สาขากายภาพบําบัด มีที่ไหนบ้าง

1. รหัสและชื่อหลักสูตร

รหัส -
ภาษาไทย หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Science Program in Physical Therapy

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อปริญญาภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (กายภาพบำบัด)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Physical Therapy)
อักษรย่อภาษาไทย: วท.บ. (กายภาพบำบัด)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ: B.Sc. (Physical Therapy

3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 141 หน่วยกิต

4. รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ปริญญาตรีทางวิชาชีพ ระบบทวิภาค  โดย 1 ปีการศึกษา             แบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษา        ปกติมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์   มีภาคฤดูร้อน      จำนวน 1 ภาค ภาคละ 8 สัปดาห์ ภาษาไทย รับนิสิตไทย และนิสิตต่างชาติที่มีความรู้ภาษาไทยเป็นอย่างดี เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบัน

5. ความสำคัญของหลักสูตร

กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดวิสัยทัศน์ และเป้าหมายของ แผนพัฒนาสุขภาพ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559 โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และกำหนดให้สอดคล้องกับทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ที่มีนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ความสำคัญกับการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม เน้นการบริการสุขภาพแบบองค์รวมในเชิงรุก ส่งเสริมสุขภาพของประชาชน เพื่อป้องกันและลดความรุนแรงของการเกิดโรค เป็นการลดงบประมาณในการรักษาอาการเจ็บป่วยในโรงพยาบาล และเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพกายใจที่แข็งแรง ซึ่งประชาชนเหล่านี้ คือ กำลังสำคัญในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ
กายภาพบำบัด คือ วิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจประเมิน การวินิจฉัย และ การบำบัดความบกพร่องของร่างกาย ซึ่งเกิดเนื่องจากภาวะของโรคหรือการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ การป้องกัน การแก้ไข และการฟื้นฟูความเสื่อมสภาพ ความพิการของร่างกาย รวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจ ด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัดหรือการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่รัฐมนตรีประกาศโดยคำแนะนำของคณะกรรมการให้เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์กายภาพบำบัด ดังนั้น ขอบเขตการปฏิบัติงานของนักกายภาพบำบัดมีทั้งที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาล สถานส่งเสริมสุขภาพ องค์กรธุรกิจ และชุมชน กายภาพบำบัดเป็นวิชาชีพขาดแคลนตามแผนแม่บทกำลังคนด้านสาธารณสุข พ.ศ.2546-2556 ปัจจุบันมีนักกายภาพบำบัดที่ขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดประมาณ 8,000 คน อย่างไรก็ตาม จำนวนนักกายภาพบำบัดก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของสถานบริการสุขภาพในคนทุกระดับ หากยึดตามหลักมาตรฐานกายภาพบำบัด พ.ศ.2549 นักกายภาพบำบัดหนึ่งคนสามารถดูแลผู้ป่วยเฉลี่ย 15 คนต่อวัน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการบำบัดรักษาอย่างครอบคลุม แต่สัดส่วนนักกายภาพบำบัดในปัจจุบันที่มีน้อยเปรียบเทียบกับจำนวนผู้เข้ารับบริการในโรงพยาบาลที่มีจำนวนมากกว่าหลายเท่าตัว ในปี พ.ศ.2568 คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะมีประชากรรวม 72 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรที่เป็นผู้สูงอายุร้อยละ 20 หรือประมาณ 14 ล้านคน ซึ่งประชากรผู้สูงอายุที่มากขึ้นนี้ มีผลกระทบต่อโครงสร้างการให้บริการสาธารณสุขของประเทศ เนื่องจากเป็นกลุ่มประชากรที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ และมีปัญหาในการเคลื่อนไหวและการดูแลตนเอง นอกจากกลุ่มประชากรผู้สูงอายุแล้ว ภาคตะวันออกยังเป็นภูมิภาคที่มีประชากรผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการท่องเที่ยวจำนวนมากภูมิภาคหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งสังคมผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรม มีวิถีชีวิตที่มีการเคลื่อนไหวลดลง ทำงานในรูปแบบซ้ำๆ มากขึ้น ส่งผลต่อความเจ็บป่วยของระบบประสาทกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดภาวะปวดเรื้อรังมากขึ้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวหากได้รับคำแนะนำเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน และดูแลรักษาทางกายภาพบำบัดที่เหมาะสมจะช่วยลดภาระทางเศรษฐกิจที่เกิดจากความเจ็บปวดเรื้อรังจากการทำงานได้
จากบริบทของสังคมแวดล้อมใกล้เคียงมหาวิทยาลัยบูรพา ประชาชนในสังคมประกอบอาชีพธุรกิจด้านการท่องเที่ยวและมีสถานประกอบการทางด้านสุขภาพ รวมทั้งมีเขตอุตสาหกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก ประกอบกับการเป็นสังคมผู้สูงอายุได้ชี้นำให้คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ในฐานะที่เป็นองค์กรหลักในการจัดการศึกษาของภาคตะวันออกได้ตระหนัก และคำนึงถึงการผลิตบุคลากรให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงระบบสุขภาพ และสภาพแวดล้อม จึงได้ดำเนินการสร้าง หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (กายภาพบำบัด) เพื่อผลิตบัณฑิตกายภาพบำบัดซึ่งเป็นทรัพยากรหนึ่งที่สำคัญของระบบงานด้านสุขภาพ มีความรู้ความสามารถด้านการตรวจประเมิน วินิจฉัย วางแผนในให้การบำบัดรักษาฟื้นฟูสภาพ ส่งเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ และผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการท่องเที่ยว

