โปรแกรม statistical packages for social science หมายถึงโปรแกรมใด

SPSS (Statistical Package for the Social Science for Windows)

โปรแกรม statistical packages for social science หมายถึงโปรแกรมใด


           โปรแกรม SPSS (Statistical Package for the Social Science for Windows) เป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสูง ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และการจัดการข้อมูลต่าง ๆ ผู้ใช้โปรแกรมสามารถวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติประเภทต่าง ๆ และแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลออกมาในรูปของตาราง หรือแผนภูมิชนิดต่าง ๆ ได้ทั้งแบบ ๒ มิติ และ ๓ มิติ การใช้งานโปรแกรมไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการประมวลผลข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว แต่ก็ยังมีคนอยู่จำนวนไม่น้อยที่ยังมีแนวคิดที่ว่า การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมSPSS เป็นเรื่องที่ยากและต้องใช้ความรู้ทางสถิติเป็นอย่างดีบ้าง โอกาสในการนำไปใช้ในการปฏิบัติงานค่อนข้างน้อยบ้าง แต่ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวข้างต้น เนื่องจากการใช้โปรแกรม SPSS ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางสถิติเป็นอย่างดีเสมอไป แต่ขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลด้วยสถิติเบื้องต้น เช่น ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วการใช้งานโปรแกรม SPSS มักจะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัย แต่ก็ไม่เสมอไป กล่าวคือ SPSS สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี เช่น การทำบัญชีและคำนวณรายรับรายจ่ายในครอบครัว ใช้สำหรับการวิเคราะห์เพื่อประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงาน วิเคราะห์ทัศนคติ และความพึงพอใจต่อสิ่งต่าง ๆ นอกจากนี้ SPSS ยังสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือบุคคลในระดับอื่น ๆ อยู่ที่ว่าจะรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพดังกล่าวนั้นอย่างไร

  หลักการใช้ Spss เบื้องต้น  

         เป็นองค์ความรู้ เทคนิค และเคล็ดลับในการใช้โปรแกรม SPSS for Window สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ที่มาจากประสบการณ์ในการใช้โปรแกรม SPSS ของผู้เขียน โดยเขียนอธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจและมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับขั้นตอนในการทำวิจัย เคล็ดลับในการใช้โปรแกรม SPSS อย่างมีประสิทธิภาพทุกขั้นตอน ได้แก่

1.ขั้นการเตรียมข้อมูล (Data Preparation) เป็นการกล่าวถึงขั้นตอน/ เทคนิควิธีการต่าง ๆ ดังนี้

เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection)

เทคนิคการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล (Editing) จากแบบสอบถาม

เทคนิคการกำหนดรหัสข้อมูล (Coding) จากแบบสอบถามเพื่อป้อนข้อมูลลงในโปรแกรม

เทคนิคการกำหนดคุณลักษณะของตัวแปร อันได้แก่ ประเภท ความกว้าง ทศนิยม คำอธิบายชื่อตัวแปร การกำหนดค่าตัวแปร ค่าความสูญเสียของข้อมูล การจัดตำแหน่งข้อมูล และการกำหนดระดับการวัดของตัวแปรนั้น ๆ

เทคนิคการรวมไฟล์ (Merge Files) ในกรณีที่มีแบบสอบถามจำนวนมาก ๆ และแบ่งกันป้อนข้อมูลหลายคน

เทคนิคการทำความสะอาดข้อมูล (Clean Data) หรือตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลภายหลังป้อนข้อมูลลงในโปรแกรมเสร็จแล้ว โดยใช้คำสั่ง Sort Cases และคำสั่ง Frequencies

2.ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data) เป็นการกล่าวถึงเทคนิคการใช้คำสั่งในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังต่อไปนี้

เทคนิคการใช้คำสั่ง Recode (การกำหนดค่าให้กับตัวแปรใหม่ทั้งที่ทับกับข้อมูลเดิม และไม่ทับกับข้อมูลเดิม หรือสร้างเป็นตัวแปรใหม่)

เทคนิคการใช้คำสั่ง Frequencies ในการวิเคราะห์ข้อมูล

เทคนิคการใช้คำสั่ง Descriptive ในการวิเคราะห์ข้อมูล

เทคนิคการวิเคราะห์สำหรับการนำเสนอข้อมูลเป็นรายด้าน และภาพรวม

เทคนิคการกำหนดจำนวนหลักของจุดทศนิยมในตารางผลการวิเคราะห์ข้อมูล (Print Out)

