สหเวชศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับอะไร

Show

สหเวชศาสตร์ สาขาชีวเวชศาสตร์

  • INFORMATION
  • U-REVIEW
  • COMMENTS (2)
  • PHOTOS
  • CONTACT

สหเวชศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับอะไร

สหเวชศาสตร์ สาขาชีวเวชศาสตร์

มหาวิทยาลัยบูรพา

รีวิวสหเวชศาสตร์ สาขาชีวเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ปัจจุบันยังไม่มีสถาบันการศึกษาไหนในประเทศไทย ที่เปิดสอนหลักสูตร ชีวเวชศาสตร์ ในระดับปริญญาตรี นอกจากที่มหาวิทยาลัยบูรพา คณะสหเวชศาสตร์ สาขาชีวเวชศาสตร์ ด้วยหลักสูตร 4 ปี ของที่นี่นอกจากมีความทันสมัยเหมาะสมกับความก้าวหน้าทางวิชาการและศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพในยุคปัจจุบันแล้ว ยังมีจุดเด่นสำคัญอีกอย่างคือ เป็นหลักสูตรชีวเวชศาสตร์หลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวในประเทศไทยที่มีสาขาวิชาโทให้นักศึกษาเลือกเรียนได้ตามความสนใจใน 4 สาขา คือ 1. สาขาโภชนบําบัด 2. สาขาเซลล์วิทยา 3. สาขาการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ 4. สาขาการบริหารธุรกิจสุขภาพ

โดยในปีที่ 1 - 3 นักศึกษาจะได้เรียนรายวิชาทั่วไปเช่น สังคมศาสตร์ ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ภาษาอังกฤษ แคลคูลัส เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ การแนะแนวงานอาชีพของสาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ เซลล์และชีววิทยาเชิงโมเลกุลของเซลล์ ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์ เคมีวิเคราะห์ กายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ สถิติเบื้องต้น เคมีทางการแพทย์พื้นฐาน สรีรวิทยาของมนุษย์ จุลชีววิทยาทางการแพทย์ ทรัพยากรธรรมชาติเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การบริหารคุณภาพ  ชีวสถิติ พยาธิวิทยาทางการแพทย์ ปรสิตวิทยาทางการแพทย์ ภูมิคุ้มกันวิทยาทางการแพทย์ หลักการวิจัยทางชีวเวชศาสตร์ เภสัชวิทยาทางการแพทย์ พันธุศาสตร์ของมนุษย์ พันธุวิศวกรรม และในชั้นปีที่ 4 ในเทอม 1 นักศึกษาจะได้ออกฝึกสหกิจศึกษาเป็นเวลา 1 เทอม เมื่อกลับมาในเทอม 2 จะได้ทำสัมมนาทางชีวเวชศาสตร์ โครงงานวิจัยทางชีวเวชศาสตร์ และนักศึกษาจะได้เลือกเรียนวิชาโทตามความสนใจตั้งแต่ปี 2 จนถึงปี 4

เมื่อสำเร็จการศึกษา บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายตามสาขาวิชาโทที่เลือกและตามความสนใจของแต่ละคน เช่น นักเซลล์วิทยา นักวิจัยทางเซลล์วิทยา ในบริษัท ศูนย์วิจัย หรือสถาบันวิจัยต่างๆ นักวิทยาศาสตร์หรือนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำสถาบันการศึกษา โรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน นักบริหาร หรือผู้ให้บริการ ประกอบธุรกิจเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ในการตรวจ วินิจฉัย รักษาและวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผู้ช่วยนักโภชนบำบัด ผู้ช่วยนักกำหนดอาหาร ผู้ช่วยโภชนากร นักวิจัยทางโภชนศาสตร์ และสามารถศึกษาต่อสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์การแพทย์ และชีวเวชศาสตร์ ทั้งในและต่างประเทศ

จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร

- เป็นหลักสูตรชีวเวชศาสตร์ ระดับปริญญาตรีที่แรกและที่เดียวในประเทศไทย
- มีสาขาวิชาโทให้นักศึกษาเลือกเรียนได้ตามความสนใจใน 4 สาขา คือ 1. สาขาโภชนบําบัด 2. สาขาเซลล์วิทยา 3. สาขาการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ 4. สาขาการบริหารธุรกิจสุขภาพ

