สุษิระ เป็นเครื่องดนตรีประเภทใด

   ประวัติความเป็นมาของดนตรีไทย

    ดนตรีไทย เป็นศิลปะแขนงหนึ่งของไทย ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดียจีนอินโดนีเซีย และอื่น ๆ เครื่องดนตรีมี 4 ประเภท ดีด สี ตี เป่า

      ประวัติ จากการสันนิษฐานของท่านผู้รู้ทางด้าน ดนตรีไทย โดยการพิจารณาหาเหตุผล เกี่ยวกับกำเนิด หรือที่มาของ ดนตรีไทย ก็ได้มีผู้เสนอแนวทัศนะในเรื่องนี้ไว้ 2 ทัศนะ
ที่แตกต่างกันคือ
         ทัศนะที่ 1 สันนิษฐานว่า ดนตรีไทย ได้แบบอย่างมาจากอินเดีย เนื่องจากอินเดีย เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก อารยธรรมต่าง ๆ ของอินเดีย
ได้เข้ามามีอิทธิพล ต่อประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชียอย่างมาก ทั้งในด้าน ศาสนา ประเพณีความเชื่อ ตลอดจน ศิลป แขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะทางด้านดนตรี ปรากฎรูปร่าง
ลักษณะ เครื่องดนตรี ของประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชีย เช่น จีน เขมร พม่า อินโดนิเซีย และ มาเลเซีย มีลักษณะ คล้ายคลึงกัน เป็นส่วนมาก ทั้งนี้เนื่องมาจากประเทศเหล่านั้นต่างก็
ยึดแบบฉบับดนตรี ของอินเดีย เป็นบรรทัดฐาน รวมทั้งไทยเราด้วย เหตุผลสำคัญที่ท่านผู้รู้
ได้เสนอทัศนะนี้ก็คือ ลักษณะของ เครื่องดนตรีไทย สามารถจำแนกเป็น 4 ประเภท คือ

  • เครื่องดีด
  • เครื่องสี
  • เครื่องตี
  • เครื่องเป่า
         

ใกล้เคียงกับลักษณะ เครื่องดนตรี อินเดียตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ "สังคีตรัตนากร" ของอินเดีย ซึ่งจำแนกเป็น 4 ประเภท เช่นกันคือ

  • ตะตะ คือ เครื่องดนตรี ประเภทมีสาย
  • สุษิระ คือ เครื่องเป่า
  • อะวะนัทธะ หรือ อาตตะ คือ เครื่องหุ้มหนัง หรือ กลอง ต่าง ๆ
  • ฆะนะ คือ เครื่องตี หรือ เครื่องกระทบ
         

การสันนิษฐานเกี่ยวกับ กำเนิดหรือที่มาของ ดนตรีไทย ตามแนวทัศนะข้อนี้ เป็นทัศนะที่มีมาแต่เดิม นับตั้งแต่ ได้มีผู้สนใจ และ ได้ทำการค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับ เรื่องนี้ขึ้น และนับว่า เป็นทัศนะที่ได้รับการนำมากล่าวอ้างกันมาก บุคคลสำคัญที่เป็น
ผู้เสนอแนะแนวทางนี้คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งวงการประวัติศาสตร์ของไทย

         ทัศนะที่ 2 สันนิษฐานว่า ดนตรีไทย เกิดจากความคิด และ สติปัญญา ของคนไทย เกิดขึ้นมาพร้อมกับคนไทย ตั้งแต่ สมัยที่ยังอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีนแล้ว
ทั้งนี้เนื่องจาก ดนตรี เป็นมรดกของมนุษยชาติ ทุกชาติทุกภาษาต่างก็มี ดนตรี ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ของตนด้วยกันทั้งนั้น ถึงแม้ว่าในภายหลัง จะมีการรับเอาแบบอย่าง ดนตรี ของต่างชาติเข้ามาก็ตาม แต่ก็เป็น การนำเข้ามาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม กับลักษณะและนิสัยทางดนตรีของคนในชาตินั้น ๆ ไทยเราตั้งแต่สมัยที่ยังอยู่ทางตอนใต้
ของประเทศจีน ก็คงจะมี ดนตรี ของเราเองเกิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้ จะสังเกตเห็นได้ว่า เครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทย จะมีชื่อเรียกเป็นคำโดด ซึ่งเป็นลักษณะของคำไทยแท้ เช่น

