คณะ สห เวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์ มี ที่ไหน บ้าง

คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นคณะสหเวชศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย การถือกำเนิดของคณะสหเวชศาสตร์ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนาการของหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิต ในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่จำเป็นต่อการทำงานของทีมแพทย์สู่สังคม ได้แก่ นักเทคนิคการแพทย์ และนักกายภาพบำบัด ปัจจุบันได้มีการขยายสาขาวิชา ครอบคลุมการผลิตนักกำหนดอาหารในระดับปริญญาตรีแห่งแรกของประเทศไทย ปัจจุบันคณะฯ จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี 4 สาขา ได้แก่ สาขาเทคนิคการแพทย์, สาขากายภาพบำบัด, สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร และสาขารังสีเทคนิค

วันนี้พี่จะแนะนำให้น้องๆ รู้จักกับสาขาเทคนิคการแพทย์ ซึ่งสาขานี่เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับการวิเคราะห์สิ่งส่งตรวจจำพวกสารคัดหลั่งต่างๆ ที่มาจากร่างกายของเรา เช่น เลือด ปัสสาวะ น้ำไขข้อ ไขสันหลัง เป็นต้น โดยมีวิชาเรียนหลักๆ ก็คือ เริ่มแรกก็จะเรียนในวิชาสายวิทยาศาสตร์พื้นฐานทั่วไป (ฟิสิกส์, เคมี และชีววิทยา) พอเริ่มปีสูงขึ้นน้องๆ ก็จะได้เรียนวิชาที่มันยากขึ้น อย่างพวกรายวิชา Hematology ที่เรียนเกี่ยวกับเลือด องค์ประกอบต่างๆ ของเลือด การเจาะเลือด  ตรวจเลือด แปลผลเลือด โรคที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถือว่าเป็นวิชาที่สำคัญของสาขานี้เลยก็ว่าได้, วิชา Body Fluid Analysis เรียนเกี่ยวกับสารคัดหลั่งต่างๆ ที่ออกมาจากร่างกาย, วิชาClinical Chemistry วิชานี้คือวิชาเคมีคลินิก น้องๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับการตรวจวัดสารต่างๆ ในร่างกายโดยใช้วิธีทางเคมี เช่น คอเลสเตอรอล น้ำตาลในเลือด ฯลฯ โดยที่น้องๆ จะต้องลงมือตรวจเอง และประมวลผลเอง, วิชา Immunology วิชานี้เรียนเกี่ยวกับสารภูมิต้านทานที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งถือว่าเป็นวิชานี้เป็นประโยชน์มากๆ สำหรับสาขานี้เพราะในปัจจุบันการวินิจฉัยโรคต่างๆ จำเป็นต้องอาศัยหลักการพื้นฐานต่างๆ มาจากวิชานี้ทั้งสิ้น และวิชา Blood Bank วิชานี้จะเป็นวิชาที่เพิ่มพูนความรู้ทางด้านหมู่เลือดให้น้องๆ จะได้รู้ว่าหมู่เลือดของคนเราไม่ได้มีแค่ A B O และ RH เป็นต้นค่ะ

ทั้งหมดทั้งมวลข้างต้นก็เพื่อให้น้องๆ มีความรู้ที่หลากหลายนอกเหนือความรู้ในศาสตร์ของตนเอง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้หลากหลาย และตอบสนองต่อความต้องการของสังคมมากขึ้น อีกทั้งทางคณะฯ ยังเปิดโอกาสให้นิสิตสามารถลงทะเบียนเรียนกลุ่มวิชาโทที่เปิดสอนในคณะสหเวชศาสตร์ หรือกลุ่มวิชาโทข้ามสาขาในต่างคณะตามความสามารถและความสนใจของนิสิตเองด้วบ

1. นักเทคนิคการแพทย์
2. นักวิจัย
3. อาจารย์หรือนักวิชาการ
4. นักนิติวิทยาศาสตร์
5. นักธุรกิจประกอบการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เอกชน
6. พนักงานขายเครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์
7. ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ (product specialist)

