นักเรียนสามารถนำหลักธรรมใดมาใช้ในการเรียนได้

วัตถุประสงค์ของเซมินารีและสถาบันแนะนำจุดมุ่งหมายการสอนเบื้องต้นสามประการที่ผู้บริหารและครูพยายามบรรลุผลสำเร็จเพื่อให้มีสัมฤทธิผลตามจุดประสงค์ของเซมินารีและสถาบันศาสนา

Show
  1. เราสอนนักเรียนให้รู้หลักคำสอนและหลักธรรมแห่งพระกิตติคุณตามที่มีอยู่ในพระคัมภีร์และในถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์

  2. โดยหลักคำสอนและหลักธรรมเหล่านี้สอนในวิธีที่ทำให้เกิดความเข้าใจและความจรรโลงใจ

  3. เราช่วยให้นักเรียนมีสัมฤทธิผลตามบทบาทของพวกเขาในกระบวนการเรียนรู้และเตรียมพวกเขาให้พร้อมสอนพระกิตติคุณแก่ผู้อื่น

เพื่อช่วยให้บรรลุจุดมุ่งหมายเหล่านี้ ครูและนักเรียนในเซมินารีและสถาบันได้รับการกระตุ้นเป็นพิเศษให้นำหลักพื้นฐานของการสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณมาใช้

หลักธรรม แนวทางปฏิบัติ และผลลัพธ์เหล่านี้เชื่อมโยงกัน เมื่อนำมาใช้อย่างฉลาดและสอดคล้องกันจะช่วยให้นักเรียนสามารถเข้าใจพระคัมภีร์ หลักคำสอน และหลักธรรมที่อยู่ในนั้นได้ อีกทั้งกระตุ้นนักเรียนให้รับบทบาทจริงในการเรียนพระกิตติคุณและเพิ่มความสามารถของพวกเขาในการดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณและสอนคนอื่นๆ

สอนและเรียนรู้ด้วยพระวิญญาณ[2.1]

การสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณเกิดขึ้นผ่านอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์ การสอนและการเรียนรู้ด้วยพระวิญญาณเกิดขึ้นเมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงแสดงบทบาทหรือทาหน้าที่ของพระองค์กับครู นักเรียน หรือทั้งสองฝ่าย โดยผ่านการสอนและการเรียนรู้ด้วยพระวิญญาณเท่านั้นที่นักเรียนจะเข้าใจและพึ่งพาคำสอนและการชดใช้ของพระเยซูคริสต์จนพวกเขามีคุณสมบัติคู่ควรแก่การรับชีวิตนิรันดร์

ประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์เน้นบทบาทอันสำคัญยิ่งที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงมีในการเรียนรู้ ทางวิญญาณเมื่อท่านสอนว่า านักเรียนของเราไม่สามารถรู้เรื่องพระผู้เป็นเจ้า และรักพระองค์อย่างที่พวกเขาต้องรัก เว้นแต่พวกเขาจะได้รับการสอนด้วยพระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ โดยพระวิญญาณเท่านั้นที่พวกเขาสามารถรู้ได้ว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงรักเรามากพอจะทรงส่งพระบุตรของพระองค์มาเป็นค่าไถ่บาปของเรา รู้ว่าพระเยซูทรงเป็นพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า และรู้ว่าพระคริสต์ทรงจ่ายราคาค่าบาปของพวกเขา โดยพระวิญญาณเท่านั้นที่พวกเขาสามารถรู้ได้ว่าพระบิดาบนสวรรค์และพระบุตรผู้ฟื้นคืนพระชนม์และทรงรัศมีภาพทรงปรากฏต่อโจเซฟ สมิธ โดยพระวิญญาณเท่านั้นที่พวกเขาสามารถรู้ได้ว่าพระคัมภีร์มอรมอนเป็นพระวจนะแท้จริงของพระผู้เป็นเจ้า และโดยการดลใจเท่านั้นที่พวกเขาสามารถรู้สึกได้ถึงความรักที่พระบิดาและพระบุตรทรงมีต่อพวกเขาโดยประทานศาสนพิธีที่จำเป็นต่อการรับชีวิตนิรันดร์แก่เรา โดยได้รับพยานเหล่านี้ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงฝังลึกในใจพวกเขาเท่านั้นที่พวกเขาจะหยั่งรากบนพื้นฐานอันแน่นอนเพื่อยืนหยัดผ่านการล่อลวงและการทดลองของชีวิตพวกเขา” (“To Know and to Love God” [an evening with President Henry B. Eyring. Feb. 26, 2010], 2)

หน้าที่บางอย่างของพระวิญญาณซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับบทบาทของพระองค์ในการสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณรวมอยู่ในรายการต่อไปนี้

  • พระองค์ทรงเป็นพยานของพระผู้เป็นเจ้าพระบิดาและพระบุตรของพระองค์พระเยซูคริสต์ (ดู โครินธ์ 12:3อีเธอร์ 12:41)

  • พระองค์ทรงจรรโลงใจ (ยกระดับหรือสร้างทางวิญญาณ) ทั้งครูและนักเรียน (ดู 1 โครินธ์ 14:12;คพ. 50:22–23; 84:106)

  • พระองค์ทรงมอบ “ผลของพระวิญญาณ” ซึ่งรวมถึงสิ่งต่างๆ เช่น ปีติ ความรัก สันติสุข ความอดทน และความอ่อนโยน (ดูกาลาเทีย 5:22–23; โรม 15:13; คพ. 6:23; 11:12–13)

  • พระองค์ประทานอำนาจให้คนๆ หนึ่งพูดด้วยสิทธิอำนาจและความอาจหาญ (ดู 1 นีไฟ 10:22; แอลมา 18:35; โมโรไน 8:16

  • พระองค์ทรงเป็นพยานถึงความจริงของหลักคำสอนและหลักธรรมพระกิตติคุณ (ดู ยอห์น 15:26; คพ. 21:9; 100:8)

  • พระองค์ประทานความจริง ความรู้ วิจารณญาณ ความเข้าใจ และการจุดประกายความคิด (ดู ยอห์น16:13; 1 โครินธ์ 2:9–11, 14; คพ. 6:14; 11:13–14; 76:5–10, 116)

  • พระองค์ทรงช่วยให้ครูและนักเรียนจดจำแนวคิด หลักการ หรือหลักธรรม (ดู ยอห์น 14:26)

  • พระองค์ทรงดลใจคนใดคนหนึ่งว่าจะพูดหรือไม่พูดสิ่งใด (ดู ลูกา 12:11–12; 2 นีไฟ 32:7; คพ. 84:85; 100:5–6)

  • พระองค์ทรงนำความจริงไปสู่ใจผู้คน (ดู 2 นีไฟ 33:1)

  • พระองค์ทรงทำให้ใจผู้คนอ่อนลง (ดู 1 นีไฟ 2:16; แอลม 24:8)

  • พระองค์ประทานการปลอบโยน (ดู ยอห์น 14:26; คพ. 88:3)

  • พระองค์ทรงชำระใจให้บริสุทธิ์และเปลี่ยนแปลงในใจ (ดู โมไซยาห์ 5:2; 3 นีไฟ 27:20; โมโรไน 6:4)

เมื่อเข้าใจบทบาทอันสำคัญยิ่งที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงแสดงในการเรียนรู้ทางวิญญาณ ครูจะทำทุกอย่างที่ทาได้เพื่ออัญเชิญพระวิญญาณให้ปฏิบัติหน้าที่เหล่านี้ เพื่อทำเช่นนั้น ครูจะพยายามแสวงหาความมีค่าควรส่วนตัว พวกเขาจะกล่าว “คำสวดอ้อนวอนจากศรัทธา” (คพ. 42:14) และจะพยายามเตรียมบทเรียนแต่ละบทมาอย่างดี พวกเขาจะพยายามมุ่งเน้นประสบการณ์การเรียนรู้ของนักเรียนและใจที่สงบนิ่งแทนที่จะรู้สึกว้าวุ่นใจและกังวลกับเรื่องอื่นๆ พวกเขาจะแสดงเจตนารมณ์ของการแสวงหาด้วยความอ่อนน้อม พวกเขาจะกระตุ้นนักเรียนให้อัญเชิญพระวิญญาณบริสุทธิ์เข้ามาในประสบการณ์การเรียนรู้ของตนเช่นกัน

ครูและนักเรียนสามารถช่วยสร้างบรรยากาศที่ทำให้รู้สึกถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้โดย

  • ให้ข้อคิดทางวิญญาณที่เต็มไปด้วยความหมาย

  • อ่านและสอนจากพระคัมภีร์ตลอดจนถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์

  • มุ่งเน้นที่แบบอย่างและสนทนาถึงพระผู้ช่วยให้รอดและแสดงประจักษ์พยานถึงพระองค์

  • บอกหลักคำสอนและหลักธรรมพระกิตติคุณอย่างเรียบง่ายและชัดเจน

  • ใช้เวลาคิดไตร่ตรองในช่วงเวลาเงียบสงบอันเกิดจากการดลใจ

  • เล่าประสบการณ์ส่วนตัวที่เหมาะสมและเป็นพยานถึงหลักคำสอนและหลักธรรม

  • ใช้บทเพลงที่สร้างแรงบันดาลใจ

  • แสดงความรักความสำนึกคุณต่อกันและต่อพระเจ้า

ครูสามารถรู้สึกได้ว่ามีการทำงานของพระวิญญาณในชั้นเรียนของพวกเขาหรือไม่โดยพิจารณาคำถามต่อไปนี้

  • นักเรียนรู้สึกรักพระผู้ช่วยให้รอด พระกิตติคุณ และพระคัมภีร์มากขึ้นหรือไม่

  • นักเรียนเข้าใจหลักธรรมที่สอนอย่างชัดเจนหรือไม่

  • นักเรียนได้รับการจรรโลงใจและรู้สึกถึงการดลใจให้ปฏิบัติตามหลักธรรมที่พวกเขาเรียนรู้หรือไม่

  • ชั้นเรียนมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพิ่มขึ้นหรือไม่

  • มีการแสดงประจักษ์พยานและประจักษ์พยานเข้มแข็งขึ้นหรือไม่

  • นักเรียนสนใจและมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้หรือไม่

  • มีความรู้สึกถึง “ความรัก ความปลาบปลื้มใจ สันติสุข ความอดกลั้นใจ ความปรานี ความดี ความสัตย์ซื่อ” (กาลาเทีย 5:22) ในห้องเรียนหรือไม่

นับเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจดจำว่าไม่มีครูคนใดทำหน้าที่ของพระวิญญาณได้ไม่ว่าเขาจะมีของประทานหรือซื่อสัตย์เพียงใดก็ตาม บางครั้งครูอาจพยายามสร้างประสบการณ์ทางวิญญาณ เอ็ลเดอร์บอยด์เค. แพคเกอร์สอนว่า “ท่านไม่สามารถบังคับเรื่องทางวิญญาณ … ท่านไม่อาจบังคับพระวิญญาณให้ตอบรับได้มากไปกว่าท่านจะบังคับเมล็ดถั่วให้งอก หรือไข่ให้ฟักก่อนเวลา ท่านสามารถสร้างบรรยากาศเพื่อส่งเสริมการเติบโต บำรุงเลี้ยง และคุ้มครอง แต่ท่านไม่สามารถบีบบังคับหรือเคี่ยวเข็ญได้ ท่านต้องรอการเติบโต” (Candle of the Lord,”Ensign,Jan. 1983, 53)

ครูที่พยายามสอนด้วยพระวิญญาณไม่ควรพึ่งพาสติปัญญา ความเชี่ยวชาญการสอน หรือบุคลิกภาพของตนเป็นหลักแต่ควรพึ่งพาอิทธิพลของพระวิญญาณบริสุทธิ์ (ดู 2 นีไฟ 4:34) พวกเขาควรหลีกเลี่ยงการชักจูงอารมณ์ความรู้สึกหรือพยายามเค้นน้ำตาเพื่อพิสูจน์ว่าพระวิญญาณอยู่ที่นั่น ประธานฮาเวิร์ด ดับเบิลยู. ฮันเตอร์เตือนว่า “ข้าพเจ้าคิดว่าถ้าเราไม่ระวังในฐานะ … ครูขณะทำงานในห้องเรียนทุกวัน เราอาจเริ่มพยายามปลอมแปลงอิทธิพลแท้จริงของพระวิญญาณพระเจ้าโดยใช้วิธีชักจูงและไม่สมควร ข้าพเจ้าเป็นห่วงเมื่อดูเหมือนเรานำเอาอารมณ์รุนแรงหรือน้าตาไหลพรากมาเทียบกับการประทับอยู่ของพระวิญญาณ แน่นอนว่าพระวิญญาณของพระเจ้าสามารถทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกรุนแรงได้ รวมทั้งน้ำตา แต่ไม่ควรนำปรากฏการณ์ภายนอกมาปะปนกับการประทับอยู่ของพระวิญญาณ” (“Eternal Investments” [an evening with President Howard W . Hunter, Feb. 10, 1989, 4)

ครูควรระวังเรื่องการใช้ถ้อยคำอย่างเช่น “พระวิญญาณบอกผมให้ …” หรือ “พระวิญญาณบอกว่าผมควร …” ไม่ว่าตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ถ้อยคำเหล่านี้จะถูกมองได้ว่าเป็นการยกตนและบอกเป็นนัยได้ถึงระดับความเข้มแข็งทางวิญญาณที่เกินจริง อาจส่งผลในรูปของการบีบบังคับทางวิญญาณ โดยทั่วไปครูทำตามการกระตุ้นเตือนจากพระวิญญาณโดยไม่ประกาศว่าพวกเขากำลังทำเพราะเหตุนั้นก็ถือว่าเพียงพอแล้ว

เอ็ลเดอร์เฮนรีย์ บี. อายริงก์ให้คำแนะนำดังนี้ “การให้นักเรียนมีประสบการณ์กับพระวิญญาณสำคัญยิ่งกว่าการพูดเรื่องนี้ ขอเพียงรู้ว่าแต่ละคนมีประสบการณ์กับพระวิญญาณต่างกันเล็กน้อย … ข้าพเจ้าคิดว่านี่เป็นเรื่องส่วนตัวมากจนข้าพเจ้าจะต้องระวังพอสมควรในการพยายามพูดเจาะจงมากเกินไป ข้าพเจ้าคิดว่าประสบการณ์ในเรื่องนี้…น่าจะดีกว่าการพูดซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า ‘คุณรู้สึกถึงพระวิญญาณไหม’ ข้าพเจ้าคิดว่านั่นไม่สร้างสรรค์เลย” (“Elder Richard G. Scott and Elder Henry B. Eyring Discussion” [CES satellite training broadcast, Aug. 2003], 8)

