อุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุดในสมัยสุโขทัยคืออะไร

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจสมัยสุโขทัยซึ่งประกอบด้วย การเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การค้าขาย และการคมนาคม การวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดี เช่น ศิลาจารึก และหลักฐานที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีของโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัยเป็นหลักในการวิจัย ส่วนหลักฐานอื่นก็จะนำมาศึกษาประกอบด้วยเพื่อให้ผลของการวิจัยนี้สมบูรณ์ขึ้น ผลของการวิจัยพบว่า การเกษตรกรรมสมัยสุโขทัยมีข้อจำกัดหลายประการ เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้ำ ซึ่งไม่เอื้ออำนวยให้ทำการเกษตรกรรมขนาดใหญ่ได้ แต่มีผลผลิตพอที่จะเลี้ยงตนเองได้เท่านั้น ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงพยายามปรับปรุงการเกษตรกรรมให้เจริญขึ้น ซึ่งเป็นผลให้อาณาจักรสุโขทัยสมัยนั้นอุดมสมบูรณ์ ประชาชนอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข การอุตสาหกรรมที่นำชื่อเสียงและรายได้ให้กับอาณาจักรสุโขทัยเป็นอย่างมากคือ เครื่องเคลือบดินเผา หรือที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายว่าเครื่องสังคโลก เพราะผลผลิตจากอุตสาหกรรมนี้สามารถนำออกจำหน่ายไปยังเมืองต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง อาณาจักรสุโขทัยมีสภาพที่ตั้งที่เอื้ออำนวยให้เป็นศูนย์กลางทางการค้าเพราะเป็นรัฐกันชนอยู่ระหว่างอาณาจักรทางทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก โดยเฉพาะในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อาณาจักรสุโขทัยมีเมืองท่ารับส่งสินค้าทั้งทางทิศตะวันตกและทางทิศใต้ นอกจากนี้เมืองสุโขทัยยังมีสินค้าที่เมืองบริวารและอาณาจักรอื่นต้องการอันได้แก่ ของป่า เครื่องเคลือบดินเผา เป็นต้น การคมนาคมภายในเมือง และเส้นทางติดต่อกับเมืองลูกหลวง อาณาจักรสุโขทัยได้สร้างถนนติดต่อระหว่างเมืองต่าง ๆ เพื่อเป็นเส้นทางสำหรับการคมนาคม การค้า เส้นทางยุทธศาสตร์ และเป็นทำนบการเกษตรไปในตัว ส่วนการคมนาคมทางน้ำภายในเมืองสุโขทัยไม่ค่อยสะดวกเนื่องจากมีแม่น้ำขนาดเล็กและคดเคี้ยว ดังนั้นจึงต้องอาศัยคูน้ำต่าง ๆ ที่มีขนาดใหญ่ เช่น คูตามแนวถนน คูเมือง เป็นเส้นทางคมนาคมด้วย การคมนาคมจากเมืองลูกหลวงของอาณาจักรสุโขทัยไปอาณาจักรอื่นมีเส้นทางคมนาคมทั้งทางบกและทางน้ำที่สามารถติดต่อกับอาณาจักรทางทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก สำหรับการคมนาคมติดต่อกับต่างชาติ เช่น จีน อาหรับ ฟิลิปปินส์ อาณาจักรสุโขทัยมีเส้นทางคมนาคมขนส่งผ่านอาณาจักรอยุธยาทางทิศใต้ และเมืองเมาะตะมะทางทิศตะวันตก อย่างไรก็ตามสภาพเศรษฐกิจของอาณาจักรสุโขทัยก็ไม่ได้เจริญรุ่งเรืองทุกรัชสมัยของกษัตริย์ที่ปกครอง เศรษฐกิจของอาณาจักรสุโขทัยขึ้นอยู่กับพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ ดังจะเห็นว่าในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและพระยาลิไท สภาพเศรษฐกิจของอาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองมาก เพราะพระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ทรงส่งเสริมให้ประชาชนปรับปรุงการการเกษตรกรรมจนมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ตลอดจนการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์เพื่อการค้า อีกทั้งสามารถขยายพระราชอาณาจักรสุโขทัยออกไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งมีผลทำให้รายได้และกำลังแรงงานเพิ่มขึ้นThis research is intended to study overall economic situation in Sukhothai era which is comprised of agriculture concern, industry concern, commercial concern and communication concern. In research preparation, various archaeological fundamental data and information searched from inscription and from Sukhothai Historical Park Development Project are gathered as the main factors in this research manipulation. Other evidences are also taken in consideration so as to reach the achievement. As for the outcomes, it was found that the agriculture development in Sukhothai era had been checked up by many obstructions, say, soil fertility, insufficient water channels in enlarging and or performing sizable areas at suitable scale but only at degree that its production is just only sufficient for their consumption. In the reign of the Great Ramkhamhang, he did his best in improving agriculture resulting in the people’s cosy and good well – being. The leading and well – known industry which brought in substantial income to Sukhothai was ceramic or well – known in another name as Sungkhaloak pottery since products could be sold to surrounded provinces. Sukhothai realm was located in the suitable area for being a center of trades since it was a quadruple buffered state between the northern realm and the southern realm and the eastern realm and western realm. Particular in the reign of the Great Ramkhamhang, Sukhothai had built ports both in the western area and southern area. Besides, Sukhothai’s products wete demanded by its territorial provinces, for example, wooden products, earth – baked pottery. Intra – communication and routes linked to the sub – main provinces (Muang Look – Luang) were built for trade facilities and as a strategic design in warfare and also used as built – in dams. Water communication routes were not conveneint in utilization because of winding and narrow features. Therefore sizable ditches along with paths and moats were used instead. Communications from the sub – main provinces of Sukhothai realm to others comprised both land and water routes connecting the northern area, southern area, eastern, and western area to each other. For inter – communication between countries, say, Chaina, Arab, Philippines, Sukhothai had its transporting routes through the southern Ayudhya and through the western Mohtama. However, Sukhothai economic situation was not in prosperity. It depended on king’s ability to govern the realm in accordance with his own style and attitude. As seen in the reigns of the Great Ramkhamhang and King Lithai, the economic situation was ranked at peak position because they had sacrificed themselves in improving agriculture so as to increase production. In addition, natural resources were utilized at some extent for the benefit of trades. With their strategic skills, their realm of Sukhothai were expanded resulting in both more incomes and labour forces.