6. ปรัชญาหลักสูตร

มุ่งผลิตบัณฑิตกายภาพบำบัดให้มีปัญญาในการคิดวิเคราะห์ มีความรู้และมีทักษะทางกายภาพบำบัดตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยมุ่งพัฒนาความรู้ การวิจัย และบริการวิชาการในเวชศาสตร์ผู้สูงอายุและอาชีวอนามัยที่ทันสมัย และเป็นประโยชน์ต่อสังคม อีกทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพกายภาพบำบัด

7. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว บัณฑิตกายภาพบำบัดจะ
7.1 มีงานทำและศึกษาต่อทางด้านกายภาพบำบัดหรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
7.2 บัณฑิตกายภาพบำบัดจะมีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ และความสามารถดังต่อไปนี้
7.2.1มีคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด และจิตอาสา ทั้งการปฏิบัติงานและการดำรงชีวิต มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพกายภาพบำบัด
7.2.2 มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการประกอบวิชาชีพโดยใช้หลักการคิดและตัดสินใจทางคลินิกตามมาตรฐานวิชาชีพกายภาพบำบัดที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและชุมชน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการท่องเที่ยว
7.2.3 สามารถคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหาทางด้านกายภาพบำบัดและบริบทที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์
7.2.4 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความเป็นผู้นำ ผู้ตาม และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมตามสถานการณ์
7.2.5 สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแสวงหาความรู้ทางกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้อง และใช้ข้อมูลทางวิชาการที่น่าเชื่อถือ สามารถนำมาประยุกต์ในวิชาชีพและชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
7.2.6 พัฒนาตนเอง และวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง โดยการศึกษา ค้นคว้า ใช้กระบวนการวิจัยและเรียนรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและทันสมัย

8. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร

8.1 คุณธรรม จริยธรรม
(1) มีคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(2) มีวินัย เป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น มีความเข้าใจและเห็นคุณค่าของตนเอง ผู้อื่น สังคม ศิลปวัฒนธรรม
(3) มีความรู้ ความเข้าใจหลักคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ตลอดจนสิทธิพื้นฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทางกายภาพบำบัด
(4) แสดงออกซึ่งพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม เช่น มีวินัย มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ เคารพในคุณค่าศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และสามารถจัดการกับปัญหาคุณธรรม จริยธรรม โดยใช้ดุลยพินิจที่เหมาะสม
(5) ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ และสามารถจัดการกับปัญหาจริยธรรมในการปฏิบัติงานในวิชาชีพกายภาพบำบัด
(6) ส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการได้รับรู้ และเข้าใจสิทธิของตนเองในการรับบริการกายภาพบำบัด
8.2 ความรู้
(1) มีความรอบรู้ เข้าใจหลักการและทฤษฎีพื้นฐาน
(2) สามารถประยุกต์ความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
(3) สามารถค้นคว้าเพื่อการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
(4) อธิบายสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของชีวิต
(5) อธิบายสาระสำคัญของศาสตร์พื้นฐานวิทยาศาสตร์สุขภาพ
(6) อธิบายสาระสำคัญของศาสตร์ทางวิชาชีพกายภาพบำบัด
(7) อธิบายสาระสำคัญของระบบสุขภาพ กฎหมาย การจัดการและการบริหารงานเบื้องต้นของ
ระบบการบริการกายภาพบำบัด
(8) มีความรู้ด้านการวิจัยและการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ
8.3 ทักษะทางปัญญา
(1) มีทักษะการแสวงหาความรู้ ประยุกต์เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
(2) มีทักษะการคิดแบบองค์รวม เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์
(3) สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีเหตุมีผลตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
(4) สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น
(5) สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยใช้องค์ความรู้ทางวิชาชีพและความรู้อื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ปลอดภัยและมีคุณภาพในการดูแลสุขภาพ
(6) สามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัยหรือสร้างนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพกายภาพบำบัด
(7) สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้สาขากายภาพบำบัด กับความรู้ศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบททางสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป
8.4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
(1) มีจิตสาธารณะ มีความรับผิดชอบ สำนึกในความเป็นพลเมือง ที่มีคุณค่าต่อสังคม และมีความ เป็นไทย
(2) สามารถทำงานเป็นทีมในบทบาทผู้นำและสมาชิก ในบริบทหรือสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
(3) มีจิตบริการ สามารถปรับตัวและมีปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมงาน และผู้บังคับบัญชา
(4) มีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพ
8.5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ
(1) สามารถใช้ข้อมูลเชิงตัวเลข และเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างรู้เท่าทัน
(2) สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) สามารถศึกษา ทำความเข้าใจประเด็นปัญหา เลือก และประยุกต์เทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการศึกษาค้นคว้าและเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา
(4) สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล แปลความหมาย และนำเสนอข้อมูลสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
(5) สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม
8.6 ทักษะเชิงวิชาชีพ
(1) สามารถปฏิบัติทักษะทางวิชาชีพกายภาพบำบัด ในการตรวจประเมิน วินิจฉัยทางกายภาพบำบัด ป้องกัน บำบัดรักษา ฟื้นฟู และส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้ใช้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพกายภาพบำบัด
(2) สามารถปฏิบัติทักษะทางวิชาชีพกายภาพบำบัดอย่างเป็นองค์รวม โดยประยุกต์ความรู้ ความเข้าใจศาสตร์กายภาพบำบัดและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง การใช้เหตุผลทางคลินิก (Clinical Reasoning) และหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based) ในการปฏิบัติงาน

9. หลักสูตรที่เทียบเคียง: ไม่มี 

หลักสูตรที่เทียบเคียง: ไม่มี 

10. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

- นักกายภาพบำบัดในสถานบริการสุขภาพทุกระดับ (ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ)
- นักกายภาพบำบัดประจำทีมหรือสโมสรกีฬา
- นักกายภาพบำบัดประจำโรงเรียนการศึกษาพิเศษ
- นักกายภาพบำบัดประจำสถานประกอบการ
- ประกอบอาชีพอิสระด้านกายภาพบำบัดทั้งในและต่างประเทศ
- ศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอกสาขากายภาพบำบัดหรือวิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

11. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญที่เน้นวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์หรือเทียบเท่า
- มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือมีความผิดปกติอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
- มีคุณสมบัติอื่นครบถ้วนตามประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559
- มีคุณสมบัติอื่นครบถ้วนตามข้อประกาศสภากายภาพบำบัดว่าด้วยโรคซึ่งต้องห้ามเป็นสมาชิก พ.ศ. 2549 เช่น ต้องไม่เป็นโรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการที่น่ารังเกียจแก่สังคม โรคพิษสุราเรื้อรัง และโรคอื่นๆซึ่งคณะกรรมการสภากายภาพบำบัดเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการประกอบวิชาชีพ

12. โครงสร้างหลักสูตร

1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

30 หน่วยกิต

2) หมวดวิชาเฉพาะ

105 หน่วยกิต

2.1) ความรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือความรู้พื้นฐานวิชาชีพ

