เรียนราชภัฏ ทำงาน อะไรได้บ้าง

คณะวิทยาการจัดการ ก่อกำเนิดจากการแบ่งส่วนราชการของวิทยาลัยครูสวนสุนันทา ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการแบ่งส่วนราชการในวิทยาลัยครู ฉบับลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2527 ซึ่งขณะนั้น มีฐานะเป็นวิทยาลัยครูสวนสุนันทาและใช้ชื่อ “คณะวิชาวิทยาการจัดการ” โดยวิทยาลัยมอบหมายให้ อาจารย์เปรมจิตต์ สระวาสี เป็นหัวหน้าคณะทำงานในการก่อตั้งคณะวิชาวิทยาการจัดการ ระยะแรกของโครงการก่อตั้งคณะนั้นได้ทดลองเปิดสอนในหลักสูตร โปรแกรมวิชาธุรกิจศึกษา ต่อมาในปีพ.ศ. 2530 จึงดำเนินการพัฒนาหลักสูตรอนุปริญญาศิลปศาสตร์ สาขาการจัดการทั่วไป และในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2530 ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้คณะวิชาวิทยาการจัดการเป็นส่วนราชการหนึ่งของ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา มีหน้าที่ในการบริหารจัดการและจัดการเรียนการสอนใจระดับอนุปริญญาและปริญญา 2 ปี(ต่อเนื่อง) ในปี พ.ศ. 2538 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 นับแต่นั้นเป็นต้นมา คณะวิชาวิทยาการจัดการก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “คณะวิทยาการจัดการ” เป็นส่วนราชการหนึ่งในสถาบันราชภัฏสวนสุนันทาตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 เปลี่ยนเป็น คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีภารกิจหลักในการให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพแขนงวิชาต่าง ๆ การทำวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่สังคมการปรับปรุงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จัดการเรียนการสอนใน 2 กลุ่มสาขาวิชา คือ กลุ่มสาขาวิชาบริหารธุรกิจ และกลุ่มสาขาวิชานิเทศศาสตร์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2563 สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้ออกประกาศฯ ให้โอนย้ายบุคลากร และนักศึกษากลุ่มสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ตั้งขึ้นเป็น "วิทยาลัยนิเทศศาสตร์"

ปัจจุบันคณะวิทยาการจัดการ จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีด้านบริหารธุรกิจใน 3 หลักสูตร และ 6 แขนงวิชา

  1. หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
  2. หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
  3. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
    • แขนงวิชาการเงินการธนาคาร
    • แขนงวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
    • แขนงวิชาการตลาด
    • แขนงวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ
    • แขนงวิชาการจัดการธุรกิจบริการ
    • แขนงวิชาการประกอบการธุรกิจ

รายนามผู้บริหารคณะวิทยาการจัดการ หัวหน้าคณะวิชาและคณบดี ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งถึงปัจจุบัน 9 ท่าน คือ

  1. อาจารย์เปรมจิตต์ สระวาสี (หัวหน้าคณะวิชา) พ.ศ. 2530-2533
  2. อาจารย์รัชพิณ รัชตะนาวิน (หัวหน้าคณะวิชา) พ.ศ. 2533-2536
  3. รศ.อุไร ถาวรายุศม์ (หัวหน้าคณะวิชา) พ.ศ. 2536-2538 (คณบดีโดยตําแหน่ง) พ.ศ. 2538-2539
  4. ผศ.สมศักดิ์ ขาวลาภ (คณบดี) พ.ศ. 2539-2542
  5. ผศ.วิภาพรรณ กนิษฐนาคะ (คณบดี) พ.ศ. 2542-2546
  6. ผศ.ชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤต (คณบดี) พ.ศ. 2546-2552
  7. อาจารย์ ดร.สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์ (คณบดี) พ.ศ. 2552-2555
  8. ผศ.ดร.ประทีป วจีทองรัตนา (คณบดี) พ.ศ. 2556 - 2563
  9. ผศ ดร. สมศักดิ์ คล้ายสังข์ (คณบดี) พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน
เรียนราชภัฏ ทำงาน อะไรได้บ้าง