  • เกราะ, โกร่ง, กรับ
  • ฉาบ, ฉิ่ง
  • ปี่, ขลุ่ย
  • ฆ้อง, กลอง .. เป็นต้น
        

ต่อมาเมื่อไทยได้ อพยพ ลงมาตั้งถิ่นฐานในแถบแหลมอินโดจีน จึงได้มาพบ
วัฒนธรรมแบบอินเดียโดยเฉพาะเครื่องดนตรีอินเดีย ซึ่งชนชาติมอญ และ เขมร รับไว้ก่อนที่ไทยจะอพยพเข้ามา ด้วยเหตุนี้ ชนชาติไทยซึ่งมีนิสัยทางดนตรีอยู่แล้ว จึงรับเอาวัฒนธรรมทางดนตรีแบบอินเดีย ผสมกับแบบมอญและเขมร เข้ามาผสมกับดนตรี
ที่มีมาแต่เดิมของตน จึงเกิดเครื่องดนตรีเพิ่มขึ้นอีก ได้แก่

  • พิณ
  • สังข์
  • ปี่ไฉน
  • บัณเฑาะว์
  • กระจับปี่ และจะเข้ เป็นต้น
         

ต่อมาเมื่อไทยได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแหลมอินโดจีนอย่างมั่นคงแล้ว ได้มีการติดต่อ สัมพันธ์ กับประเทศเพื่อนบ้านในแหลมอินโดจีน หรือแม้แต่กับประเทศทางตะวันตก
บางประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขาย ทำให้ไทยรับเอาเครื่องดนตรีบางอย่างของประเทศต่างๆ เหล่านั้นมาใช้เล่นในวงดนตรีไทย ด้วย เช่น กลองแขก ปี่ชวา ของชวา (อินโดนิเซีย) กลองมลายู ของมลายู (มาเลเซีย) เปิงมาง ตะโพนมอญ ปี่มอญ และฆ้องมอญของมอญ กลองยาวของพม่า ขิม ม้าล่อของจีน กลองมริกัน (กลองของชาวอเมริกัน) เปียโน ออร์แกน และ ไวโอลีน ของประเทศทางตะวันตก เป็นต้น

สุษิระ เป็นเครื่องดนตรีประเภทใด

ดนตรีในวัฒนธรรมต่างประเทศ (อินเดียและจีน)

         

 1. ดนตรีในวัฒนธรรมอินเดีย

มรดกทางวัฒนธรรมของดนตรีอินเดีย แบ่งออกได้เป็น 2 ฝ่าย คือ ดนตรีประจำชาติฝ่ายฮินดู และฝ่ายมุสลิม อิทธิพลของดนตรีมุสลิมจะอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ อิทธิพลของดนตรีฮินดูจะอยู่ทางตอนเหนือของประเทศวัฒนธรรมทางดนตรีอินเดียจะแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนไม่ว่าจะเป็นการเรียกชื่อเครื่องดนตรี ประเภทของเครื่องดนตรี แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็ได้ชาวอินเดียจะใช้เสียงดนตรีเป็นสื่อติดต่อกับพระเจ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่ตนเองเคารพนับถืออยู่


ระบบเสียง  
                 ดนตรีอินเดีย การจัดระบบเสียงที่มีลักษณะเฉพาะอย่างเป็นระบบ เป็นหมวดหมู่เช่นเดียวกับดนตรีตะวันตกมีโน้ตเต็มเสียง 7 โน้ต โน้ตเพี้ยนเสียงสูงและเพี้ยนต่ำ 5 เสียง บันไดเสียงต่าง ๆ และที่เป็นลักษณะเด่นของดนตรีอินเดีย คือ การนำเสียงในแต่ละบันไดเสียงมาจัดเป็นกลุ่มเสียงเพื่อนำมาใช้บรรเลงในเวลาที่กำหนดการจัดระบบชุดเสียงจากบันไดเสียงหลักนี้จะเรียกว่า ราคะ (Raga)

 เครื่องดนตรีอินเดีย (India Instrumens)  