3.ขั้นการนำเสนอข้อมูล (Data Presentation) เป็นการกล่าวถึง ขั้นตอนการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

เทคนิคการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของตาราง

เทคนิคการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของแผนภูมิชนิดต่าง ๆ

          โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติในปัจจุบันมีมากมายหลายชนิดซึ่งได้มีผู้พัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้กับงานด้านสถิติเช่น SAS, MINITAB, SP, ISP, SPSS, Microsoft Excel เป็นต้น ซึ่งจะยกตัวอย่างถึงโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้จักพอสังเขป ดังนี้

7.1 โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ

        7.1.1 โปรแกรม SPSS (Statistical Packages for Social Science)

        โปรแกรม SPSS เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการวิเคราะห์และวิจัยงานที่มีข้อมูลจำนวนมาก

        โปรแกรม SPSS สามารถใช้งานได้ดังนี้

                1. การดัดแปลงข้อมูล (Data Transformation) โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่มาคำนวณ สร้างเป็นตัวแปรหรือกลุ่มข้อมูลใหม่

                2. การคัดเลือกข้อมูล (Data Selection) เลือกข้อมูลตามเงื่อนไขที่กำหนดหรือเลือกค่าของบางตัวแปรมาทำการวิเคราะห์

                3. การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องตน ค่าสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) มีการสร้างตารางแจกแจงความถี่ และการนำเสนอข้อมูลในรูปต่างๆ

                    4. การสร้างตาราง Contingency

                    5. การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ตัวแปร

                6. การทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่มขึ้นไป

                7. การวิเคราะห์ความถดถอย สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม

                   8. การทดสอบโดยไม่ใช้พารามิเตอร์

                ฯลฯ

          7.1.2 โปรแกรม SP (Statistical Package)

        โปรแกรม SP เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านสถิติที่ใช้บนระบบปฏิบัติการ DOS ทำงานบนไมโครคอมพิวเตอร์ เขียนขึ้นโดยใช้ภาษาเหล็ก การใช้งานผู้จะเลือกจากเมนูที่แสดงบนจอภาพพร้อมทั้งใส่ข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้จะแสดงทางจอภาพและสามารถเลือกแสดงออกทางเครื่องพิมพ์ได้ ดังนั้นในการใช้งานจึงต้องมีตัวแปลภาษา BASIC เช่น BASICA หรือ GWBASIC อยู่ในหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย

        โปรแกรม SP สามารถใช้งานได้ดังนี้

        1. สร้างตารางแจกแจงความถี่

                2. คำนวณค่าสถิติเบื้องต้น เช่น ค่ามัชณิมต่างๆการวัดการกระจาย เปอร์เซ็นไทล์ คะแนนมาตรฐาน เป็นต้น

        3. คำนวณค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

        4. การทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่มขึ้นไป

        5. สร้างตาราง Contingency

        6. การวิเคราะห์ความแปรปรวน

        7. การทดสอบโดยไม่ใช้พารามิเตอร์

                ฯลฯ

        7.1.3 โปรแกรม ISP (Interactive Statistical Program)

        โปรแกรม ISP เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ทำงานบนไมโครคอมพิวเตอร์ ด้วยระบบปฏิบัติการดอส (DOS) เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยโปรแกรมภาษาเบสิก ผู้ใช้จะเลือกใช้งานจากเมนูที่ปรากฏบนจอภาพ

                โปรแกรม ISP สามารถใช้งานได้ดังนี้

                1. การดัดแปลงข้อมูล (Transformations)

                2. การคำค่าสถิติพื้นฐานต่างๆ

                3. การกระจายของข้อมูลและความแปรปรวน

                4. การวิเคราะห์การถอดถอน

                5. การนำเสนอข้อมูล

                        ฯลฯ

        7.1.4 โปรแกรม Microsoft Excel

        โปรแกรม Microsoft Excel เป็นโปรแกรมกระดาษทำการ (Spread Sheet) ใช้กับระบบปฏิบัติการ Windows สามารถบันทึกข้อความลงในตารางแล้วคำนวณค่าต่างๆตลอดจนค่าสถิติ ทำกราฟโปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Excel เป็นโปรแกรมหนึ่งในชุดของ Microsoft Office ที่ผลิตโดยบริษัทไมโครซอฟต์ จำกัด ผู้ใช้จะเลือกใช้งานจากแถบของเมนู

