Public Blockchain คือข้อใด

และหนึ่งในเทคโนโลยีเบื้องหลัง FinTech ที่กำลังถูกจับตามองเป็นพิเศษก็คือ Blockchain (บล็อคเชน) ที่เค้าว่ากันว่าเป็นเทคโนโลยีที่จะพลิกโลกโดยเฉพาะวงการการเงินเลยก็ว่าได้

 

วันนี้ The MATTER ชวนมาทำความรู้จักกับเทคโนโลยีตัวนี้เพื่อให้เห็นถึงกระบวนการทำงาน รวมไปถึงเราจะได้ประโยชน์อะไรจากมันบ้าง และคุณจะไม่เชื่อเลยว่ามันเริ่มใกล้ชิดเรามากขึ้นทุกทีๆ

 

เดี๋ยวก่อน Blockchain คืออะไรกันแน่

Blockchain เป็นเทคโนโลยีทางด้านโครงสร้างข้อมูลที่สร้างการกระจายตัวของข้อมูลไปอยู่กับทุกคนในระบบแบบไม่มีศูนย์กลาง (Distributed Ledger) โดยจะเข้ารหัสข้อมูลขั้นสูงในรูปแบบที่เครือข่ายนั้นๆ อนุญาตให้เข้าถึงได้ จากนั้นเก็บลงในบล็อก (Block) และแต่ละบล็อกจะถูกเชื่อมต่อกันเป็นโยงใยห่วงโซ่ (Chain) เราจึงเรียกมันว่า Blockchain

 

เดี๋ยวนะ งง

เรามั่นใจว่าหลายๆ คนอ่านมาถึงบรรทัดนี้ก็ไม่เข้าใจอยู่ดีว่ามันคืออะไร… โอเค งั้นลองนึกภาพตามว่า Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่กระจายข้อมูลเป็นเครือข่ายใยแมงมุม ไม่มีศูนย์กลาง แต่ละคนในเครือข่ายจะมีประวัติธุรกรรมของทุกคนเหมือนกัน ทีนี้พอมีใครในเครือข่ายทำธุรกรรมใดๆ ขึ้น ระบบจะกระจายข้อมูลธุรกรรมตัวนี้ไปให้ทุกคนในเครือข่ายรับรู้เพื่อช่วยยืนยันความถูกต้องของข้อมูล หากเรียบร้อยก็จะบันทึกประวัติธุรกรรมลงไปในบล็อกของทุกคนในเครือข่าย ซึ่งถ้ามีใครซักคนคิดจะเปลี่ยนแปลงประวัติของตัวเองเพื่อทุจริตก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เพราะทุกคนในเครือข่ายจะรับรู้ประวัติธุรกรรมของกันและกันหมดทั้งเครือข่าย ถ้าเกิดจะแก้หรือแฮคข้อมูลก็ต้องทำให้หมดทุกบล็อกในเครือข่าย ซึ่งมันยากมากๆ

 

เหมือนพอเราจะซื้ออะไรกับตาสีตาสาสักอย่างนึง แล้วคนทุกคนในระบบก็จะรู้ว่าอ๋อ ฉันจ่ายเงินให้กับตาสีตาสานะ ก็จะบันทึกไว้ในโน้ตของตัวเอง ทีนี้ ถ้าตาสีตาสามาบอกว่า เฮ้ย ยังไม่ได้จ่าย ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะว่าทุกคนมีหลักฐานว่าฉันจ่ายแล้ว

Public Blockchain คือข้อใด

The Wall Street Journal

 

ซึ่ง Blockchain ยังสามารถแบ่งได้ง่ายๆ 2 ประเภท คือ

 

  • Public Blockchain (Blockchain สาธารณะ)

Public Blockchain เปรียบแบบง่ายๆ ก็เหมือนกันอินเทอร์เน็ตที่ทุกคนจะเข้าถึงข้อมูลใดๆ เมื่อไหร่ก็ได้ ปัจจุบันน่าจะมีเพียง Bitcoin หรือ สกุลเงินดิจิทัลที่นำ Public Blockchain ไปใช้งาน ซึ่งตอนนี้ก็มีร้านค้าออนไลน์ในต่างประเทศ บางร้านเริ่มรับชำระเงินด้วย Bitcoin แล้วนะ

