ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

5.ภาพฉาย

5.1  หลักการอ่านและฉายภาพ

5.2  การเขียนภาพฉายมุมมองที่  1

5.3  การเขียนภาพฉายมุมมองที่  3

ภาพฉาย

(Orthogonal Projection)

                สิ่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสื่อความหมายจากผู้ออกแบบชิ้นงานไปสู่ช่างผู้ผลิตงานก็คือแบบงาน (Drawing)  แบบงานจึงเป็นสิ่งที่แสดงถึงรูปร่าง  ขนาดและรายละเอียดต่าง ๆ  ของวัตถุที่ต้องการได้อย่างสมบูรณ์  และประกอบด้วยข้อมูลที่ต้องการทั้งหมดในการผลิตและตรวจสอบงานนั้น

                แบบงานเป็นสื่อที่เเสดงให้ช่างผู้ชำนาญงานได้รู้ถึงรูปร่างและขนาดของชิ้นงานที่จะทำนั้น  โดยจะกำหนดข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการทำงานลงในแบบงานนั้นด้วย เช่น วัสดุจองชิ้นงาน  ลักษณะงานสำเร็จ  ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานงานเขียนแบบ  ด้วยเหตุนี้ช่างที่ดีจึงจำเป็นต้องสามารถอ่านแบบหรือสร้างแบบงานได้เป็นอย่างดี  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถอ่านแบบหรือสร้างแบบงานได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการอ่านแบบได้ถูกต้องตามมาตรฐาน

                มีหลายวิธีในการที่จะอธิบายรูปร่างของวัตถุหรือชิ้นงานที่ต้องการจะถ่ายทอดจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง  อาจอธิบายโดยคำพูดหรือถ้อยคำแทนการใช้ภาพถ่ายวัตถุนั้น  หรืออีกวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันคือ  การแสดงโดยการเขียนรูปภาพของวัตถุที่เรียกกันว่า  “ แบบงาน ( Drawing )”

                แบบงานมาตรฐานที่ใช้แสดงที่อยู่ 2  ลักษณะ  คือ

1.       แบบงานภาพ  3  มิติ

2.       แบบงานภาพ  2  มิติ

เมื่อเราจะกล่าวถึงลักษณะของวัตถุแต่ละอย่างแก่บุคคลทั่ว ๆ ไป  เรามักจะเปรียบเทียบวัตถุนั้นกับสิ่งอื่นที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่ในวงการช่างซึ่งต้องการคำจำกัดความที่แน่นอนของรูปชิ้นงาน  เรามักจะใช้การเปรียบเทียบกับรูปทรงทางเรขาคณิต  เช่นทรงกลม  ทรงเหลี่ยม  ทรงกรวย เป็นต้น  ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความง่ายต่อการเขียนและการอ่านแบบงาน  อีกทั้งยังช่วยให้ช่างสามารถหาวิธีการในการผลิตชิ้นงานนั้นได้ง่ายขึ้นด้วย

ภาพฉาย  หมายถึง  ภาพที่มองจากชิ้นงานจริงฉายไปปรากฏรูปทรงบนระนาบรับภาพ  โดยทั่วไปในการเขียนแบบชิ้นส่วนใด ๆ  ถ้าจะให้มองเห็นได้ชัดเจนและดูเหมือนจริงนั้นสามารถเขียนได้ด้วยภาพ 3 มิติ  ซึ่งแสดงเพียงภาพเดียวก็สามารถมองได้ชัดเจนทั้งสามารถกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ได้และนำไปทำการผลิตได้ด้วย  แต่การเขียนภาพ 3 มิติ  นั้นกระทำได้ยากต้องใช้เวลาในการเขียนแบบงานต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยหลายอย่าง  จึงไม่เหมาะสมที่จะนำวิธีการนี้มาเขียนแบบเพื่อสั่งงานผลิต  เพราะจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น  ภาพ 3  มิติ  เหมาะสำหรับแสดงรูปร่างและการประกอบกันอยู่ของชิ้นงานในคราวที่จำเป็นมากกว่า