ครูควรจำไว้ว่าการสอนด้วยพระวิญญาณมิได้ปลดเปลื้องหน้าที่รับผิดชอบของพวกเขาในการเตรียมบทเรียนด้วยความขยันหมั่นเพียรและพิจารณาไตร่ตรอง รวมถึงการใช้หลักสูตรที่จัดเตรียมไว้ อีกนัยหนึ่งคือ การสอนด้วยพระวิญญาณเรียกร้องมากกว่าการเพียงแต่ทำตามข้อเสนอแนะทุกข้อในหลักสูตรโดยไม่สวดอ้อนวอน คิด หรือปรับใช้เท่าที่ทำได้ นอกจากนี้ครูไม่ควรตั้งหน้าตั้งตาสอนตามโครงร่างบทเรียนอย่างเคร่งครัดจนไม่เปิดรับและทำตามการกระตุ้นเตือนจากพระวิญญาณในระหว่างชั้นเรียน

สร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีความรัก ความเคารพ และจุดประสงค์[2.2]

เมื่อครูกับนักเรียนรักและเคารพ พระเจ้า รักกัน รวมถึงรักพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า การเรียนรู้ย่อมเพิ่มขึ้น สำนึกร่วมกันในจุดประสงค์จะปรับความพยายามและความคาดหวังตลอดจนให้ทิศทางแก่ประสบการณ์ในห้องเรียน การจัดและสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความรัก ความเคารพและจุดประสงค์เป็นความรับผิดชอบของทั้งครูและนักเรียน ทั้งยังเชื้อเชิญอิทธิพลจรรโลงใจของพระวิญญาณบริสุทธิ์อีกด้วย

ความรักและความเคารพ [2.2.1]

ความรักทาให้ใจอ่อนโยนลงและเชื้อเชิญอิทธิพลของพระวิญญาณบริสุทธิ์ เมื่อครูรักเช่นพระผู้ช่วยให้รอดทรงรัก พวกเขาย่อมมองคนอื่นเช่นพระองค์ทรงมอง ความรักเฉกเช่นพระคริสต์ดลใจครูไม่ให้ยอมแพ้ในการช่วยให้เยาวชนชายหญิงแต่ละคนเปลี่ยนใจเลื่อมใสอย่างแท้จริง เอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์สอนว่า “เมื่อเราได้รับเรียกให้สอน เราควรยอมรับการเรียกและสอนเพราะเรารักพระผู้เป็นเจ้าพระบิดานิรันดร์และพระบุตรของพระองค์พระเยซูคริสต์ นอกจากนี้ครูสอนพระกิตติคุณควรสอนด้วยความรักที่มีต่อนักเรียนเสมอ … ความรักที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้าและต่อบุตรธิดาของพระองค์คือเหตุผลสูงสุดในการรับใช้ ผู้ที่สอนด้วยความรักจะได้รับความช่วยเหลือในฐานะที่เป็นเครื่องมือในพระหัตถ์ของพระองค์ผู้ที่เขารับใช้” (“การสอนพระกิตติคุณ,”เลียโฮนา,ม.ค. 2000, 97)

ครูกับนักเรียนที่รักพระเจ้าและรู้ว่าพระองค์ทรงรักพวกเขารู้สึกปรารถนาอย่างแท้จริงที่จะใกล้ชิดพระองค์และเป็นเหมือนพระองค์มากขึ้น พวกเขาเคารพยาเกรงพระวจนะของพระองค์และถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์ในระดับที่กระตุ้นพวกเขาให้ศึกษาพระคัมภีร์อย่างขยันหมั่นเพียรประยุกต์ใช้สิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ และแบ่งปันสิ่งที่พวกเขากาลังเรียนรู้กับผู้อื่น

เมื่อนักเรียนรู้ว่าครูกับนักเรียนคนอื่นๆ รักและเคารพพวกเขา พวกเขาพร้อมจะเรียนรู้มากขึ้นเมื่อมาชั้นเรียน การยอมรับและความรักที่พวกเขารู้สึกจากคนอื่นสามารถทำให้ใจพวกเขาอ่อนโยนลง กลัวน้อยลง เกิดความปรารถนาและความเชื่อมั่นซึ่งจำเป็นต่อการบอกเล่าประสบการณ์และความรู้สึกให้ครูกับสมาชิกชั้นเรียนคนอื่นๆ ฟัง

ครูสามารถหล่อเลี้ยงความรู้สึกรักและเคารพพระเจ้าโดยช่วยให้นักเรียนเข้าใจการชดใช้ สอนพวกเขาเรื่องคุณลักษณะอันสูงส่งและคุณค่าอันหาที่สุดมิได้ของพวกเขาต่อพระบิดาบนสวรรค์และพระบุตรของพระองค์ โดยพูดและเป็นพยานถึงพระองค์ด้วยท่าทีที่เหมาะสมและยาเกรง

ครูควรพัฒนาความรักความเคารพที่มีต่อนักเรียน การทำเช่นนั้นจะช่วยให้พวกเขาแผ่ขยายความรักอันบริสุทธิ์ของพระคริสต์ไปยังนักเรียนและช่วยให้พวกเขาสอนด้วยความอดทนและการุณยธรรม ครูสามารถรู้จักชื่อนักเรียนและพยายามรู้เกี่ยวกับความสนใจ พรสวรรค์ การท้าทาย และความสามารถของนักเรียน พวกเขาสามารถสวดอ้อนวอนให้นักเรียน ทั้งโดยส่วนรวมและส่วนตัว ครูสามารถต้อนรับนักเรียนแต่ละคนเข้าชั้นเรียนด้วยตนเองและเปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วม พวกเขาควรตั้งใจฟังขณะนักเรียนถามคำถามหรือบอกเล่าความคิดหรือความรู้สึก นอกจากนี้ครูอาจไปร่วมชมการแสดง การแข่งกีฬา หรืองานอื่นๆ ที่นักเรียนมีส่วนร่วม ในความพยายามรักนักเรียน ครูไม่ควรพยายามทำหน้าที่แทนบิดามารดาหรือผู้นำฐานะปุโรหิตหรือเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของนักเรียน

ครูส่วนใหญ่จะมีนักเรียนในชั้นที่มีความสามารถจำกัดหรือทุพพลภาพด้านร่างกายหรือจิตใจในระดับหนึ่ง คนเหล่านี้เป็นบุตรธิดาของพระบิดาบนสวรรค์เช่นกันและจำเป็นต้องเรียนพระกิตติคุณแม้จะมีความท้าทายส่วนตัวหรือข้อจำกัดที่ประสบในความเป็นมรรตัยก็ตาม ศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธสอนว่า “จิตใจและวิญญาณทั้งหมดที่พระผู้เป็นเจ้าส่งมาในโลกล้วนขยายได้” (คำสอนของประธานศาสนาจักร: โจเซฟ สมิธ [2007], หน้า 225) ครูจะต้องละเอียดอ่อนต่อความรู้สึกของนักเรียนทุกคนและนึกถึงความต้องการและความสามารถส่วนตัวขณะที่พวกเขาเตรียมและนำเสนอบทเรียน

สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นประโยชน์มากที่สุดและครูสามารถทำได้เพื่อพัฒนารักแท้ที่มีต่อนักเรียนคือแสวงหาของประทานแห่งจิตกุศลผ่านการสวดอ้อนวอนที่จริงใจ ศาสดาพยากรณ์มอรมอนสอนว่า “ดังนั้น, พี่น้องที่รักของข้าพเจ้า, จงสวดอ้อนวอนพระบิดาจนสุดพลังของใจ, เพื่อท่านจะเปี่ยมด้วยความรักนี้, ซึ่งพระองค์ประทานให้ทุกคนซึ่งเป็นผู้ติดตามที่แท้จริงของพระบุตรของพระองค์, พระเยซูคริสต์”(โมโรไน 7:48)

สำนึกในจุดประสงค์[2.2.2]

สำนึกในจุดประสงค์ที่ครูและนักเรียนมีร่วมกันสามารถเพิ่มพูนศรัทธา ให้ทิศทางและความหมายแก่ประสบการณ์ชั้นเรียนได้ นักเรียนควรเข้าใจว่าพวกเขากาลังเข้าชั้นเรียนเพื่อมารู้จักพระบิดาบนสวรรค์และพระบุตรของพระองค์พระเยซูคริสต์ ก้าวหน้าสู่ชีวิตนิรันดร์ผ่านการศึกษาพระคัมภีร์และถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์ พวกเขาควรเชื่อว่าโดยผ่านการเข้าไปสู่พระเจ้าด้วยเจตคติของการถามและการสวดอ้อนวอน พวกเขาย่อมรับการสอนและการจรรโลงใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ เมื่อครูกับนักเรียนเข้าสู่การศึกษาพระคัมภีร์ด้วยความคาดหวังว่าจะเรียนรู้ผ่านพระวิญญาณและเรียนรู้จากกัน พวกเขากำลังสร้างสภาพแวดล้อมที่เชื้อเชิญการเปิดเผย

ครูสามารถปลุกสำนึกของจุดประสงค์ในห้องเรียนโดยทำดังนี้

  • คาดหวังให้นักเรียนทำบทบาทของตนให้มีสัมฤทธิผลในฐานะผู้เรียน สำนึกของจุดประสงค์มีอยู่ในชั้นเรียนที่ครูคาดหวังให้นักเรียนบรรลุบทบาทของตนในฐานะผู้เรียนและช่วยพวกเขาในการทำเช่นนั้นและที่นักเรียนได้รับความไว้วางใจให้เอื้อประโยชน์ในหลายๆด้าน ครูที่มีสำนึกในจุดประสงค์และรักนักเรียนอย่างแท้จริงจะสนใจความก้าวหน้าและความสำเร็จของนักเรียนมากเกินกว่าจะพอใจกับความพยายามเพียงเล็กน้อย ครูเช่นนั้นจะให้กำลังใจด้วยความรักและจะยกระดับนักเรียนให้บรรลุศักยภาพในฐานะผู้เรียนและสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์

  • จงจริงใจ กระตือรือร้น และขะมักเขม้นศึกษาพระคัมภีร์และพระกิตติคุณ โดยปกตินักเรียนมีความปรารถนาจะเรียนรู้อย่างมีจุดประสงค์มากขึ้นเมื่อพวกเขารู้สึกถึงความกระตือรือร้นและศรัทธาของครูในเนื้อหาที่กาลังสนทนา

  • เตรียมบทเรียนที่จรรโลงใจ เมื่อครูมาชั้นเรียนพร้อมบทเรียนที่จรรโลงใจ เตรียมมาอย่างดี และรู้สึกมั่นใจในการนำทางที่พวกเขาได้รับ พวกเขาย่อมถ่ายทอดสำนึกในจุดประสงค์ให้นักเรียนรับรู้โดยง่าย

  • เตรียมสื่อการเรียนการสอนและอุปกรณ์ที่ต้องใช้ ครูควรมาถึงห้องเรียนก่อนนักเรียนเพื่อเตรียมสื่อการเรียนการสอนและอุปกรณ์ที่จำเป็น การทำเช่นนี้ทำให้ครูมีโอกาสต้อนรับนักเรียนแต่ละคนเมื่อพวกเขามาถึง นักเรียนควรมาถึงชั้นเรียนตรงเวลา และมีอุปกรณ์การเรียนที่เหมาะสม—เช่น พระคัมภีร์ ดินสอสำหรับทำเครื่องหมาย สมุดบันทึก—วางไว้ที่โต๊ะเมื่อเริ่มชั้นเรียน

  • อย่าเสียเวลา ขณะชั้นเรียนเริ่มตรงเวลาและเมื่อนักเรียนรับรู้ว่าไม่มีเวลาให้เสียเปล่าพวกเขาจะรู้สึกสำนึกในจุดประสงค์

  • กำหนดกิจวัตรชั้นเรียน การกำหนดกิจวัตรสำหรับกิจกรรมชั้นเรียนที่ทำซ้ำบ่อยครั้งก่อให้เกิดสำนึกในระเบียบและจุดประสงค์ กิจวัตรชั้นเรียนส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากนักเรียนแต่ละคนอีกทั้งช่วยครูและนักเรียนให้ใช้เวลาอันมีค่าของชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ท่านสามารถกำหนดกิจวัตรสำหรับกิจกรรมต่างๆ ได้เช่นการหยิบพระคัมภีร์และสื่อการเรียนออกมา จากนั้นจัดเก็บเข้าที่ จัดให้มีข้อคิดทางวิญญาณที่ยกระดับจิตใจ แจกและเก็บกระดาษตลอดจนสื่อต่างๆ จะดีที่สุดถ้าแจ้งข้อประกาศบันทึกชื่อนักศึกษาที่เข้าเรียน ตรวจงานมอบหมาย และดำเนินธุรกิจอื่นก่อนเริ่มให้ข้อคิดทางวิญญาณและบทเรียน

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาะสม[2.2.3]

นอกจากความรัก ความเคารพ และจุดประสงค์แล้ว สภาวะแวดล้อมที่ดีเลิศของการเรียนพระกิตติคุณยังประกอบด้วยระเบียบ ความคารวะ และความรู้สึกสงบ เอ็ลเดอร์บอยด์ เค. แพคเกอร์สอนว่า “การดลใจเกิดง่ายขึ้นในสภาวะแวดล้อมที่เงียบสงบ” และ “ความคารวะเชื้อเชิญการเปิดเผย” (“Reverence Invites Revelation,”Ensign,Nov. 1991, 21-22) ต่อไปนี้เป็นข้อเสนอแนะบางประการที่ครูใช้สร้างและรักษาบรรยากาศที่นำไปสู่การเรียนพระกิตติคุณ

สร้างสภาวะแวดล้อมทางกายสำหรับการเรียนรู้

สภาพแวดล้อมทางกายภาพสามารถมีผลกระทบต่อสิ่งที่นักเรียนประสบในการเรียนรู้พระกิตติคุณ ครูควรทำทุกอย่างที่ทาได้เพื่อเตรียมห้องเรียนทั้งนี้เพื่อนักเรียนจะรู้สึกสบายและสามารถจดจ่อกับบทเรียนได้ เรื่องที่อาจพิจารณาได้แก่

ที่นั่ง นอกจากสภาวการณ์ที่ผิดธรรมดามากแล้ว นักเรียนทุกคนควรมีที่นั่งสะดวกสบาย ที่สำหรับวางพระคัมภีร์และสื่อการเรียน รวมทั้งที่สำหรับเขียน การจัดที่นั่งควรช่วยให้นักเรียนมองเห็นครูและทัศนอุปกรณ์อื่นๆ ที่ครูใช้ได้ง่าย หากอยู่ในวิสัยที่ทำได้ ครูสามารถจัดที่นั่งต่างจากเดิมเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้แบบต่างๆ การให้นั่งตามที่กำหนดจะช่วยให้ครูรู้จักชื่อนักเรียนได้อย่างรวดเร็ว จัดชั้นเรียนให้ทำงานหรือทำแบบฝึกหัดผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์เป็นกลุ่มเล็ก แยกนักเรียนที่ชอบคุยกันระหว่างเรียน ครูควรละเอียดอ่อนต่อนักเรียนที่อาจมีภาวะบกพร่องด้านการเคลื่อนไหวหรือการมองเห็นโดยจัดหาเครื่องอำนวยความสะดวกเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพวกเขาในชั้นเรียน

สิ่งรบกวน ครูควรพยายามขจัดสิ่งรบกวนที่อาจขัดจังหวะกระบวนการสอนและการเรียนรู้ ถ้าการสอนเกิดขึ้นที่บ้านอาจมีความท้าทายบางอย่าง แต่แม้ในสภาวะแวดล้อมเช่นนั้นครูสามารถลดการขัดจังหวะได้ด้วยการวางแผนอย่างรอบคอบ