30 หน่วยกิต

  2.2) ความรู้เฉพาะด้านวิชาชีพกายภาพบำบัด  

69 หน่วยกิต

  2.2) ความรู้เฉพาะด้านวิชาชีพกายภาพบำบัด  

2 หน่วยกิต

  2.2) ความรู้เฉพาะด้านวิชาชีพกายภาพบำบัด  

4 หน่วยกิต

3) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า

6 หน่วยกิต

13.แผนการศึกษา

13.แผนการศึกษา

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น (First Semester)

หมวดวิชา

รหัสและชื่อรายวิชา

หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

ศึกษาทั่วไป

99920159

การเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
English Writing for Communication

3(3-0-6)

30210159                 

คณิตคิดทันโลก
Contemporary Mathematics

2(2-0-4)

40430659               

จิตตปัญญาศึกษาเพื่อการพัฒนาตนเอง
Contemplative Education for Self Development

2(2-0-4)

วิชาเฉพาะ

68312160

บทนำวิชาชีพกายภาพบำบัด
Introduction to Physical Therapy

1(1-0-2)

30310759

เคมีพื้นฐาน
Basic Chemistry                                                  

3(3-0-6)

30310859               

ปฏิบัติการเคมีพื้นฐาน
Basic Chemistry Laboratory

1(0-3-1)

30610059

ชีววิทยาทั่วไป 1
General Biology I

3(3-0-6)

30610159

ปฏิบัติการชีววิทยาทั่วไป 1
General Biology Laboratory I

1(0-3-1)

30810659

ฟิสิกส์สำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Physics for Health Science

3(3-0-6)

30810759

ปฏิบัติการฟิสิกส์สำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Physics Laboratory for Health Science

1(0-3-1)

วิชาเลือกเสรี

xxxxxxxx

วิชาเลือกเสรี                                            

2(x-x-x)

รวม (Total)

22หน่วยกิต


ปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย (Second Semester)

หมวดวิชา

รหัสและชื่อรายวิชา

หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

ศึกษาทั่วไป

22810159

ทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
Thai Language Skills for Communication  

3(3-0-6)

24510159

ทักษะสารสนเทศในสังคมฐานความรู้
Information Skills in Knowledge-based Society

3(3-0-6)

68019359

ชีวิตและสุขภาพ
Life and Health

2(2-0-4)

30610659

ความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์
Biodiversity and Conservation

2(2-0-4)

41530359

จิตวิทยาเพื่อคุณภาพชีวิต
Psychology for the Quality of Life

2(2-0-4)

99910159

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
English for Communication

3(3-0-6)

วิชาเฉพาะ

68311160

มหกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ 1
Human Gross Anatomy I            

3(2-3-5)

วิชาเลือกเสรี

xxxxxxxx               

วิชาเลือกเสรี                                            

2(x-x-x)

รวม (Total)

20หน่วยกิต


ปีที่ 2 ภาคการศึกษาต้น (First Semester)

หมวดวิชา

รหัสและชื่อรายวิชา

หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

ศึกษาทั่วไป

26510359

มนุษย์กับทักษะการคิด
Man and Thinking Skills

2(2-0-4)

41410159

พลวัตกลุ่มและภาวะผู้นำ
Group Dynamics and Leadership

3(3-0-6)

99910259               

ภาษาอังกฤษระดับมหาวิทยาลัย
Collegiate English

3(3-0-6)

วิชาเฉพาะ

68321160               

มหกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ 2
Human Gross Anatomy II

3(2-3-5)

68322160

ชีวกลศาสตร์การเคลื่อนไหวในมนุษย์
Biomechanics of Human Movement

3(2-3-5)

68321260

ประสาทวิทยาศาสตร์สำหรับกายภาพบำบัด
Neurosciences for Physical Therapy

2(2-0-4)

68021160

สรีรวิทยาของมนุษย์สำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Human Physiology for Health Sciences

3(2-3-5)

79223160

เภสัชสรีรวิทยาคลินิกสำหรับกายภาพบำบัด
Clinical Pharmacophysiology for Physical Therapy

1(1-0-2)

68323160               

ปฏิบัติการนวดเพื่อการบำบัด
Therapeutic Massage Laboratory

1(0-3-1)

รวม (Total)

21หน่วยกิต


ปีที่ 2 ภาคการศึกษาปลาย (Second Semester)