การที่จะเขียนงานให้ง่ายและรวดเร็วขึ้นสามารถเขียนได้โดยวิธีการมองภาพทีละด้านและนำเอาแต่ละด้านมาเขียนลงบนกระดาษให้สัมพันธ์กัน  จะทำให้การเขียนลงบนกระดาษให้สัมพันธ์กันจะทำให้การเขียน ,การแสดงอัตราส่วน ,การแสดงขนาด ,การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วยและสะดวกยิ่งขึ้น

 

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

 ภาพที่  5.1  การแสดงภาพฉายของแต่ละด้านอย่างอิสระ

จากภาพ  5.1  จะเป็นการเขียนภาพแต่ละด้านอย่างไม่มีเกณฑ์  ซึ่งทั้ง 3 ภาพ  (A, B , C)  จะไม่มีความสัมพันธ์กัน  การมองภาพของแต่ละคนก็แตกต่างกันไปทำให้เกิดความสับสนในการอ่านแบบ  การที่จะทำให้ภาพมีความสัมพันธ์กันอย่างมีกฏเกณฑ์นั้นสามารถทำได้โดยการกำหนดวิธีการในการวางภาพ

5.2  หลักการพื้นฐานของการฉายภาพ

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า  ภาพฉาย  หมายถึง  ภาพที่มองจากชิ้นงานจริงแล้วฉายไปปรากฏรูปทรงบนระนาบรับภาพดังนั้นการมองภาพแต่ละด้านดังได้กล่าวมาแล้วนั้นคือการมองภาพเพื่อนำไปสู่การฉายภาพนั้นเอง  ปกติแล้วแสงที่ฉายผ่านชิ้นงานจะกระทบกับระนาบระนาบรองรับภาพ ภาพที่เกิดขึ้นบนระนาบจะมีขนาดขยายใหญ่ขึ้นตามระยะหางของระนาบนั้นดังภาพที่ 5.2

                แต่การมองภาพเมื่อฉายไปยังระนาบรับภาพในทางเขียนแบบเครื่องกลให้ถือว่าเส้นที่ฉายไปยังระนาบนั้นเป็นเส้นขนานกันทุกเส้น ดังนั้นภาพที่ปรากฎบนระนาบจะมีสัดส่วนสองด้านที่มองเท่ากับของจริงดังภาพที่ 5.2

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

ภาพที่ 5.2 ภาพฉายบนระนาบรับภาพ

 

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

ภาพที่ 5.3 การเกิดภาพบนระนาบ
 

                                                                                                                5.3  เมื่อนำระนาบรับภาพของทั้ง 3 ด้าน จากภาพที่มาวางในตำแหน่งที่ถูกต้องระนาบจะมีลักษณะเป็นรูปกล่องสี่เหลี่ยมดังภาพที่ 5.4

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

ภาพที่ 5.4 การวางตำแหน่งของภาพฉาย

กล่องที่เกิดขึ้นนี้เป็นเพียงกล่องในจิตนาการเท่านั้น ซึ่งในการทำงานจริงจะไม่มีให้เห็น การที่เอารูปร่างของกล่องระนาบมาแสดงให้เห็น ก็เพื่อให้มองเห็นความสัมพันธ์กันของแต่ละด้านและให้สามารถเข้าใจถึงความเป็นมาของการฉายภาพเท่านั้น

                กล่องระนาบนี้ ระนาบทั้ง 3 จะวางในตำแหน่งที่ถูกต้องโดยทั้ง 3 ระนาบจะวางเป็นมุมฉากต่อกันตามแนวแกน X,Yและ Z โดยจะจินตนาการให้ชิ้นงานที่เราจะฉายนั้นลอยอยู่ระหว่างระนาบทั้ง 3 นั้น ดังภาพที่ 5.4 เมื่อฉายภาพไปยังระนาบทั้ง 3 จะปรากฎเป็นภาพชิ้นงานแต่ละด้านเป็นภาพฉายเส้นตามลักษณะของชิ้นงานแต่ละด้านทั้ง 3 ด้าน จะมีความสัมพันธ์โดยถึงกัน เช่นด้านข้างจะสูงเท่ากับด้านหน้า ด้านบนจะยาวเท่ากับความยาวของด้านหน้า ดังภาพที่ 5.5.1

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

 

