การประเมินผลการ ทำงาน ภายหลัง การ ทำงาน เสร็จ แล้ว มี ประโยชน์ อย่างไร

บทเรียนออนไลน์

เรื่องทักษะกระบวนการทำงานและทักษะกระบวนการแก้ปัญหา

ทักษะกระบวนการทำงาน หมายถึง การลงมือทำงานต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นการฝึกฝนวิธีการทำงานต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ ทั้งการทำงานเดี่ยว หรือทำงานกลุ่มร่วมกับผู้อื่น เพื่อให้ทำงานได้สำเร็จและบรรลุตรงตามเป้าหมายโดยมีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
                            1.  การวิเคราะห์งาน เป็นการมองภาพรวมของงานเมื่อได้รับมอบหมาย ว่าเป้าหมายของงานคืออะไร แล้วจะทำอย่างไรเพื่อให้งานนั้นบรรลุเป้าหมายและได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
                            2.  การวางแผนในการทำงาน เป็นการกำหนดเป้าหมายของงาน ระยะเวลาในการดำเนินงาน แรงงานที่ใช้ในการทำงาน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน วัสดุอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานและวิธีการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
                            3.  การลงมือทำงาน เป็นการลงมือทำงานตามแผนการที่กำหนดไว้ด้วยความมุ่งมั่นอดทนและรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายให้ประสบผลสำเร็จ หากพบปัญหาหรืออุปสรรคควรหาทางแก้ไข
                            4. การประเมินผลการทำงาน เป็นการตรวจสอบ ทดสอบหรือทดลองใช้ตั้งแต่การวางแผนการทำงานว่ารอบคอบ รัดกุม ครอบคลุม และสามารถปฏิบัติตามได้หรือไม่ รวมถึงการประเมินผลการทำงานว่าเกิดปัญหาและอุปสรรคอะไรขึ้นบ้าง นำข้อมูลต่าง ๆ ไปปรับปรุงแก้ไขแผนงาน การทำงาน และผลงานให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา หมายถึง การลงมือทำงานต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นการฝึกฝนวิธีการทำงานอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้เกิดความคิดในการหาทางออกได้ เมื่อพบปัญหาในสถานการณ์การทำงานจริง โดยมีขั้นตอนดังนี้
                            1.  สังเกต นักเรียนควรฝึกตนเองให้เป็นคนช่างสังเกต ช่างศึกษาหาความรู้หรือรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ และเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น
                             2.  วิเคราะห์ เมื่อรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วนำมาวิเคราะห์ ลำดับความสำคัญของปัญหา และวิเคราะห์หาสาเหตุของแต่ละปัญหา แล้วหาทางออกของปัญหาให้ได้อย่างเหมาะสม
                             3.  สร้างทางเลือก เมื่อวิเคราะห์ปัญหาและเรียงลำดับปัญหาได้แล้ว ควรสร้างทางเลือกในการแก้ไขปัญหาซึ่งอาจจะมีหลายทางเลือก อาจจะมาจากการศึกษาค้นคว้า การทดลอง การตรวจสอบ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการแก้ปัญหา
                             4.  ประเมินทางเลือก ทางเลือกต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมา ควรพิจารณาดูให้ละเอียดว่าทางเลือกใดที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาที่สุด ให้ประเมินทางเลือกนั้น โดยการวางแผนและบันทึกกระบวนการปฏิบัติงาน ในรูปแบบรายงานและนำทางเลือกนั้นมาตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะนำไปใช้
-การใช้ทรัพยากรในการทำงานอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน
                   การใช้ทรัพยากรในการทำงานจะต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก มีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน โดยการเลือกใช้ทรัพยากรที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และเราควรช่วยกันใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติงานให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีหลักการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ดังนี้
                   1.  การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด คือ การใช้เท่าที่มีความจำเป็น เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้ได้นานและเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด เช่น ปิดสวิตช์ไฟฟ้าทุกครั้งหลังจากไม่ได้ใช้งาน ปิดก๊อกน้ำทุกครั้งหลังจากการใช้เสร็จ เป็นต้น
                   2. การนำเอาทรัพยากรกลับมาใช้ซ้ำอีก เนื่องจากสิ่งของบางอย่างเมื่อมีการใช้แล้วครั้งหนึ่งสามารถที่จะนำมากลับใช้ซ้ำได้อีก เช่น กระดาษเมื่อใช้งานไปแล้ว 1 หน้า จะสามารถนำกลับมาใช้ได้อีกหน้าหนึ่ง เป็นต้น หรือสามารถที่จะนำมาใช้ได้ใหม่โดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ เช่น การนำกระดาษหรือขวดพลาสติก ขวดโลหะที่ใช้แล้วไปผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อทำเป็นกระดาษแข็ง ขวดพลาสติก เป็นต้น ซึ่งเป็นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากรและการทำลายสิ่งแวดล้อมได้
                   3. การใช้สิ่งอื่นทดแทน เป็นวิธีการที่จะช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติลดน้อยลงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ใบตองใส่อาหารแทนการใช้โฟม การใช้พลังงานแสงแดดแทนแร่เชื้อเพลิง การใช้ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยคอกแทนปุ๋ยเคมี เป็นต้น
                   4. การบูรณะซ่อมแซม สิ่งของบางอย่างเมื่อใช้เป็นเวลานานอาจเกิดการชำรุดเสียหายได้ ถ้ามีการบูรณะซ่อมแซม จะทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้
            5.         การบำบัดและการฟื้นฟู เป็นวิธีการที่จะช่วยลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรด้วยการบำบัดก่อนที่จะนำไปใช้ เช่น การบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม ก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ การฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับสู่สภาพเดิม เช่น การปลูกป่า การปลูกป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูความสมดุลของป่าชายเลนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์

ทักษะกระบวนการทำงานและทักษะกระบวนการแก้ปัญหา
ในการทำงานใดๆ ก็ตามต้องพบกับปัญหาและจะต้องมีการตัดสินใจ การแก้ปัญหาจึงเป็นกระบวนการของความพยายามในการทำงานเพื่อให้ประสบความสำเร็จ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นมาสามารถหาแนวแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งคุณสมบัติเด่นของนักแก้ปัญหา คือ จะต้องมองเห็นปัญหาตั่งแต่ที่ยังเป็นปัญหาเล็กๆ อยู่ มีมุมมองต่างๆ ที่กว้างไกล กล้าเผชิญกับปัญหาและพยายามหาหนทางใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาอย่างไม่ย่อท้อ ฉับไว แก้ปัญหาได้อย่างเด็ดขาดและท่วงที โดยทั่วไปแล้วกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงานมี ๖ ขั้นตอน ดังนี้

การประเมินผลการ ทำงาน ภายหลัง การ ทำงาน เสร็จ แล้ว มี ประโยชน์ อย่างไร


เข้าดู : 31615 ครั้ง