ลักษณะของห้องเรียน รูปเกี่ยวกับพระกิตติคุณ ภาพประกอบ โปสเตอร์และภาพอื่นๆ มักยกระดับสภาวะแวดล้อมการเรียนรู้เสมอ ห้องเรียนที่เรียบร้อย สะอาด เป็นระเบียบส่งเสริมให้เกิดความคารวะเช่นกันและส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่นำไปสู่อิทธิพลของพระวิญญาณ

รูปลักษณ์ภายนอกของครู นักเรียนจะรับรู้ความสำคัญของประสบการณ์การเรียนรู้ง่ายขึ้นเมื่อการแต่งกายและบุคลิกภาพภายนอกของครูสุภาพเรียบร้อย เหมาะสม และสะท้อนความศักดิ์สิทธิ์ของข่าวสารพระกิตติคุณ

อัญเชิญพระวิญญาณผ่านการให้ข้อคิดทางวิญญาณที่มีประสิทธิภาพ

ชั้นเรียนควรเริ่มด้วยการให้ข้อคิดทางวิญญาณสั้นๆ การให้ข้อคิดทางวิญญาณสามารถเป็นวิธีทำให้นักเรียนเป็นหนึ่งเดียวกันได้ดีเยี่ยมโดยหันความคิดและจิตใจมาที่เรื่องทางวิญญาณ สิ่งนั้นจะช่วยให้ครูกับนักเรียนรู้สึกถึงพระวิญญาณและพร้อมจะเรียนรู้ ปกติการให้ข้อคิดทางวิญญาณประกอบด้วยเพลงสวด การสวดอ้อนวอน และข้อคิดจากพระคัมภีร์ ซึ่งจะได้ผลมากที่สุดเมื่อนักเรียนแบ่งปันความรู้สึก ความเข้าใจที่พวกเขามีในการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัวและเมื่อพวกเขาแสดงประจักษ์พยาน การให้ข้อคิดนานเกินควรหรือละเอียดเกินไปไม่เพียงเอาเวลาไปจากบทเรียนเท่านั้น แต่อาจทำให้พระวิญญาณถอนไปได้ด้วย ค่อนข้างแน่นอนว่าการให้ข้อคิดที่เสิร์ฟอาหารว่างไปด้วยจะสร้างอารมณ์ร่าเริงสนุกสนานแทนอารมณ์ทางวิญญาณ ครูควรใช้เวลาพูดคุยกับนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำชั้นเรียนเกี่ยวกับจุดประสงค์ของการให้ข้อคิดทางวิญญาณ สิ่งที่พวกเขาทำได้เพื่อให้ข้อคิดทางวิญญาณดีขึ้น และวิธีที่พวกเขาจะกระตุ้นทุกคนให้มีส่วนร่วม

สนทนาหลักธรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ทางวิญญาณ

ตอนต้นปี ครูอาจให้นักเรียนมีส่วนในการสนทนาว่าสภาพใดส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิญญาณ (ดู 1 โครินธ์ 2:10-11; คพ. 50:17-22; 88:121-26) การสนทนาเหล่านี้อาจมุ่งเน้นพฤติกรรมที่อัญเชิญพระวิญญาณของพระเจ้าให้สถิตกับพวกเขาในการเรียนรู้พระกิตติคุณและพฤติกรรมที่ทำให้พระวิญญาณถอนไป ครูและนักเรียนควรให้กำลังใจกันอย่างต่อเนื่องให้ประยุกต์ใช้สิ่งที่พวกเขาเห็นพ้องว่าจะอัญเชิญพระวิญญาณ ความพยายามเช่นนั้นจะช่วยทั้งครูและนักเรียนให้เข้าใจและมีสัมฤทธิผลตามบทบาทในการอัญเชิญพระวิญญาณเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้

เลือกกิจกรรมการเรียนรู้อย่างรอบคอบ

ครูควรรู้ว่ากิจกรรมการเรียนรู้ที่ต่างกันจะก่อให้เกิดอารมณ์และเจตคติต่างกันไปในหมู่นักเรียน ตัวอย่างเช่น หลังจากให้เล่นเกมส่งเสริมความรู้ที่ใช้เสียงตอนเริ่มต้นชั้นเรียน ครูคนหนึ่งรู้สึกหงุดหงิดเมื่อตอนท้ายบทเรียนเขาไม่สามารถสร้างบรรยากาศทางวิญญาณมากขึ้นได้ ครูอีกคนหนึ่งพบว่าปัญหาเรื่องวินัยเพิ่มขึ้นเมื่อเธอแจกอาหารว่างในระหว่างเรียน

จงเอาใจใส่พฤติกรรมของนักเรียนและตอบสนองอย่างเหมาะสม

ครูควรรับรู้ว่ากาลังเกิดอะไรขึ้นในระหว่างเรียนและตอบสนองในวิธีที่เหมาะสม ถ้านักเรียนดูท่าทางเบื่อหรือกระสับกระส่าย นั่นอาจเป็นเพราะพวกเขาไม่มีส่วนร่วมหรือพวกเขาไม่เข้าใจสิ่งที่ครูสอนหรือบทเรียนเข้ากับพวกเขาอย่างไร เพื่อช่วยให้นักเรียนจดจ่อกับบทเรียน ครูอาจต้องเปลี่ยนบางอย่างในการนำเสนอ ถ้านักเรียนแสดงออกอย่างไม่เหมาะสมและทำให้พระวิญญาณถอนไปจากชั้นเรียน ครูต้องแสวงหาการดลใจในการแก้ไขปัญหาแทนที่จะเพิกเฉย ครูควรสังเกตนักเรียนที่ไม่ปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนคนอื่นๆ หรือดูท่าทางหงอยเหงาเช่นกัน นักเรียนเหล่านี้อาจต้องการความสนใจส่วนตัวเพิ่มเติมบ้างจากครูและนักเรียนคนอื่นๆ ในชั้น ในกรณีเช่นนั้น ครูอาจพูดคุยกับบิดามารดาและผู้นำฐานะปุโรหิตเพื่อพิจารณาว่ามีสาเหตุสำคัญหรือสภาพแท้จริงที่พวกเขาควรทราบหรือไม่

แก้ไขพฤติกรรมไม่เป็นระเบียบหรือไม่เหมาะสม

มีหลักเกณฑ์ทั่วไปบางอย่างที่พึงจดจำซึ่งจะช่วยครูสร้างระเบียบและความเคารพที่เหมาะสมในห้องเรียน ความมีระเบียบมิได้หมายความเสมอไปว่าต้องเงียบกริบ หรือมิได้หมายความว่าชั้นเรียนจะร่าเริงสนุกสนานไม่ได้ แต่นักเรียนหรือกลุ่มนักเรียนที่ไร้ระเบียบหรือขาดความคารวะจะส่งผลกระทบในแง่ลบต่อกระบวนการเรียนรู้และขัดขวางอิทธิพลของพระวิญญาณบริสุทธิ์

เมื่อนักเรียนคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งประพฤติไม่เหมาะสม นั่นสามารถทำให้ครูและนักเรียนคนอื่นๆหงุดหงิดได้ ในเวลาเช่นนั้น สำคัญอย่างยิ่งที่ครูจะควบคุมอารมณ์และแสวงหาอิทธิพลของพระวิญญาณ วิธีที่ครูตอบสนองเหตุการณ์ใดก็ตามที่เกิดขึ้นอาจสำคัญกว่าตัวเหตุการณ์และสามารถเพิ่มหรือลดความเคารพและความไว้วางใจของนักเรียนได้ ขณะครูแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม พวกเขาต้องหนักแน่นแต่เป็นมิตร ยุติธรรม และห่วงใย จากนั้นจึงกลับเข้าสู่บทเรียนอย่างรวดเร็ว ขณะครูแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม พวกเขาต้องหนักแน่นแต่เป็นมิตร ยุติธรรม และห่วงใย จากนั้นจึงกลับเข้าสู่บทเรียนอย่างรวดเร็ว และอาจส่งผลให้นักเรียนคนอื่นๆ กลัวหรือไม่ไว้ใจครู ครูควรจดจำอิทธิพลที่ชอบธรรมของการชักชวน ความอดกลั้น ความสุภาพอ่อนน้อม ความอ่อนโยน ความรักที่ไม่เสแสร้ง และความกรุณา (ดู คพ.121:41-42)

มีขั้นตอนบางอย่างที่ครูทำได้เพื่อรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น ต่อไปนี้เป็นวิธีแก้ไขปัญหาซึ่งอาจไม่ได้ผลอย่างเดียวกันกับนักเรียนหรือสถานการณ์ทุกอย่าง

  • ใช้วิธีสบตา นักเรียนมักจะพูดคุยกันในเวลาที่ไม่สมควรเพราะพวกเขาคิดว่าครูจะไม่สังเกตเห็น ครูอาจมองนักเรียนและสบตาสักครู่เพื่อให้พวกเขารู้ว่าครูตระหนักในสิ่งที่กาลังเกิดขึ้น

  • หยุดพูด ถ้านักเรียนกำลังพูดทั้งที่พวกเขาควรฟัง ครูควรหยุดพูด อาจต้องหยุดกลางประโยคถ้าจำเป็น โดยปกติการพูดเสียงดังขึ้นเพื่อกลบเสียงพวกเขาจะไม่แก้ปัญหา

  • เดินเข้าไปใกล้ การกระทำอีกอย่างหนึ่งที่ครูทำได้เพื่อแก้ไขพฤติกรรมโดยไม่ต้องเผชิญหน้านักเรียนโดยตรงคือเดินไปยืนอยู่ข้างๆ นักเรียนที่ประพฤติไม่เหมาะสม ครูสามารถสอนบทเรียนต่อไปแต่นักเรียนมักจะรู้สึกว่าครูอยู่ที่นั่นและหยุดสิ่งที่เขากำลังทำอยู่

  • ถามคำถาม ครูสามารถถามนักเรียนที่กำลังก่อกวนได้ด้วยการใช้คำถามเกี่ยวกับบทเรียนโดยไม่ดึงความสนใจไปสู่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม นี่ไม่ได้ทำเพื่อให้นักเรียนอับอายแต่เพื่อช่วยนำเขากลับเข้าสู่การสนทนา

อาจมีบางครั้งที่นักเรียนไม่ตอบสนองความพยายามที่ไม่ค่อยตรงจุดเหล่านี้และยังคงก่อกวนชั้นเรียน ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนเพิ่มเติมบางอย่างที่ตรงจุดมากขึ้นเพื่อครูจะสามารถรักษาระเบียบไว้ได้

  • หารือกับนักเรียนเป็นส่วนตัว พระเจ้าตรัสว่าถ้ามีคนล่วงเกินอีกคนหนึ่ง คนถูกล่วงเกินควรพูดคุยกับคนล่วงเกิน “เฉพาะเขาหรือเธอกับเจ้าตามลำพัง” (คพ. 42:88) ครูอาจหารือกับนักเรียนว่าเหตุใดจึงประพฤติไม่เหมาะสมและให้เขารู้ว่าต้องเปลี่ยนพฤติกรรมหาไม่แล้วจะดำเนินการเพิ่มเติม ครูควรแน่ใจว่าพวกเขาแยกพฤติกรรมของนักเรียนจากค่าส่วนบุคคลของคนเหล่านั้น สำคัญที่ครูต้องจดจำว่า “ค่าของจิตวิญญาณยิ่งใหญ่ในสายพระเนตรของพระผู้เป็นเจ้า” (คพ. 18:10) พวกเขาควรสื่อสารกับนักเรียนว่าแม้พฤติกรรมไม่ดีเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้แต่เขามีคุณค่า ครูควรจำไว้ว่าต้องทำตามคำแนะนำของพระเจ้าและแสดง “ความรักเพิ่มขึ้นต่อคนที่ท่านว่ากล่าว” (คพ. 121:43)

  • แยกนักเรียนที่ก่อกวน

  • หารือกับบิดามารดาหรือผู้นำฐานะปุโรหิต ถ้าพฤติกรรมที่ไม่อาจยอมรับได้ยังมีอยู่ วิธีที่มักจะช่วยได้คือให้ครูหารือกับบิดามารดาของนักเรียน บิดามารดาสามารถให้ข้อคิดและแนวคิดเพิ่มเติมที่จะช่วยแก้ไขข้อกังวล ในบางกรณีอธิการของนักเรียนคนนั้นอาจช่วยได้

  • ให้ออกจากชั้นเรียน ประธานเดวิด โอ. แมคเคย์ให้คำแนะนำแก่ครูดังนี้ “ถ้า[ความพยายามของท่าน] ไม่เป็นผล ท่านสามารถร้องเรียนบิดามารดา และท่านสามารถพูดได้ว่า ‘ถ้าเขายังทำตัวไม่ดีต่อไป เราจะคัดชื่อเขาออก’ นั่นเป็นวิธีดำเนินการขั้นเด็ดขาด ครูคนใดจะให้ [นักเรียน] ออกจากห้องเขาควรใช้วิธีการอื่นทั้งหมดก่อนทำเช่นนั้น แต่เรา ต้อง มีระเบียบ!—ซึ่งจำเป็นต่อการเติบโตทางวิญญาณ และถ้า [นักเรียน] คนหนึ่งไม่ยอม หรือถ้า [นักเรียน] สองคนไม่ยอมทำให้เกิดการเติบโตเช่นนั้น พวกเขาต้องออกไป [นักเรียน] คนหนึ่งหิวโหยดีกว่าทั้งชั้นถูกวางยาพิษอย่างช้าๆ” (“Guidance of a Human Soul—The Teacher’s Greatest Responsibility,” Instructor,Sept. 1965, 343)

ก่อนขอให้นักเรียนออกจากชั้นช่วงระยะเวลาหนึ่ง ครูควรหารือกับบิดามารดา ผู้ดูแลเซมินารีและสถาบัน และผู้นำฐานะปุโรหิตที่เหมาะสม ในสภาวการณ์เช่นนั้นสำคัญที่ครูจะช่วยนักเรียนและบิดามารดาให้เข้าใจว่านักเรียนกำลังเลือกออกจากเซมินารีโดยเลือกประพฤติตนในลักษณะที่ไม่อาจยอมรับได้ สิ่งที่ยอมรับไม่ได้คือการก่อกวน ไม่ใช่นักเรียน เมื่อเขาเลือกแก้ไข เรายินดีให้เขากลับเข้าชั้นเรียน

ศึกษาพระคัมภีร์ทุกวันและอ่านตำราที่ใช้ในหลักสูตร[2.3]

ศึกษาพระคัมภีร์ทุกวัน[2.3.1]

การศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัวทุกวันให้โอกาสนักเรียนและครูได้เรียนพระกิตติคุณ พัฒนาประจักษ์พยาน และได้ยินสุรเสียงของพระเจ้าอย่างสม่ำเสมอ พระเจ้าตรัสในหลักคำสอนและพันธสัญญาว่า “เราให้พระคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เพื่อเป็นคำแนะนำของเจ้า” (คพ. 33:16) ศาสดาพยากรณ์นีไฟสอนว่าคนเหล่านั้นที่ “มุ่งหน้า, ดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์, และอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่ …จะมีชีวิตนิรันดร์” (2 นีไฟ 31:20)และ “พระวจนะของพระคริสต์จะบอกท่านทุกสิ่งที่ท่านควรทำ 2 นีไฟ 32:3)

