เครื่องยนต์ 4 จังหวะ กับ 2 จังหวะ ต่างกันอย่างไร

เครื่องยนต์ 4 จังหวะ กับ 2 จังหวะ ต่างกันอย่างไร

รู้ไว้ใช้ว่า "จักรยานยนต์ 2 จังหวะ กับ 4 จังหวะ ดูอย่างไรหนอ?"

เราคงเคยได้ยินเขาพูดกันว่า "เครื่องยนต์ 2 จังหวะ หรือ 4 จังหวะ" มันคืออะไร แล้วต่างกันตรงไหน วันนี้ CheckRaka.com มีวิธีดูเบื้องต้นง่ายๆ ที่บ่งบอกความแตกต่าง พร้อมข้อดี และข้อเสียมาฝากครับ

2 หรือ 4 จังหวะ ต่างก็มีรอบวัฏจักรการสันดาปภายในเหมือนกันนะครับ นั่นคือ ดูด (อากาศ) - อัด (อากาศ) - ระเบิด (จุดระเบิดด้วยหัวเทียน) และคาย (ไอเสียจากการเผาไหม้ออก)

เริ่มจากภายนอกสามารถดูด้วยตาได้เลย เพราะลักษณะภายนอกของเครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ 2 กับ 4 จังหวะ แตกต่างอย่างชัดเจน

จุดแรกที่สังเกตง่ายๆ นั่นคือ ตัวเสื้อสูบของเครื่องแบบ 4 จังหวะจะมีขนาดใหญ่กว่าแบบ 2 จังหวะ ในกรณีขนาดความจุและจำนวนลูกสูบเท่ากัน เพราะภายในเสื้อสูบของเครื่องแบบ 4 จังหวะมีส่วนประกอบมากชิ้นกว่า เช่น ระบบกลไกของวาล์วไอดี-ไอเสีย ก้านกระทุ้ง หรือโซ่ขับเพลาลูกเบี้ยว (แคมชาฟต์) เป็นต้น ส่วนเครื่องแบบ 2 จังหวะ ไม่มีระบบกลไกของวาล์ว มีเพียงท่อสำหรับคายไอเสียออกมาเท่านั้น แม้แต่ท่อดูดอากาศก็ไม่ได้อยู่ตรงส่วนของเสื้อสูบ แต่ไปอยู่ตัวห้องแครงด้านล่างแทน หรือดูตรงท่อดูดอากาศจากคาร์บูเรเตอร์เข้าบริเวณเสื้อสูบที่ตรงกันข้ามกับทางออกของท่อไอเสียหากเป็นเครื่อง 2 จังหวะจะไม่อยู่แนวระดับเดียวกัน แต่เครื่อง 4 จังหวะจะอยู่ระดับเดียวกันเสมอ ซึ่งสามารถดูได้ทั้งรุ่นที่ระบายความร้อนด้วยอากาศและน้ำครับ

ต่อมาก็ฟังเสียงที่แตกต่างชัดเจนมาก โดยเครื่องแบบ 4 จังหวะ จะนุ่มเงียบโทนต่ำและเสียงใหญ่ๆ (คล้ายๆ เครื่องคุโบต้า) เมื่อเร่งรอบสูงๆ จะคำรามดังทุ้มๆ ส่วนเครื่องแบบ 2 จังหวะ ออกโทนแหลมๆ แสบแก้วหู ที่เรียนว่า "แว้น" นั่นแหละครับ และขณะจอดติดเครื่องเบาๆ จะเดินไม่เรียบเดี๋ยวเร็วสลับช้าไม่เป็นจังหวะอีกด้วยครับ

แม้ระยะไกลก็แยกแยะได้ เนื่องจากเครื่อง 4 จังหวะ มักมีการเผาไหม้ที่สมบูรณ์มากกว่า (คล้ายเครื่องของรถยนต์) ดังนั้นจึงแทบไม่มีควันออกมาจากท่อเสียเลย (กรณีเครื่องที่ยังฟิตสตาร์ทติดง่าย) ส่วนเครื่อง 2 จังหวะ ควันขาวมาแต่ไกล เพราะการเผาไหม้ของเครื่อง 2 จังหวะต้องอาศัยน้ำมันเครื่องชนิดพิเศษที่เรียกว่า "ออโต้ลูบ" เข้าไปหล่อลื่นชิ้นส่วนภายในพร้อมกับถูกเผาไหม้ปนออกมากับไอเสียอีกทีครับ ก่อมลพิษสูงมากๆ