 

  • Permission หรือ Private Blockchain (Blockchain ส่วนตัว)

ถ้า Public Blockchain คืออินเทอร์เน็ต Private Blockchain ก็เปรียบเสมืออินทราเน็ตนั่นเอง พูดง่ายๆ ว่า Blockchain แบบนี้จะอนุญาตให้เฉพาะคนภายในองค์กรหรือคนที่เชิญเข้ามาใช้งานได้เท่านั้น

ตัวอย่างของ Permission หรือ Private Blockchain ที่ดังๆ ก็อย่างเช่น Ripple ที่ให้บริการโซลูชั่นด้านการโอนเงินระหว่างประเทศชั้นนำของโลกจากสหรัฐอเมริกา และก็กลุ่มพันธมิตร R3 เป็นต้น

 

 

เข้าใจขั้นตอนการกระจายข้อมูลของ Blockchain แล้ว แต่พอจะมีตัวอย่างที่มโนตามง่ายๆ มั้ย

ได้เลย งั้นมาเข้าคลาสจินตนาการกันต่อ ตัวอย่างที่ให้นึกตามแบบง่ายๆ คงหนีไม่พ้นเรื่องการโอนเงินนี่แหละ นึกภาพการโอนเงินข้ามประเทศปัจจุบัน หลายคนคงไม่รู้ว่ากว่าเงินจะไปถึงผู้รับที่อยู่ต่างประเทศมันเดินทางผ่านอะไรบ้าง (ซึ่งปัจจุบันใช้เทคโนโลยีที่ชื่อ Swift กันอยู่) สมมติ จะโอนเงินจากไทยไปอเมริกา อย่างแรก คือ ผ่านธนาคารในไทย ซึ่งธนาคารในไทยต้องคุยกับธนาคารระหว่างทางอีกหลายๆๆ ธนาคารกว่าจะไปถึงธนาคารในอเมริกา ทำให้ใช้เวลาหลายวันกว่าเงินจะไปถึง ในระหว่างทางก็ตรวจสอบยากอีกว่าตอนนี้เงินมันไปถึงไหนแล้ว บางทีก็ใช้เวลา 4-5 วัน ในขณะที่ถ้าใช้เทคโนโลยี Blockchain เจ้าของเทคโนฯนี้จะใช้วิธีรวบรวมธนาคารหลักๆ ของทุกประเทศในโลก (เท่าที่จะเป็นไปได้) เอามาอยู่ในวง หรือใน network เดียวกัน (หรือเรียกว่าเป็น Private Network) ทีนี้ เวลาจะโอนเงินระหว่างประเทศก็ง่ายแล้ว ไม่ต้องผ่านตัวกลางหลายๆ อันให้เสียเวลา ทุกธนาคารในวงนี้ก็จะสามารถติดต่อหรือส่งข้อมูลกันได้โดยตรง

 

แล้ว Blockchain มีประโยชน์ยังไง ใครเริ่มใช้แล้ว

เชื่อหรือไม่ว่าถ้าหากมี Blockchain เกิดขึ้น ทุกคนก็จะทำธุรกรรมต่างๆ เช่นการโอนเงินระหว่างประเทศที่แต่ก่อนต้องผ่านตัวกลางหลายๆ ด่าน ก็จะกลายเป็นการทำธุรกรรมที่

  • รวดเร็ว อย่างการโอนเงินไปต่างประเทศก็จะลดระยะเวลาดำเนินการจาก 3-4 วัน เหลือเพียงไม่กี่นาที
  • ประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งในแง่ต้นทุนของผู้ให้บริการ และค่าธรรมเนียมของผู้บริโภค
  • ปลอดภัย โปร่งใส ตรวจสอบได้ เพราะสามารถตรวจสอบธุรกรรมระหว่างธนาคารได้โดยตรง

 

ถ้าพูดถึงการโอนเงินระหว่างประเทศ ตอนนี้ก็มีธนาคารชั้นนำหลายๆ แห่งทั่วโลกเช่น Citibank, Morgan Stanley, HSBC, Deutsche Bank ก็นำ Blockchain เข้าไปใช้งานแล้ว

 

เห็นพูดแต่เรื่องเงินๆ แล้วมีใครเอา Blockchain ไปทำอย่างอื่นอีกมั้ย ?

