อุตสาหกรรมใดที่ใช้ขยะ rdf ไปเผาร่วมในเตาเผา

การคัดแยกแปรรูปขยะชุมชน เป็นเชื้อเพลิงแข็งทดแทน (RDF)

ความเป็นมา
       ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่กำลังเผชิญกับภาวะวิกฤติขยะล้นเมืองอย่างรุนแรง ขยะส่วนใหญ่ยังมีการจัดการแบบไม่ถูกวิธี นับเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับสภาพแวดล้อม สุขภาพอนามัย และคุณภาพชีวิต

       จากความสำเร็จในการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรมโดยวิธีการเผาร่วมกับการผลิตปูนซีเมนต์ (Co-Processing) ทำให้บริษัทได้เริ่มศึกษาและพบว่า ขยะชุมชนกว่าร้อยละ 20 ของขยะที่เกิดขึ้น สามารถมาทำเชื้อเพลิงทดแทนได้ บริษัทจึงพยายามคิดค้นเทคโนโลยีในการนำขยะชุมชนมาแปรสภาพจากขยะไร้ค่า ให้เป็นเชื้อเพลิงแข็งทดแทน หรือที่เรียกว่า RDF (Refuse Derive Fuel)


ลักษณะของขยะชุมชนที่สามารถมาแปรสภาพเป็นเชื้อเพลิงแข็งทดแทน
       ขยะชุมชนที่มีคุณลักษณะ สามารถนำมาแปรสภาพเป็นเชื้อเพลิงแข็งทดแทน ควรเป็นขยะชุมชนที่ผ่านการคัดแยกออกจากขยะอินทรีย์ และเป็นขยะส่วนที่เผาไหม้ได้ที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้อีก

อุตสาหกรรมใดที่ใช้ขยะ rdf ไปเผาร่วมในเตาเผา

กระบวนการนำเชื้อเพลิงแข็งทดแทนไปใช้ในเตาเผาปูนซีเมนต์
       เชื้อเพลิงแข็งทดแทน ที่ผ่านกระบวนการคัดแยกแล้ว จะถูกนำมาเช้ากระบวนการย่อยละเอียด เพื่อให้ได้ขนาด 50 มิลลิเมตร จากนั้นจะถูกลำเลียง ด้วยรถขนส่งที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อใช้ลำเลียง RDF เข้าเตาเผาปูนซีเมนต์ได้ โดยทุกขั้นตอนจะถูกออกแบบเป็นระบบปิด ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและผู้ปฎิบัติงาน

ขั้นตอนปฎิบัติการวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพ
       การนำเชื้อเพลิงแข็งทดแทนมาใช้เชื้อเพลิงทดแทนในเตาเผาปูนซีเมนต์ จะต้องตรวจสอบและวิเคราะห์คุณสมบัติทั้งทางกายภาพและทางเคมี เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถนำ RDF มาใช้ทดแทนเชื้อเพลิงหลักโดยไม่ส่งผลกระทบทั้งทางด้านชีวอนามัยความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมรวมถึงคุณภาพของปูนซีเมนต์ด้วย

กระบวนการแปรสภาพขยะชุมชนเป็นเชื้อเพลิงแข็งทดแทน

อุตสาหกรรมใดที่ใช้ขยะ rdf ไปเผาร่วมในเตาเผา

ระบบการขนส่งขยะเชื้อเพลิงแข็งทดแทน
       หลังจากที่ผ่านกระบวนการคัดแยกแล้ว RDF จะถูกนำเข้าเครื่องอัดก้อน โดยใช้ระบบไฮโดรลิก ให้มีความหนาแน่นสูงขึ้น 3-5 เท่า ซึ่งขั้นตอนนี้จะช่วยเพิ่มปริมาณในการขนส่งให้มากขึ้น และหลังจากการอัดก้อนแล้ว RDF จะถูกห่อด้วยพลาสติกฟิล์ม และปิดคลุมด้วยผ้าใบให้มิดชิดตลอดเส้นทางการขนส่ง เพื่อป้องกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมขณะขนส่ง

แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
       SCIeco ได้ตระหนักและให้ความสำคัญต่อแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงพยายามคิดค้นนวัฒกรรมในการเปลี่ยนขยะอุตสาหกรรมและขยะชุมชนให้มาเป็นพลังงานทดแทนและวัตถุดิบทดแทน โดยสามารถใช้เผาร่วมในการผลิตปูนซีเมนต์ (Co-Processing in Cement Kiln) เพื่อช่วยลดปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นผลพลอยได้จากการลดปริมาณการใช้ถ่านหินในการผลิตปูนซิเมนต์ ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวทางในการปฎิบัติ เพื่อการพัฒนาที่ยังยืนอย่างเป็นรูปธรรม

เชื้อเพลิงขยะ (RDF) เป็นการปรับปรุง และแปลงสภาพของขยะมูลฝอย ให้เป็นเชื้อเพลิงแข็งที่มีคุณสมบัติในด้าน ค่าความร้อน (Heating Value) ความชื้น ขนาด และความหนาแน่น เหมาะสมในการใช้เป็นเชื้อเพลิงป้อนหม้อไอน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าหรือความร้อน และมีองค์ประกอบทั้งทางเคมีและกายภาพสม่ำเสมอ คุณลักษณะทั่วไปของเชื้อเพลิงขยะประกอบด้วย 

  • ปลอดเชื้อโรคจากการอบด้วยความร้อน ลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อโรค
  • ไม่มีกลิ่น
  • มีขนาดเหมาะสมต่อการป้อนเตาเผา-หม้อไอน้ำ (เส้นผ่านศูนย์กลาง 15-30 มิลลิเมตร ความยาว 30-150 มิลลิเมตร)
  • มีความหนาแน่นมากกว่าขยะมูลฝอยและชีวมวลทั่วไป (450-600 kg/m3) เหมาะสมต่อการจัดเก็บ และขนส่ง
  • มีค่าความร้อนสูงเทียบเท่ากับชีวมวล (~ 13-18 MJ/kg) และมีความชื้นต่ำ (~ 5-10%)
  • ลดปัญหามลภาวะจากการเผาไหม้ เช่น NOx และไดออกซินและฟูราน

หลักการทำงานของเทคโนโลยีนี้ เริ่มจากการคัดแยกขยะที่ไม่สามารถเผาไหม้ได้ (โลหะ แก้ว เศษหิน) ขยะอันตราย และขยะรีไซเคิลออกจากขยะรวม ในบางกรณีจะมีการใช้เครื่องคัดแยกแม่เหล็กเพื่อคัดแยกมูลฝอยที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ และใช้เครื่อง Eddy Current Separator เพื่อคัดแยกอลูมิเนียมออกจากมูลฝอย จากนั้นจึงป้อนขยะมูลฝอยไปเข้าเครื่องสับ-ย่อยเพื่อลดขนาด และป้อนเข้าเตาอบเพื่อลดความชื้นของมูลฝอย โดยการใช้ความร้อนจากไอน้ำหรือลมร้อนเพื่ออบขยะให้แห้งซึ่งจะทำให้น้ำหนักลดลงเกือบ 50% (ความชื้นเหลือไม่เกิน 15%) และสุดท้ายจะส่งไปเข้าเครื่องอัดเม็ด (Pellet) เพื่อทำให้ได้เชื้อเพลิงขยะอัดเม็ดที่มีขนาดและความหนาแน่นเหมาะสมต่อการขนส่งไปจำหน่ายเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งในบางกรณีจะมีการเติมหินปูน (CaO) เข้าไปกับมูลฝอยระหว่างการอัดเป็นเม็ดเพื่อควบคุมและลดปริมาณก๊าซพิษที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้

เชื้อเพลิงขยะสามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ชนิด ตามมาตรฐาน ASTM E-75 ซึ่งขึ้นอยู่กับกระบวนการจัดการที่ใช้ ประกอบ

ขยะล้นโลก เป็นปัญหาใหญ่ที่นานาประเทศทั่วโลกต้องเผชิญร่วมกัน จากรายงานโดย Verisk Maplecroft Environment Dataset พบว่า ในแต่ละปีมีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นมากกว่าปีละ 2,100 ล้านตัน แต่กลับมีเพียง 16% เท่านั้นที่ถูกนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกต้อง!