ศาสดาพยากรณ์ยุคสุดท้ายได้เน้นความสำคัญของการศึกษาพระคัมภีร์ทุกวัน ประธานฮาโรลด์ บี. ลีเตือนดังนี้ “ถ้าเราไม่อ่านพระคัมภีร์ทุกวัน ประจักษ์พยานของเราจะค่อยๆ ลดลง ความเข้มแข็งทางวิญญาณของเราจะไม่ลึกซึ้ง” ( คำสอนของประธานศาสนจักร: ฮาโรลด์ บี. ลี [2000] หน้า 62) เอ็ลเดอร์ฮาเวิร์ด ดับเบิลยู. ฮันเตอร์สอนเช่นกันว่า “แน่นอนว่าคนที่ศึกษาพระคัมภีร์ทุกวันประสบความสำเร็จยิ่งกว่าคนที่ทุ่มเวลามากวันเดียวแล้วปล่อยไปหลายวันกว่าจะกลับมาอ่านต่อ” (“Reading the Scriptures,” Ensign, Nov. 1979, 64)

เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์ขอดังนี้ “โปรดจุดประกายความรักพระคัมภีร์ในความคิดและในใจเยาวชนที่ล้ำค่าแต่ละคน ช่วยจุดไฟที่ไม่รู้ดับในเยาวชนแต่ละคนเพื่อกระตุ้นคนที่เคยรู้สึกเช่นนั้นให้เกิดความปรารถนาจะรู้พระวจนะของพระเจ้ามากขึ้น เข้าใจคำสอน ประยุกต์ใช้ และแบ่งปันกับผู้อื่น …

“หนึ่ง ช่วยให้นักเรียนของท่านค่อยๆ เข้าใจผ่านข้อความหลายตอนของพระวจนะอันศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า ช่วยให้พวกเขารู้สึกถึงความกระตือรือร้น ความเคารพ และความรักที่ท่านมีต่อพระคัมภีร์

“สอง ช่วยพวกเขาฝึกอ่าน ไตร่ตรอง และสวดอ้อนวอนเป็นส่วนตัวเพื่อค้นพบพลังและสันติสุขที่หลั่งไหลมาจากพระคัมภีร์” (“Four Fundamentals for Those Who Teach and Inspire Youth” [CES symposium on the Old Testament, Aug. 14, 1987], 5)

มีไม่กี่อย่างที่ครูทำได้เพื่อจะเป็นอิทธิพลดี เปี่ยมด้วยพลัง และยั่งยืนในชีวิตนักเรียนมากกว่าช่วยให้พวกเขารักพระคัมภีร์และศึกษาทุกวัน สิ่งนี้มักจะเริ่มขึ้นเมื่อครูเป็นแบบอย่างของการศึกษาพระคัมภีร์ทุกวันในชีวิตพวกเขาเอง การใช้เวลาศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัวอย่างมีความหมายทุกวันทำให้ครูมีคุณสมบัติคู่ควรมอบประจักษ์พยานส่วนตัวให้นักเรียนเกี่ยวกับคุณค่าของพระคัมภีร์ในชีวิตพวกเขาเอง ประจักษ์พยานเช่นนั้นจะเป็นตัวเร่งสำคัญในการช่วยให้นักเรียนตั้งใจศึกษาพระคัมภีร์เป็นประจำด้วยตนเอง

ครูควรสอนหลักคำสอนและหลักธรรมแก่นักเรียนอย่างสม่ำเสมอหลังจากการศึกษาพระคัมภีร์ประจำวันเป็นส่วนตัว ช่วยนักเรียนให้รับผิดชอบการศึกษาประจำวันของตนโดยใช้ระบบติดตามที่เหมาะสมเพื่อประเมินสมรรถภาพของพวกเขา และเปิดโอกาสเป็นประจำให้นักเรียนในชั้นได้แบ่งปันบางสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้และรู้สึกในการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว ขณะที่ครูกระตุ้นให้ศึกษาพระคัมภีร์ทุกวัน พวกเขาควรระวังอย่าทำให้นักเรียนที่อาจมีปัญหากับการศึกษาพระคัมภีร์ด้วยตนเองอับอายหรือหมดกำลังใจ

นักเรียนที่บกพร่องด้านการอ่านหรือการเรียนรู้ด้านอื่นควรมีทางเลือกให้ศึกษาพระคัมภีร์ในรูปแบบที่อาจเหมาะกับความต้องการของพวกเขามากกว่า เช่น เสียง ภาษามืออเมริกัน หรืออักษรเบรลล์ นักเรียนหลายคนที่มีปัญหาเรื่องการอ่านได้ประโยชน์จากการดูตามตัวอักษรในหน้าหนังสือที่พิมพ์ไว้ขณะคนอื่นอ่านออกเสียง

ทักษะและวิธีศึกษาพระคัมภีร์

เพื่อช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว ครูสามารถช่วยพวกเขาในการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากทักษะและวิธีศึกษาพระคัมภีร์ที่หลากหลาย ทักษะและวิธีทั้งหมดนี้ ตลอดจนวิธีอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ในคู่มือเล่มนี้ ควรมุ่งช่วยเหลือนักเรียนให้เรียนรู้ด้วยพระวิญญาณ เข้าใจพระคัมภีร์ ค้นพบและประยุกต์ใช้หลักคำสอนและหลักธรรมพระกิตติคุณในชีวิตพวกเขา

ใช้สิ่งช่วยศึกษาพระคัมภีร์ ศาสนจักรได้เตรียมสิ่งช่วยศึกษาพระคัมภีร์ไว้มากมายและรวมไว้ในงานมาตรฐานบางภาษาด้วย (คู่มือพระคัมภีร์เป็นสิ่งช่วยศึกษากลุ่มหนึ่งที่เตรียมให้ภาษาอื่น) สิ่งช่วยเหล่านี้ได้แก่ เชิงอรรถ หัวบท ดัชนีหัวข้อ Bible Dictionary และแผนที่ ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งช่วยอันทรงคุณค่ามากที่สุดบางส่วนที่ครูและนักเรียนสามารถใช้ได้ขณะศึกษาพระคัมภีร์ ครูสามารถช่วยให้นักเรียนคุ้นเคยกับสิ่งช่วยศึกษาเหล่านี้และแหล่งช่วยต่างๆ โดยใช้อย่างเหมาะสมในระหว่างชั้นเรียน ศาสนจักรจัดทำแหล่งช่วยศึกษาที่เป็นประโยชน์อื่นๆ ทางออนไลน์เช่นกัน

ทำเครื่องหมายและเขียนคำอธิบายประกอบ วิธีช่วยครูและนักเรียนให้เข้าใจและจดจำสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ได้มากที่สุดวิธีหนึ่งคือทำเครื่องหมายและเขียนคำอธิบายประกอบพระคัมภีร์ เราทำเครื่องหมายเพื่อชี้ชัด แยกแยะ กันไว้ หรือเน้นความสนใจ เราทำได้โดยขีดเส้นใต้ แรเงา หรือตีกรอบคำสำคัญหรือข้อความสำคัญในพระคัมภีร์ เราเขียนคำอธิบายประกอบเพื่อเพิ่มหมายเหตุหรือข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ตัวอย่างคำอธิบายประกอบพระคัมภีร์อาจได้แก่การเขียนความรู้สึกส่วนตัว ความเห็นของศาสดาพยากรณ์ การทำอ้างโยงนิยามของคำ หรือข้อคิดที่ได้จากความเห็นของสมาชิกชั้นเรียนตรงที่ว่างริมหน้าใกล้กับพระคัมภีร์ข้อนั้น

การทำเครื่องหมายและเขียนคำอธิบายประกอบจะช่วยนักเรียนและครูดังนี้

  • ทำให้คำ วลี แนวคิด ความจริง ผู้คน และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เป็นที่จดจำและหาง่ายขึ้น

  • ช่วยให้เข้าใจและค้นพบความหมายในเนื้อความพระคัมภีร์

  • เก็บรักษาข้อคิดส่วนตัวที่ได้มาและได้รับจากคนอื่นๆ

  • เตรียมสอนพระกิตติคุณให้คนอื่นๆ

ครูสามารถกระตุ้นนักเรียนให้ทำเครื่องหมายพระคัมภีร์ของพวกเขาโดยพูดทำนองนี้ “ขณะค้นคว้าข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ ครูขอให้คุณทำเครื่องหมายหลักธรรมสำคัญที่คุณค้นพบ” หรือ “นี่เป็นข้ออ้างโยงที่สำคัญ คุณอาจจะอยากเขียนไว้ตรงที่ว่างริมหน้ากระดาษในพระคัมภีร์ของคุณ” การสอนอธิบาย และฝึกองค์ประกอบพื้นฐานของการทำเครื่องหมายพระคัมภีร์ตลอดปีย่อมดีกว่าสอนระบบการทำเครื่องหมายโดยเฉพาะ

ไตร่ตรอง การไตร่ตรองหมายถึงใคร่ครวญหรือคิดอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับเรื่องบางเรื่องและมักรวมถึงการสวดอ้อนวอนด้วย เมื่อนักเรียนฝึกไตร่ตรองระหว่างการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว พระวิญญาณมักจะทรงเปิดเผยความจริงต่อพวกเขาและช่วยให้พวกเขารู้ว่าจะเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์มากขึ้นได้อย่างไร

หลังจากสอนชาวนีไฟ พระผู้ช่วยให้รอดรับสั่งกับพวกเขาให้ “ไตร่ตรองถึงเรื่องที่เราพูด” (3 นีไฟ 17:3) วิธีหนึ่งที่ช่วยให้นักเรียนมีส่วนร่วมทางวิญญาณในบทเรียนและกระตุ้นพวกเขาให้ประยุกต์ใช้และทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งในสิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้คือให้เวลาพวกเขาพินิจไตร่ตรองในชั้นเรียนเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ ในเวลาเช่นนั้นครูควรกระตุ้นพวกเขาให้ขอความช่วยเหลือจากพระเจ้า

ถามคำถาม การฝึกถามคำถามและหาคำตอบขณะพวกเขาศึกษาพระคัมภีร์เป็นทักษะการศึกษาพระคัมภีร์ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่นักเรียนพัฒนาได้ การถามคำถามทำให้นักเรียนเข้าใจบริบทและเนื้อหาพระคัมภีร์ดีขึ้น ตลอดจนค้นพบและเข้าใจหลักคำสอนสำคัญและหลักธรรมสำคัญของพระกิตติคุณ นักเรียนสามารถเรียนรู้การถามคำถามที่จะนำพวกเขาให้รู้สึกถึงความจริงกับความสำคัญของสิ่งที่พวกเขากำลังศึกษาและรู้วิธีประยุกต์ใช้สิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้

นิยามคำและวลียากๆ พจนานุกรม คู่มือนักเรียน เชิงอรรถ และแหล่งช่วยในการศึกษาพระคัมภีร์มักจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจคำหรือวลียากๆ ได้

นึกภาพ การนึกภาพเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนจินตนาการสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในเรื่องราวพระคัมภีร์ ตัวอย่างเช่น นักเรียนอาจจินตนาการว่าเปโตรกำลังเดินบนน้ำไปหาพระผู้ช่วยให้รอด (ดู มัทธิว 14:28-29) หรือชัดรัค เมชาค และเอเบดเนโกถูกโยนเข้าไปในเตาไฟลุกโชน (ดู ดาเนียล 3:19-25) การนึกภาพจะช่วยทำให้เรื่องราวพระคัมภีร์มีชีวิตและเป็นจริงมากขึ้นสำหรับนักเรียน

เปรียบพระคัมภีร์ การเปรียบพระคัมภีร์คือการเปรียบเทียบพระคัมภีร์กับชีวิตตนเอง นักเรียนจะถามว่า “สภาวการณ์และสถานการณ์ใดบ้างในชีวิตฉัน เหมือน สภาวการณ์และสถานการณ์ในพระคัมภีร์ข้อนี้” หรือ “ฉัน เหมือน บุคคลที่เรากำลังศึกษาในพระคัมภีร์อย่างไร” เมื่อนักเรียนเห็นความคล้ายคลึงระหว่างประสบการณ์ของพวกเขากับผู้ที่อยู่ในพระคัมภีร์ พวกเขาจะสามารถระบุหลักคำสอนและหลักธรรมของพระกิตติคุณได้ดีขึ้น พวกเขาจะเห็นเช่นกันว่าจะประยุกต์ใช้หลักธรรมเหล่านี้กับสถานการณ์คล้ายกันในชีวิตพวกเขาได้อย่างไร

อ้างโยง การอ้างโยงคือการทำอ้างอิงพระคัมภีร์เพิ่มเติมที่ให้ข้อมูลและข้อคิดเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับข้อความที่กำลังศึกษา การอ้างโยงหรือ “การเชื่อมโยง” คือการเชื่อมพระคัมภีร์อ้างอิงที่ช่วยให้นักเรียนเข้าใจข้อความพระคัมภีร์หรือหลักคำสอนหรือหลักธรรม ข้ออ้างโยงที่เป็นประโยชน์จะอยู่ในเชิงอรรถและแหล่งช่วยศึกษาอื่นๆ คู่มือครูและคู่มือนักเรียน ตลอดจนคำปราศรัยการประชุมใหญ่สามัญ ครูและนักเรียนสามารถค้นพบข้ออ้างโยงที่เกี่ยวเนื่องกันในการศึกษาของพวกเขาเอง

เปรียบเทียบและเทียบเคียง ข้อความพระคัมภีร์หรือหลักคำสอนหรือหลักธรรมมักกระจ่างชัดเมื่อนำมาเปรียบเทียบหรือเทียบเคียงกับบางอย่าง การสังเกตความคล้ายคลึงหรือความแตกต่างระหว่างคำสอน ผู้คน หรือเหตุการณ์สามารถทำให้ความจริงพระกิตติคุณคมชัดมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การเทียบเคียงการปกครองของกษัตริย์เบ็นจามินกับกษัตริย์โนอาห์ช่วยให้นักเรียนเห็นพรของผู้นำที่ชอบธรรมและผลเสียของผู้นำที่ชั่วร้ายชัดเจนมาก การเปรียบเทียบชีวิต คำสอนและประจักษ์พยานของเจคอบและแอลมากับปรัชญาและชีวิตของเชเร็มและคอริฮอร์สามารถช่วยให้นักเรียนเห็นถึงปรัชญาเท็จในโลกทุกวันนี้ได้ง่ายขึ้นและเห็นวิธีต่อต้านสิ่งเหล่านั้น การเปรียบเทียบและการเทียบเคียงการเดินทางที่ผิดแผกแตกต่างกันหลายครั้งไปแผ่นดินแห่งคำสัญญาของลูกหลานอิสราเอล ลีไฮกับครอบครัว และชาวเจเร็ดสามารถสอนหลักธรรมที่ช่วยครูและนักเรียนในการเดินทางผ่านชีวิตของพวกเขาเอง