ปรัชญา (Philosophy)

“แม่แบบที่ดีของสังคม”


วิสัยทัศน์ (Vision)

"คณะวิทยาการจัดการ : แม่แบบที่ดีของสังคม ด้านการบริหารจัดการ”


พันธกิจ (Mission)

  1. ผลิตบัณฑิตด้านบริหารธุรกิจ ที่มีคุณภาพตามความต้องการขององค์กรชั้นนำและสังคมให้มีความรู้ คู่คุณธรรม และรู้จักปรับตัวบนพื้นฐานแห่งโลกวิถีใหม่ ก้าวไปสู่ความเป็นนานาชาติ
  2. พัฒนาคณาจารย์สู่ความเป็นเอตทัคคะ เพื่อทำหน้าที่วิจัย สร้างนวัตกรรม และองค์ความรู้ทางบริหารธุรกิจสู่การพัฒนาสังคมไทยสู่สากล
  3. บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านบริหารธุรกิจ แก่ชุมชนและสังคม ผ่านระบบการเรียนการสอนออนไลน์ที่สมบูรณ์แบบ เพื่อยกมาตราฐานความเป็นอยู่ของชุมชนและสังคม
  4. ส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและธำรงไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

อัตลักษณ์ ของบัณฑิตคณะวิทยาการจัดการ

“เป็นนักปฏิบัติ ถนัดวิชาการ เชี่ยวชาญการสื่อสาร ชำนาญการคิด มีจิตสาธารณะ”


เอกลักษณ์ ของคณะวิทยาการจัดการ

“เน้นความเป็นวัง ปลูกฝังองค์ความรู้ ยึดมั่นคุณธรรมให้เชิดชู เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่สากล”


หลักสูตรการเรียนการสอน

ปัจจุบันคณะวิทยาการจัดการ จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีด้านบริหารธุรกิจใน 3 หลักสูตร และ 6 แขนงวิชา

  1. หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
  2. หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
  3. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
    • แขนงวิชาการเงินการธนาคาร
    • แขนงวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
    • แขนงวิชาการตลาด
    • แขนงวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ
    • แขนงวิชาการจัดการธุรกิจบริการ
    • แขนงวิชาการประกอบการธุรกิจ

จุดเด่น ของหลักสูตรบัญชีบัณฑิต บริหารธุรกิจบัณฑิต และเศรษฐศาสตรบัณฑิต จัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับอาเซียน โดยอาจารย์ประจํา และวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา ทั้งด้านการบัญชี บริหารธุรกิจ และเศรษฐศาสตร์ จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการมุ่งเน้น การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง มีกิจกรรมประกอบหลักสูตรที่หลากหลายมีการฝึก ประสบการณ์ในสถานประกอบการชั้นนํา และมีความพร้อมในการประกอบวิชาชีพในหน่วยงานได้ทันทีและตรงกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตและตลาดแรงงาน เมื่อสําเร็จการศึกษา

หลังมีผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้ทวีตข้อความถึงนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในเชิงดูแคลน ได้กลายเป็นดราม่าร้อนแรงบนโลกโชเชี่ยล ระหว่างนักศึกษาราชภัฏกับนิสิตมหาวิทยาลัยดังแถวสามย่าน ปมโดนเหยียดสลับที่เรียน

ก่อนหน้านี้ คอลัมน์ เปลว สีเงิน : เขาคือ 'เด็กราชภัฏ' หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 27 ก.ค. 2565 ได้เขียนถึงเรื่องนี้ไว้อย่างไร edunewssiam ขออนุญาตนำมาถ่ายทอดให้อ่านกัน....


         เย็นวาน.....


         ผมอ่านเรื่อง "เรียนจบราชภัฏ.แล้วทำไมหรือ?" ของคุณ "Tossapol Chaisamritpol" รวดเดียว ๓-๔ รอบ ประทับใจ...จนขนลุก!