         การจัดหมวดหมู่ของดนตรีอินดียแตกต่างกันไปตามยุคสมัย ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

         1. ตะนะ (เครื่องสาย)

         2.อวนัทธะ (เครื่องหนัง)

        3.สุษิระ (เครื่องเป่า)

        4. ฆะนะ (เครื่องเคาะ)

          เครื่องสายของดนตรีอินเดียที่เก่าแก่ที่สุด คือ วีณา (Vina) เป็นเครื่องดนตรีของชาวอินเดียใต้ มีสาย 7-8 สาย สายส่วนหนึ่งจะใช้บรรเลงทำนองเพลง สายอีกสวนหนึ่งจะใช้บรรเลงเสียงโครน ลำตัวของวีณามีขนาดความยาวประมาณ 1.5 เมตร ส่วนที่เป็นกลุ่มเสียงขนาดใหญ่จะทำด้วยเปลือกผลไม้แห้ง เช่น ฟักทอง หรือน้ำเต้า

            ในแถบภาคเหนือของอินเดียเครื่องสายที่ได้รับความนิยม คือ ซีตาร์ (Sitar) มีสายตั้งแต่ 7-20 สาย ซีตาร์จะมีขนาดเล็กกว่าและเล่นง่ายกว่าวีณา

            สายซีตาร์ 20 สายทำด้วยโลหะ สายจำนวน 7 สายวางพาดบนนมโลหะ ใช้ดีดเป็นทำนองเพลง 5 สายและดีดเสียงโตนิดอีก 2 สาย ส่วนที่เหลืออีก 13 สาย ทำเป็นสายผลิตเสียงซ้อน (Sympathetic Strings) ในปัจจุบันซีตาร์เป็นเครื่องดนตรีของอินเดียที่มีชาวต่างชาติให้ความสนใจฝึกหัดมาก

             อินเดียถูกขนาดนามว่าเป็น “จ้าวแห่งจังหวะ” กลองจะทำหน้าที่เพิ่มสีสันเพลงอินเดียให้เร้าใจน่าฟังยิ่งขึ้น กลองต่าง ๆ เป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในตระกูลอวนัทธะมีจำนวนมากกว่า 1,000 ชนิด แต่ที่นิยมใช้แพร่หลายในการแสดงดนตรีมีอยู่ 3 ชนิด คือ มริทังค์ ปักชวัช และตับบล้า

                                          ตัวอย่าง ซีตาร์

                                                    ตัวอย่างตับบล้า

                                                  ตัวอย่างเชห์ไน

2. ดนตรีในวัฒนธรรมจีน   จีนเป็นประเทศในเอเซียตะวันออกที่มีพื้นที่กว้างใหญ่มากทำให้ภาษาพูดวัฒนธรรม และดนตรีมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก ดนตรีในแต่ละภูมิภาคจะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น ใช้บันไดเสียงที่มีโครงสร้างต่างกัน บางพื้นที่ใช้แบบ 5 เสียง บางพื้นที่ใช้ 7 เสียง การดำเนินทำนองบางพื้นที่นิยมแบบก้าวกระโดด และใช้คู่เสียงกว้าง เช่น คู่ 4 คู่ 5 คู่ 8 แต่บางพื้นที่นิยมแบบราบเรียบไม่กระโดด อัตราจังหวะก็มีความนิยมใช้แตกต่างกันไป

         เสียงดนตรีของจีนคิดขึ้นมาอย่างมีระบบด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ สอดคล้องกับธรรมชาติและปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง เสียงดนตรีของจีนเกิดขึ้นมาจากเสียงพื้นฐานเพียง 1 เสียง เรียกว่า huang chung เกิดจากการเป่าลมผ่านท่อไม้ไผ่ 1 ฟอน (ใบ) เสียงอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น มาจากการตัดไม้ไผ่ด้วยความยาวต่าง ๆ กัน โดยใช้ระบบการวัดที่มีอัตราส่วนแน่นอนเหมือนกับสูตรทางคณิตศาสตร์ จากเสียงพื้นฐานเพียง 1 เสียง จะนำไปสร้างให้เกิดเสียงต่าง ๆ อีกจนครบ 12 เสียง หรือ 12 ใบ นักวิชาการทางดนตรีเชื่อว่า เสียงทั้ง 12 เสียงของจีนที่เกิดขึ้นมานั้น มีความเกี่ยวพันกับราศี 12 ราศี เดือน 12 เดือน ชั่วโมงของเวลากลางวันและกลางคืน รวมทั้งการแบ่งเพศชายและหญิงด้วย ระบบเสียง 5 เสียง ที่พบในดนตรีจีนถือสารเลือกเสียง 12 เสียงที่เกิดขึ้น นำไปจัดรูปแบบใหม่ให้เป็นบันไดเสียงที่ต้องการเพื่อนำไปใช้สร้างเพลงต่าง ๆ ต่อไป

