เงินสงเคราะห์บุตรเข้าวันไหน ประกันสังคม

พ่อแม่ได้เฮ "เงินสงเคราะห์บุตร" รัฐจ่ายเพิ่ม "ผู้ประกันตน" ผ่าน ประกันสังคม เป็นเดือนละ 800 บาท เช็คเงื่อนไข-ขั้นตอนรับเงิน แบบละเอียด

ผู้ใช้สิทธิประกันสังคม หลายคนน่าจะพอทราบดีอยู่แล้ว สำหรับสิทธิที่ผู้ประกันตนควรได้ กรณีคลอดบุตร สามารถใช้สิทธิในการรับเงินสงเคราะห์บุตร จากสำนักงานประกันสังคม ต่อบุตร 1 คน ตั้งแต่แรกเกิดไปจบครบ 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนไม่เกิน 3 คน ซึ่งเดิมได้รับเดือนละ 600 บาท ล่าสุด เพิ่มเป็น 800 บาท ตามประกาศกฎกระทรวงแรงงาน เรื่องการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 มาแล้ว

 

น.ส.ทิพานัน  ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การเพิ่มจำนวนเงินดังกล่าว เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรของผู้ประกันตน และภาคแรงงาน ให้สามารถเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเป็นกำลังสำคัญในการร่วมกันพัฒนาประเทศชาติต่อไป

 

 

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับสิทธิ

 

1. เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือ มาตรา 39

  • ผู้ประกันตนมาตรา 33 คือ ผู้ที่ทำงานมีรายได้ประจำ โดยลูกจ้างและนายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้าประกันสังคมคนละ 5% ของฐานเงินเดือนเฉลี่ย
  • ผู้ประกนตนมาตรา 39 คือ เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน เงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาทเท่ากันทุกคน โดยคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน)
  • และมาตรา 40 (ทางเลือกที่ 3)

2. จ่ายเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน

3. จ่ายประกันสังคมมามากกว่า 12 เดือนแล้ว ภายในเวลา 36 เดือน

4. ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรม หรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น

5. อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน

 

 

การหมดสิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตร

 

  • เมื่อบุตรอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
  • บุตรเสียชีวิต
  • ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง    

 

หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีเงินสงเคราะห์บุตร

 

1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)

2. กรณีผู้ประกันตนเคยยื่นใช้สิทธิแล้ว และประสงค์จะใช้สิทธิสำหรับบุตรคนเดิม ให้ใช้หนังสือขอใช้สิทธิบุตรคนเดิม กรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน จำนวน 1 ฉบับ

3. กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ

  • สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) จำนวน 1 ชุด

4. กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ

  • สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตนหรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 1 ชุด
  • สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วยจำนวน 1 ชุด)

4. กรณีเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล ให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย จำนวน 1 ชุด

5. กรณีผู้ประกันตนต่างชาติขอรับประโยชน์ทดแทนให้ใช้สำเนาบัตรประกันสังคมและสำเนาหนังสือเดินทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ จำนวน 1ชุด

6. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ จำนวน 1 ฉบับ ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน 11 ธนาคาร ดังนี้

  1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
  2. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)
  3. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)
  4. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  5. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)
  6. ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)
  7. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
  8. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
  9. ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด(มหาชน)
  10. ธนาคารออมสิน
  11. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรห์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

 

ทั้งนี้ เอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ ที่เป็นสำเนา ให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ กรณีเอกสารหลักฐานสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศ ให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทย และรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน

คุณพ่อคุณแม่ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาทจากประกันสังคมกันแล้วหรือยังเอ่ย ตอนนี้เงินสงเคราะห์บุตร ประกันสังคมให้เพิ่มเป็น 800 บาท บางคนอาจจะกำลังยื่นเรื่อง บางคนงงมากเพราะตัวเองไม่ตรงตามเงื่อนไขหลักเลยยังไม่ยื่น มาค่ะ มาเคลียร์ทุกความสงสัย ทุกปัญหาเรื่องการยื่นเรื่องขอรับประโยชน์ทดแทนเงินสงเคราะห์บุตรที่พ่อแม่อยากรู้และถามมากที่สุด เริ่ม!!!

  1. ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วกี่เดือน จึงจะใช้สิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรได้

คำตอบ: ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิต่อเมื่อได้มีการนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่ได้รับสิทธิ


  1. สิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรจ่ายให้บุตรที่มีอายุกี่ปี

คำตอบ: ผู้ประกันตนสามารถขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์


  1. กรณีเป็นผู้ประกันตนทั้งสามีและภรรยา สามารถใช้สิทธิสงเคราะห์บุตรทั้ง 2 ฝ่าย ได้หรือไม่

คำตอบ: สามารถใช้สิทธิฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น 


  1. บุตรบุญธรรมสามารถนำมายื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตรได้หรือไม่

คำตอบ: บุตรบุญธรรมไม่สามารถนำมาเบิกสงเคราะห์บุตรได้


  1. ผู้ประกันตนมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตรได้กี่ครั้ง

คำตอบ: ใช้สิทธิเบิกได้คราวละไม่เกิน 3 คน 


  1. ถ้าผู้ประกันตนมีบุตรอายุ 3 ปี แต่ไม่ได้ยื่นเรื่องขอรับเงินสงเคราะห์บุตร สามารถยื่นขอรับเงินย้อนหลังได้หรือไม่  สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายย้อนหลังให้หรือไม่ / อย่างไร