         เขาถ่ายทอดความรู้สึก "เด็กราชภัฏ" และแสดงทัศนะด้วยวรรณะภาษาสกุลสูง


         เรียบง่าย แต่คมกริบ บาดลึก


         กรีดถึง ระดับชั้น "จิตใต้สำนึก" มนุษย์ ซึ่งหาผู้ใช้ภาษาไทยระดับนี้ได้ยากยิ่ง ในหมู่ชนผู้ "พองขน" ในนามสถาบัน ที่ว่า "ชั้นสูง"


          ทำให้ผมปลื้มสุดๆ กับ "สถาบันราชภัฏ"


         ว่า "สอนคนให้เป็นบัณฑิต" ได้สมจริง หลอมนักศึกษาออกไปเป็นทรัพยากรบุคคลของสังคมชาติสมบูรณ์พร้อมได้น่าสรรเสริญ


         โดยเพราะ "ความตกผลึก" ในโลกและชีวิต ที่ผมไม่เคยได้ยินผู้จบการศึกษาจากสถาบันไหน "ถ่ายทอดออกมา" ได้อย่างที่ผู้จบจาก "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต" ผู้นี้ถ่ายทอด
         ปัจจุบัน "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต" เปลี่ยนชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยสวนดุสิต" แล้ว


          ท่านอ่านดูก่อน แล้วค่อยคุยกันทีหลัง


          ........................................


          Tossapol Chaisamritpol


          "เรียนจบราชภัฏ.แล้วทำไมหรือ?"


          อ่านประเด็นที่กลายเป็นข้อถกเถียงในโซเชียลมีเดียมา 2 วันแล้ว เรื่องการ "มองต่ำ" นักศึกษาราชภัฏ


          ถ้าเป็นสมัยก่อน มันคงทริกเกอร์ความรู้สึกบางอย่างในใจผมนะ


          แต่เวลานี้ สิ่งที่ผมรู้สึกคือ "เวทนา" สังคม และปัจเจกบางกลุ่ม ที่ยังยึดติดกับอันดับชั้นและสถาบันอย่างหน้ามืดตามัว


          แบบที่คนชอบเรียก "สลิ่ม" ได้ไหม กรณีนี้ สลิ่มสถาบันศึกษา?


          คุณค่าเหนือสถาบัน.จะมีจริงได้ไหมในไทย?


          -เรื่องราวของผม-


          ผม "เลือก" เรียนราชภัฏสวนดุสิตครับ (ปัจจุบันเหลือแค่สวนดุสิต) ด้วยเหตุผลว่า สอบติด มศว


          แต่กำลังทรัพย์ทางบ้านไม่อำนวย ทั้งค่าหอ และอื่นๆ แม้จะเรียน รชภ.ดุสิต ผมก็ติดหนี้ กยศ.นะ


          พูดถึงหลักสูตร โอเค มันอาจไม่สูงส่ง เน้นวิชาการเหมือนมหาวิทยาลัยต้น ๆ ของไทย


          แต่ไม่ใช่ "เรียนเหมือนไม่มาเรียน" ทุกหลักสูตร มันมีคุณค่าของมันครับ


          ผมก็รู้ว่า องค์ความรู้ที่ได้มันขาดๆ แต่ ความรู้มันไม่ได้อยู่แค่ในห้องเรียนนะครับ ผมจึงเรียกตัวเองเหมือน "บัณฑิตของโลกและประสบการณ์" เพราะอาจารย์ของผมไม่ใช่แค่คนจุฬาฯ หรือธรรมศาสตร์ หรือราชภัฏ


          แต่คือ "มนุษย์ทุกคน" ที่ผมได้พบเจอ "หนังสือแต่ละเล่ม" ที่ผมลุ่มหลง และ "ประสบการณ์" ตรึงใจ ที่ผมได้สัมผัส


          คอร์สนอกแคมปัสของผมคือ:


          1.สอนพิเศษ Kumon ได้แบบเรียนอังกฤษมาเยอะเลย


          2.ร้านอาหารที่ตรอกข้าวสาร ได้เอาวิชาไปใช้จริง


          3.พนักงานโรงแรม ได้เรียนการบริการ โดยไม่ต้องเข้าหลักสูตรการโรงแรม


          4.พนักงาน KFC เป็นรายได้หลักช่วงเรียน
          

ทำให้ตอนเรียนผมหาเงินได้แล้วเดือนละ 13,000  บาท (เกือบค่าแรงขั้นต่ำเลยนะ)


          ตอนจบออกมา ผมมีเงินเก็บกว่า 200,000 บาท เพื่อตั้งต้นชีวิตการทำงาน


          ก่อนหน้านั้น ผมลงทุนเกือบแสนไปหา "ประสบการณ์" Work and Travel ที่ลาสเวกัสมาก่อนด้วย 3 เดือนกว่า จนสั่งสมความมั่นใจและประสบการณ์พอควร


          -ความเห็นต่อเรื่องนี้-

เห็นคนพูดกันถึง "โอกาส" "ความเท่าเทียม" "คนไม่เท่ากัน" ต่าง ๆ


          ใช่ครับ Objectively ถ้าสังคมไทยและเชิงนโยบายมันมีได้ จะเป็นเรื่องดี


          แต่ในชีวิตจริง "คนเราไม่เท่ากันหรอกครับ"


          แต่ถ้าเราจะเป็นสังคมที่คนเท่ากัน มันเริ่มจากพวกเราที่ "มอง" คนที่แตกต่าง ไม่ว่าจะการศึกษา จุดยืนการเมือง  และเพศวิถี "ให้เท่ากัน" มานอนรอเปลี่ยนนายกฯ หรือ รมว.การศึกษา มันก็แปลว่า พวกคุณดีแต่พูด และนอนรอความเปลี่ยนแปลงมาถึงตัว


          ทั้งที่ในห้วงสามัญสำนึก "คุณก็ยังเหยียดคนอื่น" อยู่ดี


          ส่วนเด็กราชภัฏ.......


          ถ้าเราเอาคำพูดทับถมจากคนแปลกหน้ามาตีตราตัวเองว่า "เรามันมาตรฐานต่ำ" คุณจะยอมหรือ?


          สำหรับผม คุณค่าสถาบัน มันไม่เท่า "มูลค่าความเป็นคนหรอก" อยู่ที่ว่าเรามอบสิ่งดีๆ ให้สังคมและคนที่รักได้แค่ไหน เราภูมิใจกับความเป็นตัวเอง ณ ปัจจุบันแค่ไหน.


          เชิดชูทุกความสำเร็จ ปลาบปลื้มทุกก้าวย่าง


          แต่ไม่ต้อง "เปรียบเทียบ" กับใครหรอก


          มหาวิทยาลัย ป.โท ในสหราชอาณาจักรของผม สอนผมว่า


          "จงซื่อสัตย์ อ่อนน้อมถ่อมตน เคารพต่อผู้อื่น และยึดมั่นในความจริง.ที่สำคัญ ปฏิบัติกับผู้อื่นด้วยความจริงใจ  เข้าใจ และเคารพในตัวเขา เหมือนที่เราอยากให้คนอื่นปฏิบัติกับเรายังไง"


          และ "จงประสบความสำเร็จและมีความสุข แต่จงมีความสุขมากกว่าความสำเร็จ เพราะสองสิ่งนี้แตกต่างกัน"


          ถ้ามองจุดนี้ ก็อาจพิจารณาได้ว่า จุฬาฯ ล้มเหลวนะ


          ที่ถ่ายทอด "คุณค่าทางความคิด" และ "การมองเพื่อนมนุษย์" ไปให้นักศึกษาของตนไม่ได้..ในกลุ่มปัจเจกนั้นๆ  แบบไม่เหมารวม