ชาวจีนแบ่งประเภทของเครื่องดนตรีตามลักษณะของวัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรีนั้น ๆ แบ่งออกเป็น 8 พวก ดังนี้  1. ไม้ (Mu)  2. หนัง (Ko) 3. ไม้ไผ่ (Chu)  4. โลหะ (Kin)  5. น้ำเต้า (Po)  6. หิน (Che)  7. ดิน (tu) 8. เส้นไหม (hien)

               เครื่องดนตรีจำพวกโลหะ ได้แก่ ระฆัง และฆ้องชนิดต่าง ๆ   เครื่องดนตรีจำพวกหิน ได้แก่ ระฆังราว เครื่องดนตรีจำพวกเส้นไหม ได้แก่ Ch’in เป็นเครื่องดนตรีที่มีสาย 7 สายใช้มือดีด Ch’in เป็นเครื่องดนตรีชั้นสูง ใช้เฉพาะพวกขุนนาง และผู้มีการศึกษาสูง สามารถเพิ่มได้ทั้งแบบเดี่ยวและคลอประกอบการขับร้อง เครื่องดนตรีจำพวกไม้ไผ่ ได้แก่ ขลุ่ยชนิดต่าง ๆ ปี่แพนไพท์ (Panpine)  เครื่องดนตรีเป็นก้อนจำพวกดิน ได้แก่ เครื่องเป่าเสียงเหมือนขลุ่ยที่สร้างมาจากดินเหนียว ขนาดพอดีกับฝ่ามือ ภายในเจาะให้เป็นโพรง เจาะรูปิด-เปิด ด้วยนิ้วมือเพื่อให้เกิดระดับเสียงดนตรี  เครื่องดนตรีพวกน้ำเต้า ได้แก่ Sheng เป็นเครื่องดนตรีสำคัญในวงดนตรีจีน Sheng ประกอบด้วย ท่อไม้ 7 ท่อ ติดตั้งอยู่ในผลน้ำเต้าแห้ง ซึ่งจะใช้เป็นที่พักลม แต่ละท่อจะมีลิ้นฝังอยู่ พร้อมทั้งเจาะรูปิด-เปิดแต่ละท่อด้วย เวลาเล่นจะต้องเป่าลมผ่านผลน้ำเต้าแล้วให้ลมเปลี่ยนทิศทางด้วยท่อทั้ง 7 ท่อ เสียงของ Sheng จะคล้ายเสียงออร์แกนลมของดนตรีตะวันตก