ตำแหน่งติดตั้งหัวเทียน โดยทั่วไปเครื่องยนต์ 4 จังหวะจำเป็นต้องติดตั้งหัวเทียนไว้ด้านของส่วนของฝาสูบ เพื่อหลบระบบควบคุมวาล์วที่อยู่ส่วนบนของฝาสูบ ส่วนเครื่อง 2 จังหวะ สามารถติดตั้งส่วนบนสุดของฝาสูบได้เลย เพราะไม่มีระบบควบคุมวาล์ว จึงเป็นจุดสังเกตเบื้องต้นที่ง่ายที่สุดอีกจุดหนึ่งครับ

เครื่องยนต์ 4 จังหวะ กับ 2 จังหวะ ต่างกันอย่างไร

อีกจุดที่สังเกตง่ายๆ นั่นคือ ระบบสตาร์ตเครื่องยนต์ 4 จังหวะจะสามารถใช้ได้ทั้ง สตาร์ตด้วยเท้า และปุ่มกดไฟฟ้าอาศัยมอเตอร์หมุนให้เครื่องติด ส่วนเครื่อง 2 จังหวะมักสตาร์ตด้วยเท้าอย่างเดียว ยกเว้นรุ่นที่มีเครื่องขนาดใหญ่หรือ 2 สูบขึ้นไปอาจมีระบบมอเตอร์ช่วยสตาร์ต ซึ่งอาจเป็นเพราะเทคโนโลยีการสตาร์ตในสมัยก่อนที่ยังไม่ถูกพัฒนาก็เป็นได้ครับ

เครื่องยนต์ 4 จังหวะ กับ 2 จังหวะ ต่างกันอย่างไร

ข้อดีและข้อเสียโดยทั่วไปของเครื่องยนต์ทั้ง 2 และ 4 จังหวะ

แบบ 2 จังหวะ 

ข้อดี ออกตัวได้รวดเร็ว อัตราเร่งดี ลากรอบเครื่องยนต์ได้สูง ชิ้นส่วนเคลื่อนไหวน้อย ดูแลรักษาง่าย ปรับแต่งไม่มากก็แรงได้

ข้อเสีย การสึกหรอสูง ควันขาวก่อมลพิษ เสียงดังมาก ไม่ทนทานเท่าแบบ 4 จังหวะ เครื่องเดินไม่เรียบ กินน้ำมันมากกว่า มีข้อจำกัดในการปรับแต่ง เมื่ออายุใช้งานนานๆ ชิ้นส่วนภายในเกิดคราบเขม่าจากการใช้ออโต้ลูป อาจเกิดความเสียหายได้

แบบ 4 จังหวะ 

ข้อดี ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง (ปัจจุบันเริ่มนิยมใช้ระบบจ่ายเชื้อเพลิงด้วยหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์) รอบเครื่องเดินเรียบ เสียงเบา ดูแลรักษาง่ายเช่นกัน ปรับแต่งได้มากกว่า แรงบิดคงที่ ไม่มีควันขาว มลพิษต่ำ 

ข้อเสีย ชิ้นส่วนมากย่อมมีค่าใช้จ่ายบำรุงรักษามากตามมาด้วย ลากรอบได้ไม่สูงเท่าเครื่อง 2 จังหวะ (แต่ในรถสมรรถนะสูงๆ ลากได้เกินหมื่นรอบ/นาทีขึ้นไป) เสียงจะดังมากขึ้นหากปรับแต่งท่อไอเสีย

จากวิธีสังเกตเบื้องต้นในการแยกแยะรถจักรยานยนต์แบบ 2 กับ 4 จังหวะ และข้อดี-ข้อเสียเบื้องต้นของเครื่องยนต์ทั้ง 2 แบบนี้ อาจเป็นประโยชน์เพื่อสามารถนำไปเลือกซื้อทั้งรถจักรยานยนต์ทั้งมือหนึ่งหรือมือสองได้อย่างไม่ต้องกังวลครับ เพราะจักรยานยนต์บางค่ายผลิตออกมารูปทรงคล้ายรถแบบ 4 จังหวะ แต่ยังใช้เครื่องแบบ 2 จังหวะก็มี "รู้ไว้ใช้ว่านะครับ"