          และเอาจริงๆ คุณจะรู้สึกอย่างไร ถ้าไปถามคนโลกที่ 1 ว่า "รู้ไหม ฉันจบ...นะ" คำตอบของเขามันก็จะทำร้ายกลับมาแรงมากเหมือนกัน


         จากคนที่วิ่งมาตลอดชีวิต


          จากคนจบราชภัฏ ด้วยการเลือกของตัวเอง


          จากคนที่ชื่อสถาบัน มันไม่ใช่ตัวกำหนดชีวิต


         และปัจจุบัน ได้รับเชิญไปสอน นศ.จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ และอีกหลายที่ ตามแต่โอกาสสมควร


          -------------------


          อ่านแล้ว สัมผัสถึงคุณค่า "ความเป็นบัณฑิต" แท้จริงจาก "เด็กราชภัฏ" คนหนึ่งได้ใช่ไหมครับ?


          ผมเน้น "บางคำ-บางวลี" ด้วยอักษรตัวเอนให้สังเกต  ท่านก็ลองพินิจดู


          สำหรับผม เฉพาะแค่คำว่า........


          -"ความรู้มันไม่ได้อยู่แค่ในห้องเรียน"


          -อาจารย์ของผมไม่ใช่แค่คนจุฬาฯ หรือธรรมศาสตร์  หรือราชภัฏ


          แต่คือ "มนุษย์ทุกคน" ที่ผมได้พบเจอ "หนังสือแต่ละเล่ม" ที่ผมลุ่มหลง และ "ประสบการณ์" ตรึงใจที่ผมได้สัมผัส
          -ผมลงทุนเกือบแสนไปหา "ประสบการณ์"


          -เห็นคนพูดกันถึง "โอกาส" "ความเท่าเทียม" "คนไม่เท่ากัน" แต่ในชีวิตจริง "คนเราไม่เท่ากันหรอกครับ"


          -สังคมที่ "คนเท่ากัน" มันเริ่มจากพวกเราที่ "มอง" คนที่แตกต่าง ไม่ว่าจะการศึกษา จุดยืนการเมือง และเพศวิถี "ให้เท่ากัน"


          -คุณค่าสถาบัน มันไม่เท่า "มูลค่าความเป็นคนหรอก"


          ผมอ่านข้อความเหล่านั้น ก็บรรลุแล้ว


          เพราะเหล่านั้นคือ "คำตอบชีวิต" ของมนุษย์ทั้งมวล


          "ความรู้มันไม่ได้อยู่แค่ในห้องเรียน"


          คุณค่าสถาบัน มันไม่เท่า "มูลค่าความเป็นคนหรอก"


          แล้วเราทุกคนจะหาความรู้และสร้าง "มูลค่าความเป็นคน" ได้จากที่ไหน อย่างไร?


          อดีตเด็กราชภัฏ "Tossapol Chaisamritpol" มีคำตอบให้ว่า จาก....


          -"มนุษย์ทุกคน" ที่ได้พบเจอ


          -"หนังสือแต่ละเล่ม" ที่ได้อ่าน และ


          -"ประสบการณ์" ที่ได้สัมผัส


          เท่าที่ผมอ่านทั้งหมด ที่คุณ Tossapol เน้นเป็นหัวใจของความสำเร็จ คือ "ประสบการณ์"!


          ตรงนี้ ขอ "คารวะ" ด้วยยอมรับและนับถือ และขอเชิดชู-ยกย่อง ให้ทุกคนทั่ง "คนมีสถาบันศึกษา" และ "ไม่เคยผ่านสถาบันศึกษา" จงได้เข้าใจว่า


          เหนือทฤษฎี, เหนือตำรา, เหนือวิชา, เหนือหลักการใดๆ คือ "ประสบการณ์"


          ทฤษฎี ตำรา หลักการ คือ กรงขังมนุษย์ให้ยึดติดอยู่ในกรอบคิด อะไรที่ผิดไปจากกรอบคิด จะทึกทักว่าผิด ว่าไม่ใช่ และจะปฏิเสธทันที


          และการยึดติดทฤษฎี ตำรา หลักการ นั้น ทำให้สังคมโลกไม่พัฒนา เพราะเมื่อยึดติด ก็จะไม่กล้าคิด ไม่กล้าแหก แล้ว "สิ่งใหม่ๆ" จะเกิดขึ้นได้อย่างไร?