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

                                                          ภาพที่ 5.5.3                                                                                          ภาพที่ 5.5.4

ภาพที่ 5.5.1 แสดงความสัมพันธ์ของภาพแต่ละด้าน

                การเขียนแบบภาพฉายตามขั้นตอนนั้น จะนำเอาหลักการพื้นฐานเหล่านี้มาเป็นพื้นฐานในการมองภาพสามารถเขียนได้รวดเร็วและถูกต้องยิ่งขึ้น

                การเขียนแบบจริงๆ นั้น ผู้ที่มีความชำนาญจะใช้ขั้นตอนที่ 4 ตามภาพที่ 5.5.4 เขียนได้เลย ดังนั้นผู้ที่เขียนแบบจึงจำเป็นต้องเข้าใจในหลักการและความเป็นมาของการฉายภาพเหล่านี้เป็นอย่างดีจึงจะสามารถเขียนแบบตามขั้นตอนที่ 4 ได้ถูกต้องและรวดเร็ว

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

                                                           ภาพที่ 5.6 ภาพฉาย 3 ด้านของชิ้นงานบนทรงเหลี่ยม

                ลักษณะพื้นฐานของภาพฉาย

1.  แสดงภาพแต่ละด้านเป็นภาพ 2 มิติ

2.  เป็นภาพลายเส้น

3.  ไม่มีความลึกบนภาพแต่ละด้าน

5.3          ระนาบของภาพฉาย

                ระนาบการมองภาพฉายจะประกอบด้วย

1.    ระนาบดิ่ง คือ แนวแกน Y

2.    ระนาบดิ่ง คือ แนวแกน X

3.    ระนาบดิ่ง คือ แนวแกน Z

การฉายภาพทุกระบบไม่ว่าจะเป็นระบบ ISO หรือระบบอังกฤษก็ตาม จะถือเอาระนาบนี้เป็นหลักในการมองภาพ

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

                       ภาพที่ 5.7 ระนาบของภาพฉายในแต่ละควอแดรนท์

5.4          การมองภาพบนระนาบของภาพฉาย

                การฉายภาพของแต่ละด้านไม่ว่าจะอยู่ในมุมการฉายที่ 1,2,3และ 4 ก็ตาม การมองภาพฉายไปยังระนาบต่างๆนั้นให้ยึดเกณฑ์ต่อไปนี้

1.    ภาพด้านหน้าให้มองจากขวามือฉายไปยังระนาบดิ่ง ดังภาพที่ 5.8

2.    ภาพด้านข้างให้มองจากซ้ายมือ ฉายไปยังระนาบข้าง ดังภาพที่ 5.8

3.    ภาพด้านบนให้มองจากด้านบน ฉายไปยังระนาบนอน ดังภาพที่ 5.8

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

 

ภาพที่ 5.8 ทิศทางในการมองภาพ

                มุมการฉายของการฉายภาพเกิดจากการติดกันของระนาบนอน เกิดเป็น 4 ช่อง หรือ 4 ควอแดรนท์คือ ควอแดรนท์ที่  1,2,3 และ 4 โดยระนาบข้างปิดกันอยู่

                ควอแดรนท์ที่ 1 เรียกว่า มุมการฉายที่ 1

                ควอแดรนท์ที่ 2 เรียกว่า มุมการฉายที่ 2

ควอแดรนท์ที่ 3 เรียกว่า มุมการฉายที่ 3

                ควอแดรนท์ที่ 4 เรียกว่า มุมการฉายที่ 4

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

ภาพที่ 5.9 มุมการฉายที่ 1                                                                          ภาพที่ 5.10 มุมการฉายที่ 2
 

ภาพที่ 5.11 มุมการฉายที่ 3                                                                           ภาพที่ 5.12 มุมการฉายที่ 4

5.6               การมองตำแหน่งชิ้นงานในมุมมองต่างๆ

การฉายภาพบนระนาบของภาพฉายนี้ ผู้เขียนแบบสามารถเลือกมองการได้ทั้ง 4 มุมการฉาย เช่นเลือกมองในมุมการฉายที่ 1ให้ฉายภาพภายในควอแดรนท์ที่ 1 เท่านั้น หรือเลือกมองในมุมการฉายที่ 3 ให้ฉายที่ 3 ให้ฉายภาพในควอแดรนท์ที่ 3 เท่านั้น จะไม่เกี่ยว กับมุมการมองอื่น ๆ