                โปรแกรม Microsoft Excel สามารถใช้งานได้ดังนี้

                1. คำนวณค่าสถิติเบื้องต้น เช่น ค่ามัชณิม หาค่าสูงสุด หาค่าต่ำสุด

                2. การกระจายของข้อมูล

                3. การวิเคราะห์ความถดถอย

                4. การหาค่าสหสัมพันธ์

                5. การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของตารางและกราฟแบบต่างๆ

                        ฯลฯ

7.2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรม SPSS for Windows

        โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติปัจจุบันมีหลายโปรแกรม แต่โปรแกรมที่นิยมใช้กันมากคงจะเป็นโปรแกรม SPSS for Windows โปรแกรม SPSS (Statistical Package for Social Sciences) มีการใช้งานมานานเริ่มตั้งแต่การใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Main Frame) จนถึงรุ่นที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้ เช่น

        SPSS/PC version 3.0                              สำหรับระบบปฏิบัติการ DOS

          SPSS for Windows version 6.0               สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows 3.0

          SPSS for Windows version 7.5, 8.0, 9.0   สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows 95, 98

          SPSS for Windows version 10, 11           สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows 2000

          SPSS for Windows version12                สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows XP

          โปรแกรม SPSS for Windows version 12 สามารถนำข้อมูล SPSS หรือข้อมูลเดิมโปรแกรมที่สร้างมาจาก SPSS version 3.0-11.0 ทั้งในระบบ DOS และระบบปฏิบัติการ Windows กลับมาใช้ได้ และสามารถรับข้อมูลที่สร้างจากโปรแกรมต่างๆได้ เช่น Excel MATHCAD Microsoft Word ฯลฯ นอกจากนี้โปรแกรม SPSS for Windows ยังสามารถบันทึกคำสั่งที่เกิดจากขั้นตอนการทำงานตามลำดับต่างๆจากการใช้เมาส์เลือกเมนูของโปรแกรมที่มีอยู่มาบันทึกเป็นชุดคำสั่ง (Command Language) เพื่อประโยชน์ในการเรียกคำสั่งเหล่านี้มาใช้ได้อีกในครั้งต่อๆไปภายหลัง ผู้ที่เคยใช้โปรแกรมอื่นๆที่ทำงานบน Windows สามารถเรียนรู้การใช้งานโปรแกรม SPSS for Windows version 12 ได้อย่างรวดเร็วและสามารถนำคุณสมบัติของ Windows มาใช้ได้อย่างเต็มที่ เช่น copy cut paste การย้าย การตัดลอก การพิมพ์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโปรแกรม ฯลฯ

          คอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานกับโปรแกรม SPSS for Windows

          ความต้องการของเครื่องคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่สามารถนำโปรแกรม SPSS for Windows ไปใช้ได้ควรมีลักษณะดังนี้

          1. เครื่องคอมพิวเตอร์ IBM PC หรือ IBM Compatible ที่ใช้ Windows XP

2. หน่วยความจำ RAM ในคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักจะมี 128, 256 Mb หรือมากกว่าซึ่งเพียงพอใช้งาน

        3. Hard disk ควรมีที่ว่างพอสมควร

        4. จอภาพ (Monitor) ต้องสามารถแสดงผลทางด้านกราฟิกได้

        5. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows XP

        6. โปรแกรม SPSS for Windows version 12

7.3 ความสามารถของโปรแกรม SPSS for Windows

        7.3.1 ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล

        ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นความสามารถที่จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติดังต่อไปนี้

                1. การคำนวณค่าสถิติเบื้องต้น (Descriptive Statistics) สามารถคำนวณค่าสถิติพื้นฐานทั่วไป เช่นค่าเฉลี่ย (Mean) มัธยฐาน (Median) ฐานนิยม (Mode) พิสัย (Range) ความแปรปรวน (Variance) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ฯลฯ

                2. การแจกแจงความถี่ (Frequency Distributions) สามารถแจกแจงค่าของตัวแปรตามจำนวนที่นับได้ทั้งแบบทางเดียวและแบบหลายทาง (Crosstabs) พร้อมทั้งแสดงค่าสถิติที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าเฉลี่ย (Mean) มัธยฐาน (Median) ฐานนิยม (Mode) พิสัย (Range) ความแปรปรวน (Variance) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เปอร์เซ็นต์ไทล์ (Percentiles) กราฟแท่งหรือค่าสถิติที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบทางสถิติ เช่น Chi-Squares, Phi

                3. การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (Mean Groups Comparison) สามารถเปรียบเทียบและทดสอบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม 2 กลุ่ม ตัวอย่างโดยค่าสถิติ t (Student’s t) และสำหรับหลายกลุ่มตัวอย่างโดยค่าสถิติ F ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance: ANOVA) ทั้งแบบทางเดียวและแบบหลายทาง