ทำรายการ รายการคือชุดความคิด แนวคิด หรือคำแนะนำสั่งสอนที่เกี่ยวข้อง พระคัมภีร์สามารถช่วยครูและนักเรียนระบุประเด็นหลักที่ผู้เขียนกำลังเน้นย้ำ ตัวอย่างเช่น พระบัญญัติสิบประการคือรายการ (ดู อพยพ 20) ผู้เป็นสุขที่เห็นคือรายการ (ดู มัทธิว 5:3-12; 3 นีไฟ 12:3-11 ) หลักคำสอนและพันธสัญญา 4 ประกอบด้วยรายการคุณสมบัติของคนที่ได้รับเรียกให้รับใช้พระเจ้า

มองหาความเชื่อมโยง รูปแบบ และหัวข้อ ครูสามารถกระตุ้นนักเรียนให้มองหาความเชื่อมโยง รูปแบบ และหัวข้อขณะพวกเขาศึกษาพระคัมภีร์ เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์กล่าวว่า “การค้นหา ความเชื่อมโยง รูปแบบ และหัวข้อของการเปิดเผยเสริมสร้างและเพิ่มเติมความรู้ทางวิญญาณของเรา … ขยายมุมมองและความเข้าใจของเราเกี่ยวกับแผนแห่งความรอด” (“A Reservoir of Living Water” [CES fireside for young adults, Feb. 4, 2007], 2)

โดยปกติครูและนักเรียนจะใช้ทักษะและวิธีการมากมายเหล่านี้ในชั้นเรียนระหว่างปี ขณะทำเช่นนั้นครูอาจหยุดเป็นครั้งคราวและสนทนาสั้นๆ กับนักเรียนเกี่ยวกับวิธีหรือทักษะที่กำลังใช้และกระตุ้นพวกเขาให้ใช้ในการศึกษาส่วนตัว

อ่านตำราที่ใช้ในหลักสูตร[2.3.2]

งานมาตรฐานทั้งหมด—พันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พระคัมภีร์มอรมอน หลักคำสอนและพันธสัญญา และไข่มุกอันล้ำค่า—เป็นงานเขียนที่ได้รับการดลใจซึ่งประกอบด้วยหลักคำสอนและหลักธรรมแห่งพระกิตติคุณ งานเขียนเหล่านี้แสดงแบบอย่างการทำงานของพระผู้เป็นเจ้ากับมนุษย์และสอนเกี่ยวกับการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ อีกทั้งมีความสำคัญเป็นส่วนตัวโดยทั่วไปจะให้ความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับพระกิตติคุณและแผนแห่งความรอดที่พระบิดาในสวรรค์ของเราทรงเตรียมไว้

นักเรียนและครูควรอ่านและศึกษาพระคัมภีร์ทั้งเล่มตามการศึกษาแต่ละหลักสูตร (ยกเว้นส่วนที่เลือกไว้ของพันธสัญญาเดิม ดังระบุไว้ในหลักสูตร)

เข้าใจบริบทและเนื้อหาในพระคัมภีร์ตลอดจนถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์[2.4]

การเข้าใจบริบทและเนื้อหาของพระคัมภีร์ตลอดจนถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์เตรียมครูและนักเรียนให้พร้อมยอมรับข่าวสารของผู้เขียนที่ได้รับการดลใจ บริบทและเนื้อหาให้ความกระจ่างและแสดงตัวอย่างหลักคำสอนและหลักธรรมพระกิตติคุณที่บันทึกไว้ในประสบการณ์และคำสอนของผู้อื่น แม้เนื้อหาที่อยู่ต่อจากนั้นพูดถึงความเข้าใจบริบทและเนื้อหาของพระคัมภีร์โดยเฉพาะ แต่หลักธรรมและแนวคิดเดียวกันส่วนใหญ่ประยุกต์ใช้ได้กับการศึกษาถ้อยคำและข่าวสารของศาสดาพยากรณ์ยุคสุดท้าย

บริบท[2.4.1]

บริบทคือ (1) ข้อความพระคัมภีร์ที่มาก่อนหรือต่อจากข้อหนึ่งหรือหลายข้อ หรือ (2) สภาวการณ์แวดล้อมหรือให้ภูมิหลังของข้อความ เหตุการณ์ หรือเรื่องราวนั้นๆ ในพระคัมภีร์

บริบทเป็นหนทางให้เข้าใจเนื้อหาของพระคัมภีร์ ให้ข้อมูลภูมิหลังที่ให้ความกระจ่างและเกิดความเข้าใจลึกซึ้งต่อเรื่องราว คำสอน หลักคำสอน และหลักธรรมในเนื้อความพระคัมภีร์ ผู้เขียนพระคัมภีร์แต่ละคนเขียนตามที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงนำ แต่งานเขียนครอบคลุมไปด้วยจินตภาพและวัฒนธรรมของผู้เขียน เพื่อให้เข้าใจงานเขียนของพวกเขา ครูและนักเรียนควรเอาใจ เข้าไปในโลกของพวกเขา ให้มากเท่าที่จะมากได้เพื่อเห็นอย่างที่ผู้เขียนเห็น ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างบางประการของรูปแบบบริบทที่ต่างกัน

สภาวะแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ การรู้ว่าโจเซฟ สมิธอยู่ในคุกลิเบอร์ตี้ในช่วงที่ได้รับและเขียนหลักคำสอนและพันธสัญญาภาคที่ 121, 122 และ 123 ซึ่งเสริมความลึกซึ้งและพลังให้แก่หลักคำสอนและหลักธรรมซึ่งสอนไว้ในภาคดังกล่าวเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ เช่นความทุกข์ยากและการใช้พลังอำนาจตลอดจนสิทธิอำนาจ

สภาวะแวดล้อมทางวัฒนธรรม การรู้สภาพภูมิหลังของวันเทศกาลและวันหยุดต่างๆ ของอิสราเอลโบราณสามารถให้ความกระจ่างว่าวันเหล่านั้นสัมพันธ์ในเชิงสัญลักษณ์กับพระผู้ช่วยให้รอดและพระพันธกิจของพระองค์อย่างไร การรับรู้ที่มาของชาวสะมาเรียและทราบว่าชาวยิวรู้สึกอย่างไรกับพวกเขาในสมัยของพระคริสต์ช่วยให้เข้าใจอุปมาเรื่องชาวสะมาเรียผู้ใจดีและทาให้ความหมายในการเผชิญหน้าของพระผู้ช่วยให้รอดกับหญิงที่บ่อน้าในสะมาเรียลึกซึ้งขึ้น

คำถามหรือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดอุปมา เหตุการณ์ หลักคำสอน หรือหลักธรรม การเข้าใจว่า หลักคำสอนและพันธสัญญา 9 เป็นการตอบรับว่าออลิเวอร์ คาวเดอรีไร้ความสามารถในการแปลนั้นให้ความกระจ่างแก่หลักธรรมเกี่ยวกับการเปิดเผยที่สอนในภาคนี้

ใครกำลังพูดกับใครและเพราะเหตุใด คำสอนของแอลมาเรื่องการชดใช้การฟื้นคืนชีวิต การพิพากษา ความเมตตา และความยุติธรรมมีความหมายลึกซึ้งขึ้นเมื่อเราตระหนักว่าบริบทของคำสอนเหล่านั้นคือการสนทนากับโคริแอนทอนบุตรชายของเขา ที่แอลมาเป็นห่วงผลของบาปร้ายแรงที่เขาทา

สภาวะแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ การรู้ภูมิศาสตร์ของคานาอันทาให้เราเข้าใจลึกซึ้งขึ้นว่าโลทกับอับราฮัมตั้งรกรากที่ใด สิ่งนั้นส่งผลต่อการเลือกของพวกเขาอย่างไร

พระคัมภีร์ สิ่งช่วยศึกษาที่ให้ไว้ในพระคัมภีร์ และหลักสูตรโดยปกติมีข้อมูลบริบทมากพอจะช่วยให้ครูและนักเรียนเข้าใจเนื้อหาพระคัมภีร์

เนื้อหา [2.4.2]

เนื้อหาคือโครงเรื่อง ผู้คน เหตุการณ์ คำเทศนา และคำอธิบายที่ได้รับการดลใจซึ่งประกอบเป็นเนื้อความพระคัมภีร์ เนื้อหาของพระคัมภีร์ให้ชีวิตและความเกี่ยวเนื่องกับหลักคำสอนและหลักธรรมที่พบในช่วงพระคัมภีร์ ตัวอย่างเช่น เรื่องของนีไฟได้แผ่นจารึกทองเหลืองสอนหลักธรรมว่า ศรัทธาในพระเจ้าและการฟังพระวิญญาณสามารถช่วยแต่ละคนให้เอาชนะสิ่งที่ดูเหมือนเป็นความท้าทายซึ่งยากเกินกว่าจะเอาชนะได้ การเข้าใจเหตุการณ์ในอพยพให้ความชัดเจนว่า การวางใจในพระเจ้าและทำตามศาสดาพยากรณ์สามารถนำผู้คนและประชาชาติให้ได้รับพรที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้ แต่ พรนั้นถูกยับยั้งไว้เมื่อผู้คนพากันพร่ำบ่นและไม่เชื่อฟัง

การได้รู้จักผู้คนที่บรรยายไว้ในพระคัมภีร์สามารถสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นนักเรียนให้เผชิญความท้าทายที่พวกเขาประสบและดำเนินชีวิตด้วยศรัทธา ดังที่เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์สัญญาเกี่ยวกับพระคัมภีร์มอรมอนไว้ดังนี้

“ระหว่างปกหน้าถึงปกหลังท่านจะพบมิตรภาพและแบบอย่างที่คู่ควรของนีไฟ เจคอบ อีนัส เบ็นจามิน แอลมา แอมัน ฮีลามัน มอรมอน โมโรไน และอีกหลายคน คนเหล่านี้จะจุดประกายความคิดให้เกิดความกล้าหาญและเตรียมทางไปสู่ศรัทธาและการเชื่อฟัง …

“ที่สำคัญกว่านั้น พวกเขาทุกคน ไม่มีข้อยกเว้น จะยกวิสัยทัศน์ของท่านให้ขึ้นถึงสหายที่ดีพร้อม—พระผู้ช่วยให้รอดและพระผู้ไถ่ของเรา พระเยซูพระคริสต์” (“True Friends That Lift,” Ensign, Nov. 1988, 77)

คำเทศนาที่เก็บรักษาไว้อย่างดีในพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์เป็นส่วนสำคัญมากอีกส่วนหนึ่งของเนื้อหา สำหรับนักเรียนที่กำลังต่อสู้กับบาป คำเทศนาของเปาโลหรือแอลมาผู้บุตรสามารถเป็นแหล่งความหวังและกำลังใจ การปราศรัยครั้งสุดท้ายของกษัตริย์เบ็นจามินกับผู้คนของเขาสอนอย่างเชี่ยวชาญถึงเดชานุภาพและความสลักสำคัญของพระผู้ช่วยให้รอดและการชดใช้ของพระองค์ ให้ความกระจ่างแก่ความหมายของการรับใช้ พรของการเชื่อฟัง และความสำคัญของการเผื่อแผ่แก่คนตกทุกข์ได้ยาก นักเรียนที่กำลังพยายามเป็นสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์ จะเกิดความเข้าใจลึกซึ้งเมื่อศึกษาและพยายามประยุกต์ใช้พระวจนะของพระผู้ช่วยให้รอดในคำเทศนาบนภูเขา

ส่วนหนึ่งของการเข้าใจเนื้อหาคือเรียนรู้ความหมายของคำและวลียากๆ รวมถึงการแปลความหมายของอุปมา สัญลักษณ์ และอื่นๆ ตัวอย่างเช่น การรู้ความหมายของคำอย่างเช่น รส (มัทธิว 5:13) หรือ แนบสนิท (คพ. 11:19; 45:48) และวลีอย่างเช่น “คาดเอวเจ้า” (คพ. 75:22) และ “ถุงเงินหรือย่าม” (ดู ลูกา 10:4) ช่วยให้ความกระจ่างแก่เนื้อความของพระคัมภีร์ หลักธรรมที่สอนในอุปมาของพระผู้ช่วยให้รอดจะเข้าใจง่ายขึ้นเมื่อระบุความหมายเชิงสัญลักษณ์ของสิ่งต่างๆ เช่น ไข่มุกมีค่ามาก (ดู มัทธิว13:45-46) ข้าวละมานปนกับข้าวดี (ดู มัทธิว 13:24-30) และแกะหาย (ดู ลูกา15:4-7)

เนื่องด้วยข้อมูลทั้งหมดที่อาจเรียนรู้และสอนได้ ครูจึงควรใช้ปัญญาพิจารณาว่าจะทุ่มเทเวลามากเท่าใดให้แก่บริบทและเนื้อหา ใช้เวลามากเท่าใดเพื่อศึกษาหลักคำสอนและหลักธรรมของพระกิตติคุณ ครูควรให้บริบทและเนื้อหามากพอจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจความจริงนิรันดร์ที่พบในเนื้อความพระคัมภีร์ แต่ไม่เน้นภูมิหลังและรายละเอียดมากเกินไปจนกลายเป็นส่วนสำคัญของบทเรียน

ระบุ เข้าใจ รู้สึกถึงความจริงและความสำคัญ ตลอดจนประยุกต์ใช้หลักคำสอนและหลักธรรมพระกิตติคุณ[2.5]

การระบุและเข้าใจหลักคำสอนและหลักธรรมพระกิตติคุณช่วยให้ครูและนักเรียนประยุกต์ใช้พระคัมภีร์และถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์กับชีวิตตนเองและนำทางพวกเขาในการตัดสินใจ การรู้สึกถึงความจริง ความสำคัญ และความเร่งด่วนของหลักคำสอนและหลักธรรมพระกิตติคุณมักเพิ่มความปรารถนาจะประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนรู้ การประยุกต์ใช้หลักธรรมพระกิตติคุณนำมาซึ่งพรที่สัญญาไว้ ทำให้ความเข้าใจและการเปลี่ยนใจเลื่อมใสลึกซึ้งขึ้น ช่วยให้ครูและนักเรียนเป็นเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้น

หลักคำสอน ประกอบด้วยความจริงพื้นฐานที่ไม่เปลี่ยนแปลงของพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ ความจริงดังกล่าวเช่น พระบิดาบนสวรรค์ทรงมีพระวรกายเป็นเนื้อหนังและกระดูก บัพติศมาจำเป็นต่อการเข้าอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า และ มนุษย์ทุกคนจะฟื้นคืนชีวิต เป็นตัวอย่างของหลักคำสอน