จบมาทำงานอะไร

1. นักวิทยาศาสตร์หรือนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำสถาบันการศึกษา โรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน
2. นักเซลล์วิทยา นักวิจัยทางเซลล์วิทยา นักวิทยาศาสตร์ทางเซลล์วิทยา ในบริษัท ศูนย์วิจัย หรือสถาบันวิจัยต่างๆ
3. นักบริหาร หรือประกอบธุรกิจเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ในการตรวจ วินิจฉัย รักษาและวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์
4. ผู้ช่วยนักโภชนบำบัด ผู้ช่วยนักกำหนดอาหาร ผู้ช่วยโภชนากร นักวิจัยทางโภชนศาสตร์ ประจำสถาบันการศึกษา โรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน
5. ศึกษาต่อสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์การแพทย์ และชีวเวชศาสตร์ ทั้งในและต่างประเทศ

สมัครเรียนทำอย่างไร

ระบบรับตรงของคณะทั่วประเทศ (มิถุนายน)
- กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาชั้น ม. 6 แผนการเรียนวิทย์-คณิตฯ
- ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 หรือ 6 เทอม ไม่น้อยกว่า 2.50
- ผลคะแนน GAT/ PAT2 (วิทยาศาสตร์)
- สมัครผ่านทางเว็ปไซต์ http://regservice.buu.ac.th/

โควตา 12 จังหวัด (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา ระยอง สมุทรปราการ ลพบุรี สระแก้ว และสระบุรี)
- กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาชั้น ม. 6 แผนการเรียน วิทย์-คณิตฯ, ศิลป์-คำนวณ
- ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 หรือ 6 เทอม
- ผลคะแนน GAT/ PAT2 (วิทยาศาสตร์)
- สมัครผ่านทางเว็ปไซต์ http://regservice.buu.ac.th/

แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 20%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

122, 400 บาท

รายละเอียดค่าใช้จ่าย

15, 300 บาท/เทอม

สาขาวิชาเหล่านี้ล้วนแตกแขนงมาจากสาขาแพทยศาสตร์ ตามความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีต่างๆ ทางการแพทย์ที่เพิ่มมากขึ้น วงการแพทย์จึงต้องการบุคลากรผู้ร่วมงานกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทยอื่นๆ ที่มีความสามารถเฉพาะทางมาช่วยเหลือ

          ยังมีคณะวิชาในมหาวิทยาลัยอยู่อีกบางคณะ  ที่ชื่อ - แซ่ ไม่เป็นที่รู้จักมักคุ้นกับบุคคลทั่วไป  หรือแม้กระทั่งนักเรียนชั้นมัธยมปลายที่กำลังเสาะหาที่เรียน เลือกหาวิชาชีพในอนาคตที่ตรงใจจากมหาวิทยาลัยต่างๆ  ก็ไม่ค่อยทราบอีกเหมือนกันว่าเป็นคณะที่สอนอะไร?    นั้นก็คือ..... คณะสหเวชศาสตร์

          วันนี้... ดิฉันในฐานะผู้บริหารคณะสหเวชศาสตร์คนหนึ่ง  ขอแนะนำให้ท่านได้รู้จักคณะสหเวชศาสตร์ ดังนี้นะคะ

          คณะสหเวชศาสตร์  (Faculty of Allied Health Sciences)  คือ คณะวิชาในสถาบันอุดมศึกษา  ที่เปิดสอนวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (Allied) กับวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Sciences)  ผู้ที่เรียนจบสาขาวิชาเหล่านี้ ไม่ใช่แพทย์  พยาบาล  เภสัชกร  หรือทันตแพทย์  แต่เป็นบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการแพทย์  ซึ่งมีหลายสาขา เท่าที่มีในประเทศไทย ได้แก่

  1. สาขากายภาพบำบัด :  นักกายภาพบำบัด
  2. สาขาเทคนิคการแพทย์  :  นักเทคนิคการแพทย์
  3. สาขารังสีเทคนิค :  นักรังสีเทคนิค
  4. สาขาเทคโนโลยัหัวใจและทรวงอก  :  นักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
  5. สาขากิจกรรมบำบัด  :  นักกิจกรรมบำบัด
  6. สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร  :  นักโภชนาการ
  7. สาขาเทคโนโลยีการกีฬา  :  นักวิทยาศาสตร์
  8. สาขาทัศนมาตร  :  นักวิทยาศาสตร์

          ในบางมหาวิทยาลัย สาขาเหล่านี้ อาจอยู่ในสังกัดของคณะแพทยศาสตร์  หรือคณะเทคนิคการแพทย์ หรือคณะวิทยาศาสตร์ ก็มี  นั่นก็เป็นเพราะ  สาขาวิชาเหล่านี้ล้วนแตกแขนงมาจากสาขาแพทยศาสตร์  ตามความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีต่างๆ ทางการแพทย์ที่เพิ่มมากขึ้น  วงการแพทย์จึงต้องการบุคลากรผู้ร่วมงานกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทยอื่นๆ  ที่มีความสามารถเฉพาะทางมาช่วยเหลือ 