 

                การวางชิ้นงานไม่ว่าจะเลือกมองมุมการมองฉากใดก็ตามจะต้องสมมติให้ชิ้นงานวางลอยอยู่ในมุมการฉายเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ ดังภาพที่ 5.13

 

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

             ภาพที่ 5.13 การวางชิ้นงานในแต่ละมุมการฉาย

 

                                                                                                                                5.6.1      การฉายภาพระบบมุมที่ 1 E (E –Method)ชิ้นงานจะถูกสมมติให้วางลอยอยู่ในควอแดรนท์ที่ 1 เมื่อฉายเส้นต่าง ๆไปตกที่ระนาบรับภาพของทั้ง 3 ด้าน แล้วคลี่ระนาบรับภาพทั้ง 3ออกให้อยู่ในระนาบดิ่ง จะได้ภาพด้านบนอยู่ข้างล่างของภาพด้านหน้า ภาพที่มองด้านซ้ายจะอยู่ขวามือของด้านหน้าดังภาพที่ 5.14

                                                                                                                                             ภาพฉายระบบมุมที่ 1 นั้นนิยมใช้ในประเทศแถบยุโรป โดยเฉพาะในประเทศเยอรมัน การฉายภาพวิธี  E-Method ใช้สัญลักษณ์

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

             

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

          ภาพที่ 5.14 ขั้นตอนการติดภาพฉายระบบมุมที่ 1

5.6.4      การฉายภาพระบบมุมที่ 2

ชิ้นงานจะถูกสมมติให้ลอยอยู่ในควอแดรนท์ที่ 2 ลักษณะภาพฉายเมื่อคลี่ออกแล้วจะมีตำแหน่งเหมือนการฉายภาพระบบมุมที่ แต่ทิศทางของภาพด้านบนจะเปลี่ยนไป เมื่อเทียบกับระบบมุมที่ 1 จะยุ่งยากกว่าจึงไม่นิยมใช้ ดังภาพที่ 5.15 

         ภาพที่ 5.15 ขั้นตอนการเกิดภาพฉายระบบมุมที่ 2

5.6.3         

การฉายภาพระบบมุมที่ 3 หรือ A (A-Method)ชิ้นงานจะถูกสมมติให้วางลอยอยู่ในควอแดรนท์ที่ 3 โดยปกติทิศทางการมองจะเป็นไปตามกฎเกณฑ์ข้างต้น แต่การฉายภาพระบบมุมที่ 3 นี้ ได้กำหนดการมองการมองภาพต่างออกไปโดยจะมองผ่านระนาบเข้าไปหาชิ้นงานแล้วเขียนภาพไว้บนระนาบรับภาพ เมื่อคลี่ภาพออกจึงได้ภาพด้านบนอยู่ด้านบนของภาพด้านหน้า และภาพที่มองทางด้านขวามือของภาพด้านหน้า ดังภาพที่ 5.16       ภาพฉายระบบมุมที่ 3 นิยมใช้ในประเทศอเมริกา การฉายภาพวิธี

A-Method ใช้สัญลักษณ์

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

 

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

          ภาพที่ 5.16 ขั้นตอนการเกิดภาพฉายระบบมุมที่ 3

 

5.6.4         การเกิดภาพฉายระบบมุมที่ 4

การมองภาพฉายยังเป็นไปตามกฎเกณฑ์ข้างต้นระบบมุมที่ 4 นี้ จะคล้ายกับการมองระบบมุมที่ 3 ทิศทางของภาพจะ เปลี่ยนแปลงไป จึงไม่เป็นที่นิยมใช้งาน ดังภาพที่ 5.17

   

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

              ภาพที่ 5.17 ขั้นตอนการเกิดภาพฉายระบบมุมที่ 4

                หมายเหตุ เนื่องจากการฉายภาพระบบที่ 2 และ 4 ไม่ได้ถูกนำมาใช้เพราะจะเกิดความสับสนในการเขียนและอ่านแบบงาน จึงทำให้การฉายภาพเหลืออยู่ 2 ระบบ คือ ระบบมุมที่ 1 และ 3 เท่านั้น

