ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อใด

Tax point

การขายสินค้า

กิจกรรม VAT

ความรับผิดในการเสีย VAT

ขายเสร็จเด็ดขาด, สัญญาจะขาย

เมื่อมีการส่งมอบสินค้า เว้นแต่ ได้โอนกรรม สิทธิ์ /รับชำระราคา / ออกใบกำกับภาษีก่อนการส่งมอบ

เช่าซื้อ/ขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อ

ตามงวดที่ถึงกำหนดชำระ เว้นแต่ได้รับชำระราคา /ออกใบกำกับภาษีก่อนถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด

การฝากขายที่เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งประกาศอธิบดี (ฉบับที่ 8)

เมื่อตัวแทนส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า เว้นแต่

- ตัวแทนโอนกรรมสิทธิ์ / รับชาระราคา / ออกใบกำกับภาษีก่อนส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า

- ตัวแทนนำสินค้าไปใช้

การส่งออก

เมื่อมีการผ่านพิธีการทางศุลกากร

การขายกระแสไฟฟ้า น้ำประปา สินค้าที่ไม่มีรูปร่าง

เมื่อรับชำระราคา เว้นแต่มีการออกใบกำกับภาษีก่อน  รับชำระราคา

การขายสินค้าด้วยเครื่องอัตโนมัติ

เมื่อนำเงินออกจากเครื่องอัตโนมัติ

กรณีจำหน่าย จ่าย โอนสินค้าโดยไม่ค่าตอบแทน

เมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่มีการโอนกรรมสิทธิ์ก่อนส่งมอบสินค้า

กรณีนำสินค้าไปใช้ในกิจการอื่น

เมื่อนำไปใช้

กรณีมีสินค้า/ทรัพย์สินในวันเลิกกิจการหรือขอถอนหรือถูกเพิกถอนทะเบียน

เมื่อเลิกกิจการหรือเมื่อขอถอนหรือถูกเพิกถอนทะเบียน แล้วแต่กรณี

กรณีสินค้าขาดจากรายงาน

เมื่อตรวจพบ

กรณีรับโอนกรรมสิทธิ์สินค้าที่เคยเสีย VAT อัตรา 0 %

เมื่อโอนกรรมสิทธิ์สินค้า

⚠️ TAX POINT ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จุดสำคัญที่ผู้ประกอบการไม่ควรละเลย เพื่อเลี่ยงการโดนปรับ

👉 จุดที่ผู้ประกอบการถูกกำหนดโดยกฎหมาย ว่ามีภาระภาษีเกิดขึ้น และก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่เราเรียกกันว่า “TAX POINT“

สิทธิ ➡️ เรียกเก็บ VAT จากผู้ซื้อหรือผู้บริการ

หน้าที่ ➡️ 1) จัดทำ/ส่งมอบใบกำกับภาษีให้แก่ ผู้ซื้อ/ผู้รับบริการ

                 2) นำยอดขาย ภาษีขาย ไปลงรายงานภาษีขาย

ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อใด

รู้ไว้กันพลาด ‼️ ถ้าไม่ออกใบกำกับภาษี จะมีความผิดทั้งทางแพ่งและอาญา

🔴 ความผิดทางแพ่ง โดนเบี้ยปรับ 2 เท่าของภาษีที่ต้องออกใบกำกับตามมาตรา 89(5)

🔴 ความผิดทางอาญา จำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 5,000 บาท มาตรา 90/2(3)

▪️ กรณีขายสินค้าหลัก ส่งมอบ มีข้อยกเว้น

1. การโอนกรรมสิทธิ์สินค้าเกิดขึ้นก่อน

2. การรับชำระราคาสินค้าเกิดขึ้นก่อน

3. การออกใบกำกับภาษีโดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้นๆ เกิดขึ้นก่อน

▪️ กรณีบริการหลัก ได้รับชำระค่าบริการ มีข้อยกเว้น โดยการออกใบกำกับภาษีเกิดขึ้นก่อน

▪️ กรณีส่งออกหลัก ได้รับชำระอากรขาออก

.

📊สนใจผู้ช่วยวางแผนโครงสร้างธุรกิจ ช่วยออกใบกำกับภาษี ติดต่อ AccRevo ได้เลยค่า

☑️ ☑️สนใจทดลองใช้ระบบ AccRevo ☑️ ☑️

สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ทดลองใช้งานฟรี 30 วัน

คลิกที่ลิ้งค์เลยค่า >> https://bit.ly/2H8HqFE

➡️ติดตามข่าวสาร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ID Line : @accrevo

Facebook : Accrevo : Platform บัญชีดิจิทัล

Instagram : accrevo_ai

Youtube channel : Accrevo : Platform บัญชีดิจิทัล

โทร : 086-531-6211

Website : www.accrevo.com

Ø  กรณีขายสินค้า เกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ  เว้นแต่  กรณีที่ผู้ขายได้โอนกรรมสิทธิ์สินค้า  หรือได้รับชำระราคาสินค้า  หรือได้ออกใบกำกับภาษี ก่อนมีการส่งมอบสินค้า

Ø  กรณีขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อ/ซื้อขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซื้อเมื่อได้ส่งมอบเกิดขึ้นเมื่อถึงกำหนดชำระราคาตามงวดที่ถึงกำหนด  เว้นแต่  กรณีที่ผู้ขายได้รับชำระราคาสินค้า หรือได้ออกใบกำกับภาษีก่อนที่จะถึงกำหนดชำระ

Ø  กรณีขายสินค้าโดยมีการตั้งตัวแทนเพื่อขายและได้ส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนแล้ว เกิดขึ้นเมื่อตัวแทนได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ    เว้นแต่ ตัวแทนได้โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้แก่ผู้ซื้อก่อนก่อนได้รับชำระราคาสินค้าหรือได้ออกใบกำกับภาษี  หรือได้มีการนำสินค้าไปใช้

Ø  กรณีการขายสินค้าโดยการส่งออก เกิดขึ้นพร้อมกันกับการชำระอากรขาออก หรือวันที่ได้มีการวางค้ำประกันอากรขาออก   เว้นแต่  กรณีไม่ต้องชำระอากรขาออก  จะเกิดขึ้นในวันที่มีการออกใบขนสินค้าขาออกตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร

Ø  กรณีการให้บริการ เกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ  เว้นแต่ ผู้ให้บริการได้ออกใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้า  หรือได้ใช้บริการนั้นเอง  ก่อนชำระราคา 

Ø  กรณีนำเข้าสินค้า เกิดขึ้นพร้อมกันกับการชำระอากรขาเข้าหรือเมื่อมีการวางค้ำประกันอากรขาเข้า  เว้นแต่  กรณีไม่ต้องชำระอากรขาเข้า  จะเกิดในวันที่มีการออกใบขนสินค้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร