ข้อใด ไม่ใช่ สาเหตุ ที่ ต้อง มีการค้าระหว่างประเทศ

เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับพิกัดศุลกากร

  1. หน้าหลัก
  2. พิกัดศุลกากร
  3. เขตการค้าเสรี (FTA และ WTO)

สิทธิ์เขตการค้าเสรีและ WTO

  • WTO
  • ASEAN
  • ASEAN - CHINA
  • ASEAN - KOREA
  • ASEAN - JAPAN
  • ASEAN - INDIA
  • ASEAN - AUSTRALIA - NEW ZEALAND
  • THAI - AUSTRALIA
  • THAI - NEW ZEALAND
  • THAI - JAPAN
  • THAI - PERU
  • THAI - INDIA
  • THAI - CHINA
  • THAI - CHILE
  • THAI - SINGAPORE
  • THAI - EU
  • RCEP
  • DFQF
  • GSP
  • GSTP
  • AISP
  • BIMSTEC
  • ASEAN - HONGKONG

    ความสำคัญและความเป็นมาของ FTA

    FTA ย่อมาจาก Free Trade Area หรือเขตการค้าเสรี เป็นการทำความตกลงทางการค้าของประเทศ อาจเป็น 2 ประเทศ (ทวิภาคี) หรือเป็นกลุ่มประเทศ (พหุภาคี) ที่จะร่วมมือขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นภาษีศุลกากรและไม่ใช่ภาษีศุลกากร

      

    1. ความเป็นมาของเขตการค้าเสรี
    2. แนวคิดของการมีนโยบายการค้าเสรี คือประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนเองถนัด และมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด คือจะผลิตสินค้าที่คิดว่าประเทศตนได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage)มากที่สุด แล้วนำสินค้าที่ผลิตได้นี้ไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ประเทศตนไม่ถนัด หรือเสียเปรียบ โดยแลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศอื่นที่ผลิตสินค้าแล้วได้เปรียบ ดังนั้นประเทศทั้งสองก็จะทำการค้าต่อกันได้ โดยต่างฝ่ายต่างสมประโยชน์กัน (Win-Win Situation)
      นโยบายการค้าเสรีมีดังนี้
      1. การผลิตตามหลักการแบ่งงานกันทำเลือกผลิตสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตต่ำและประเทศมีศักยภาพในการผลิตสินค้านั้นสูง
      2. ไม่เก็บภาษีคุ้มกัน (Protective Duty) เพื่อคุ้มครองหรือปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ
      3. ไม่ให้สิทธิพิเศษหรือกีดกันสินค้าของประเทศใดประเทศหนึ่ง
      4. เรียกเก็บภาษีในอัตราเดียวและให้ความเป็นธรรมแก่สินค้าของทุกประเทศเท่ากัน ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า (Trade Restriction) ที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศไม่มีการควบคุมการนำเข้า หรือการส่งออกที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ ยกเว้นการควบคุมสินค้าบางอย่างที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสินค้าที่เกี่ยวด้วยศีลธรรมจรรยาหรือความมั่นคงของประเทศ

    3. ความหมายของเขตการค้าเสรี
    4. เขตการค้าเสรี หมายถึง การวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่ม ที่ทำข้อตกลงให้เหลือน้อยที่สุดหรือเป็น 0% และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่ม การทำเขตการค้าเสรีในอดีตมุ่งในด้านการเปิดเสรีด้านสินค้า โดยการลดภาษีและอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีเป็นหลักแต่เขตการค้าเสรีในระยะหลัง ๆ นั้น รวมไปถึงการเปิดเสรีด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น ด้านการบริการการลงทุน เป็นต้น
    5. เขตการค้าเสรีที่สำคัญของไทย
    6. เขตการค้าเสรีที่มีมูลค่าสูงในทางการค้า ได้แก่ เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ไทย-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลี เป็นต้น

    ประโยชน์และผลกระทบของการทำ FTA 

    ในภาพรวมแล้วการทำ FTA มีทั้งผลดีและผลกระทบ แต่คู่เจรจาได้พยายามศึกษารวบรวมข้อมูล และเจรจาเพื่อให้ต่างฝ่ายต่างพอใจ ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด หรือได้รับผลกระทบน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมเฉพาะ และสภาพแวดล้อมทั่วไปของคู่เจรจาจะแตกต่างกันไปในแต่ละ FTA หากจะวิเคราะห์แต่ละด้านของแต่ละ FTA จะมีบางกลุ่มอุตสาหกรรม บางกลุ่มสินค้าได้ประโยชน์ บางกลุ่มสินค้าไม่ได้รับผลกระทบ สำหรับกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบ การเจรจาก็สามารถยืดเวลาในการลดหรือยกเว้นภาษีออกไปจนกว่าภาคการผลิตจะสามารถปรับตัวได้ หรือภาครัฐจะเข้ามาช่วยเหลือ เยียวยา ชดเชยผลกระทบเหล่านั้นในภาพรวมการทำ FTA น่าจะมีประโยชน์ดังนี้