    กู่เจิง (Gu - Zhing หรือ Guzheng)เป็นเครื่องสายดีดโบราณของจีนซึ่งมีประวัติยาวนานประมาณ 2500 ปี โดยเริ่มแรกจากสมัยจ้านกั๋ว เป็นเครื่องดนตรีเมืองฉิน(ปัจจุบันคือเมืองสั่นซี) ชื่อกู่เจิงมาจากเสียงของเครื่องดนตรีที่เวลาดีดจะมีเสียง “zheng zheng” ในสมัยก่อนเรียกว่า เจิ้น คำว่ากู่หมายถึงประวัติศาสตร์ที่ยาวนานและสะท้อนวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวจีนโบราณ เมื่อ 2500 ปีก่อน ทำจากไม้และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องถึงสมัยฮั่นเป็น 12 สาย สมัยถานและซ้งเป็น 13 สาย สมัยชิงเป็น 16สายจนถึง ค.ศ. 1960 ได้พัฒนาเป็น 18 21 23 และ 26 แต่ส่วนมากปัจจุบันนิยมใช้ 21
  • สุษิระ เป็นเครื่องดนตรีประเภทใด
    กู่เจิง หรือ กู่ฉิน
  • ขลุ่ย เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าที่ได้รับความนิยมในจีน เนื่องจากทำด้วยไม้ไผ่ธรรมชาติ จึงได้ชื่อว่า“ขลุ่ยไม้ไผ่” แม้ว่าขลุ่ยมีขนาดเล็กและง่ายๆ แต่มีประวัติยาวนานถึงเจ็ดพันปี ประมาณสี่พันห้าร้อยกว่าปีก่อน ขลุ่ยเริ่มทำด้วยไม้ไผ่แทนกระดูก สมัยฮั่นอู่ตี้เมื่อปลายศตวรรษที่หนึ่งก่อนคริสกาล ขลุ่ยชื่อว่า“เหิงชุย(แปลว่าเป่าตามขวาง)” มีบทบาทสำคัญมากในเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าสมัยนั้น นับตั้งแต่ศตวรรษที่เจ็ดเป็นต้นมา ขลุ่ยมีการปรับปรุงอย่างมาก ได้เพิ่มรูเยื่อ ทำให้การแสดงออกของขลุ่ยได้รับการพัฒนาอย่างมาก ฝีมือการเป่าขลุ่ยก็พัฒนาไปถึงระดับที่สูงมาก จนถึงศตวรรษที่สิบ พร้อมๆกับบกกวีซ่งและกลองงิ้วสมัยหยวน ขลุ่ยได้กลายเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญในการบรรเลงประกอบเสียงในงิ้วพื้นเมืองและวงงิ้วชนชาติส่วนน้อยต่างๆ ขลุ่ยก็เป็นเครื่องดนตรีที่ขาดไม่ได้

สุษิระ เป็นเครื่องดนตรีประเภทใด
ดี (Di)

  • เอ้อหู หรือ ซออู้ (Erhu) เป็นเครื่องดนตรีจีนประเภทสีที่มีชื่อเสียง เริ่มมีตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง(คริสต์ศตวรรษที่7-คริสต์ศตวรรษที่10) เวลานั้นเอ้อหูเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมเล่นในหมู่ชนชาติส่วนน้อยที่พำนักอยู่ในเขตพื้นที่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ในประวัติวิวัฒนการนานกว่า 1,000 ปีนั้น ซอสองสายเป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบในวงงิ้วโดยตลอด ซอสองสายมีโครงสร้างง่ายมาก มีคันซอที่ทำด้วยไม้ด้ามเล็กๆ ยาวประมาณ 80 ซม. บนคันซอมีสายซอ 2 สาย ใต้คันมีกระบอกเสียงของซอรูปร่างแบบถ้วยน้ำชา นอกจากนี้ ยังมีคันซักซอที่ทำด้วยหางม้า เวลาบรรเลง ผู้บรรเลงจะใช้ท่านั่ง มือซ้ายถือตัวซอ มือขวาถือคันซักซอ ระดับเสียงของซอสองสายจะกว้างถึง 3 ช่อง เสียงของซอสองสายสามารถแสดงถึงอารมณ์ความรู้สึกได้เต็มเปี่ยม ซอสองสายมีเสียงคล้ายเสียงคน จึงเป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะเหมือน การร้องเพลง บางคนขนานนามว่าเป็น“ไวโอลินจีน” เนื่องจากเสียงซอมีความเศร้าในตัว จึงมักเอามาบรรเลงเพลงที่เน้นอารมณ์ซาบซึ้ง
  •  หลังปีค.ศ. 1949 การผลิต ปรับปรุงและเทคนิคการบรรเลงซอ ได้รับการพัฒนาอย่างมาก ซอสองสายสามารถบรรเลงเดี่ยว และยังสามารถบรรเลงประกอบเพลงระบำ งิ้วและเพลงปกิณกะ ในวงดนตรีประเภทปี่และซอของจีน ซอสองสายเป็นเครื่องดนตรีหลัก เท่ากับเครื่องไวโอลินในวงดนตรีตะวันตก เนื่องจากวิธีการผลิตซอสองสายง่าย เรียนเป็นเร็วและฝึกง่าย ทั้งมีเสียงใสไพเราะ จึงได้รับความนิยม
  • ชมชอบจากชาวจีนทั่วไป

