ปัจจัยความรุ่งเรืองในสมัยอาณาจักรอยุธยาเป็นอย่างไร

อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา นับเป็นราชธานีต้นกำเนิดของประเทศไทย ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์บ่งชี้ว่าได้รับการสถาปนาขึ้นราวปี พ.ศ. 1893 โดยตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มริมแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก มีพระมหากษัตริย์องค์แรกผู้สร้างเมืองคือ พระเจ้าอู่ทอง หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1

มีข้อสันนิษฐานว่าอยุธยาน่าจะเป็นเมืองเดิมที่เคยมีอยู่มาก่อนแล้ว ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก บริเวณวัดพนัญเชิง เพราะเป็นวัดเก่าแก่น่าจะสร้างก่อนปี พ.ศ. 1893 เสียอีก เวลาต่อมาเกิดโรคระบาดหนักทำให้พระเจ้าอู่ทองนำผู้คนอพยพข้ามแม่น้ำป่าสัก มาก่อร่างสร้างเมืองใหม่บริเวณหนองโสน หรือบึงพระรามในปัจจุบัน และสถาปณากรุงศรีอยุธยาขึ้น ณ ที่แห่งนั้น

ปัจจัยความรุ่งเรืองในสมัยอาณาจักรอยุธยาเป็นอย่างไร

กรุงศรีอยุธยาเป็นอาณาจักรยิ่งใหญ่ คงความเจริญรุ่งเรืองอยู่นานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น 33 พระองค์ 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง ราชวงศ์บ้านพลูหลวง โดยตั้งแต่ช่วงอยุธยาตอนกลางเป็นต้นมาถือเป็นเมืองซึ่งมีความสำคัญทางด้านการค้าขาย การเจริญสัมพันธไมตรีกับชาติตะวันตก เป็นศูนย์กลางการเดินทางขนส่งสินค้าระหว่างตะวันออกและตะวันตก เชื่อกันว่ามีผู้คนหลากหลายสัญชาติ หลากศาสนา อาศัยอยู่ในอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาดังหลักฐานที่ปรากฎให้เห็น

นอกจากนี้การค้าขาย อาณาจักรอยุธยายังมีความเข้มแข็งด้านการสงคราม มีการขยายอาณาเขตไปตามหัวเมืองต่างๆ ทั่วสารทิศ และทำให้อาณาจักรหรือเมืองต่างๆ ที่เคยรุ่งเรืองมาก่อนหน้านี้ลดบทบาทหรือขนาดลงกลายเป็นเมืองประเทศราชขึ้นกับอยุธยา จนบอกได้ว่าอยุธยาเป็นหนึ่งในอาณาจักรยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งที่เคยเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้

อย่างไรก็ตามกรุงศรีอยุธยาเคยพ่ายแพ้สงครามใหญ่และเสียกรุงถึงสองครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อพระเจ้าบุเรงนอง แห่งราชวงศ์ตองอูของพม่า นำทัพเข้ารุกกรุงศรีเพื่อประกาศศักดาตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2111 การสงครามกินเวลายาวนานหลายเดือน กระทั่งเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2112 กรุงศรีอยุธยาจึงแตกพ่าย

การเสียกรุงครั้งนั้นกินเวลายาวนานถึง 15 ปี ซึ่งเวลาดังกล่าวพระเจ้าบุเรงนอง ทรงให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะประเทศราช จนกระทั่งพระเจ้าบุเรงนองเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2524 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (ขณะนั้นเป็นพระมหาอุปราชแห่งอยุธยา) จึงเห็นว่าจะไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นอีกต่อไป พระองค์ทรงทำการประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง เมื่อปี พ.ศ. 2126 แม้หลังจากนั้นพม่าจะยกทัพมาหมายปราบอยุธยาอีกหลายครั้งแต่ก็ล้มเหลว จนปี พ.ศ. 2133 เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรจึงขึ้นครองราชย์ สร้างให้กรุงศรีอยุธยาให้กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง

นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรเป็นต้นมา กรุงศรีอยุธยามีสงครามภายในแย่งชิงราชบัลลังก์กันอีกหลายครั้ง มีการผลัดเปลี่ยนราชวงศ์ จากสุโขทัย เป็นราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง แต่ไม่เคยพ่ายแพ้ในสงครามครั้งใหญ่อีกเลย เป็นอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองทุกด้านเรื่อยมา กระทั่งถึงคราวเสียกรุงครั้งที่ 2