มอเตอร์ไซค์ 2 จังหวะและ 4 จังหวะ ต่างกันอย่างไร ดูได้ง่ายๆ

เครื่องยนต์ 4 จังหวะ กับ 2 จังหวะ ต่างกันอย่างไร

มอเตอร์ไซค์ 2 จังหวะและ 4 จังหวะ ต่างกันอย่างไร ดูได้ง่ายๆ

          ชาวสองล้อคนทราบกันเป็นอย่างดีว่าในปัจจุบันรถจักรยานยนต์นั้นส่วนใหญ่แล้วจะใช้เป็นระบบเครื่องยนต์ 4 จังหวะแทบทิ้งสิ้น แต่หลายๆ คนก็ยังคงสงสัยอยู่ดีว่า ระหว่างเครื่องยนต์แบบ 2 จังหวะ กับ 4 จังหวะ นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร แล้วเราจะดูได้จากตรงไหน ซึ่งวันนี้ BoxzaRacing ของเราก็มีเกร็ดความรู้ในเรื่องนี้มาฝาก กับวิธีการดูความแตกต่างระหว่าง 2 เครื่องยนต์นี้แบบง่ายๆ ส่วนจะเป็นอย่างไรนั้น หากพร้อมแล้วตามมาดูกันเลยครับ

เครื่องยนต์ 4 จังหวะ กับ 2 จังหวะ ต่างกันอย่างไร

SUZUKI T350 มาพร้อมเครื่องยนต์แบบ 2 จังหวะ

          ก่อนอื่นเลยเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ทั้งเครื่องยนต์ 2 จังหวะ และ 4 จังหวะนั้นต่างก็มีระบบการทำงานหรือวัญจักรการสันดาปภายในที่เหมือนกัน นั่นก็คือการดูดอากาศ และ อัดอากาศ จนถึง ระเบิด (จุดระเบิดด้วยหัวเทียน) และคายไอเสียจากการเผาไหม้ออกมา

เครื่องยนต์ 4 จังหวะ กับ 2 จังหวะ ต่างกันอย่างไร

Honda Wave มาพร้อมกับเครื่องยนต์ 4 จังหวะ

          แล้วเราจะสังเกตได้อย่างไรล่ะ? สำหรับวิธีการตรวจสอบภายนอกด้วยตาเปล่าง่ายๆ เลยก็คือ การตรวจสอบลักษณะภายนอกของเครื่องยนต์ระหว่าง 2 จังหวะกับ 4 จังหวะ จะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน นั่นก็คือ

เครื่องยนต์ 4 จังหวะ กับ 2 จังหวะ ต่างกันอย่างไร

ความแตกต่างระหว่างเครื่องยนต์ 2 รูปแบบ

          1. ตัวเสื้อสูบ โดยเสื้อสูบของเครื่องยนต์ 4 จังหวะจะมีขนาดใหญ่กว่า 2 จังหวะ ทั้งๆ ที่มีปริมาตรความจุเท่ากัน เพราะภายในของเสื้อสูบเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะนั้น มีส่วนประกอบต่างๆ ที่มากกว่า เช่น ระบบกลไกของวาล์วไอดี วาล์วไอเสีย ก้านกระทุ้ง และแคมชาฟต์ (โซ่ขับเพลาลูกเบี้ยว) โดยเครื่องยนต์ในลักษณะของ 2 จังหวะจะไม่มีระบบกลไกของวาล์ว มีเพียงแค่ท่อสำหรับคายไอเสียทิ้งออกมาเท่านั้น รวมไปถึงท่อดูดอากาศก็ไม่ได้อยู่บริเวณส่วนของเสื้อสูบ แต่จะอยู่บริเวณด้านล่างแทน

เครื่องยนต์ 4 จังหวะ กับ 2 จังหวะ ต่างกันอย่างไร

ความแตกต่างระหว่างเครื่องยนต์ 2 รูปแบบ

          2. ดูบริเวณท่อดูดอากาศจากคาร์บูเรเตอร์เข้าบริเวณเสื้อสูบที่ตรงกันข้ามกับทางออกของท่อไอเสีย หากเป็นเครื่องแบบ 2 จังหวะนั้น มันจะไม่อยู่ในระดับเดียวกัน แต่เครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะนั้นจะอยู่ระดับเดียวกันเสมอ 