หลักธรรม คือความจริงหรือกฎเกณฑ์อันยั่งยืนที่แต่ละบุคคลสามารถใช้นำทางพวกเขาในการตัดสินใจ หลักธรรมพระกิตติคุณเป็นสากลและช่วยให้ผู้คนประยุกต์ใช้หลักคำสอนของพระกิตติคุณกับการดำเนินชีวิตประจำวัน เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์สอนว่า “หลักธรรมคือความจริงเข้มข้น รวบรวมไว้เพื่อประยุกต์ใช้” (“Acquiring Spiritual Khowledge,” Ensign, Nov. 1993, 86) นี่หมายความว่าหลักธรรมพระกิตติคุณมักเสนอแนะการกระทำเช่นเดียวกับผลที่ตามมา ตัวอย่างเช่น การสวดอ้อนวอนสามารถช่วยเราเอาชนะการล่อลวงได้เสมอ (ดู คพ.10:5) และ ถ้าเราทำตามการกระตุ้นเตือนของพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระองค์จะทรงช่วยให้เราบรรลุผลสำเร็จในสิ่งที่พระเจ้าทรงบัญชา ดู นีไฟ 4)

บางครั้งความแตกต่างระหว่างหลักคำสอนและหลักธรรมแยกแยะได้ยาก เอ็ลเดอร์เฮนรีย์ บี. อายริงก์แบ่งปันดังนี้ “ข้าพเจ้าจะไม่ใช้เวลามากกับการพยายามแยกแยะระหว่างหลักธรรมและหลักคำสอน ข้าพเจ้าเคยได้ยินการสนทนาทำนองนั้นซึ่งไม่มีผลดีเลย” (“Training Guideliens And Resources: Elder Richard G. Scott and Elder Henry B. Eyring Discussion,” [Aug. 2003 CES satellite training broadcast], 10)

ระบุหลักคำสอนและหลักธรรม[2.5.1]

หนึ่งในจุดประสงค์หลักของพระคัมภีร์คือเพื่อสอนหลักคำสอนและหลักธรรมของพระกิตติคุณ ประธานแมเรียน จี. รอมนีย์อธิบาย: “คนเราจะศึกษาพระคัมภีร์อย่างซื่อสัตย์ไม่ได้โดยไม่เรียนหลักธรรมพระกิตติคุณเพราะพระคัมภีร์เขียนไว้เพื่อรักษาหลักธรรมอันจะเกิดประโยชน์ต่อเรา” (“The Message of the Old Testament” CES Symposium on the Old Testament, Aug. 17, 1979, 3) เอ็ลเดอร์บอยด์ เค. แพคเกอร์สอนว่า “[หลักธรรม] สามารถพบได้ในพระคัมภีร์ หลักธรรมคือเนื้อแท้และจุดประสงค์สำหรับการเปิดเผย” (“Principles,” Ensign, Mar. 1985, 8) ในสมัยการประทานนี้ พระเจ้าทรงบัญชาครูและผู้นำในศาสนจักรให้สอนหลักธรรมแห่งพระกิตติคุณตามที่พบในพระคัมภีร์ และอนึ่ง, เอ็ลเดอร์, ปุโรหิตและผู้สอนของศาสนจักรนี้พึงสอนหลักธรรมแห่งกิตติคุณของเรา, ซึ่งมีอยู่ในพระคัมภีร์ไบเบิลและพระคัมภีร์มอรมอน, ซึ่งในนั้นคือความสมบูรณ์แห่งกิตติคุณ” ( คพ. 42:12 )

การเรียนรู้วิธีระบุหลักคำสอนและหลักธรรมที่มีอยู่ในพระคัมภีร์ต้องใช้ความพยายามอย่างจริงจังและการฝึกฝน เมื่อพูดถึงความพยายามนี้ เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์กล่าวว่า “จงค้นหาหลักธรรม ค่อยๆ แยกหลักธรรมออกจากรายละเอียดที่ใช้อธิบายหลักธรรม” (“Acquiring Spiritual Knowledge,” 86).

บางครั้งในชั้นเรียน ครูจะชี้ให้เห็นหลักคำสอนและหลักธรรม หรือไม่ครูก็จะนำทาง กระตุ้น และ ช่วยให้นักเรียนค้นพบด้วยตนเอง ครูควรหมั่นช่วยนักเรียนให้มีความสามารถในการระบุหลักคำสอนและหลักธรรมด้วยตนเอง

หลักคำสอนและหลักธรรมพระกิตติคุณบางข้อระบุง่ายกว่าเพราะบอกไว้ชัดเจน หลักธรรมที่กำหนดแน่นอน เช่นนั้นมักมีวลีนำหน้าเช่น “ดังนั้นเราจึงเห็น” “ฉะนั้น” “ดังนั้น” “เหตุฉะนั้น”หรือ “ดูเถิด” โดยบ่งบอกว่าผู้เขียนพระคัมภีร์อาจจะกำลังสรุปข่าวสารของเขาหรือให้ข้อสรุป

ตัวอย่างเช่น ฮีลามัน 3:27 กล่าวว่า “ดังนั้นเราจึงเห็น ว่าพระเจ้าทรงเมตตาทุกคนผู้ที่จะ, เรียกหาพระนามอันบริสุทธิ์ของพระองค์, ด้วยความจริงใจของใจพวกเขา.”

แอลมา 12:10 กล่าวว่า “ฉะนั้น, เขาที่ทำใจตนแข็งกระด้าง, ผู้เดียวกันนั้นย่อมได้รับพระวจนะน้อยลง; และแก่คนที่ไม่ทำใจตนแข็งกระด้าง, ก็จะประทานพระวจนะมากขึ้นเรื่อยๆ.”

เอเฟซัส 6:13สอนว่า “เพราะเหตุนี้จงรับยุทธภัณฑ์ทั้งชุดของพระเจ้าไว้ เพื่อท่านจะสามารถต่อสู้ในวันชั่วร้ายนั้น และเมื่อทำทุกอย่างแล้วจะยังยืนหยัดอยู่ได้”

แอลมา 41:10กล่าวไว้ว่า “ดูเถิด,พ่อกล่าวแก่ลูก, ความชั่วร้ายไม่เคยเป็นความสุขเลย.”

มีหลักธรรมมากมายที่ผู้เขียนพระคัมภีร์ไม่ได้กล่าวโดยตรงแต่บอกเป็นนัยแทน หลักธรรมที่บอกเป็นนัย อาจมาจากหนังสือทั้งตอนของพระคัมภีร์ บทหนึ่ง หรือข้อเดียว และอาจแฝงอยู่ในโครงเรื่องพระคัมภีร์ เหตุการณ์ หรืออุปมา การระบุหลักธรรมที่บอกเป็นนัยรวมถึงการรับรู้ความจริงที่แสดงตัวอย่างไว้ในเรื่องราวพระคัมภีร์และกล่าวไว้อย่างกระชับชัดเจน ทั้งหมดนี้มักเรียกร้องเวลาและความคิดอย่างถี่ถ้วน เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์สอนว่า “การจัดระเบียบความจริงที่เรารวบรวมไว้เป็นถ้อยแถลงหลักธรรมที่เรียบง่ายนับเป็นความพยายามที่คุ้มค่ามาก” (“Acquiring Spiritual Knowledge,” 86)

หลักธรรมที่บอกเป็นนัยมักค้นพบได้โดยการหาความสัมพันธ์แบบเหตุและผลภายในช่วงพระคัมภีร์ “หลักธรรมพระกิตติคุณชัดเจนขึ้นเมื่อวิเคราะห์การปฏิบัติ เจตคติ และพฤติกรรมของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มในเรื่องราวพระคัมภีร์และระบุพรหรือที่ตามมาจากเหตุดังกล่าว

หลักธรรมที่บอกเป็นนัยระบุได้โดยถามคำถามต่อไปนี้เช่นกัน

  • คติธรรมหรือประเด็นของเรื่องคืออะไร

  • ท่านคิดว่าเหตุใดผู้เขียนจึงรวมเหตุการณ์หรือข้อความเหล่านี้ไว้ในนั้น

  • ผู้เขียนเจตนาจะให้เราเรียนรู้อะไร

  • ในข้อนี้สอนความจริงพื้นฐานอะไรบ้าง

ตัวอย่างของหลักธรรมที่บอกเป็นนัยได้แก่

จากเหตุการณ์ในชีวิตของแอลมาผู้บุตรหรือเปาโล: บุคคลที่ยอมรับความจริงและกลับใจจากบาปสามารถนำผู้อื่นมาสู่พรของพระกิตติคุณได้(ดู แอลมา 36:10–21; กิจการ 9:4–20)

จากอุปมาเรื่องหญิงพรหมจารีสิบคน: ถ้าเราเตรียมตนเองอย่างซื่อสัตย์ทางวิญญาณ เราจะพร้อมเมื่อพระเจ้าเสด็จมา ; หรือ พระเจ้าจะไม่ทรงรับคนที่ละเลยการเตรียมพร้อมทางวิญญาณในการเสด็จมาของพระองค์(ดู มัทธิว 25:1–13)

จากเรื่องของดาวิดกับโกลิอัท: เมื่อเรากระทำด้วยความกล้าหาญและศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า เราสามารถเอาชนะการท้าทายใหญ่หลวงในชีวิตเราได้(ดู 1 ซามูเอล 17:40–51)

แนวทางบางอย่างในการช่วยนักเรียนฝึกระบุหลักธรรมและหลักคำสอนมีดังนี้

  • เชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนแนวคิดที่พวกเขากำลังเรียนรู้ในประโยคความสัมพันธ์แบบ “ถ้า-แล้ว”

  • มอบหมายให้นักเรียนเขียนประโยค “และเราจึงเห็นดังนั้น” เพื่อสรุปความจริงที่พวกเขาเรียนรู้

  • ให้นักเรียนระบุการกระทำของแต่ละบุคคลในช่วงพระคัมภีร์และค้นหาพรหรือผลสืบเนื่องจากการกระทำนั้น

  • กระตุ้นนักเรียนให้ขีดเส้นใต้คำหรือวลีสำคัญๆ ในพระคัมภีร์ที่ระบุคำพูดซึ่งเป็นหลักธรรมและหลักคำสอน

  • เขียนหลักคำสอนหรือหลักธรรมจากช่วงพระคัมภีร์ไว้บนกระดาน ขอให้นักเรียนค้นช่วงนั้นและหาหลักฐานของหลักธรรมดังกล่าว

เมื่อระบุหลักธรรมและหลักคำสอน สำคัญที่จะกล่าวให้ชัดเจนและเรียบง่าย “‘เพื่อให้รู้ เราต้องกล่าวความจริง ยิ่งกล่าวชัดเจนและสมบูรณ์เพียงใด โอกาสที่พระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์จะเป็นพยานต่อจิตวิญญาณมนุษย์ว่างานนี้เป็นความจริงยิ่งมีมากเพียงนั้น’ [New Witnesses for God, 3 vols. (1909), 2:vii]” (B. H. Roberts, in James E. Faust, “What I Want My Son to Know before He Leaves on His Mission,” Ensign, May 1996, 41; Preach My Gospel [2004], 182)

เขียนหลักธรรมหรือหลักคำสอนที่ระบุไว้บนกระดาน หรือเชิญนักเรียนเขียนหรือขีดเส้นใต้ในพระคัมภีร์ของพวกเขา เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยทำให้ความจริงเหล่านี้ชัดเจนในความคิดของสมาชิกชั้นเรียน

เข้าใจหลักคำสอนและหลักธรรม[2.5.2]

การเข้าใจหลักคำสอนหรือหลักธรรมพระกิตติคุณหมายความว่านักเรียนเข้าใจความจริงที่ระบุไว้ ความสัมพันธ์ของความจริงเหล่านั้นกับหลักธรรมและหลักคำสอนอื่นๆ ในแผนของพระเจ้าและจะประยุกต์ใช้หลักธรรมกับชีวิตในสภาวการณ์ใด เมื่อครูหรือนักเรียนเข้าใจหลักคำสอนหรือหลักธรรม พวกเขาไม่เพียงรู้ ว่าคำเหล่านั้นหมายถึงอะไร ไรแต่รู้ด้วยว่าหลักคำสอนหรือหลักธรรม จะส่งผลต่อชีวิตพวกเขา ได้อย่างไร เมื่อระบุและเข้าใจหลักคำสอนหรือหลักธรรม ย่อมพร้อมประยุกต์ใช้

ครูและนักเรียนสามารถเพิ่มพูนความเข้าใจในหลักคำสอนและหลักธรรมพระกิตติคุณได้โดยค้น บันทึกพระคัมภีร์หาคำสอนที่เกี่ยวข้องและข้อคิดเพิ่มเติม โดยกลับไปดูถ้อยคำและคำสอนของศาสดาพยากรณ์ตลอดจนอัครสาวกยุคสุดท้าย โดยการอธิบายความจริงพระกิตติคุณที่พวกเขากาลังเรียนรู้ให้คนอื่นๆ ฟัง และโดยการสวดอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ ความเข้าใจลึกซึ้งขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อประยุกต์ใช้หลักธรรม

ครูสามารถช่วยนักเรียนให้เข้าใจหลักคำสอนและหลักธรรมโดยถามคำถามที่นำนักเรียนให้วิเคราะห์ความหมาย ตัวอย่างเช่น จากเรื่องนักรบหนุ่ม 2,000 คนในพระคัมภีร์มอรมอน เราเรียนรู้หลักธรรมว่า ถ้าเราไม่สงสัย พระผู้เป็นเจ้าจะทรงปลดปล่อยเรา (ดู แอลมา 56:47-48 ) เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นว่าหลักธรรมนี้หมายถึงอะไร ครูและนักเรียนอาจพิจารณาคำถามเช่น

  • อะไรคือสิ่งที่นักรบหนุ่มไม่สงสัย

  • มีหลักฐานอะไรยืนยันว่านักรบหนุ่มเหล่านี้ไม่สงสัย

  • พระผู้เป็นเจ้าทรงปลดปล่อยนักรบหนุ่มอย่างไร

  • เยาวชนของศาสนจักรทุกวันนี้กำลังต่อสู้ใน “การรบ” อะไรบ้าง

  • พระผู้เป็นเจ้าจะทรงปลดปล่อยพวกเขาจากการรบเช่นนั้นด้วยวิธีใดบ้าง

  • ประสบการณ์ของอบินาได โจเซฟ สมิธ หรือชัดรัค เมชาค และเอเบดเนโกสอนอะไรเราเกี่ยวกับความหมายของการปลดปล่อย

จากเรื่องราวของนาอามานกับเอลีชาในพันธสัญญาเดิม เราเรียนรู้หลักธรรมว่า ถ้าเราอ่อนน้อมถ่อมตนและเต็มใจทำตามคำแนะนำของศาสดาพยากรณ์ เราจะได้รับการรักษา (ดู 2 พงศ์กษัตริย์ 5:1–14) เพื่อเข้าใจว่าหลักธรรมนี้หมายถึงอะไร ครูและนักเรียนอาจพิจารณาคำถามต่อไปนี้

  • ความอ่อนน้อมถ่อมตนช่วยให้เราทำตามคำแนะนำของศาสดาพยากรณ์อย่างไร

  • ความเต็มใจในท้ายที่สุดของนาอามานที่จะ “ชำระตัวเจ็ดครั้ง” ช่วยให้เราเข้าใจอย่างไรว่าการทำตามคำแนะนำของศาสดาพยากรณ์ อย่างจริงใจ หมายถึงอะไร