จริงๆ บริษัทชื่อดังของโลกบางรายก็เริ่มมีการเอาเทคโนโลยี Blockchain ไปใช้กันบ้างแล้ว อย่างเช่น

โตโยต้า ญี่ปุ่น ก็เพิ่งประกาศว่าภายในปีนี้จะทดลองการใช้เทคโนโลยี Blockchain กับการบริหาร Supply Chain ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการตรวจสอบสถานะของชิ้นส่วนรถยนต์ตั้งแต่ตอนออกจากโรงงานแล้วขนส่งข้ามประเทศต่อมาเรื่อยๆจนถึงมือผู้บริโภค หรือช่วยเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างรถยนต์กับอุปกรณ์ส่วนตัวของผู้ขับและเซ็นเซอร์ตรวจจับของระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมในเมืองหรือตามถนนทำให้การขับขี่หรือตรวจสอบเส้นทางทำได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

 

อนาคตต่อไปของ Blockchain

เอ๊ะ! เคยได้ยินว่า Blockchain คือ The Next Internet ?

 

นักวิเคราะห์มองว่ามันอาจเป็นเทคโนโลยีที่สามารถสร้างนวัตกรรมมาปฏิวัติโลกจนขนานนามว่าเป็น The Next Internet ก็เพราะเหมือนกับที่อินเทอร์เน็ตก็เปลี่ยนแปลงโลกของเราแบบก้าวกระโดดมาแล้ว ในอเมริกาตอนนี้ทั้งฝั่งภาคธุรกิจเองและ Startup ต่างๆ ก็เริ่มตื่นตัว ศึกษาและทดสอบเพื่อมองหาโอกาสต่อยอดจากเทคโนโลยี Blockchain แล้ว

ข้อมูลของ Public Blockchain เป็นข้อมูลประเภทใด

Public blockchain เป็น Blockchain ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมได้ เนื่องจากเป็น Open Network ทั้งหมด โดยลักษณะของการใช้งานพื้นฐานของ Blockchain ประเภทนี้ คือ การแลกเปลี่ยน Cryptocurrency และการขุด รวมถึงความสามารถในการรักษาความไว้วางใจระหว่าง Community ของผู้ใช้ทั้งหมด

ข้อใดคือข้อเสียของ Public Blockchain *

Public Blockchain คือ ระบบ Blockchain ที่อนุญาตให้คนเข้ามาร่วมบันทึกข้อมูลประวัติของการทำธุรกรรมดิจิทัลลงไปได้ Public Blockchain ใช้สำหรับทำธุรกรรมที่เป็นสาธารณะ ช่วยเพิ่มความโปร่งใส เพราะทุกคนจะสามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ แต่มีข้อเสียคือ จะค่อนข้างดำเนินการช้า เนื่องจากมีการรับส่งข้อมูลจากทั่วโลก ส่วน Private ...

Box chain คืออะไร

Blockchain คือเทคโนโลยีว่าด้วยระบบการเก็บข้อมูล (Data Structure) ซึ่งไม่มีตัวกลาง แต่ข้อมูลที่ได้รับการปกป้องจะถูกแชร์และจัดเก็บเป็นสำเนาไว้ในเครื่องของทุกคนที่ใช้ฐานข้อมูลเดียวกันเสมือนห่วงโซ่ (Chain) โดยทุกคนจะรับทราบร่วมกัน ว่าใครเป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลตัวจริง เมื่อมีการอัปเดตข้อมูลใด ๆ สำเนาข้อมูลในฐาน ...

ข้อใดหมายถึง Block header

๑. ส่วนหัวกลุ่มระเบียน๒. ส่วนหัวบล็อก [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] เพิ่มคำศัพท์ ทราบความหมายของคำศัพท์นี้?