          ฉะนั้น คำว่า "ประสบการณ์" นั่นแหละคือ การนำตัวเองออกจากกรงขังความคิดที่ยึดติด


          แล้วประสบการณ์นั้น จะนำไปสู่การสรรค์สร้าง "สิ่งใหม่" ที่เรียกนวัตกรรมสังคมโลกและสังคมมนุษยชาติ  ชนิดไม่มีที่สิ้นสุด


          ตำรา ทฤษฎี แค่วิธีสอนว่ายน้ำ


          หลักการ แค่หลักสำหรับให้คนหัดว่ายน้ำเกาะ


          ประสบการณ์ตะหาก....


          ที่สร้างคนให้ว่ายน้ำได้-ว่ายน้ำเป็น และแตกแขนงแตกฉาน นำไปสู่การสร้างตำรา สร้างทฤษฎี สร้างหลักการใหม่ๆ เป็นวิทยาการสืบต่อ


          ผมไม่เคยได้ยินเด็กมหาวิทยาลัยที่อ้างว่า "มาตรฐานสูง" แห่งไหน เอ่ยคำว่า "ประสบการณ์" ในการศึกษาเลย


          เพิ่งได้ยินอดีต "นักศึกษาราชภัฏ" ท่านนี้เท่านั้น เอ่ยคำว่า


          "บัณฑิตของโลกและประสบการณ์" แบบตกผลึก


          ขอบันทึกไว้ ด้วยคารวะครับ!

ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์

ล่าสุด นายนันทิวัฒน์ สามารถ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และนิสิตเก่าจุฬาฯ โพสต์เฟซบุ๊ก เบรกประเด็นดรามา "จุฬา-ราชภัฏ" บอกเรียนที่ไหนก็ดีเหมือนๆ กัน ขอแค่จบมาแล้วเป็นคนดี ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ อย่าคดโกง อย่าคิดล้มล้างประเทศและสถาบันฯ ก็พอ...

อีกทั้ง ยังมีหลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็น หนึ่งในนั้น คือ มีมี่ กัลย์สุดา ชนาคีรี หรือรู้จักกันในนาม อิอิ ออง ทู่น (အိအိအောင်ထွန်း) มิสแกรนด์เมียนมา ประจำปี 2022 ลูกครึ่งไทย-เมียนมาเชื้อสายกะเหรี่ยง มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ที่เตรียมเป็นตัวแทนประเทศเมียนมาในการประกวด มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2022 ที่กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า “ฉันคือเด็กราชภัฏ ฉันภูมิใจ” เนื่องจากมีมี่เอง ก็ศึกษาที่คณะครุศาสตร์ สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 

ขอปิดท้ายด้วยความเห็นจากเม้นท์ของ Layya Papacallme ที่ว่า... "จบที่ไหนไม่สำคัญ ขอให้จบมาแล้วเป็นคนดี ทำคุณประโยชน์ต่อตัวเอง ครอบครัวและประเทศชาติก็นับว่าใช้ได้แล้ว ขออย่าคดโกง อย่าคิดล้มล้างประเทศและสถาบันฯ คนที่เรียนจุฬาฯ ไม่ได้มีหลักประกันว่าจะเป็นคนดี เรียนจบมาแล้วทำงานสู้คนที่จบจากราชภัฏไม่ได้มีถมเถไป เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ ไม่ประสบความสำเร็จก็เยอะ ไม่มีประเด็นให้เราต้องแบ่งแยก ชิงดีชิงเด่น ขอให้ก้มหน้าก้มตาทำงาน อย่าอวดเบ่ง คุยทับกับเพื่อนต่างสถาบันเลย"