          ปัจจุบันสถาบันเปิดใหม่ ที่เปิดสอนสาขาวิชาเหล่านี้  จึงมักจัดให้อยู่ใน "คณะสหเวชศาสตร์"  เพื่อสื่อความหมายให้ชัดเจนขึ้นว่า ศาสตร์ทางการแพทย์นี้มีหลายสาขา

          หากนับเฉพาะสถาบันที่มีคณะวิชา หรือสำนักวิชา  ที่ชื่อว่า "คณะสหเวชศาสตร์" ในประเทศไทยขณะนี้ (พ.ศ. 2552)  นับรวมได้ 7 แห่ง  คือ

คณะสหเวชศาสตร์ในประเทศไทย 

ที่

ชื่อ คณะ/ สำนัก

ชื่อสาขา ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตที่เปิดสอน

สาขากายภาพบำบัด

สาขาเทคนิคการแพทย์ 

สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก

สาขา

รังสีเทคนิค

สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร

สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา

1

คณะสหเวชศาสตร์

มหาวิทยาลัยนเรศวร

2

คณะสหเวชศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3

สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา

4

คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

5

สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

6

คณะสหเวชศาสตร์

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

7

คณะสหเวชศาสตร์

มหาวิทยาลัยคริสเตียน

          ดิฉันไม่ได้รวมคณะวิชาที่มีชื่อว่า เทคนิคการแพทย์บ้าง  กายภาพบำบัดบ้าง เข้ามาด้วย เพราะเกรงว่าจะสับสัน  เนื่องจากชื่อคณะต่างๆ เหล่านี้  จะสื่อว่ามีเพียงสาขาเดียว  ทั้งที่ความเป็นจริงก็คล้ายกัน  ตัวอย่างเช่น คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  เปิดสอน 4 สาขาวิชา ได้แก่ สาขากายภาพบำบัด  สาขากิจกรรมบำบัด  สาขาเทคนิคการแพทย์ และสาขารังสีเทคนิค  เป็นต้น

          โดยทั่วไป ประชาชนมักคุ้นเคยกับชื่อ "คณะเทคนิคการแพทย์" มากกว่า  นั่นเพราะในกลุ่มสาขาวิชาด้านสหเวชศาสตร์  สาขาเทคนิคการแพทย์นับเป็นพี่ใหญ่ที่เกิดก่อน  ส่วนสาขาน้องๆ อีกหลายสาขา ทยอยเกิดทีหลัง  คนก็เลยไม่ค่อยรู้จัก...มันเป็นเช่นนั้นเอง..............


บันทึกเพิ่มเติม วันที่ 8 สิงหาคม 2552

คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

          ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาทางด้านสหเวชศาสตร์ระดับปริญญาตรี  4  หลักสูตร ได้แก่ 

  1. เทคนิคการแพทย์
  2. เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก 
  3. รังสีเทคนิค  และ
  4. กายภาพบำบัด

          หลักสูตรที่มีความโดดเด่น คือ หลักสูตร “เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก”  เพราะเป็นหลักสูตรเดียวในประเทศไทยและในภาคพื้นเอเชีย ที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและปอด ตลอดจนสามารถปฏิบัติการควบคุมการใช้เครื่องมือดังกล่าว  เพื่อการป้องกัน  ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหัวใจและปอด  ระหว่างผ่าตัดหัวใจและทรวงอกผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนัก  ห้องตรวจหัวใจและปอด   ห้องสวนหัวใจและห้องฉุกเฉิน  ทั้งนี้  การผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังกล่าวเป็นการสนองความต้องการบุคลากรด้านการแพทย์ ที่ยังขาดแคลนอยู่เป็นจำนวนมากในปัจจุบัน

          ในด้านการจัดการเรียนการสอนของคณะสหเวชศาสตร์ ที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง และมีความเป็นนานาชาติ  คณะสหเวชศาสตร์จึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร  สนับสนุนทุนให้นิสิตทุกสาขาในชั้นปีที่ 4 ที่มีศักยภาพ  ไปฝึกงานวิชาชีพต่างประเทศ  ตลอดภาคปลายของปีการศึกษา  ก่อนจบการศึกษา อีกด้วย ซึ่งโครงการ "สหกิจศึกษาต่างประเทศ"ดังกล่าวได้สร้างโอกาสให้กับบัณฑิตของคณะสหเวชศาสตร์ได้งานทำในโรงพยาบาลต่างประเทศ รวมทั้งโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำภายในประเทศที่มีความต้องการบุคลากรในวิชาชีพที่มีทักษะด้านภาษาอังกฤษ ควบคู่ไปกับความสามารถในการใช้เครื่องมือทางด้านการแพทย์ขั้นสูง ด้วยการทำงานที่มีมาตรฐานระดับสากล ได้เป็นอย่างดี

