การแสดงชุด ใด ที่ใช้ ต้อนรับแขกบ้าน แขกเมือง ภาคเหนือ

พระนางจิรประภาเทวี หรือ พระนางมหาเทวีวิสุทธิ ซึ่งมีเรื่องราวการปกครองทางประวัติศาสตร์อย่างยาวนาน และในอดีตกาลการเดินทางสัญจรของเจ้าเมือง เพื่อแสดงถึงยศศักดิ์หรือฐานันดร ก็จะต้องมีขบวนนำเสลี่ยงโดยมีผู้แบกหาม ในการเดินทาง เพราะถนนหนทางในสมัยอดีย ยังไม่มีความสะดวกสบายอย่างเช่นในปัจจุบัน อีกนัยหนึ่งการได้นั่งเสลี่ยง ไปรับแขกบ้านแขกเมืองผู้มาเยือน ถือเป็นการให้เกียรติอย่างสูงสุดเช่นกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงถึงวัฒนธรรมประเพณีของล้านนามาอย่างยาวนาน แสดงถึงความสวยงามอ่อนช้อยแต่แฝงไปด้วยพลังอำนาจอย่างที่สุดเช่นกัน การแสดงชุดนี้จึงสร้างความประทับใจและความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ที่ได้ชมอย่างมาก การแสดงฟ้อนนางเสลี่ยง ทางสถาบันบ้านครูไก่ ได้จัดการแสดงขึ้นเมื่อเปิดสำนักงาน เพื่อเป็นการแสดงการต้อนรับและให้เกียรติผู้ที่มาร่วมงานในวันนั้น
เป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของนาฏศิลป์ล้านนา ซึ่งมักจะแสดงในโอกาสพิเศษเพื่อต้อนรับแขกผู้มีเกียรติหรือฟ้อนสมโภชในทางพุทธศาสนา ท่าเดินของฟ้อนเล็บนี้ถือกันว่าได้เลียนแบบมาจากการเยื้องย่างของช้าง แต่เดิมการฟ้อนเล็บไม่มีท่าฟ้อนเฉพาะแน่นอน พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในรัชกาลที่ 5 ได้ทรงโปรดปรับปรุงแก้ไขให้สวยงามและมีท่ารำเฉพาะแน่นอน  เอกลักษณ์การฟ้อนเล็บ คือ เล็บโลหะสีทองยาวที่สวมต่อนิ้วผู้รำบ่งบอกถึงความอ่อนช้อยดูแล้วสบายตา การเกล้าผมมวยสูง แต่งหน้าให้มีสีสันรับกับรอยยิ้มที่ส่งถึงผู้ชมให้ไม่ละสายตาในการแสดง

2.การฟ้อนขันดอก อีกหนึ่งศิลปะการรำของนาฏศิลป์ล้านนาที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลย เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของการฟ้อนชนิดนี้ คือ การถือพานไม้ด้านในพานจะใส่ดอกไม้นานาชนิด โดยส่วนใหญ่จะเป็นดอกไม้เพื่อตบแต่งบูชา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และไฮไลท์ของการฟ้อนขันดอก  คือการโปรยดอกไม้ขึ้นเหนือศรีษะ ที่ชมแล้วสามารถสร้างความเพลิดเพลิน อีกทั้งเป็นการสร้างลูกเล่นให้การฟ้อนนั้นไม่น่าเบื่ออีกต่อไป   สำหรับการแต่งกาการฟ้อนของภาคเหนือจะเห็นว่า ผู้หญิงจะนุ่งผ้ามีเชิงยาวถึงเท้า สวมเสื้อเกาะอก พร้อมห่มสไบ ยาวคล้องคลุมปล่อยชายลงมาถึงเข่า   การแต่งกายแบบนี้เนื่องจาก อากาศทางภาคเหนือมีอากาศเย็นสบาย  ประชาชนสมัยก่อนจึงนิยมใส่เกาะอก และห่มสไบ  ผมเกล้าสูงทัดดอกไม้แล้วห้อยอุบะ ดอกไม้โลหะ ดอกไม้สด  เพราะทางภาคเหนือมีอากาศดี  ดอกไม้จึงสวยงาม  โดยเฉพาะดอกเอื้อง  หรือดอกกล้วยไม้มีมาก  นำมาประดับผมทำให้สวยงามทั้งผู้ฟ้อนและลีลาการฟ้อนนั่นเอง

     การฟ้อนได้ถือว่าเป็นการแสดงออกถึงวัฒนธรรมและขนบประเพณีชาวเหนือ  ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ ทั้งการต่างกาย  จังหวะ และลีลา ท่าทางการฟ้อนรำ  เพลงและดนตรีที่ใช้ประกอบ จึงนับเป็นศิลปะและวัฒนธรรมของชาวภาคเหนือที่ทรงคุณค่าอย่างแท้จริง

เขียนโดย : นายธนบดี นิ่มวงษ์ เจ้าหน้าที่งานประชาสัมพันธ์ ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่