สุษิระ เป็นเครื่องดนตรีประเภทใด
เอ่อหู (Erhu)

ตัวอย่างการบรรเลงดนตรีในวัฒนธรรมจีน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

สุษิระ เป็นเครื่องดนตรีประเภทใด

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ทางดนตรีสากลที่ประดิษฐ์ขึ้น  เพื่อใช้ในการบันทึกบทเพลงต่างๆมิให้สูญหาย และเป็นที่ยอมรับกันในระดับสากล มีดังนี้       1.  บรรทัด 5 เส้น  (Staff)             บรรทัด 5 เส้น เป็นสัญลักษณ์ทางดนตรีที่ผู้เรียนดนตรีสากลควรทราบต่อจากตัวโน้ตและตัวหยุด  เป็นสิ่งที่แสดงว่าตัวโน้ตที่บันทึกลงในบรรทัด  5 เส้นนี้มีระดับใด เสียงสูง  หรือต่ำ กว่าตัวโน้ตตัวอื่นๆ  หรือไม่        ลักษณะของบรรทัด 5 เส้น หรือเส้นบันทึกโน้ต เป็นเส้นตรงแนวนอน  5 เส้น ที่ขนานกันและมีระยะห่างเท่าๆกัน ใช้สำหรับบันทึกตัวโน้ตและตัวหยุด       วิธีการนับเส้นและช่อง จะนับจากเส้นข้างล่างขึ้นไปหาเส้นข้างบน ดังนี้         นอกจากบรรทัด 5 เส้น ซึ่งใช้เป็นหลักในการบันทึกตัวโน้ต  และตัวหยุดแล้ว  ยังมีเส้นที่ใช้ขีดใต้ บรรทัด 5 เส้น หรือ เหนือบรรทัด 5 เส้น เป็นเส้นสั้นๆ ที่ใช้ขีดเฉพาะตัวโน้ตที่มีระดับเสียงต่ำกว่า หรือมีระดับเสียงสูงกว่าเส้นที่ปรากฏในบรรทัด 5 เส้น เรียกเส้นสั้นๆนี้ว่า   เส้นน้อย  (Ledger Line)           2. ลักษณะตัวโน้ต และตัวหยุด               1) ตัวโน้ต   คือ เครื่องหมายที่ใช้บันทึกแสด

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์งานดนตรี

สุษิระ เป็นเครื่องดนตรีประเภทใด

การสร้างสรรค์บทเพลง  หรือประพันธ์เพลงไทยแต่ละเพลง  เปรียบได้กับการประพันธืบทร้อยกรองในลักษณะต่างๆ เช่น  โคลง  ฉันท์  กาพย์   กลอน เป็นต้น เพราะการสร้งสรรค์บทเพลงไทยจะต้องพิจารณษนำเสียงแต่ละเสียงมาเรียบเรียงให้สอดประสานกลมกลืนกันอย่างเหมาะสมสามารถสื่ออารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ตามที่ตนต้องการถ่ายทอดให้แก่ผู้ฟังได้  ขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงรูปแบบของเพลงแต่ละประเภทให้เป็นไปตามแบบแผนที่กำหนดไว้ด้วย เช่นเดียวกับการประพันธ์บทร้อยกรองต่างๆ ที่ผู้ประพันธ์ต้องคัดสรรคำแต่ละให้มีทั้งเสียงและความหมาที่สัมผัสคล้องจองกัน  มีสัมผัสใน  สัมผัสนอก  แบ่งวรรคตอนให้ครบถ้วนตามแบบแผนที่กำหนดไว้ โดยปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์งานดนตรี มีดังนี้         ๑) ธรรมชาติ   เป็นสิ่งหนึ่งที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อจินตนาการของผู้ประพันธ์บทเพลงไทย  การได้เห็นธรรมชาติที่สวยงามไม่ว่าจะเป็นภูเขา  นำ้ตก ทะเล ต้นไม้ ดอกไม้ หรือได้ยินได้ฟังเสียงของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น เสียงคลื่น   ลม น้ำตก ฝน ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เสียงร้องของสัตว์ต่างๆ เป็นต้น ย่อมทำให้ศิลปิน  หรือผู้ที่ได้สัมผัสสิ่งต่างๆเหล่า่นั้น  เกิดจิน