เครื่องยนต์ 4 จังหวะ กับ 2 จังหวะ ต่างกันอย่างไร

ความแตกต่างระหว่างเครื่องยนต์ 2 รูปแบบ

          3. ฟังเสียง โดยเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะนั้นหลายๆ คนคงจะทราบกันดีอยู่แล้ว ว่าเสียงของมันจะออกทุ้มๆ นุ่มๆ กว่า โทนเสียงต่ำและใหญ่ ซึ่งเมื่อเร่งรอบสูงๆ เสียงของมันจะดังแบบทุ้มๆ และส่วนเครื่องยนต์ 2 จังหวะนั้นเสียงจะออกแหลมๆ (เสียงแว๊น) และสังเกตได้จากตอนขณะจอดติดเครื่องยนต์ รอบของมันจะเดินไม่เรียบนั่นเอง

เครื่องยนต์ 4 จังหวะ กับ 2 จังหวะ ต่างกันอย่างไร

เครื่องยนต์ 2 จังหวะส่วนใหญ่จะมีควันออกจากท่อไอเสีย

          4. ท่อไอเสีย (ควัน) แน่นอนว่ารถจักรยานยนต์ที่มาพร้อมกับเครื่องยนต์ในรูปแบบ 2 จังหวะนั้นจะมีควันตามมาเป็นปกติ ซึ่งมันก็จะต้องอาศัยน้ำมันเครื่องชนิดพิเศษ หรือที่เรารู้จักกันว่า ออโต้ลูป เพื่อให้มันเข้าไปช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วนบริเวณภายในห้องเครื่อง พ้รอมกับการถูกเผาไหม้ปนออกมากับไอเสียนั่นเองครับ

          และที่เครื่อง 4 จังหวะไม่มีควันนั้นก็เพราะเนื่องจากเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะนั้นมักมีระบบการเผาไหม้ที่สมบูรณ์มากกว่า และแทบจะไม่มีควันออกมาจากท่อไอเสียเลย

เครื่องยนต์ 4 จังหวะ กับ 2 จังหวะ ต่างกันอย่างไร

สังเกตจากตำแหน่งหัวเทียน

          5. ตำแหน่งติดตั้งหัวเทียน สำหรับเครื่องยนต์ 4 จังหวะนั้น จำเป็นจะต้องติดตั้งหัวเทียนไว้ด้านปลายของฝาสูบ เพื่อหลบระบบควบคุมวาล์วที่อยู่บริเวณส่วนบนของฝาสูบ และเครื่องยนต์ 2 จังหวะสามารถติดตั้งส่วนบนสุดของฝาสูบได้เลย เพราะไม่มีระบบควบคุมวาล์วนั่นเอง

เครื่องยนต์ 4 จังหวะ กับ 2 จังหวะ ต่างกันอย่างไร

รถจักรยานยนต์ 2 จังหวะส่วนใหญ่จะต้องสตาร์ทกับเท้าเท่านั้น

          6. ระบบติดเครื่องยนต์ (สตาร์ท) เครื่องยนต์ 4 จังหวะส่วนใหญ่จะสามารถใช้ได้ทั้งแบบ สตาร์ทด้วยเท้า และสตาร์ทไฟฟ้า ส่วนเครื่อง 2 จังหวะนั้นส่วนใหญ่แล้วจะใช้การสตาร์ทด้วยเท้า ยกเว้นในรุ่นที่มีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่หรือจำนวนสูบมากกว่า 2 สูบขึ้นไป โดยอาจจะมีระบบมอเตอร์ช่วยสตาร์ท แต่ในปัจจุบันนี้ก็ได้มีการพัฒนามาเป็นแบบสตาร์ทไฟฟ้า (สตาร์ทมือ) แทบทั้งหมด

เครื่องยนต์ 4 จังหวะ กับ 2 จังหวะ ต่างกันอย่างไร

รถจักรยานยนต์ 2 จังหวะ กับ 4 จังหวะ

          ทีนี้ก็พอทราบกันแล้วใช่มั้ยครับเพื่อนๆ ว่าวิธีการตรวจสอบ หรือการแยกระหว่างรถจักรยานยนต์ในระบบเครื่องยนต์ 2 จังหวะ กับ 4 จังหวะนั้นเราจะสังเกตได้อย่างไรบ้าง และในครั้งหน้า BoxzaRacing ของเราจะนำเกร็ดความรู้ในเรื่องไหนมาฝากให้ชาวสองล้อได้รับชมกันอีก ต้องคอยติดตามกันให้ดีเลยนะครับ ส่วนวันนี้เราคงต้องขอตัวลาไปก่อนแล้ว พบกันใหม่โอกาสหน้า สวัสดีครับ

ขอบคุณข้อมูลดีๆ และรูปภาพจาก checkraka.com