ข้อมูลและระเบียบการสมัคร TCAS ของคณะสหเวชศาสตร์/สาธารณสุข/เทคนิคการแพทย์/กายภาพบำบัดมหาวิทยาลัยมหิดล อัพเดตปี 66
  • สาขาวิชากายภาพบำบัด - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด (ภาษาไทย ปกติ)
  • สาขาวิชากิจกรรมบำบัด - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากิจกรรมบำบัด (ภาษาไทย ปกติ)
  • สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ - หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย ปกติ)
  • วิทยาศาสตร์การแพทย์ - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ (นานาชาติ) (นานาชาติ)
  • สาขาวิชาเวชสารสนเทศ - หลักสูตรวิทยาศาสตบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน (ภาษาไทย ปกติ)
  • สาขาวิชาสาธารณสุข - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (ภาษาไทย ปกติ)
  • สาขาวิชาสาธารณสุข - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ภาษาไทย ปกติ)
  • สาขาวิชารังสีเทคนิค - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค (ภาษาไทย ปกติ)
  • สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ (ภาษาไทย ปกติ)
  • สาขาวิชากายอุปกรณ์ - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายอุปกรณ์ (นานาชาติ) (นานาชาติ)
  • สาขาวิชากายอุปกรณ์ - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายอุปกรณ์ (ภาษาไทย ปกติ)
  • สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ - หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต (ภาษาไทย ปกติ)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ - หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ (ภาษาไทย ปกติ)
  • สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย (ภาษาไทย ปกติ)
  • สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ - หลักสูตรวิทยาศาสตบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (ภาษาไทย ปกติ)
  • สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ - หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย ปกติ)
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา - หลักสูตรศิลปศาสตบัณฑิต สาขาวิชาการออกกำลังกายและการกีฬา สาขาวิชา ฟุตบอล (ภาษาไทย ปกติ)
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา - หลักสูตรศิลปศาสตบัณฑิต สาขาวิชาการออกกำลังกายและการกีฬา สาขาวิชา การออกกำลังกายและการกีฬา (ภาษาไทย ปกติ)
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา - หลักสูตรวิทยาศาสตบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาการออกกำลังกาย (ภาษาไทย ปกติ)
  • สาขาวิชาสาธารณสุข - หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน (ภาษาไทย ปกติ) วิทยาเขต นครสวรรค์
  • สาขาวิชาสาธารณสุข - หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย ปกติ) วิทยาเขต อำนาจเจริญ

คณะเทคนิคการแพทย์ มีกี่สาขา

คณะเทคนิคการแพทย์ ได้จัดการสอนแก่นักศึกษาในหลักสูตรต่าง ๆ รวม 4 สาขาวิชา คือ เทคนิคการแพทย์ กิจกรรมบำบัด รังสีเทคนิค และกายภาพบำบัด การเรียนในคณะเทคนิคการแพทย์ ต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เป็นหลัก ดังนั้น นักเรียนที่จะเลือกเรียนคณะนี้ ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ...

เทคนิคการแพทย์ มี มหา ลัย ไหน บ้าง 65

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะสหเวชศาสตร์/เทคนิคการแพทย์.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ม.ขอนแก่น.
ม.เชียงใหม่.
ม.ธรรมศาสตร์.
ม.นเรศวร.
ม.มหิดล.
ม.บูรพา.
ม.พะเยา.

คณะสหเวช มีที่ไหนบ้าง

คณะสหเวชศาสตร์ในประเทศไทย (และหน่วยงานใกล้เคียง).
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักวิชาการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

คณะสหเวชศาสตร์ ทํางานอะไร

เทคนิคการแพทย์ - เมื่อเรียนจบมาแล้วสามารถทำงานสอบบรรจุในโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนได้เลย ซึ่งจะทำงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจโรคจากสิ่งที่ส่งมาตรวจ (ปัสสาวะ อุจจาระ เลือด หรือของเหลวจากร่างกาย) นอกจากนี้ยังผันตัวไปเป็นนักวิจัยตามห้องแล็บ หรือเจ้าหน้าที่ขายอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้ด้วย