บทความนี้ PTT ExpresSo จึงจะพาคุณมารู้จักกับเทคโนโลยี Waste-to-energy เปลี่ยนขยะมูลฝอยให้กลายเป็นพลังงานสะอาด เพื่อการกำจัดขยะที่มีประสิทธิภาพ และความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม

อุตสาหกรรมใดที่ใช้ขยะ rdf ไปเผาร่วมในเตาเผา

เทคโนโลยี Waste-to-energy คืออะไร

Waste-to-energy คือ เทคโนโลยีที่สร้างพลังงานทดแทนด้วยการแปรรูปขยะ ไม่ว่าจะเป็นขยะมูลฝอย ขยะชุมชน รวมไปถึงขยะที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ ซึ่งขยะเหล่านี้สามารถนำไปแปรรูปเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานทดแทนรูปแบบต่างๆ ได้มากมาย เช่น

  • พลังงานไฟฟ้า
  • ก๊าซชีวภาพ
  • น้ำมัน

ซึ่งพลังงานเหล่านี้มีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปใช้งานในภาคครัวเรือน และอุตสาหกรรมต่างๆ ได้โดยไม่มีความแตกต่างจากพลังงานที่ถูกผลิตขึ้นโดยกรรมวิธีปกติเลยทีเดียว

ข้อดีของเทคโนโลยี Waste-to-energy

  • นำขยะกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์
  • ลดปริมาณขยะ และกำจัดขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
  • ได้รับพลังงานสะอาด เพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม

อุตสาหกรรมใดที่ใช้ขยะ rdf ไปเผาร่วมในเตาเผา

ขยะอะไรบ้างที่สามารถเปลี่ยนให้เป็นพลังงานได้

แม้ว่าเทคโนโลยี Waste-to-energy จะช่วยกำจัดขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ไม่ใช่ขยะทุกประเภทที่จะสามารถนำเข้าสู่กระบวนการนี้ได้ โดยขยะที่สามารถนำไปแปรรูปเป็นพลังงานได้นั้น จะมีด้วยกันดังนี้

  • ขยะอินทรีย์ และขยะที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เช่น เศษอาหาร เศษผักผลไม้ ใบไม้ กิ่งไม้
  • ขยะที่สามารถเผาไหม้ได้ เช่น พลาสติก กระดาษ ไม้ หนัง ผ้า

โดยขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ และขยะมูลฝอยบางประเภท เช่น แก้ว โลหะ อะลูมิเนียม พลาสติก ยาง จะถูกนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อให้สามาถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อุตสาหกรรมใดที่ใช้ขยะ rdf ไปเผาร่วมในเตาเผา

6 เทคโนโลยี Waste-to-energy เปลี่ยนขยะสู่พลังงานสะอาด

ปัจจุบันเทคโนโลยี Waste-to-energy นั้นมีด้วยกันมากมาย ซึ่งแต่ละรูปแบบก็กลั่นกรองพลังงานออกมาได้แตกต่างกัน เรามาดูกันว่า 6 เทคโนโลยี Waste-to-energy ในปัจจุบันนั้นมีอะไรบ้าง มีกระบวนการแบบไหน และได้รับพลังงานอะไร

1. เทคโนโลยีเผาขยะในระบบเตาเผา (Incineration)

