัตตเถระกับพระมหาติสสเถระร่วมกันดำเนินการ มีพระสงฆ์เข้าร่วมประชุมจำนวน 1,000 รูป สังคายนาครั้งนี้มีความสำคัญ สรุปได้ 2 ประการคือ

1. นับเป็นครั้งแรกที่มีการจดบันทึกพระพุทธวจนะเป็นลายลักษณ์อักษรลงบนใบลาน ด้วยภาษาบาลี ตามตำนานระบุว่าได้จารึกอรรถกถาลงไว้ด้วย
2. พระธรรมวินัยที่ถูกจารึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรครั้งนี้ ถือว่าเป็นต้นฉบับของพระไตรปิฎก ของฝ่ายเถรวาท ซึ่งภายหลังปรากฏว่า มีผู้นำเอาไปแปลเป็นภาษาของตน

การทำสังคายนาครั้งที่ 5 นี้ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปของกลุ่มเถรวาท ความจริงการสังคายนานั้นมีการจัดทำกันหลายครั้งในที่หลายแห่ง ฝ่ายที่จัดทำก็มีทั้งฝ่ายเถรวาทและอาจริยวาท โดยต่างคนต่างทำในฝ่ายของตนเอง และต่างก็ไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน แม้ในฝ่ายเถรวาทเองก็ได้จัดทำสังคายนาหลายครั้งหลังจากการทำสังคายนาครั้งที่ 5 ผ่านไปแล้ว

สรุปการสังคายนาพระไตรปิฎก 5 ครั้ง

ใครเป็นผู้อุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ 2

ครั้งที่สังคายนาเมื่อองค์ประธานฝ่ายสงฆ์องค์อุปถัมภกจำนวนผู้เข้าร่วมสถานที่1หลังพุทธปรินิพพาน 3 เดือน เวลา 7 เดือนพระมหากัสสปเถระพระเจ้าอชาตศัตรูพระอรหันต์ 500 องค์ถ้ำสัตตบรรณคูหา เขาเวภาระเมืองราชคฤห์ อินเดีย2หลังพุทธปรินิพพาน 100 ปีเวลา 8เดือนพระสัพพกามีเถระพระเจ้ากาลาโศกราชพระอรหันต์ 700 องค์วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี อินเดีย3หลังพุทธปรินิพพาน 218 ปีเวลา 9เดือน

พระโมคคัลลีบุตร

ติสสเถระ

พระเจ้าอโศกมหาราชพระอรหันต์ 1,000 องค์อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร อินเดีย4ปีพ.ศ. 236พระมหินทเถระ--ถูปาราม อนุราชบุร ีศรีลังกา5ปีพ.ศ. 450พระพุทธทัตตเถระพระเจ้าทุฏฐคามีนีอภัยพระสงฆ์ 1,000รูปมหาวิหาร ศรีลังกา
การทำสังคายนาในประเทศไทย

การทำสังคายนาในประเทศไทยแบ่งเป็น 4 ครั้ง กล่าวโดยสรุปดังนี้

การสังคายนาครั้งที่ 1
ความจริงสมัยนั้น เมืองเชียงใหม่เป็นอิสระ และถือได้ว่าภูมิภาคแถบนั้นเป็นประเทศล้านนาไทย แต่เมื่อรวมกันเป็นประเทศไทยในภายหลัง ก็ควรจะได้กล่าวถึงการชำระพระไตรปิฏก และการจารลงในใบลาน

พระเจ้าติโลกราชผู้นี้ มีเรื่องกล่าวถึงไว้ในหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์สั้น ๆ ว่าสร้างพระพุทธรูปในจุลศักราช 845 ในหนังสือสังคีติยวงศ์เล่าเรื่องสร้างพระพุทธรูปชนาดใหญ่ ตรงกับหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ แต่มีเล่าเรื่องสังคายนาพระไตรปิฏกด้วย (พ.ศ. 2020) พระเจ้าติโลกราชได้อาราธนาพระภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎกหลายร้อยรูป มีพระธรรมทินเถระเป็นประธาน ให้ชำระอักษรพระไตรปิฎกในวัดโพธาราม 1 ปีจึงสำเร็จ เมื่อทำการฉลองสมโภชแล้ว ก็ได้ให้สร้างมณเฑียรในวัดโพธาราม เพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎก
ข้อที่น่าสังเกตก็คือ ตัวอักษรที่ใช้ในการจารึกพระไตรปิฏกในครั้งนั้น คงเป็นอักษรแบบไทยล้านนา คล้ายอักษรพม่า มีผิดเพี้ยนกันบ้าง และพอเดาออกเป็นบางตัว