                4. การหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (Correlation) สามารถคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแบบต่างๆเช่น Pearson, Kendall, Spearman

                5. การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) สามารถหาความสัมพันธ์เพื่อการพยากรณ์แบบการถดถอยเชิงเส้น (Linear Regression Analysis) ทั้งหมด 1 ตัวแปรอิสระและตัวแปรอิสระมากกว่า 1 ตัว และสามารถดูรูปแบบความสัมพันธ์ ในลักษณะอื่นที่ไม่ใช่เส้นตรง เช่น Linear, Quadratic, Logarithmic ฯลฯ

                6. การทดสอบแบบนอนพาราเมตริก (Nonparametric Text) สามารถวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีของนอนพาราเมตริกสำหรับการทดสอบแบบต่างๆ เช่น Sign Text, Wilcox on, Friedman, Kolmokorov-Smirnov ฯลฯ

                7. การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ข้อมูลแบบหลายคำตอบ (Multiple Response Analysis) สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามที่มีตัวเลือกมาให้และผู้ตอบสามารถตอบได้มากว่า 1 คำตอบ

        7.3.2 ความสามารถในการนำเสนอด้วยกราฟ

        โปรแกรม SPSS for Windows สามารถนำเสนอข้อมูลในรูปของกราฟหรือตารางแบบต่างๆ เช่น กราฟแท่ง (Bar, Histogram) กราฟเส้น (Line) กราฟวงกลม (Pie) และกราฟชนิดอื่นๆ

        7.3.3 ความสามารถในการทำงานด้านอื่นๆ

        ในการใช้งานโปรแกรม SPSS นอกจากจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติแล้วผู้ใช้อาจจะมีการดำเนินการกับข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น การสร้างตัวแปรเพิ่ม เรียงลำดับข้อมูล คัดเลือกข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ ฯลฯ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆได้ดังนี้

                1. การเปลี่ยนรูปแบบข้อมูล (Data Transformation) โดยการเปลี่ยนคำใหม่ จัดค่าใหม่ หรือสร้างตัวแปรใหม่ด้วยฟังก์ชันพิเศษต่างๆทางคณิตศาสตร์ที่มีในโปรแกรม SPSS

                2. การจัดกลุ่มตัวแปร (Define Set of Variable) โดยการเลือกตัวแปรหรือจัดกลุ่มตัวแปรไว้เป็นชุดต่างๆเพื่อนำมาวิเคราะห์เป็นชุดๆในภายหลัง

                3. การเลือกข้อมูล (Select Case) โดยการกำหนดเงื่อนไขต่างๆหรือการเลือกข้อมูลแบบสุ่มตัวอย่าง

                4. การสร้างข้อมูลแบบอนุกรมเวลา (Create Time Series) โดยการสร้างข้อมูลที่เกิดขึ้นตามเวลา เช่น วัน เดือน ไตรมาศ ฯลฯ สำหรับการวิเคราะห์แบบอนุกรมเวลา

                5. การดำเนินการกับข้อมูลในลักษณะอื่นๆโดยการเรียงลำดับข้อมูล การให้น้ำหนักหรือความสำคัญแก่ชุดข้อมูล การสลับที่ข้อมูลระหว่างแถวและคอลัมน์

                6. การจัดการกับข้อมูล โดยการรวมแฟ้มข้อมูลตั้งแต่ 2 แฟ้ม เช่น รวมตัวแปร รวมชุดข้อมูล

        7.3.4 ความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลกับโปรแกรมอื่นๆ

        การทำงานของโปรแกรม SPSS for Windows version 12 เป็นการทำงานภายใต้ระบบการปฏิบัติงาน Windows ดังนั้นสามารถใช้ความสามารถขั้นพื้นฐาน เช่น การเลือกบริเวณเพื่อ copy, cut, paste ฯลฯ แล้วนำข้อมูลนั้นไปใช้กับโปรแกรมอื่นๆ เช่น Excel, Microsoft Word, MathCADหรือนำข้อมูลจาก Excel, Microsoft Word, MathCAD มาใช้กับ SPSS for Windows ตัวอย่างเช่น ข้อมูลในรูปแบบของคอลัมน์ (Column) สามารถนำมาเป็นข้อมูลในรูปแบบของตัวแปร SPSS for Windows ได้ หรือข้อมูลที่วิเคราะห์ได้จาก SPSS for Windows สามารถ copy รูปแบบตารางไปเป็นตารางของ Microsoft Word ได้ทันที