  • นอกจากความเจ็บป่วยทางกายแล้ว ทุกวันนี้เราอาจต้องได้รับการรักษาให้หายจากสิ่งใด

  • ศาสดาพยากรณ์ขอให้เราทำอะไรบ้างซึ่งจะเยียวยาเราทางวิญญาณแต่อาจไม่มีความหมายต่อชาวโลก

รู้สึกถึงความจริงและความสำคัญของหลักคำสอนและหลักธรรม [2.5.3]

แม้นักเรียนจะระบุและเข้าใจหลักธรรมและหลักคำสอนของพระกิตติคุณได้ แต่พวกเขามักจะไม่ประยุกต์ใช้จนกว่าจะรู้สึกถึงความจริงและความสำคัญผ่านพระวิญญาณและรู้ถึงความเร่งด่วนระดับหนึ่งว่าต้องรวมหลักธรรมไว้ในชีวิตพวกเขา “เมื่อครูที่แท้จริงสอนข้อเท็จจริง [ของพระกิตติคุณ ] … เขาพา [นักเรียน] ก้าวมาข้างหน้าเพื่อรับพยานทางวิญญาณและความเข้าใจไว้ในใจพวกเขาซึ่งก่อให้เกิดการปฏิบัติและการกระทำ” (“Teaching by Faith” [an evening with Elder Robert D. Hales, Feb. 1, 2002], 5)

พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงสามารถจารึกความสำคัญของหลักคำสอนหรือหลักธรรมไว้ในความคิดและในใจนักเรียนได้ ทรงสามารถประทานความปรารถนาจะนำหลักธรรมมาปฏิบัติและประทานพลังให้ทำเช่นนั้น ครูควรพยายามทุกวิถีทางเพื่ออำนวยความสะดวกให้นักเรียนแต่ละคนในชั้นเรียนของพวกเขาได้รับประสบการณ์ เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์กระตุ้นครูดังนี้ “ท่านจะสวดอ้อนวอนขอการนำทางหรือไม่ในการให้ความจริงฝังลึกในความคิดและในใจนักเรียนทั้งนี้เพื่อพวกเขาจะใช้ความจริงนั้นไปตลอดชีวิต เมื่อท่านหาวิธีทำเช่นนั้นร่วมกับการสวดอ้อนวอน ข้าพเจ้ารู้ว่าพระเจ้าจะทรงนำทางท่าน” (“To Understand and Live Truth,” [an evening with Elder Richard G. Scott, Feb. 4, 2005], 2)

วิธีที่ได้ผลมากที่สุดวิธีหนึ่งในการช่วยนักเรียนเชื้อเชิญอิทธิพลของพระวิญญาณเข้ามาในใจและเตรียมพวกเขาให้พร้อมปฏิบัติหลักธรรมที่เรียนรู้คือกระตุ้นพวกเขาให้ใคร่ครวญประสบการณ์ของตนเกี่ยวกับหลักธรรมนั้น(ดู หัวข้อ 5.1.3 “คำถามที่ เชื้อเชิญความรู้สึกและประจักษ์พยาน ในหน้า 61) วิธีนี้ช่วยให้นักเรียนนึกถึงประสิทธิผลของหลักธรรมในชีวิตพวกเขาหรือในชีวิตผู้อื่น ตัวอย่างเช่น หลังจากสนทนาเรื่องกฎส่วนสิบ ครูอาจถามว่า “คุณเคยเห็นพรใดบ้างในชีวิตคุณหรือในชีวิตผู้อื่นจากการรักษากฎส่วนสิบ” เมื่อนักเรียนใคร่ครวญคำถามเช่นนี้และบอกเล่าประสบการณ์ส่วนตัวที่เหมาะกับชั้นเรียน พระวิญญาณบริสุทธิ์ย่อมทรงสามารถช่วยพวกเขาให้เห็นพรที่พวกเขาและคนอื่นๆ ได้รับจากการดำเนินชีวิตตามหลักคำสอนและหลักธรรมพระกิตติคุณชัดเจนขึ้น พระวิญญาณจะทรงช่วยให้นักเรียนรู้สึกปรารถนาจะประยุกต์ใช้ความจริงเหล่านี้ในชีวิตพวกเขามากขึ้นเช่นกัน ครูสามารถเล่าเรื่องจริงจากชีวิตพวกเขาหรือชีวิตผู้อื่นได้เช่นกันเพื่อช่วยให้นักเรียนรู้สึกถึงความจริงและความสำคัญของการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมที่สนทนาไปแล้ว

ครูสามารถจัดหาโอกาสให้นักเรียนเป็นพยานถึงความจริงของหลักธรรมและหลักคำสอน ครูควรหาโอกาสแสดงประจักษ์พยานของพวกเขาเองด้วย นอกจากนี้ ครูยังสามารถช่วยให้นักเรียนรู้สึกถึงความจริงและความสำคัญของหลักคำสอนและหลักธรรมโดยเน้นประจักษ์พยานที่แต่ละคนในพระคัมภีร์แสดงไว้และโดยอ่านหรือฟังประจักษ์พยานของศาสดาพยากรณ์และอัครสาวกยุคสุดท้าย

ประยุกต์ใช้หลักคำสอนและหลักธรรม[2.5.4]

การประยุกต์ใช้เกิดขึ้นเมื่อนักเรียนคิด พูด และดำเนินชีวิตตามหลักธรรมที่พวกเขาเรียนรู้ เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์อธิบายความสำคัญของการประยุกต์ใช้เมื่อท่านกล่าวว่า “วิธีประเมินประสิทธิผลของสิ่งที่เกิดขึ้นในห้องเรียนได้ดีที่สุดคือสังเกตว่านักเรียนเข้าใจและประยุกต์ใช้ความจริงกับชีวิตเขา” (“To Understand and Live Truth,” 3)

เมื่อนักเรียนประยุกต์ใช้หลักธรรมแห่งพระกิตติคุณในชีวิตพวกเขา พวกเขาจะได้รับพรที่สัญญาไว้ พวกเขาจะเกิดความเข้าใจลึกซึ้งขึ้นและมีประจักษ์พยานในหลักคำสอนหรือหลักธรรมที่พวกเขาประยุกต์ใช้ ตัวอย่างเช่นนักเรียนที่รักษาวันสะบาโตให้ศักดิ์สิทธิ์จะมีความเข้าใจว่าสิ่งนั้นหมายถึงอะไรชัดเจนกว่านักเรียนที่ไม่ได้รักษา นักเรียนที่วางใจพระเจ้าสุดหัวใจ (ดู สุภาษิต 3:5 )ได้รับพลังและการปลอบโยนในยามยากลำบากหรือการทดลองมีความเข้าใจในหลักธรรมนั้นชัดเจนกว่าคนที่ไม่วางใจ

ครูควรให้เวลานักเรียนในชั้นได้ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง หรือเขียนสิ่งที่พวกเขาเข้าใจและรู้สึกพิจารณาว่าพวกเขาควรดำเนินการเรื่องใดบ้างเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตพวกเขา ในเวลาเช่นนั้นครูควรกระตุ้นนักเรียนให้ทูลขอการนำทางและการชี้นำจากพระเจ้า ครูสามารถสนทนาสถานการณ์ที่นักเรียนอาจประสบและให้พวกเขาแบ่งปันแนวคิดถึงวิธีการประยุกต์ใช้หลักธรรมพระกิตติคุณในสถานการณ์เหล่านั้นให้เป็นพรแก่ชีวิตพวกเขา ครูสามารถเสนอให้นักเรียนตั้งเป้าหมายที่สามารถช่วยให้พวกเขาดำเนินชีวิตตามหลักธรรมที่สอน ครูอาจจะเตรียมพระคัมภีร์ข้อความอ้างอิง บทกวี หรือเพลงสวดส่วนหนึ่งเป็นเอกสารแจกให้นักเรียนนำกลับบ้านไปเป็นเครื่องเตือนใจให้นึกถึงหลักธรรมนั้น

อาจมีหลายครั้งเมื่อครูหรือนักเรียนในชั้นให้ข้อเสนอแนะว่าจะประยุกต์ใช้หลักธรรมพระกิตติคุณอย่างไร ตัวอย่างเช่นนั้นจะให้แนวคิดที่เป็นประโยชน์แก่นักเรียนเกี่ยวกับวิธีประยุกต์ใช้หลักธรรมแห่งพระกิตติคุณในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ดีครูควรระวังอย่าชี้แนะมากเกินไปในการกำหนดวิธีประยุกต์ใช้ที่เฉพาะเจาะจงกับนักเรียน จำไว้ว่าการชี้นำที่มีความหมายมากสุดสำหรับการประยุกต์ใช้ส่วนตัวเกิดขึ้นกับแต่ละคนผ่านการดลใจหรือการเปิดเผยจากพระเจ้าผ่านพระวิญญาณบริสุทธิ์ เอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์สอนว่า “ครูที่ได้รับบัญชาให้สอน ‘หลักธรรมแห่งพระกิตติคุณ’ และ ‘หลักคำสอนของอาณาจักร’ ( คพ. 88:77 )โดยทั่วไปควรตัดการสอนกฎเกณฑ์หรือการประยุกต์ใช้ที่เฉพาะเจาะจงออกไป … เมื่อครูสอนหลักคำสอนและหลักธรรมที่เกี่ยวข้องจากพระคัมภีร์และศาสดาพยากรณ์ที่มีชีวิต โดยทั่วไปการประยุกต์ใช้หรือกฎเกณฑ์เฉพาะเจาะจงเช่นนั้นเป็นความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลและครอบครัว” (“Gospel Teaching,” 79)

อธิบาย แบ่งปัน และเป็นพยานถึงหลักคำสอนและหลักธรรมพระกิตติคุณ [2.6]

การอธิบายหลักคำสอนและหลักธรรม การแบ่งปันข้อคิดและประสบการณ์ที่เกี่ยวเนื่อง การเป็นพยานถึงความจริงอันศักดิ์สิทธิ์จะทำให้ความเข้าใจของบุคคลเกี่ยวกับหลักคำสอนและหลักธรรมพระกิตติคุณชัดเจนและปรับปรุงความสามารถของพวกเขาในการสอนพระกิตติคุณแก่ผู้อื่น ขณะนักเรียนอธิบาย แบ่งปัน และเป็นพยาน พวกเขามักได้รับการนำจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ไปสู่ประจักษ์พยานที่ลึกซึ้งขึ้นเกี่ยวกับเรื่องที่พวกเขากำลังพูดถึง โดยผ่านอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์คำพูดและการแสดงออกของพวกเขาจะมีผลอย่างยิ่งต่อจิตใจและความคิดของเพื่อนวัยเดียวกันหรือคนอื่นๆ ที่ฟังอยู่

ครูที่ศึกษา เตรียม และสอนบทเรียนอย่างตั้งใจร่วมกับการสวดอ้อนวอนมักเรียนรู้มากมาย หลักธรรมเดียวกันนี้เป็นจริงกับนักเรียน ขณะพวกเขาศึกษาและสอนหลักคำสอนและหลักธรรมแห่งพระกิตติคุณที่ได้รับการฟื้นฟูให้กัน พวกเขาจะเกิดความเข้าใจมากขึ้นและประจักษ์พยานของพวกเขาเข้มแข็งขึ้น

อธิบาย [2.6.1]

ความเข้าใจพระคัมภีร์เพิ่มขึ้นเมื่อนักเรียนและครูอธิบายพระคัมภีร์สู่กันฟัง การเตรียมบอกอย่างชัดเจนและเรียบง่ายว่าพระคัมภีร์ข้อนั้นหรือหลักคำสอนหรือหลักธรรมนั้นมีความหมายอย่างไรจะกระตุ้นครูและนักเรียนให้ไตร่ตรอง จัดระเบียบความคิด และอัญเชิญพระวิญญาณบริสุทธิ์ให้สอนพวกเขา

ประธานสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์สอนว่า “เราเรียนรู้ที่จะทำโดยการลงมือทำ หากเราศึกษาพระกิตติคุณเพื่อสอนเราย่อมได้รับความรู้ เพราะเมื่อเราถือโคมส่องทางให้ผู้อื่นเท่ากับเราส่องทางให้ตนเอง เมื่อเราวิเคราะห์และจัดเตรียมพระคัมภีร์เพื่อนำเสนอบทเรียนที่ยอมรับได้ต่อผู้อื่นเราได้ทำให้ความคิดของเรากระจ่าง เมื่อเราอธิบายสิ่งที่เรารู้แล้ว ดูเหมือนจะมีการเผยความจริงเพิ่มเติม การขยายความเข้าใจ ความเชื่อมโยงและการประยุกต์ใช้ใหม่ๆ มาถึงเรา (The Teachings of Spencer W. Kimball [1982], 530)

การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้อธิบายหลักคำสอนหรือหลักธรรมแก่ผู้อื่นกระตุ้นพวกเขาให้คิดลึกซึ้งขึ้นและแสวงหาความเข้าใจมากขึ้นก่อนสอนผู้อื่นในสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ ครูสามารถขอให้นักเรียนอธิบายว่าเหตุใดการมีศรัทธา รับบัพติศมา หรือเชื่อฟังกฎส่วนสิบจึงเป็นเรื่องสำคัญ เขาอาจให้นักเรียนบอกคนอื่นๆ เรื่องการสร้าง การตก หรือเหตุที่พวกเขาเชื่อว่าครอบครัวเป็นศูนย์กลางในแผนของพระบิดาบนสวรรค์ สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ในการทำงานเป็นคู่หรือกลุ่มเล็ก ในบทบาทสมมติ กับนักเรียนทั้งชั้น หรือในการเขียน การเชื้อเชิญเป็นครั้งคราวให้นักเรียนอธิบายข้อความพระคัมภีร์หรือสอนหลักคำสอนหรือหลักธรรมกับบิดามารดา พี่น้อง มิตรสหาย หรือเพื่อนที่อยู่ห้องเดียวกันอาจเหมาะสมเช่นกัน

แบ่งปัน [2.6.2]

ทั้งครูและนักเรียนควรมีโอกาสแบ่งปันข้อคิดและความเข้าใจเช่นเดียวกับประสบการณ์ส่วนตัวที่พวกเขาเคยมีกับหลักคำสอนหรือหลักธรรม พวกเขาสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ที่เคยเห็นในชีวิตผู้อื่นได้เช่นกัน

ประธาน เจ. รูเบน คลาร์ก จูเนียร์กล่าวว่า “แทบจะไม่มีเลยที่เยาวชนเดินผ่านประตูเซมินารีหรือสถาบันแล้วไม่รู้สึกว่าตนเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากพรทางวิญญาณ หรือไม่เคยเห็นประสิทธิผลของการสวดอ้อนวอน หรือไม่เคยเป็นพยานถึงพลังแห่งศรัทธาเพื่อรักษาคนเจ็บป่วย หรือไม่เคยมองเห็นการหลั่งเททางวิญญาณซึ่งชาวโลกส่วนใหญ่ในทุกวันนี้ไม่รู้อะไรเลย” ( rev. ed. [1994], 9) นักเรียนควรได้รับโอกาสให้บอกเล่าประสบการณ์เช่นนั้นกับชั้นเรียน (ครูอาจต้องช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าประสบการณ์บางอย่างศักดิ์สิทธิ์และเป็นส่วนตัวมากเกินกว่าจะแบ่งปันในห้องเรียน; ดู แอลมา 12:9 ; คพ. 63:64 )