    1. ลดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นอุปสรรคทางภาษี และที่มิใช่ภาษี
    2. เพิ่มมูลค่าในทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก
    3. เพิ่มโอกาสการส่งออก ได้ตลาดใหม่ และขยายตลาดเดิม
    4. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
    5. สร้างอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจ การเมือง
    6. ให้ความร่วมมือทางด้านศุลกากร การแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลการลักลอบ หลีกเลี่ยง และสินค้าอันตราย สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์
    7. พัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจ และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
    8. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่น ๆ และเทคโนโลยีการผลิต
    9. สร้างความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น

    1. ข้อใดกล่าวถึงความสำคัญของกฎหมายได้ถูกต้องที่สุด

    ก. ทำให้สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อย เพราะกฎหมายใช้เพื่อควบคุมคนในสังคม

    ข. ทำให้สังคมมีความสงบสุขเรียบร้อย คนในสังคมสามารถประพฤติปฏิบัติสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ

    ค. ทำให้สังคมเป็นระเบียบ คนในสังคมไม่ทำผิดและอยู่ในสังคมอย่างสงบสุข

    ง. ทำให้สังคมมีความสงบสุข เพราะกฎหมายเป็นสิ่งที่ใช้บังคับคนในสังคมให้ทำทุกสิ่งตามกฎหมาย


    2. บุคคลที่จะรับผู้อื่นเป็นบุตรบุญธรรมจะต้องมีอายุเท่าใด

    ก. 30 ปีขึ้นไปและแก่กว่าผู้ที่รับเป็นบุตรอย่างน้อย 10 ปี

    ข. 20 ปีบริบูรณ์

    ค. 25 ปีขึ้นไปและต้องแก่กว่าผู้ที่รับเป็นบุตรอย่างน้อย 15 ปี

    ง. 25 ปีบริบูรณ์


    3. นิติกรรมใดที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว

    ก. การรับพินัยกรรม

    ข. การรับบุตรบุญธรรม

    ค. การรับรองบุตร

    ง. การซื้อเครื่องใช้


    4. ?นาย ก นำที่ดินมาทำสัญญาขายฝากไว้กับนาย ข กำหนดเวลาในการใช้สิทธิไถ่ไว้ 5 ปี เมื่อถึงกำหนดเวลาไถ่ นาย ก ไม่สามารถมาไถ่คืนได้ จึงขอตกลงกับนาย ข เลื่อนเวลาในการใช้สิทธิไถ่ถอนออกไปอีก 2 ปี? 10. จากข้อความ ข้อใดกล่าวถูกต้อง

    ก. ข้อตกลงระหว่างนาย ก และนาย ข มีผลต่อกฎหมาย ทำให้นาย ก สามารถไถ่ที่ดินคืนได้ในอีก 2 ปี

    ข. นาย ก มีสิทธิขอเลื่อนเวลาในการใช้สิทธิไถ่ถอนที่ดินออกไปได้ เพราะที่ดินเป็นของนาย ก

    ค. ข้อตกลงระหว่างนาย ก และนาย ข ไม่มีผลต่อกฎหมาย ที่ดินตกเป็นของนาย ข ทันที เมื่อเลยกำหนดเวลาไถ่

    ง. นาย ก ทำผิดต่อสัญญา นาย ข มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากนาย ก ได้


    5. การกู้ยืมเงินต้องมีมูลค่าตั้งแต่กี่บาทขึ้นไปจึงจะมีการทำหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือ เพื่อใช้เป็นหลักฐาน ในการฟ้องร้องบังคับคดีในกรณีที่ ไม่ ปฏิบัติตาม

    ก. 1,000 บาทขึ้นไป

    ข. 2,000 บาทขึ้นไป

    ค. 300 บาทขึ้นไป

    ง. 500 บาทขึ้นไป


    6. การกระทำความผิดอาญาข้อใดที่ผู้กระทำ ไม่ ต้องรับโทษถ้ามีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย

    ก. กระทำผิดที่ทำให้เกิดการเสียทรัพย์

    ข. กระทำผิดเพราะความบกพร่องทางจิต

    ค. กระทำผิดโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส

    ง. กระทำผิดโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย


    7. บุคคลใดเป็นผู้มีสิทธิบอกล้างโมฆียกรรม

    ก. บุคคลที่วิกลจริตเป็นผู้กระทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะในขณะที่บุคคลนั้นไม่วิกลจริตแล้ว

    ข. บุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนคนไร้ความสามารถ

    ค. บุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว

    ง. บุคคลล้มละลาย


    8. สินค้าประเภทน้ำหอม หน่วยงานใดเป็นผู้จัดเก็บภาษี

    ก. กรมสรรพสามิต

    ข. กรมประชาสัมพันธ์

    ค. กรมศุลกากร

    ง. กรมการขนส่งทางบก


    9. บุคคลใดที่ ไม่ได้ รับยกเว้นการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการ

    ก. บุคคลที่พิการหรือทุพพลภาพ

    ข. บุคคลซึ่งได้รับโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

    ค. บุคคลซึ่งได้รับสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ

    ง. บุคคลที่มีอายุย่างเข้า 21 ปี


    10. อนุสัญญาเจนีวาฉบับใดว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชลยศึก

    ก. อนุสัญญาฉบับที่ 2

    ข. อนุสัญญาฉบับที่ 4

    ค. อนุสัญญาฉบับที่ 3

    ง. อนุสัญญาฉบับที่ 1


    11. กรอบความร่วมมือสามเหลี่ยมมรกต มีประเทศใดเป็นสมาชิก

    ก. ไทย เมียนมา ลาว

    ข. ไทย เวียดนาม ลาว

    ค. ไทย ลาว กัมพูชา

    ง. ไทย กัมพูชา เมียนมา


    12. ประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ ในด้านใดเป็นหลัก

    ก. ด้านการศึกษา

    ข. ด้านเศรษฐกิจ

    ค. ด้านนวัตกรรม

    ง. ด้านการเมือง


    13. ข้อใด ไม่ใช่ เหตุผลที่ประเทศต่าง ๆ ในโลกมีความร่วมมือระหว่างประเทศ

    ก. ต้องการขยายอำนาจทางเศรษฐกิจการค้า

    ข. ต้องการอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน

    ค. ต้องการการสนับสนุนระหว่างกัน

    ง. ต้องการผลประโยชน์จากกันและกัน


    14. การทูตมีบทบาทสำคัญอย่างไรในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

    ก. การพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนไทยในต่างแดน

    ข. การให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองประชาชนไทยชนชั้นสูง

    ค. การให้ผลประโยชน์เฉพาะคนที่มีรายชื่ออยู่ในสถานทูต

    ง. การตัดสินความขัดแย้งในด้านต่าง ๆ ด้วยการเจรจาระหว่างกัน


    15. องค์การใดที่มีเป้าหมายหลักในการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

    ก. APEC

    ข. NASA

    ค. NATO

    ง. OPEC


    16. โครงการก่อสร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ ?น้ำงึม 2? ประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือประเทศลาวในด้านใด

    ก. ด้านการเมือง

    ข. ด้านสังคมและวัฒนธรรม

    ค. ด้านการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

    ง. ด้านการเงินและการธนาคาร


    17. ข้อใด ไม่ใช่ เป้าหมายของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน

    ก. เพื่อยกเลิกภาษีและอุปสรรคกีดขวางทางการค้า

    ข. เพื่อแก้ไขข้อพิพาทด้านการค้าระหว่างประเทศ

    ค. เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองในตลาดโลก

    ง. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มากขึ้น


    18. หน่วยงานใดในองค์การสหประชาชาติที่มีหน้าที่สอบสวนกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ที่อาจนำไปสู่ ความขัดแย้งระหว่างประเทศ

    ก. สมัชชาใหญ่

    ข. อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ

    ค. ศาลโลก

    ง. คณะมนตรีความมั่นคง


    19. ปัญหาในสังคมสมัยใหม่เกิดจากความขัดแย้งในข้อใดมากที่สุด

    ก. ภาษา

    ข. อำนาจ

    ค. อุดมการณ์

    ง. ผลประโยชน์


    20. หน่วยงานใดที่มิได้เป็นองค์การระหว่างประเทศ

    ก. ASEM

    ข. ASEAN

    ค. APEC

    ง. AFF


    ชื่อ-นามสกุล :
    ชั้น :
    เลขที่ :
     
    ได้คะแนน :
    คิดเป็น :
    ผลการสอบ :