สังคายนาครั้งที่ 2

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดฯ ให้อาราธนาพระสงฆ์ผู้ทรงความรู้ให้ชำระพระไตรปิฎก ครั้งนี้มีพระสงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 218 รูป กับราชบัณฑิตาจารย์อีก 32 คน ร่วมกันชำระพระไตรปิฎก แล้วจารึกลงในใบลาน ใช้เวลาในการชำระพระไตรปิฎกครั้งนี้ 5 เดือน
ในปี พ.ศ. 2331 รัชกาลที่ 1 ทรงสละพระราชทรัพย์ให้ช่างจารึกพระไตรปิฎกลงในใบลาน ให้ชำระแล้วแปลจากต้นฉบับที่เป็นอักษรลาวและรามัญ (มอญ) ลงสู่อักษรขอม (เขมร) แล้วสร้างพระไตรปิฎกถวายไว้ทุกอารามหลวง ต่อมาก็มีผู้กราบทูลว่า พระไตรปิฎกและอรรถกถาฎีกาที่ใช้กันอยู่นี้มีความคลาดเคลื่อนอยู่มาก จึงควรจะมีการชำระให้ถูกต้อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดฯ ให้อาราธนาสมเด็จพระสังฆราช พระราชาคณะ พร้อมกับพระเปรียญจำนวน 100 รูป มาถวายภัตตาหาร หลังจากนั้น พระองค์ก็ตรัสถามถึงความผิดพลาดของพระไตรปิฎกว่ามีมากน้อยเพียงใด เมื่อได้ทรงทราบว่ามีมากจึงตรัสให้คัดเลือกผู้ที่มีความรู้เพื่อชำระพระไตรปิฎกอีกครั้งหนึ่ง ผู้ที่ได้รับคัดเลือกครั้งนั้นมีพระสงฆ์จำนวน 218 รูป ราชบัณฑิตอุบาสก 32 ท่าน สถานที่จัดชำระจัดที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ (ปัจจุบันคือ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์)

การแบ่งงานการชำระพระไตรปิฏกครั้งนี้ สมเด็จพระสังฆราชเป็นแม่กองชำระพระสุตตันตปิฎก พระวันรัตเป็นแม่กองชำระพระวินัยปิฎก พระพิมลธรรมเป็นแม่กองชำระพระอภิธรรมปิฎก พระพุทฒาจารย์เป็นแม่กองชำระสัททาวิเสส (ตำราไวยากรณ์และคำอธิบายศัพท์ต่าง ๆ) ครั้นชำระเสร็จทั้งหมดแล้ว สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดฯ ให้ช่างจารึกพระไตรปิฎกลงในใบลาน แล้วปิดทองทับทั้งในปกหน้าหลังและกรอบทั้งหมด เรียกว่า “ฉบับทอง” ห่อด้วยผ้ายก เชือกที่รัดก็ถักด้วยไหมแพรเบญจพรรณ ทุกคัมภีร์จะมีชื่อกำกับไว้ ซึ่งมีฉลากงาแกะเขียนอักษรด้วยหมึกและฉลากทองเป็นตัวอักษร

สังคายนาครั้งที่ 3

การทำสังคายนาในเมืองไทยครั้งที่ 3 มีขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงโปรดให้ทำสังคายนาพระไตรปิฎก โดยการคัดลอกตัวขอมในคัมภีร์ใบลานที่มีอยู่เดิมเป็นอักษรไทย หลังจากนั้น ก็ให้ชำระแก้ไขให้ถูกต้อง แล้วให้จัดพิมพ์เป็นเล่ม ซึ่งเมื่อพิมพ์เป็นเล่มแล้วมีจำนวน 39 เล่ม นับว่าเป็นการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มด้วยอักษรไทยเป็นครั้งแรก การชำระจนกระทั่งจัดพิมพ์เป็นเล่มนั้น ใช้เวลาประมาณ 6 ปี คือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2430 ถึง ปี พ.ศ. 2436 การพิมพ์ในครั้งนั้นเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่รัชกาลที่ 5 ที่พระองค์ทรงเสวยราชสมบัติมาครบ 25 ปี
ในการพิมพ์ครั้งแรกจำนวน 39 เล่มนี้ จัดเป็น 1 ชุด แต่ยังเหลืออยู่อีกส่วนหนึ่งที่ยังไม่ได้จัดพิมพ์มีจำนวน 6 เล่ม และมีการพิมพ์เพิ่มจนครบบริบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 7 รวมเป็น 45 เล่ม

สังคายนาครั้งที่ 4

การ ทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 4 มีขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 หลักฐานเรื่องการจัดสังคายนานี้มีรายละเอียดในหนังสือรายงานการสร้างพระ ไตรปิฎกสยามรัฐ ข้อสังเกตเกี่ยวกับการทำสังคายนาครั้งนี้จะเน้นไปในเรื่องการจัดพิมพ์ให้ทัน สมัยขึ้น ทำให้พระไตรปิฎกเปลี่ยนรูปโฉมจากฉบับใบลานเป็นรูปเล่มหนังสือ ซึ่งก็นับว่าเป็นการเปลี่ยนครั้งแรกในเมืองไทย นอกจากนี้ ก็มีการจัดรูปแบบให้เหมาะสม เช่น การใช้เครื่องหมายและอักขรวิธีตามแบบของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชริ รญาณวโรรสที่ทรงคิดค้นขึ้นมาใหม่ และได้จัดทำอนุกรมต่าง ๆ ไว้ตอนท้ายเล่มเพื่อสะดวกในการค้นคว้า