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สุโขทัยและอยุธยา)

สุษิระ เป็นเครื่องดนตรีประเภทใด

การศึกษาเรื่องราวของดนตรีไทยนั้น  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบถึงแหล่งกำเนิด ความเป็นมา และวิวัฒนาการของดนตรีไท่ยในแต่ละยุคสมัย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความซาบซึ้ง  มองเห็นคุณค่าของดนตรีไทย อันเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมประจำชาติไทย ซึ่งการแบ่งยุคสมัยทางดนตรีของไทยจะนิยมกำหนดตามยุคสมัยทางประวัติศาสตร์  ดังต่อไปนี้           1. สมัยสุโขทัย            สมัยสุโขทัยนับเป็นสมัยเริ่มต้นที่คนไทยรวตัวกันเป็นชาติอย่างสมบูรณ์  แทนที่จะเป็นเพียงอาณาจักรที่มีเขตอิทธิพลอย่างจำกัดดังแต่กอ่น เรื่องราวของสุโขทัยมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เมื่อพ่อขุนรามคำแหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยและจารึกเรื่องราวต่างๆ ลงในหลักศิลาจารึก  และจากศิลาจารึกนี้เองทำให้คนรุ่นหลังทราบว่าสมัยสุโขทัยเป็นยุคสมัยหนึ่งที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านสังคม เศรษฐกิจ  การเมือง  การทหาร  ภาษา  และศิลปวัฒนธรรม  ชาวเมืองมีเครื่องเล่นสร้างควงามรื่นเริงบันเทิงใจ  และมีอิสระเสรีที่จะแสดงออกในเรื่องราวของบทเพลงและดนตรี  เพลงและเรื่องราวของดนตรีบางส่วนจึงปรากฏอยู่บนหลักศิลาจารึก  เช่น ข้อความที่ว่า "เสียงพาทย์ เสียงพิณ  เสียงเลื่อน  เสียงขับ"

ข้อใด เป็นเครื่องดนตรีประเภท สุษิระ

สุษิระ คือ เครื่องเป่า อะวะนัทธะ หรือ อาตตะ คือ เครื่องหุ้มหนัง หรือ กลอง ต่าง ๆ ฆะนะ คือ เครื่องตี หรือ เครื่องกระทบ.
ปี่ไฉน.
บัณเฑาะว์.
กระจับปี่ และจะเข้ เป็นต้น.

ตับบล้า เป็นเครื่องดนตรีประเภทใด

เชห์ไน ที่มา : http://www.sookjai.com/index.php?topic=73848.0 ดับบล้า เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลอง ที่มีเสียงดังไพเราะ ศิลปินต้องใช้เทคนิคในการตี เพื่อให้เกิดเสียงลักษณะต่างๆ ดับบล้าสำรับหนึ่งมีกลอง ๒ ใบ กลองใบเล็กอยู่ด้านขวาของผู้ดี ทำจาก ไม้ให้เสียงสูง กลองใบใหญ่อยู่ด้านซ้าย จำจากโลหะให้เสียงทุ้มต่ำ

กระจับปี่เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทใด

กระจับปี่เป็นเครื่องดนตรีประเภทพิณโบราณมีประวัติความเป็นมา ยาวนาน กระจับปี่หรือพิณได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดีย ผ่านชวาและขอม เข้าสู่ราชสำนักสยามในสมัยอยุธยา ใช้บรรเลงขับกล่อมพระมหากษัตริย์ใน พระบรมมหาราชวัง กระจับปี่มีจึงมีหน้าที่ใช้บรรเลงในวงมโหรีหลวง หรือที่

ตับบล้าเป็นเครื่องดนตรีประเทศอะไร

กลองทับบล้า มาจากภาษาอังกฤษว่า Tabla และอ่านเป็นคำไทยน่าจะได้ 2 แบบ คือ ทับ-บล้า หรืออ่านว่า ทา-บล้า ซึ่งกลองทับบล้าเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ชิ้นหนึ่งของดนตรี และมีเสียงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของอินเดีย เรียกว่ามีเอกลักษณ์ทัดเทียมกับเสียงซีตาร์เลยก็ว่าได้