ปัญหาการเพาะปลูกของสุโขทัยคือข้อใด

รายละเอียด ผู้ดูแลระบบ หมวดหลัก: ข่าวความเคลื่อนไหวงานพัฒนา สร้างเมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2554 ฮิต: 16079

ปัญหาการเพาะปลูกของสุโขทัยคือข้อใด
ตัวอย่างการจัดการน้ำของคนสุโขทัย เป็นตัวอย่างของภูมิปัญญาไทยในการควบคุมสภาวะธรรมชาติให้เหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐานการดำรงชีวิต 

ระบบการจัดการน้ำเป็นภูมิปัญญาที่เกิดในประเทศไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยการตั้งบ้านแปลงเมือง ดังหลักฐานทางด้านโบราณคดีตามชุมชนโบราณขนาดใหญ่หลายแห่ง มีการขุดคูน้ำและแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค นอกจากเหตุผลการป้องกันข้าศึกศัตรูแล้วยังเป็นแหล่งอาหารให้กับประชาชนอีกด้วย ในสมัยสุโขทัย บริเวณที่ตั้งเมืองสุโขทัยมักประสบปัญหาความขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง อันเป็นปัญหาจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ของสุโขทัยที่ปราศจากแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียง เพราะฉะนั้น คนไทยสมัยสุโขทัย จึงได้ดัดแปลงสภาพธรรมชาติในรูปแบบการจัดระบบชลประทาน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาไทยในการจัดระบบน้ำที่สลับซับซ้อน ตั้งแต่การนำน้ำหรือส่งน้ำไปยังพื้นที่ที่ต้องการน้ำ การเก็บกักน้ำไว้ใช้และแจกจ่ายเพื่ออุปโภค บริโภค คนสุโขทัยบังคับน้ำที่ไหลจากที่สูงลงมายังพื้นที่ราบให้ไหลไปตามแนวดินและท่อส่งน้ำ ไปยังแหล่งเก็บกักน้ำต่างๆ นอกจากนี้ระบบการควบคุมน้ำดังกล่าว ยังลดสภาวะอุทกภัยที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย


            เครือข่ายองค์กรชุมชนลูกพ่อขุนราม ร่วมกับเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดสุโขทัย จึงได้จัดเวทีสรุปบทเรียน น้ำท่วม น้ำแล้ง เพื่อรับฟังความคิดเห็นและแนวคิดการจัดการน้ำทั้ง ๙ อำเภอของจังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลดงเดือย อำเภอกงไกลาศ จังวัดสุโขทัย โดยมีตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมน้ำแล้งจากทุกอำเภอเข้าร่วมกว่า ๓๐ คน 
  

ปัญหาการเพาะปลูกของสุโขทัยคือข้อใด
นายสมศักดิ์ คำทองคง ประธานองค์กรชุมชนลูกพ่อขุนราม กล่าวว่า ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง อาจมองเป็นคนละเรื่อง แต่เรื่องการจัดการน้ำ ถือว่าเป็นเรื่องเดียวกัน ปัญหาส่วนใหญ่ของการจัดการน้ำจะเป็นเรื่องของการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำ แต่ก็มีการแก้ไขปัญหาคือการตั้งเครือข่ายมาร่วมกันบริหารจัดการน้ำตั้งแต่การเปิดปิดประตูระบายน้ำ มีการตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำโดยขบวนชาวบ้าน และมีข้อเสนอต่อราชการซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนและส่งเสริมกระบวนการของชาวบ้าน

ระบบผันน้ำปิงสู่น้ำยม

           ตามหลักศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ที่ว่า “เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” การจัดการปัญหาน้ำเพื่อใช้ปลูกข้าวที่ก้าวหน้ายิ่ง คือการใช้แนวถนนพระร่วงเป็นคันกั้นน้ำเป็นช่วงๆ ทำให้สองข้างทางเป็นเสมือนคลองชลประทานผันน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้อนุรักษ์แนวคลองชลประทานโบราณนี้ เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำทำนาตามที่ราษฎรกำแพงเพชรทูลเกล้าถวายฎีกา ชื่อว่า “โครงการพระราชดำริท่อทองแดง” 