 5.7          หลักการในการมองภาพบนชิ้นงานจริง

5.7.1 ในการมองภาพจากชิ้นงานจริง   เมื่อนำมาเขียนลงบนกระดาษเขียนแบบนั้น   ให้ถือเอาด้านหน้าเป็นหลัก ดังนั้นการมองภาพจากชิ้นงานจริงจะต้องเอาด้านที่ชัดเจนและมีรายละเอียดมากที่สุดเป็นด้านหน้าดังภาพที่ 5.18

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

ภาพที่ 5.18 การเลือกมองภาพด้านหน้าของชิ้นงาน

 

5.7.2     หลังจากเลือกภาพด้านหน้าได้แล้ว การมองภาพด้านข้างก็ให้มองจากด้านข้างของชิ้นงานโดยถือเอาด้านหน้าเป็นหลัก

               หมายเหตุ    ภาพด้านข้างจะมีทั้งด้านซ้ายและด้านขวา การที่จะมองด้านใดนั้นให้ถือเอาด้านหน้าเป็นหลัก จากภาพที่ 5.19 ควรมองภาพด้านข้างซ้ายเพราะมองเป็นรายละเอียดได้ชัดเจน

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

ภาพที่ 5.19 การมองภาพด้านข้าง

5.7.3 ในการมองภาพด้านบนให้มองจากด้านบนลงมาโดยถือเอาด้านหน้าเป็นหลัก ดังภาพที่ 5.20

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

ภาพที่ 5.20 การมองภาพด้านบน

5.7.4        ในบางครั้งการเลือกมองภาพด้านหน้าสามารถจะมองจากมุมอื่นๆ ได้ดังภาพที่ 5.21

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

ภาพที่ 5.21 การมองภาพด้านหน้าอีกมุมหนึ่ง

                เมื่อเลือกภาพด้านหน้าดังภาพที่ 5.22 ด้านข้างที่มองเห็นเมื่อนำเอาไปเขียนบนกระดาษเขียนแบบก็จะเปลี่ยนไปเป็นอีกมุมหนึ่งด้วยดังภาพที่ 5.22 ส่วนด้านบนก็มองลงจากด้านบนเหมือนเดิมที่ สำคัญคือ ให้ถือเอาด้านหน้าเป็นหลัก

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

ภาพที่ 5.22 ภาพด้านข้างและภาพด้านบนจากการมองภาพด้านหน้าอีกมุมหนึ่ง

 5.8          หลักการเขียนภาพฉาย

                หลักการเขียนภาพฉายโดยปกตินั้น จะมีการฉายภาพไปยังระนาบ หรือ ผนังเพื่อทำให้เกิดภาพฉายขึ้นในระนาบแต่ละด้าน เกิดเป็นภาพด้านหน้า ภาพด้านบน และภาพด้านข้าง สำหรับระบบในการเขียนภาพฉายที่นิยมใช้กันทั่วไป มีด้วยกัน 2 ระบบ คือ

                                            1. ระบบ E(ISO-Method E)                                                                                                     2. ระบบ A(ISO-Method A)

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

                  

                                                    สัญลักษณ์ของการมองภาพฉาย                                                                                          สัญลักษณ์ของการมองภาพฉาย

5.8.1          การเขียนภาพฉายระบบ E จะเป็นการมองภาพฉายมุมที่ 1 (First Angle Projection)

  

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

ภาพที่ 5.23 แสดงมุมมองภาพฉายด้านต่าง ๆ

                การมองภาพฉายมุมที่ 1 (First Angle Projection) คือการฉายภาพ 3 ด้าน ที่เหมือนกับการมองชิ้นงานที่มีฉากด้านหลังรองรับภาพ ซึ่งจะประกอบด้วยภาพด้านหน้า (Front View) ภาพด้านบน (Top View) และภาพด้านข้าง (Side View )ดังแสดงในรูปด้านล่างนี้

  