คำตอบ: การเบิกสิทธิกรณีสงเคราะห์บุตรทางสำนักงานประกันสังคมจะต้องทำการตรวจสอบ การนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน  หากมีการนำส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนบุตรคลอด จึงจะมีการย้อนหลังให้ไม่เกิน 1 ปี  ตามที่กฎหมายกำหนด ยกเว้น กรณีผู้ประกันตนมิได้นำส่งเงินสมทบตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ทางสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินให้ผู้ประกันตน  ณ วันที่สิทธิเกิดขึ้นเท่านั้น


  1. พ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ยังสามารถเบิกเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคมได้ไหม

คำตอบ: สำหรับคุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตนอยู่แล้ว และเป็นผู้ยื่นเรื่อง สามารถยื่นขอเงินสงเคราะห์บุตรได้ด้วยการใช้หนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรสแทนทะเบียนสมรส สำหรับคุณพ่อเป็นผู้ประกันตนอยู่แล้ว และเป็นผู้ยื่นเรื่อง จะต้องมีหนังสือรับรองบุตรก่อน ขอขอรับสิทธิ์สงเคราะห์บุตร ต้องไปที่เขต/อำเภอที่เราอาศัยครับ แล้วร้องขอรับรองบุตรก่อน โดยยื่นคำร้อง ณ สำนักทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต และใช้เอกสารดังนี้ บัตรประจำตัวประชาชน ของบิดา มารดา สูติบัตรของบุตร / พยานบุคคลจำนวน 2 คน


  1. พ่อหรือแม่เป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 สามารถใช้สิทธิเบิกเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคมได้ไหม

คำตอบ: ได้ แต่ต้องเป็นในเงื่อนไข คือ เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ใน 36 เดือน โดยจ่ายเงินสมทบ 9% จากฐานเงินเดือนเฉลี่ยที่ 4,800 บาท (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน)


  1. เงินสงเคราะห์บุตรเข้าทุกวันที่เท่าไหร่

คำตอบ: โดยปกติแล้วจะได้รับทุกสิ้นเดือน แต่หากมีตรงกับวันหยุดอาจจะมีการเลื่อนออกไปบ้างเล็กน้อย หากเงินสงเคราะห์บุตรไม่เข้าบัญชี สามารถติดต่อประกันสังคมสาขาที่เคยยื่นเรื่องไว้ หรือโทรสอบถามกับสายด่วนประกันสังคม 1506 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลให้อีกครั้ง


  1. ไม่ได้ยื่นเรื่องขอเงินสงเคราะห์บุตร ยื่นเรื่องและขอเบิกย้อนหลังได้ไหม

คำตอบ: ได้ แต่ทางสำนักงานประกันสังคมจะต้องทำการตรวจสอบ การนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน หากมีการนำส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนบุตรคลอดจึงจะมีการย้อนหลังให้ไม่เกิน 1 ปีตามที่กฎหมายกำหนด ยกเว้น กรณีผู้ประกันตนมิได้นำส่งเงินสมทบตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ทางสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินให้ผู้ประกันตน  ณ วันที่สิทธิเกิดขึ้นเท่านั้น


ขอบขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม และหากคุณพ่อคุณแม่อยากรู้ข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม สามารถเข้าไปสอบถามได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือ  SSO สายด่วน 1506 

เงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคมเข้าวันไหนปี65

โดย ธนาคาร จะทำการโอนเงินเข้าบัญชีของผู้มีสิทธิ ในวันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 ซึ่งผู้ปกครองสามารถตรวจสอบได้จากบัญชีธนาคารที่ใช้รับ "เงินอุดหนุนบุตร" หลักเกณฑ์ของการได้รับ "เงินอุดหนุนบุตร" 600 บาท

เงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคมเดือนกรกฎาคม 2565 เข้าวันไหน

เดือน กรกฎาคม 2565 จ่ายเงิน สงเคราะห์บุตร วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2565 (30 – 31 ตรงกับวันเสาร์ – อาทิตย์) เดือน สิงหาคม 2565 จ่ายเงิน สงเคราะห์บุตร วันพุธที่ 31 สิงหาคม 2565. เดือน กันยายน 2565 จ่ายเงิน สงเคราะห์บุตร วันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2565.

เงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคมเดือนตุลาคม 2565 เข้าวันไหน

ทั้งนี้ กำหนดการจ่าย เงินอุดหนุน เพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีดังนี้ 1. เดือนตุลาคม 2565 วันที่จ่ายเงินอุดหนุน วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม 2565. 2. เดือนพฤศจิกายน 2565 วันที่จ่ายเงินอุดหนุน วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565. 3. เดือนธันวาคม 2565 วันที่จ่ายเงินอุดหนุน วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565.

เงินสงเคราะห์บุตรเดือนกันยายน 2565 เข้าวันไหน

โดยงวดเดือนกันยายน 2565 นี้ กรมบัญชีกลาง ได้กำหนดการโอนเงินอุดหนุนบุตรในวันศุกร์ ที่ 9 กันยายน 2565 จำนวนผู้มีสิทธิส่งเบิกทั้งหมด 2,339,124 ราย จำนวน 1,471,456,200 บาท