          สำหรับหลักสูตรบัณฑิตศึกษา ระดับปริญญาโท  สาขาชีวเวชศาสตร์ ของคณะฯ  มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถขั้นสูงในสาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ มีจุดเด่นของหลักสูตรในด้านแผนการศึกษาที่ยืดหยุ่น (แผนก แบบ ก1) ขยายโอกาสแก่ผู้ที่มีงานประจำให้สามารถพัฒนาคุณวุฒิของตนได้จากการเรียนควบคู่กับการทำงาน  โดยผู้เรียนที่มีประสบการณ์ในการทำงานอยู่แล้ว ไม่ต้องลาศึกษาต่อแบบเต็มเวลา  แต่จะต้องทำงานวิจัยที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่  และเป็นประโยชน์ในงานประจำ   จึงทำให้มีผู้สนใจเข้าศึกษาจากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ   ทั้งนี้คณะสหเวชศาสตร์ ยังได้พัฒนาหลักสูตรดังกล่าวให้แยกแขนงได้อีกหลากหลายสาขา  อาทิ สาขารังสีเทคนิค เน้นด้านรังสีวินิจฉัย และรังสีชีววิทยา ตลอดจนสาขากายภาพบำบัด เน้นด้านสรีรวิทยาออกกำลังกายของกล้ามเนื้อและกระดูก นอกเหนือจากสาขาเทคนิคการแพทย์ที่เปิดรับตั้งแต่ต้น   โดยจะเริ่มรับนิสิตทั้ง 3 สาขาในปีการศึกษา  2553  ที่จะถึงนี้

 --------------------------------------------------------------------------------------

บันทึกเพิ่มเติม วันที่ 14  เมษายน 2554

          ดิฉันลาออกจากคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  จังหวัดพิษณุโลก ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553  และย้ายไปเป็นคณบดี คณะสหเวชศาสตร์  มหาวิทยาลัยพะเยา ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2553   จึงอยากจะบันทึกเรื่องนี้เพิ่มเติมไว้ว่า

          เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2553 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ.2553 ขึ้น และประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2553 ดังนั้น มหาวิทยาลัยพะเยา จึงแยกออกจากมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ที่ไม่เป็นส่วนราชการอย่างเต็มรูปแบบแล้ว     สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรพะเยา จึงปรับสถานภาพเป็นคณะสหเวชศาสตร์ ภายใต้มหาวิทยาลัยพะเยาโดยปริยาย

ผู้สนใจ  ติดตามได้ที่ http://www.up.ac.th/

คณะเวชศาสตร์ เรียนอะไรบ้าง

คณะสหเวชศาสตร์ประกอบด้วย 6 ภาควิชา ได้แก่.
กายภาพบำบัด (Physical Therapy).
เคมีคลินิก (Clinical Chemistry).
จุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก (Clinical Microscopy).
เวชศาสตร์การธนาคารเลือดและจุลชีววิทยาคลินิก (Transfusion Medicine and Clinical Microbiology).
โภชนาการและการกำหนดอาหาร (Nutrition and Dietetics).

สหเวชศาสตร์ คือ เรียนอะไร

คณะสหเวชศาสตร์ (Faculty of Allied Health Sciences) คือ คณะวิชาในสถาบันอุดมศึกษา ที่เปิดสอนวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (Allied) กับวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Sciences) ผู้ที่เรียนจบสาขาวิชาเหล่านี้ ไม่ใช่แพทย์ พยาบาล เภสัชกร หรือทันตแพทย์ แต่เป็นบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการแพทย์ ซึ่งมีหลายสาขา เท่าที่มีใน ...

คณะสหเวชศาสตร์ มีอะไรบ้าง

รายชื่อคณะสหเวชศาสตร์ในประเทศไทย.
MT = สาขาเทคนิคการแพทย์.
PT = สาขากายภาพบำบัด.
RT = สาขารังสีเทคนิค.
ND = สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร / สาขาเทคโนโลยีการอาหารและโภชนาการ.
SS = สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา.
CTT = สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก.
OP = สาขาทัศนมาตรศาสตร์.
HP = สาขาการส่งเสริมสุขภาพ.

คณะสหเวชศาสตร์ เรียนที่ไหน

สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โครงการจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ หาดใหญ่ / คณะแพทยศาสตร์ หาดใหญ่ สาขากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์