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

ภาพที่ 5.24 แสดงการมองภาพฉายมุมที่ 1

                ภาพฉายด้านหน้า มองจากทางขวามือของงาน และด้านข้าง มองจากซ้ายมือของงาน  ส่วนภาพด้านบนมองจากส่วนบนของงาน ทำให้เกิดภาพฉาย 3 ด้านดังรูป

 

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

 ภาพที่ 5.25 แสดงภาพฉายที่เกิดขึ้นจากการมองมุมที่ 1

การมองภาพฉายตามระบบ A จะเป็นการเขียนภาพฉายจากมุมที่ 3 (Third Angle Projection) โดยชิ้นงานจะถูกสมมติให้ทำการมองจากมุมที่ 3 ซึ่งเป็นการมองที่นิยมใช้กันทั่วไปในประเทศอเมริกาส่วนการมองภาพฉายมุมที่ 1 ซึ่งจะนิยมกันในประเทศยุโรปและทางด้านเอเซีย ทั้งนี้การมองภาพจะคล้ายกับการมองตามระบบมุมที่ 1 แต่การวางตำแหน่งของภาพจะนำไปวางภาพด้านไว้ทางทิศทางนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น การมองภาพด้านหน้า ภาพฉายด้านหน้า ภาพฉายด้านหน้า จะวางไว้ทางด้านหน้าของงานที่มอง หรือภาพด้านบนจะวางด้านบนไว้ที่ส่วนบนของชิ้นงานที่มอง ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนขึ้นได้สำหรับผู้ที่เรียนวิชาเขียนแบบ

                การมองภาพฉายมุมที่ 3 (Third Angle Projection) การมองภาพฉายวิธีนี้จะกำหนดให้ภาพด้านข้าง โดยการมองจากทางขวามือของงาน ภาพด้านบนจะวางไว้ที่ด้านบนชองภาพ หรืองานที่ถูกมอง ทั้งนี้เพราะเกิดจากการหมุนของระนาบนอน

 

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

 ภาพที่ 5.26 แสดงภาพฉายที่เกิดขึ้นจากการมองมุมที่ 3

ในตำราเขียนแบบนี้ จะได้กล่าวถึงการมองภาพฉายระบบ A หรือการมองภาพฉายมุมที่ 1

(First Angle Projection) ซึ่งได้ถูกกำหนดให้เป็นระบบมาตรฐานงานเขียนแบบ สำหรับประเทศไทย

5.8.1      การมองภาพและการเขียนภาพฉายมุมที่ 1

                การมองภาพและการเขียนภาพฉายมุมที่ 1 นิยมใช้กันในการอุตสาหกรรมทางประเทศทางยุโรป  โดยจะมองภาพทางด้านขวาของรูปงานเป็นภาพด้านหน้า (FRONT VIEW )  และมองภาพทางด้านซ้ายของรูปงานเป็นภาพด้านข้าง (SIDW VIEW) ภาพด้านบน (TOPVIEW) จะอยู่ทางด้านล่างของภาพด้านหน้า

 

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

 ภาพที่ 5.27 แสดงการมองภาพและการเขียนภาพฉายมุมที่ 1

5.8.2      การมองภาพและการเขียนภาพฉายมุมที่ 3

                การมองภาพและการเขียนภาพฉายมุมที่ 3 นิยมใช้กันในงานอุตสาหกรรมทางประเทศอเมริกา โดยจะมองภาพทางด้านซ้ายของรูปงานเป็นภาพด้านหน้า (FRIBT VUEW) และมองภาพทางด้านขวาของรูปงานเป็นภาพด้านข้าง (SIDE VIEW) ภาพด้านบน (TOP VIEW) จะอยู่เหนือภาพด้านหน้า

 

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

 ภาพที่ 5.28 แสดงการมองภาพและการเขียนภาพฉายมุมที่ 3

5.9          การเขียนภาพฉาย

                ชิ้นงานที่ผลิตขึ้นมาทำชิ้นส่วนเครื่องจักรกล หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ นั้น มีรูปร่างลักษณะต่าง ๆ  เช่น รูปทรงเหลี่ยม รูปทรงกระบอก หรือรูปทรงพีระมิด ผู้เป็นช่างเทคนิคจะต้องฝึกหัดเขียนแบบงานรูปร่างต่างๆ เพื่อสามารถเขียนแบบสั่งงานได้ และจะต้องฝึกหัดมองด้านต่าง ๆ ของรูปงาน เพื่อสามารถปฏิบัติงานตามแบบสั่งงานได้ถูกต้อง เนื้อหาในหน่วยนี้ จะฝึกหัดมองภาพด้านต่าง ๆ การเขียนภาพฉายมุมที่ 1 (FIRST ANGLE) และการเขียนภาพฉายมุมที่ 3 (THIRD SNGLE)

ภาพด้านหน้า       ควรเป็นภาพที่มีพื้นผิวที่สามารถแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับขนาด และรูปร่างพื้นผิวของงานได้ชัดเจนที่สุด ในการเขียนภาพฉายจะต้องเขียนก่อนเป็นภาพหลัก

ภาพด้านข้าง        จะเขียนไว้ทางด้านขวามือของภาพด้านหน้า โดยการถ่ายขนาดความสูงจากภาพด้านหน้า

ภาพด้านบน         จะเขียนภาพด้านบนไว้ใต้ภาพด้านหน้าโดยถ่ายขนาดความยาวของภาพด้านหน้า และความกว้างจากภาพด้านข้าง

1.                   การเขียนภาพฉายงานรูปทรงเหลี่ยม

 

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

ภาพที่ 5.29 ลักษณะภาพฉายงานรูปทรงเหลี่ยม

2.                   การเขียนภาพฉายงานรูปทรงกระบอก

 

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

 ภาพที่ 5.30 ลักษณะภาพฉายงานทรงกระบอก

3.                   การเขียนภาพฉายงานรูปทรงพีระมิด

 

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

ภาพที่ 5.31 ลักษณะภาพฉายงานรูปทรงพีระมิด

                แต่การเรียนและทำแบบฝึกหัดนั้น โจทย์ได้มีการกำหนดรูปด้าน และการมองภาพไว้ทั้ง 2 วิธีคือ ทั้งการมองภาพฉายวิธีที่ 1 หรือการมองภาพฉายวิธีที่ 2 เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการมองภาพและสามารถอ่านแบบงานได้อย่างถูกต้องอีกด้วย ประการสำคัญก็คือ ไม่ว่าจะเป็นการมองในทิศทางใดก็ตาม สิ่งแรกให้กำหนดหรือ เลือกภาพด้านหน้าให้ได้เสียก่อนแล้วจึงไปพิจารณาเพื่อเขียนรูปด้านอื่นต่อไป

5.9.1      ลำดับขั้นการเขียนเส้นฉาย

การฉายเส้นวิธีที่ 1

สิ่งที่กำหนดมาให้              กำหนดภาพฉายมาให้แล้ว 2 ด้าน คือภาพด้านหน้า และด้านข้าง หรือภาพด้านหน้ากับภาพด้านบน แล้วให้เขียนภาพฉายที่ขาดอยู่อีกด้านหนึ่งให้ครบถ้วน

วิธีสร้าง

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel


          ภาพที่ 3                                                                                                                     ภาพที่ 4

สิ่งที่กำหนดมาให้               กำหนดภาพฉายมาให้แล้ว 2 ด้าน แล้วด้านที่เหลือ โดยวิธีนี้มีการกำหนดตำแหน่งที่ตั้งของด้านเอาไว้ด้วย เส้นผ่าศูนย์กลาง วิธีนี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นการฉายเส้นเพื่อหาชิ้นงานที่มีรูปทรงกลม งานกลม ทรงกระบอกกลม กรวยกลม ปิรามิด และวงกลมทุกชนิด

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

การเขียนเส้นฉายวิธีที่ 3

สิ่งที่กำหนดให้    กำหนดภาพฉายมาให้ทั้ง 3 ด้าน  และให้เขียนเส้นที่ยังขาดอยู่ในแต่ละด้าน ให้ครบถ้วน (ภาพฉายทั้ง 3 ด้านยังไม่สมบูรณ์)

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

 