เป็นพยาน [2.6.3]

เมื่อนักเรียนอธิบายหลักธรรมพระกิตติคุณและเล่าประสบการณ์ของการประยุกต์ใช้หลักธรรมในชีวิตแล้ว พวกเขามักจะพร้อมเป็นพยานมากขึ้นถึงสิ่งที่พวกเขาเชื่อ

เอ็ลเดอร์บอยด์ เค. แพคเกอร์อธิบายพรประการหนึ่งของการแสดงประจักษ์พยาน ดังนี้ “โอ้ ถ้าข้าพเจ้าสามารถสอนหลักธรรมนี้ได้ก็จะดีทีเดียว “ประจักษ์พยาน พบ ใน การแสดง ประจักษ์พยาน! …

“สิ่งหนึ่งคือการที่จะได้รับพยานจากสิ่งที่ท่านอ่านหรือสิ่งที่อีกคนหนึ่งพูด คือการเริ่มต้นที่จำเป็น อีกสิ่งหนึ่งคือการมีพระวิญญาณยืนยันกับท่านในทรวงอกของท่านว่าสิ่งที่ ท่าน เป็นพยานนั้นเป็นความจริง” (“The Candle of the Lord,” 54-55)

การแบ่งปันประจักษ์พยานไม่เพียงเป็นพรแก่บุคคลที่แสดงประจักษ์พยานเท่านั้นแต่สามารถเสริมสร้างศรัทธาและประจักษ์พยานของผู้อื่นด้วย การเป็นพยานเปิดโอกาสให้พระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นพยานถึงหลักคำสอนและหลักธรรมเฉพาะเจาะจงของพระกิตติคุณที่ได้รับการฟื้นฟู ประจักษ์พยานไม่ได้เริ่มด้วยถ้อยคำที่ว่า “ข้าพเจ้าขอแสดงประจักษ์พยาน” เสมอไป ประจักษ์พยานอาจเป็นเพียงการกล่าวถึงสิ่งที่บุคคลหนึ่งรู้ว่าเป็นความจริง พูดด้วยความจริงใจและความเชื่อมั่น ประจักษ์พยานอาจเป็นการประกาศยืนยันอย่างเรียบง่ายว่าบุคคลนั้นรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับหลักคำสอนหรือหลักธรรมของพระกิตติคุณและความแตกต่างที่เกิดขึ้นในชีวิตเขา นักเรียนจะเข้าใจได้ชัดเจนขึ้นว่าจะสามารถประยุกต์ใช้หลักธรรมพระกิตติคุณและรู้สึกได้รับการดลใจให้ประยุกต์ใช้กับชีวิตพวกเขาอย่างไรเมื่อได้ยินครูและนักเรียนคนอื่นๆ แสดงประจักษ์พยานถึงคุณค่าของหลักธรรมเหล่านั้น

ครูสามารถกระตุ้นนักเรียนให้เป็นพยานถึงความจริงพระกิตติคุณได้โดยถามคำถามที่เชิญชวนพวกเขาให้บอกเล่าประสบการณ์และความเชื่อของตน (ดูหัวข้อ 5.1.3, “คำถามที่ เชื้อเชิญความรู้สึกและประจักษ์พยาน” ในหน้า 61) พวกเขาสามารถจัดหาโอกาสอื่นให้นักเรียนได้เป็นพยานกับเพื่อนวัยเดียวกันด้วย ครูควรละเอียดอ่อนต่อความเป็นส่วนตัวและลักษณะอันศักดิ์สิทธิ์ของประจักษ์พยาน ครูสามารถเชิญชวนแต่ไม่ควรเรียกร้องให้นักเรียนแสดงประจักษ์พยานของตน ครูควรใช้โอกาสเป็นพยานบ่อยๆ ถึงความรักที่พวกเขามีต่อพระบิดาบนสวรรค์และพระบุตรของพระองค์ พระเยซูคริสต์ ความรักที่มีต่อความจริงและคุณค่าของหลักคำสอนและหลักธรรม ครูควรตระหนักและอ้างถึงประจักษ์พยานที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงมีพระดำรัสเช่นเดียวกับที่ศาสดาพยากรณ์และอัครสาวกยุคสุดท้ายแสดงไว้

เชี่ยวชาญข้อพระคัมภีร์ที่สำคัญและหลักคำสอนพื้นฐาน[2.7]

เมื่อแต่ละบุคคลสั่งสมความจริงนิรันดร์ในความคิดและในใจพวกเขา พระวิญญาณบริสุทธิ์จะทรงนำความจริงเหล่านี้มาสู่ความทรงจำของพวกเขาในยามต้องการและประทานความกล้าหาญให้พวกเขาปฏิบัติหน้าที่ด้วยศรัทธา ประธานฮาเวิร์ด ดับเบิลยู. ฮันเตอร์สอนว่า

“ข้าพเจ้าสนับสนุนท่านเต็มที่ให้ใช้พระคัมภีร์ในการสอนและทำทุกอย่างในอำนาจของท่านเพื่อช่วยให้นักเรียนใช้พระคัมภีร์และสบายใจเมื่ออ่านพระคัมภีร์ ข้าพเจ้าใคร่ขอให้คนหนุ่มสาวของเรามีความเชื่อมั่นในพระคัมภีร์ …

“อันดับแรก เราต้องการให้นักเรียนมีความเชื่อมั่นในพลังและความจริงของพระคัมภีร์ ความเชื่อมั่นว่าพระบิดาบนสวรรค์ของพวกเขากำลังตรัสกับพวกเขาจริงๆ ผ่านพระคัมภีร์ ความเชื่อมั่นว่าพวกเขาสามารถหันไปพึ่งพระคัมภีร์และพบคำตอบของปัญหาและการสวดอ้อนวอนของพวกเขา …

“… เราหวังว่าจะไม่มีนักเรียนคนใดของท่านออกจากห้องเรียนด้วยความกลัวหรือขัดเขินหรือละอายใจที่พวกเขาไม่สามารถพบความช่วยเหลือที่ต้องการเพราะพวกเขาไม่รู้จักพระคัมภีร์ดีพอจะหาข้อความที่เหมาะสมได้” (“Eternal Investments,” 2)

เพื่อช่วยนักเรียนสั่งสมความจริงนิรันดร์และเพิ่มความเชื่อมั่นในพระคัมภีร์ เอสแอนด์ไอได้เลือกข้อความผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ไว้จำนวนหนึ่งและเตรียมรายการหลักคำสอนพื้นฐานให้ด้วย การศึกษาข้อความผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์และหลักคำสอนพื้นฐานควรพัฒนาไปด้วยกันเพื่อนักเรียนจะได้ฝึกพูดหลักคำสอนพื้นฐานโดยใช้คำพูดของตนเองและใช้ข้อความผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ช่วยอธิบายและเป็นพยานถึงความจริงเหล่านี้

ผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ [2.7.1]

เซมินารีและสถาบันศาสนาได้เลือกข้อความผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ 25 ข้อสำหรับแต่ละหลักสูตรของทั้งสี่หลักสูตรของเซมินารี ข้อความเหล่านี้ให้พื้นฐานพระคัมภีร์ที่สำคัญต่อความเข้าใจ การแบ่งปันพระกิตติคุณและเสริมสร้างศรัทธา ขอให้นักเรียนเซมินารีพัฒนา “การเป็นผู้เชี่ยวชาญ”ข้อความเหล่านี้ดังอธิบายไว้ด้านล่าง ขอให้นักเรียนสถาบันตั้งอยู่บนรากฐานของข้อความผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ 100 ข้อนี้และพัฒนาความเข้าใจอันลึกซึ้งเกี่ยวกับข้อความสำคัญข้ออื่นๆในพระคัมภีร์

ข้อความผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ประกอบด้วย

  • การหาข้อพระคัมภีร์โดยรู้จักข้อพระคัมภีร์อ้างอิงที่สัมพันธ์กัน

  • การเข้าใจบริบทและเนื้อหาของข้อความพระคัมภีร์

  • การนำไปใช้ หลักธรรมและหลักคำสอนพระกิตติคุณที่สอนในข้อความพระคัมภีร์

  • การท่องจำข้อความ

การท่องจำสามารถเป็นเครื่องมือวิเศษยิ่งที่จะช่วยให้นักเรียนรู้และรักข้อความ พระคัมภีร์ที่เลือกไว้ ดังที่เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์อธิบายว่า “เมื่อมีการใช้พระคัมภีร์ตามที่พระเจ้าทรงดลใจให้บันทึก พระคัมภีร์มีอำนาจอยู่ภายในซึ่งจะไม่สื่อสารออกมาเมื่อมีการถอดความ” (“พระองค์ทรงพระชนม์อยู่,” เลียโฮนา, ม.ค. 2000, หน้า 107) อย่างไรก็ดี ครูควรเอาใจใส่เพื่อปรับความคาดหวังให้เข้ากับความสามารถและสภาวการณ์ของนักเรียนแต่ละคน ครูไม่ควรทำให้นักเรียนรู้สึกอึดอัดหรือหนักใจถ้าไม่สามารถท่องจำได้

ครูจะสามารถช่วยนักเรียนได้ดีขึ้นถ้าพวกเขาเชี่ยวชาญข้อความเหล่านี้ด้วยตนเอง เมื่อครูอ้างอิงข้อความผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์สม่ำเสมอ มีความคาดหวังที่เหมาะสม และใช้วิธีที่มีรูปแบบการเรียนรู้ต่างกันไป พวกเขาจะประสบความสำเร็จมากขึ้นในการช่วยให้นักเรียนเชี่ยวชาญข้อความสำคัญเหล่านี้ ในระหว่างบทเรียนครูควรใช้ข้อความผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ชี้แจงหลักคำสอนและหลักธรรมที่เกี่ยวข้อง อาจใช้เป็นหัวข้อสำหรับการให้ข้อคิดทางวิญญาณหรือติดไว้ที่ใดที่หนึ่งในห้องเรียน ครูควรกระตุ้นนักเรียนให้ศึกษาและประยุกต์ใช้นอกห้องเรียนด้วย

ในที่ซึ่งครูหลายคนรับใช้ด้วยกันเป็นคณะ การเรียนรู้ของนักเรียนจะได้รับการยกระดับเมื่อครูทุกคนใช้วิธีเรียนผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์อย่างเดียวกัน ครูอาจเลือกทบทวนข้ออ้างอิงผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์เป็นระยะจากปีก่อนๆ เพื่อให้นักเรียนยังคงเชี่ยวชาญข้อความทั้งหมดที่เลือกไว้

แม้ผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์จะเป็นส่วนสำคัญของหลักสูตร แต่ควรเสริมไม่ใช่ลดความสำคัญของการศึกษาพระคัมภีร์ประจำวันตามลำดับ ครูควรฉลาดรอบคอบในเวลาที่พวกเขาจัดสรรให้ผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ ครูภาคศึกษาที่บ้านต้องระวังเป็นพิเศษอย่าให้ชั้นเรียนประจำสัปดาห์กลายเป็นกิจกรรมผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ประจำสัปดาห์ ครูควรเลือกวิธีการกิจกรรม และบทเพลงที่สอดคล้องกับศักดิ์ศรี จุดประสงค์ และวิญญาณของพระคัมภีร์และหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง

หลักคำสอนพื้นฐาน [2.7.2]

มีการระบุหลักคำสอนพื้นฐานส่วนสำคัญที่สุดไว้ทั้งในชั้นเรียนเซมินารีและสถาบัน ครูต้องช่วยนักเรียนระบุ เข้าใจ เชื่อ อธิบาย และประยุกต์ใช้หลักคำสอนพื้นฐานเหล่านี้ของพระกิตติคุณข้อเหล่านี้จะช่วยพวกเขาเข้าใจและอธิบายหลักคำสอนเบื้องต้นของพระกิตติคุณ การทำเช่นนั้นจะช่วยนักเรียนเสริมสร้างประจักษ์พยานของตนเองและเพิ่มความซาบซึ้งต่อพระกิตติคุณที่ได้รับการฟื้นฟูของพระเยซูคริสต์ การศึกษาหลักคำสอนพื้นฐานจะช่วยให้พวกเขาพร้อมมากขึ้นในการสอนความจริงสำคัญเหล่านี้ให้ผู้อื่น

นับเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจดจำว่าครูจะสอนหลักคำสอนสำคัญอื่นๆ ของพระกิตติคุณเช่นกัน แม้ไม่ได้อยู่ในรายการหลักคำสอนพื้นฐาน

หลักคำสอนพื้นฐานที่เซมินารีและสถาบันเลือกไว้ประกอบด้วย

  • พระผู้เป็นเจ้าสามพระองค์

  • แผนแห่งความรอด

  • การชดใช้ของพระเยซูคริสต์

  • สมัยการประทาน การละทิ้งความเชื่อ และการฟื้นฟู

  • ศาสดาพยากรณ์และการเปิดเผย

  • ฐานะปุโรหิตและกุญแจฐานะปุโรหิต

  • ศาสนพิธีและพันธสัญญา

  • ชีวิตแต่งงานและครอบครัว

  • พระบัญญัติ

เมื่อครูศึกษาและเข้าใจหลักคำสอนดังกล่าวด้วยตนเอง พวกเขาย่อมกล่าวถึงและแสดงประจักษ์พยานถึงหลักคำสอนเหล่านั้นอย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้นขณะที่พวกเขาสอน อย่างไรก็ดี พวกเขาไม่ควรเปลี่ยนการสอนพระคัมภีร์ตามลำดับเป็นการมุ่งเน้นหลักคำสอนเหล่านี้อย่างเดียว แต่ครูควรให้ความเอาใจใส่หลักคำสอนเหล่านี้อย่างเสมอต้นเสมอปลายตามที่ปรากฏให้เห็นในเนื้อความพระคัมภีร์และหลักสูตรการศึกษา ด้วยเหตุนี้รายการหลักคำสอนพื้นฐานจึงทำหน้าที่เป็นเครื่องเตือนใจให้มุ่งเน้นความจริงนิรันดร์เหล่านั้นซึ่งจะมีค่าต่อนักเรียนมากที่สุดและเน้นย้ำความจริงดังกล่าวตลอดหลักสูตรการศึกษา อาจใช้หลักคำสอนพื้นฐานดังกล่าวเป็นหัวข้อในการให้ข้อคิดทางวิญญาณ

ครูที่ฉลาดจะจำไว้เช่นกันว่าความอดทนและความเสมอต้นเสมอปลายสำคัญต่อการช่วยให้นักเรียนเข้าใจหลักคำสอน ครูไม่ควรคาดหวังให้นักเรียนเข้าใจทุกอย่างทันที พระเจ้าทรงสอนบุตรธิดาของพระองค์ “บรรทัดมาเติมบรรทัด, กฎเกณฑ์มาเติมกฎเกณฑ์” (คพ. 98:12) ครูและนักเรียนควรมองความเข้าใจหลักคำสอนเหล่านี้ว่าเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเซมินารีสี่ปีและยังคงเกิดขึ้นในช่วงปีที่เรียนสถาบัน