ปัญหาการเพาะปลูกของสุโขทัยคือข้อใด
นายจรูญ สุขแป้น กำนันตำบลหนองจิก อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย เล่าว่า โครงการท่อทองแดง เป็นโครงการระบบส่งน้ำ ลำน้ำปิง ลำน้ำยม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาชาวบ้านได้มีการประสานงานตั้งเป็นเครือข่ายผู้ใช้น้ำท่อทองแดง มีจังหวัดสุโขทัยและกำแพงเพชร การใช้น้ำบริเวณที่ต้นน้ำและพื้นที่ปลายน้ำ โดยจะมีการประชุมกันและมีการประกาศทางวิทยุชุมชน หอกระจายข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์แนวทางการเพาะปลูกของเกษตรกร หากน้ำมามากก็จะปล่อยให้ไหลไปตามธรรมชาติ ไม่กั้นน้ำไว้เหมือนคนกรุงเทพ หากน้ำมีน้อยก็จะแจ้งเกษตรกรว่าควรปลูกถั่วเหลือง หรือพืชที่ใช้น้ำน้อย เพื่อลดความเสียหายแก่เกษตรกรในช่วงหน้าแล้ง

นอกจากนั้นทางเครือข่ายยังมีการพูดคุยกันถึงการปิด –เปิด ประตูน้ำในช่วงน้ำหลาก – น้ำน้อย การจัดสรรน้ำก่อน –หลัง ปริมาณน้ำที่กักเก็บได้จะเพียงพอทำการเกษตรจำนวนกี่ไร่ รวมถึงแต่ละหมู่บ้านมีผู้ใช้น้ำ จะทำหน้าที่ผลัดเวรกันดูแลฝายอย่างไร สำหรับแนวทาวการจัดการน้ำต้องอาศัยจารีต ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสาน และให้ประชาชนมีส่วนร่วมกันจริงๆ ภาครัฐช่วยประสาน คอยเป็นพี่เลี้ยงให้ความช่วยเหลือ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญจริงๆในการแก้ปัญหาทรัพยากรน้ำ ชาวบ้านต้องมีการใช้น้ำอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ และดูแลรักษาแหล่งน้ำให้สะอาด หากช่วยกันดูแลรักษา ชุมชนท้องถิ่นก็จะสามารถใช้ประโยชน์ได้ยาวนาน


            “ทั้งนี้ทางเครือข่ายยังสมทบงบประมาณการบริหารจัดการน้ำกันเอง โดยเก็บเงินเกษตรกรไร่ละ ๕ บาท โดยจัดสรรให้เครือข่ายบริหารจัดการน้ำในตำบล ๔ บาท และอีก ๑ บาท สมทบกับเครือข่ายกำแพงเพชร และปลูกต้นไม้เพื่อดูแลต้นน้ำของเราที่จังหวัดตากด้วย”
นายจรูญกล่าว

การเกษตรสมัยกรุงสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยา

ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศเกษตรกรรมมาช้านาน เนื่องจากตั้งอยู่ในเขตมรสุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสภาพภูมิประเทศ ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตร ประชากร ส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพทางการเกษตรหรือเกี่ยวข้องมาโดยตลอด แม้ว่าจะพยายามพัฒนาไปสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมเพียงใดก็ตาม แต่ก็ยังคงพึ่งพาอาศัยเกษตรกรรมอยู่เช่นเดียวกับประเทศที่ได้พัฒนาไปแล้วทั้งหลาย วิวัฒนาการและพัฒนาการเกษตรของไทยได้เปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และตามกระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของโลกมาตามลำดับ

สมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ.1781-1893) การเกษตรในประเทศไทยได้มีการพัฒนามาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ราว พ.ศ.1800 พ่อขุนรามคำแหงทรงมีรัฐประศาสโนบายในทางส่งเสริมและบำรุงการเกษตร โดยประชาชนมีอิสระเสรีในการประกอบอาชีพตามถนัด ที่ดินที่ได้ปลูกสร้างทำประโยชน์ขึ้นก็ให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ปลูกสร้าง และให้เป็นมรดกตกทอดไปถึงลูกหลาน เป็นการให้กำลังใจแก่ประชาชนในอันที่จะหักร้างถางพงปลูกสร้างทำที่ดินให้เกิดประโยชน์2 สมัยนั้นมีระบบปลูกพืชเป็นแปลงขนาดใหญ่นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าคงมีระบบการทดน้ำและระบายน้ำเป็นอย่างดี ทำให้สามารถปลูกพืชเป็นแปลงใหญ่ๆ ได้ เพราะเมืองสุโขทัยเป็นที่ดอน แปลงปลูกพืชที่เป็นป่าก็มีทั้ง ป่าหมาก ป่าตาล ป่าพลู ป่าผลไม้ เช่น มะม่วง มะขาม มะพร้าว ตลอดไปจนถึงไร่และนาซึ่งมีอยู่มากมาย อีกทั้งไม่คิดภาษีจังกอบ เป็นการเพิ่มแรงจูงใจในการทำการเกษตร และทำให้การเกษตรพัฒนามาโดยตลอด

ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 -2310) ปรากฏว่ามีการบริหารราชการแผ่นดินแบบจตุสดมภ์ ประกอบด้วย กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง และกรมนา กรมนามีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการไร่นาและสัตว์พาหนะ ต่อมาได้ขยายหน้าที่ไปประจำตามหัวเมืองด้วย มีหน้าที่จัดการกับที่ดินรกร้างว่างเปล่าให้มีการใช้ประโยชน์ จัดการเกี่ยวกับการชลประทาน และเก็บภาษีเป็นหางข้าวขึ้นฉางหลวง แสดงว่าการเกษตรได้เจริญขึ้นในแผ่นดินนี้

การขยายตัวของกรมนาแสดงว่าข้าวกลายเป็นพืชสำคัญที่มีการปลูกและขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางในสมัยกรุงศรีอยุธยา ข้าวได้มีส่วนทำให้กรุงศรีอยุธยามีความมั่งคั่งเพราะเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ นอกจากนี้ ยังมีพวกของป่า หนังสัตว์ ไม้หอม และผลไม้ ในจดหมายเหตุของลาลูแบร์ผู้เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีบันทึกไว้ว่า เมื่อล่องเรือผ่านเมืองธนบุรีอันเป็นเมืองหน้าด่านในสมัยนั้น ได้เห็นสวนผลไม้ใหญ่น้อยของชาวบ้านที่ปลูกกันเป็นขนัดเป็นระเบียบเรียบร้อยตลอดทาง

กรุงสุโขทัยจัดการปัญหาการเพาะปลูกด้วยวิธีการใด

สมัยกรุงสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงสร้างเขื่อนดินแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ สำหรับเก็บกักน้ำในลำธารที่มีมากในฤดูฝน โดยได้ระบายน้ำที่เขื่อนนี้ เก็บกักไว้ออกไปให้พื้นที่เพาะปลูกรอบๆ เมือง ระยะที่ฝนไม่ตก และในหน้าแล้ง เป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำใช้ สำหรับการเพาะปลูกของพื้นที่ส่วน ...

ข้อใดเป็นปัญหาการเกษตรกรรมของอาณาจักรสุโขทัย

พื้นฐานที่สำคัญในการประกอบอาชีพ เกษตรกรรม เนื่องจากสุโขทัยมีปัญหาความแห้งแล้งในฤดูแล้ง เพราะดินเป็นดินปนทราย ทำให้ดินไม่อุ้มน้ำ จึงมีการสร้างเขื่อนดินทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมือง สุโขทัย เขื่อนดินนี้ เรียกว่า สรีดภงส์ หรือ ทำนบพระร่วง สำหรับเก็บกักน้ำไว้ภายใน

การทำการเพาะปลูกของชาวสุโขทัยคืออะไร

1. การเกษตรกรรม ชาวสุโขทัยส่วนใหญ่จะทำการเพาะปลูก พืชหลักที่ปลูก ได้แก่ ข้าว นอกจากนี้ยังมีมะม่วง มะพร้าว มะขาม หมากพลู เป็นต้น โดยพื้นที่ เพาะปลูกที่สำคัญ ได้แก่ บริเวณที่ราบลุ่มทางแถบเมืองศรีสัชนาลัย ชากังราว สองแควและเมืองนครชุม

การทำเกษตรกรรมในสมัยสุโขทัยเป็นแบบใด

1.1.1) การเกษตรของกรุงสุโขทัย มีการผลิตแบบดั้งเดิม พึ่งธรรมชาติ พื้นที่เพาะปลูกเป็นที่ราบลุ่ม คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และที่ราบเชิงเขา ซึ่งดินขาดความอุดมสมบูรณ์ มีการสร้างเขื่อน(สรีดภงค์) หรือถนนพระร่วง พืชสำคัญที่ปลูกกันมาก คือ ข้าว มะม่วง มะพร้าว มะขาม ขนุน หมาก พลู พืชไร่และไม้ผลอื่นๆ