การเขียนเส้นฉายวิธีที่ 4

สิ่งที่กำหนดให้    กำหนดภาพฉายมาให้ 2 ด้าน และให้เขียนด้านที่ยังขาดอยู่ครบถ้วน วิธีนี้ก็คือ การฉายเส้นวิธีที่ 2 นั้นเอง แต่การฉายเส้นจะเขียนเพียงครึ่งเดียว ทำให้ประหยัดเวลาในการเขียนภาพลงได้มากและจะทำให้ไม่ยุ่งยาก หรือสับสน ถ้าต้องเขียนเส้นฉายเป็นจำนวนมาก ๆ

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

5.10        ภาพช่วย (Auxilliary Views)

                บางครั้งตัวเราเขียนภาพฉายของชิ้นงานตามกฎเกณฑ์และตำแหน่งของการวางของภาพด้านหน้า,ด้านบน ,ด้านข้างและด้านอื่น ๆจะไม่ได้ภาพและการกำหนดขนาดตามลักษณะที่ถูกต้อง  เมื่อชิ้นงานมีมุมเอียงที่ไม่ตั้งฉากและขนานกับระนาบแนวแกนของการฉายภาพ  ทำให้ภาพที่ออกมาไม่ถูกต้อง  ดังนั้นจึงได้มีการกำหนดให้มีการเขียนภาพโดยหมุนให้ชิ้นงานเอียงให้ฉายภาพและตั้งฉากขนานกับแนวของชิ้นงานที่เอียงในทิศทางและตำแหน่งต่าง ๆ  เราเรียกวิธีการเขียนภาพแบบนี้ว่า “การเขียนภาพช่วย

(Auzilliaey views)”

5.10.1    ระนาบการฉายภาพช่วย (Auxilliary Orthognal Views)

                ในการฉายภาพช่วยบางครั้งเราไม่สามารถจะกำหนดหรือฉายในกฎเกณฑ์ของการฉายภาพได้และเป็นการยากที่เขียนภาพด้านต่างๆ ในระนาบหรือด้านมาตรฐาน แต่ละระบบได้

                ในการแบ่งชนิดของภาพช่วย จะถูกกำหนดการเกิดภาพในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1.       การฉายภาพช่วยในภาพด้านหน้า

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

 

ภาพที่ 5.32 การเกิดภาพฉายช่วยในภาพด้านหน้า

2.       การฉายภาพช่วยในภาพด้านบน

 

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

 ภาพที่ 5.33 การเกิดภาพฉายช่วยในภาพด้านบน

3.   การฉายภาพช่วยในภาพด้านข้าง
 

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

ภาพที่ 5.34 การเกิดภาพฉายช่วยในภาพด้านข้าง

                จะสังเกตได้ว่าการฉายภาพช่วยจากภาพในด้านต่าง ๆ ทั้ง 3 ชนิดแล้วภาพช่วยที่เกิดขึ้นจะต้องขนานและตั้งฉากกับระนาบอ้างอิงเสมอและตำแหน่งของการเขียนภาพช่วยจะต้องอยู่ใกล้กับระนาบที่เราจะต้องเขียนในทิศทางที่เรามองโดยต้องคำนึงถึงมุมของการมองว่าจะมองภาพในมุมที่ 1 หรือมุมที่ 3  เพื่อให้ชิ้นงานไม่เกิดความสับสนและง่ายต่อการมอง  การเขียนและการอ่านแบบด้วย

5.10.2    ประเภทของภาพช่วย

                ในการเขียนภาพช่วยนั้น บางทีเราไม่จำเป็นต้องมีการแสดงภาพชิ้นงานทั้งหมดซึ่งเราสามารถเขียนเฉพาะบางส่วนได้ ดังนั้นจึงแบ่งประเภทของภาพช่วยออกเป็น 2 ชนิด คือ

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

 

                                         ภาพที่ 5.35 การฉายภาพช่วยเต็มส่วน

2.                   ภาพช่วยเฉพาะส่วน

ข้อใดไม่ใช่การฉายภาพแบบ parallel

 

ภาพที่ 5.36 การฉายภาพช่วยเฉพาะส่วน

ในการเขียนภาพช่วยในระบบมุมที่ 1 และระบบมุมที่ 3 จะมีหลักและวิธีการเหมือนกัน  ซึ่งการวางภาพจะไม่แตกต่างกันโดยจะวางในตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้