หมวดวิชา

รหัสและชื่อรายวิชา

หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

หมวดวิชาเฉพาะ

68019259

ชีวเคมีเบื้องต้นสำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Basic Biochemistry for Health Sciences

2(2-0-4)

68321360

พยาธิวิทยาทั่วไปสำหรับกายภาพบำบัด
General Pathology for Physical Therapy

2(2-0-4)

68322260

กายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ 1
Musculoskeletal Physical Therapy I

2(2-0-4)

68322360

กายภาพบำบัดระบบประสาท 1
Neurological Physical Therapy I

2(2-0-4)

68323260               

สรีรวิทยาการออกกำลังกายและสมรรถภาพทางกาย
Exercise Physiology and Physical Performance

2(1-2-3)

68323360

การบำบัดด้วยการขยับ ดัด และดึง
Mobilization and Manipulative Therapy

3(1-4-4)

68323460

การออกกำลังกายเพื่อการบำบัด 1
Therapeutic Exercise I

2(1-3-3)

68323560

ปฏิบัติการตรวจความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
และองศาการเคลื่อนไหวของข้อต่อ
Evaluation of Manual Muscle Test and Joint Range of Motion Laboratory

1(0-3-1)

68323660

กายภาพบำบัดระบบหายใจและไหลเวียนโลหิต 1
Respiratory and Circulatory Physical Therapy I               

2(1-3-3)

วิชาเลือกเสรี

xxxxxxxx               

วิชาเลือกเสรี                                            

2(x-x-x)

รวม (Total)

20 หน่วยกิต


ปีที่ 3 ภาคการศึกษาต้น (First Semester)

หมวดวิชา

รหัสและชื่อรายวิชา

หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

หมวดวิชาเฉพาะ

68331160

กายภาพบำบัดในผู้ป่วยจิตเวช
Physical Therapy in Psychiatric Patients

2(2-0-4)

68333160

การออกกำลังกายเพื่อการบำบัด 2
Therapeutic Exercise II

2(1-3-3)

68333260

กายภาพบำบัดระบบหายใจและไหลเวียนโลหิต 2
Respiratory and Circulatory Physical Therapy II

3(2-3-5)

68334160

การวินิจฉัยและรักษาด้วยไฟฟ้า
Electrodiagnosis and Electrotherapy

3(2-3-5)

68334260

การรักษาด้วยความร้อนและแสง
Thermo and Actino Therapy

2(1-3-3)

68335160

กายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ 2
Musculoskeletal Physical Therapy II

3(2-3-5)

68335260

กายภาพบำบัดระบบประสาท 2
Neurological Physical Therapy II

3(2-3-5)

68337160

การฝึกปฏิบัติงานกายภาพบำบัดคลินิก 1
Clinical Practicum I

1(0-5-1)

รวม (Total)

19 หน่วยกิต


ปีที่ 3 ภาคการศึกษาปลาย (Second Semester)

หมวดวิชา

รหัสและชื่อรายวิชา

หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

หมวดวิชาเฉพาะ

68335360

กายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ 3
Musculoskeletal Physical Therapy III

2(1-3-3)

68335460

กายภาพบำบัดระบบประสาท 3
Neurological Physical Therapy III

2(1-3-3)

68335560

กายภาพบำบัดระบบหายใจและไหลเวียนโลหิต 3
Respiratory and Circulatory Physical Therapy III

2(1-3-3)

68335660

กายภาพบำบัดทางกุมารเวชศาสตร์
Pediatrics Physical Therapy

3(2-3-5)

68335760

กายภาพบำบัดทางการกีฬา
Sports Physical Therapy

2(1-3-3)

68337260

การฝึกปฏิบัติงานกายภาพบำบัดคลินิก 2
Clinical Practicum II

2(0-10-2)

68337360

การสัมมนางานวิจัยทางกายภาพบำบัด
Seminar in Physical Therapy

1(0-2-1)

68337460

ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติทางกายภาพบำบัด
Research Methodology and Statistics in Physical Therapy

2(2-0-4)

รวม (Total)

16หน่วยกิต


ปีที่ 3 ภาคการศึกษาฤดูร้อน (Summer Semester)

หมวดวิชา

รหัสและชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

หมวดวิชาเฉพาะ

68337560

การฝึกปฏิบัติงานกายภาพบำบัดคลินิก 3
Clinical Practicum III

4(0-24-4)