เทคโนโลยีเผาขยะในระบบเตาเผา (Incineration) คือ เทคโนโลยี Waste-to-energy เผาขยะมูลฝอยในเตาเผาที่ถูกออกแบบมาพิเศษ ซึ่งความร้อนที่ได้จากการเผานั้นสามารถแปรเปลี่ยนไปเป็นไอน้ำเพื่อใช้สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าได้

นอกจากนี้ ขี้เถ้าที่เหลือจากการเผา สามารถนำไปใช้แปรรูปเป็นปุ๋ยสำหรับเกษตรกรรม รวมไปถึงใช้เป็นวัสดุสำหรับปูพื้น หรือผิวถนนได้อีกด้วย

โดยเตาเผาที่ใช้ในปัจจุบันจะมีด้วยกัน 2 ระบบ ได้แก่

  • ระบบเตาแบบตะกรับ (Stoker Incinerator) คือ เตาเผาที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน โดยจะใช้ระบบลำเลียงขยะเข้าสู่เตาเผาด้วยแผงตะกรับ โดยระหว่างการลำเลียง จะมีการปล่อยก๊าซความร้อนเข้ามาทางด้านล่างของแผงตะกรับ ซึ่งความร้อนที่เกิดขึ้นจะถูกนำไปเข้าสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนความร้อนในเครื่องกำเนิดไอน้ำอีกทีหนึ่ง
  • ระบบเตาเผาแบบใช้ตัวกลางนำความร้อน (Fluidized Base Incinerator) เตาเผาประเภทนี้จะใช้แร่ควอทซ์ หรือทรายแม่น้ำเพื่อใช้เป็นตัวกลางในการนำความร้อน โดยขยะที่ถูกนำเข้าเตาเผาระบบนี้จะถูกตัดเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วทำการกวนผสมเข้ากับตัวกลางนำความร้อน เมื่อเริ่มการเผาไหม้ จะทำให้ความชื้นที่อยู่ภายในขยะนั้นถูกขับออกมาเป็นไอน้ำอย่างสมบูรณ์

อย่างไรก็ตาม กระบวนการนี้จะต้องให้ความสำคัญกับการปล่อยมลพิษเป็นอย่างมาก เนื่องจากเขม่าควันต่างๆ อาจลอยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมได้

2. เทคโนโลยีหมักย่อยสลายขยะแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Digestion)

เทคโนโลยีหมักย่อยสลายขยะแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Digestion) คือ เทคโนโลยี Waste-to-energy ที่ใช้การหมักขยะอินทรีย์จำพวกเศษอาหาร ผัก ผลไม้ ซากพืชซากสัตว์ต่างๆ ภายในบ่อหมักที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้มีอากาศเข้าไป

โดยกระบวนการนี้จะทำให้ภายในบ่อหมักเกิดสภาวะไร้ออกซิเจน ซึ่งจะไปกระตุ้นจุลินทรีย์ในขยะอินทรีย์เหล่านี้ให้เกิดเป็นก๊าซชีวภาพ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นก๊าซหุงต้ม หรือใช้สำหรับกระบวนการผลิตไฟฟ้าได้

นอกจากนี้ ซากขยะอินทรีย์ที่หลงเหลือจากการหมัก ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นปุ๋ยสำหรับเกษตรกรรม หรือสารปรับปรุงสภาพดินได้อีกด้วย

3. เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพจากหลุมฝังขยะ (Landfill Gas to Energy)

เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพจากหลุมฝังขยะ (Landfill Gas to Energy) คือ เทคโนโลยี Waste-to-energy ที่จะทำการปรับปรุง และพัฒนาหลุมฝังกลบขยะให้สามารถสร้างก๊าซชีวภาพต่างๆ ได้แก่ ก๊าซมีเทน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซีลไฟต์ และไนโตรเจน เพื่อนำไปใช้สำหรับกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า

ปัจจัยสำคัญสำหรับกระบวนการนี้คือ หลุมฝังขยะนั้นจะต้องมีความลึกมากกว่า 12 เมตรขึ้นไป และสามารถสร้างสภาวะไร้ออกซิเจนได้ เนื่องจากในช่วงแรกนั้น จะปล่อยให้ขยะเกิดการย่อยสลายด้วยตัวเองในสภาวะที่มีอากาศถ่ายเทตามปกติ จากนั้นจึงปรับเปลี่ยนเป็นการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน

4. เทคโนโลยีผลิตเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel)

เทคโนโลยีผลิตเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel หรือ RDF) คือ เทคโนโลยี Waste-to-energy ที่นำขยะมูลฝอยไปแปรรูปให้กลายเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ใช้เผาร่วมกับถ่านหินในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าถ่านหิน

5. เทคโนโลยีผลิตก๊าซเชื้อเพลิง (Gasification)

เทคโนโลยีผลิตก๊าซเชื้อเพลิง (Gasification) คือ เทคโนโลยี Waste-to-energy ที่จะทำการนำขยะมูลฝอยไปเผาด้วยอุณหภูมิสูงในสภาวะควบคุมปริมาณออกซิเจน เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่มีชื่อว่า ปฏิกิริยาสันดาปแบบไม่สมบูรณ์ (Partial Combustion) เพื่อเปลี่ยนขยะให้กลายเป็นก๊าซชีวภาพ

โดยปฏิกิริยาสันดาปแบบไม่สมบูรณ์จะทำให้สารอินทรีย์ในขยะสร้างก๊าซชีวภาพต่างๆ ขึ้นมา เช่น คาร์บอนมอนออกไซด์ ไฮโดรเจน และมีเทน โดยก๊าซเหล่านี้จะถูกนำเข้าสู่กระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป

6. เทคโนโลยีพลาสม่าอาร์ค (Plasma Arc)

เทคโนโลยีพลาสม่าอาร์ค (Plasma Arc) คือ เทคโนโลยี Waste-to-energy ขั้นสูงที่สามารถกำจัดขยะมูลฝอยได้มากมายหลายประเภท โดยใช้การยิงกระแสไฟฟ้าให้ความร้อนกับก๊าซเพื่อสร้างความร้อนสูงถึง 2,200 – 11,000 องศา จึงสามารถกำจัดขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยเทคโนโลยีพลาสม่าอาร์คนั้นมีด้วยกัน 2 ระบบ ได้แก่

  • ระบบเตาเผาไหม้โดยตรง (Plasma Incinerator) ใช้สำหรับกำจัดขยะมูลฝอยควบคู่ไปกับกระบวนการผลิตความร้อน
  • ระบบเตาแก๊สซิไฟเออร์ (Plasma Gasifier) ใช้สำหรับแปรรูปสารอินทรีย์ในขยะให้กลายเป็นก๊าซชีวภาพ และนำก๊าซที่ได้ไปใช้สำหรับกระบวนการผลิตไฟฟ้า

นอกจากนี้ เทคโนโลยีพลาสม่าอาร์คยังสามารถกำจัดขยะอันตราย และขยะติดเชื้อได้ จึงนับเป็นเทคโนโลยี Waste-to-energy ที่สามารถกำจัดขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก

สรุป

ปัญหาขยะล้นโลกนั้นสร้างปัญหาให้กับมนุษย์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขอนามัย การปนเปื้อนของไมโครพลาสติก รวมไปถึงก่อให้เกิดการแพร่พันธุ์ของสัตว์และแมลงที่เป็นพาหะนำโรคต่างๆ เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน ฯลฯ

ซึ่งปัจจุบัน จำนวนประชากรโลกมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้แนวโน้มที่จะมีจำนวนขยะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต เพราะฉะนั้นเทคโนโลยี Waste-to-energy จึงเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีล้ำค่าที่จะเข้ามาช่วยแก้วิกฤติขยะ และปัญหาด้านพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ติดตามข่าวสารและคอนเทนต์ดี ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี ธุรกิจ และสิ่งแวดล้อมที่คุณไม่ควรพลาด ได้ที่ Facebook PTT ExpresSo