กษัตริย์พระองค์สุดท้าย องค์ที่ 33 ของกรุงศรีอยุธยาคือพระเจ้าเอกทัศ หรือสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ ทรงขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2301 ต่อมาในปี พ.ศ. 2308 จึงเริ่มถูกรุกรานจากพม่า พอถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2310 หลังจากถูกล้อมกรุงมาเป็นเวลานาน ทหารพม่าก็ยกพลเข้ามาภายในกรุงศรีอยุธยาสำเร็จ บ้านเมืองถูกทำลายอย่างหนัก ถือเป็นอันสิ้นสุดความยิ่งใหญ่ยาวนานกว่า 417 ปี ไว้เพียงเท่านั้น

หลังการเสียกรุงครั้งที่ 2 พระยาตากรวบรวมกำลังพลจากเมืองรอบนอกโดยเฉพาะที่จันทบูร ตราด และธนบุรี กลับมาตีกรุงศรีอยุธยาขับไล่กำลังพลพม่าออกไปสำเร็จ ทว่าด้วยสภาพเมืองเสียหายอย่างหนัก ทำให้พระยาตากเลือกที่มั่นสร้างเมืองใหม่ ปราบดาภิเษกเป็นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 สถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี

เมื่อสมเด็จพระเจ้าจากสินเสด็จสวรรคต พระยาจักรีจึงปราบดาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสถาปนากรุงเทพมหานคร ขึ้นเป็นราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2325 ถือเป็นการเริ่มต้นยุคกรุงรัตนโกสินทร์นั่นเอง

หลังการเข้าสู่ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ อยุธยาหรือเมืองกรุงเก่ามีสถานะเป็นหัวเมืองจัตวา พอถึงรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2438 ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนการปกครองใหม่เป็นรูปแบบมณฑลเทศาภิบาลจึงเกิดเป็นมณฑลกรุงเก่า ประกอบด้วย อยุธยา อ่างทอง สระบุรี พระพุทธบาท ลพบุรี พรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี

เมื่อเข้าสู่ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 การปกตรองแบบมณฑลถูกยกเลิก อยุธยาจึงกลายเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันมีเขตการปกครอง 16 อำเภอ ถือเป็นจังหวัดสำคัญทางด้านเศรษฐกิจในภาคกลาง ขณะที่บริเวณเมืองเก่าหรือที่ตั้งเดิมของศูนย์กลางอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอยุธยา

            การที่อาณาจักรอยุธยามีพัฒนาการด้านต่างๆ ดำเนินอย่างต่อเนื่องนับได้ 417 ปี เป็นเพราะมีปัจจัยสำคัญที่เอื้ออำนวยต่อพัฒนาการต่างๆ ดังนี้

แหล่งอารยธรรมดั้งเดิม

พื้นที่ใกล้เคียงกับอาณาจักรอยุธยาเมื่ออดีตเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรโบราณที่สำคัญ ได้แก่ ทวารวดี ละโว้ สุพรรณภูมิ โดยอยุธยาได้นำอารยธรรมเดิมของอาณาจักรโบราณมาปรับใช้ผสมผสานเข้ากับอารยธรรมใหม่ที่ได้สร้างขึ้น

สภาพภูมิประเทศ

            ที่ตั้งของอยุธยามีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำสำคัญไหลผ่านลงสู่อ่าวไทย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง จึงเหมาะกับการเกษตรและติดต่อค้าขายทางทะเลกับดินแดนที่อยู่ห่างไกลได้สะดวก

สภาพภูมิอกาศ

            อาณาจักรอยุธยาตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น มีฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว รวมทั้งได้รับอิทธิพลจากมรสุมที่พัดผ่านทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงใต้ จึงมีฝนตกตลอดที่งปี ทำให้แหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์

การตั้งกึ่งกลางเส้นทางเดิมเรือระหว่างอินเดียกับจีน

            ทำให้อยุธยาได้ประโยชน์จากการค้าและการรับอารยธรรมจากจีนและอินเดีย ซึ่งก่อให้เกิดผลดีต่อการฑัฒนาประเทศ

ทรัพยากรธรรมชาติ

            อาณษจักรอยุธยาเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ มีผลไม้หลายชนิด ปลาน้ำจืดและปลาทะเล แร่ธาตุที่สำคัญ เช่น เหล็ก ทองคำ นอกจากนี้ยังมีไม้หายาก เช่น ไม้สัก ไม้ฝาง ไม้อบเชย ไม้กฤษณา เป็นต้น ซึ่งเป็ฯที่ต้องการของพ่อค้าชาวต่างชาติ

พระปรีชรสามารถของพระมหากษัตริย์

            หลายครั้งอยุธยาเผชิญกับภัยคุกคามจากภายนอก แต่ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ เช่น การประกาศอิสรภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช การสร้างสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศของสมเด็จประนารายณ์มหาราช