รวม (Total)

4หน่วยกิต


ปีที่ 4 ภาคการศึกษาต้น (First Semester)

หมวดวิชา

รหัสและชื่อรายวิชา

หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

หมวดวิชาเฉพาะ

68345160

กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ
Geriatric Physical Therapy

2(1-3-3)

68345260

กายภาพบำบัดชุมชน
Community Physical Therapy

2(1-3-3)

68345360

กายภาพบำบัดในภาวะเฉพาะ
Physical Therapy in Specific Conditions

2(2-0-4)

68347160

การฝึกปฏิบัติงานกายภาพบำบัดคลินิก 4
Clinical Practicum IV

4(0-20-4)

รวม (Total)

10หน่วยกิต


ปีที่ 4 ภาคการศึกษาปลาย (Second Semester)

หมวดวิชา

รหัสและชื่อรายวิชา

หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

หมวดวิชาเฉพาะ

68345460

อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมสำหรับกายภาพบำบัด
Occupational Health and Environment for
Physical Therapy

2(1-3-3)

68347260

การฝึกปฏิบัติงานกายภาพบำบัดคลินิก 5
Clinical Practicum V

4(0-20-4)

68346160

จรรยาบรรณ กฎหมาย และการบริหารงานวิชาชีพ
Ethics, Laws, and Professional Administration

2(2-0-4)

68347360

ภาคนิพนธ์
Term Paper

1(0-3-1)

รวม (Total)

9หน่วยกิต


14. อัตราการสำเร็จการศึกษา

ตารางข้อมูลการคงอยู่และการจบการศึกษาของนิสิตในหลักสูตรปริญญาตรี


รหัส
แรกเข้า

จำนวนที่ลงทะเบียน

จำนวนนิสิตที่จบภายในระยะเวลา

จำนวนนิสิตที่พ้นสภาพแต่ละชั้นปี

< 4 ปี

4 ปี

>4 ปี

1

2

3

4 เป็นต้นไป

60

47

-

35

11

0

1

0

-

61

50

-

-

-

1

5

-

-

62

49

-

-

-

3

6

-

-

63

55

-

-

-

1

-

-

-

15. อัตราการได้งานทำ

นิสิตรหัส 60 เพิ่งสำเร็จการศึกษาและรอสอบใบประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด

หมายเหตุ
เป็นหลักสูตรเหมาจ่าย 35,000 บาทต่อภาคการศึกษา และภาคฤดูร้อน (ฝึกปฏิบัติงาน) 1 ภาคการศึกษาเหมาจ่าย 20,000 บาท


รายละเอียดติดต่อ

ผศ.ดร. ศิริรัตน์ เกียรติกูลานุสรณ์ ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (กายภาพบำบัด)
เบอร์โทรศัพท์ 038-103168

สาขากายภาพบําบัด เรียนที่ไหน

รายชื่อคณะกายภาพบำบัดในประเทศไทย.

สาขากายภาพบําบัด สอบอะไรบ้าง

คณะกายภาพบำบัด /สาขากายภาพบำบัด จำนวนรับ 70 ที่นั่ง เกณฑ์การคัดเลือก 1.GAT/PAT 2. 2.วิชาสามัญ วิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ฟิสิกส์ วิชาชีววิทยา.
GAT 20%.
2.PAT 2 30%และหรือคะแนน 7 วิชาสามัญ.
ควรมีส่วนสูงไม่น้อยกว่า155 ซม..
สอบสัมภาษณ์.

เรียนกายภาพ คณะอะไร

คณะ/สาขาที่ต้องเรียน คณะกายภาพบำบัด สาขาวิชากายภาพบำบัด สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชากายภาพบำบัด คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชากายภาพบำบัด

กายภาพบําบัด เรียนต่ออะไรได้บ้าง

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต (กายภาพบำบัด) สามารถเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาโทได้ทั้งในสาขากายภาพบำบัด, สรีรวิทยา, กายวิภาคศาสตร์, วิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นต้น ในมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ นอกจากนี้ นักกายภาพบำบัดยังสามารถศึกษาต่อในศาสตร์ทางกายภาพบำบัดจนถึงขั้นปริญญาเอก ซึ่งมีสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศ ...