อาการตากระตุกเกิดจากสาเหตุใด

ตากระตุก (Eyelid Twitch) คืออาการกระตุกเบา ๆ ที่เกิดขึ้นบริเวณเปลือกตา โดยมักจะเกิดที่เปลือกตาบนมากกว่าเปลือกตาล่าง ส่วนมากแล้วการกระตุกนั้นจะเกิดเพียงเบา ๆ พอที่จะรู้สึกได้ แต่บางรายเกิดอาการกระตุกมากจนไม่สามารถปิดเปลือกได้ ซึ่งถ้าปิดเปลือกตาไม่ได้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจจะเกิดความผิดปกติที่รุนแรงของระบบประสาทได้ และเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที

สาเหตุของอาการตากระตุก
โดยทั่วไปแล้วอาการตากระตุกเกิดจากสาเหตุดังนี้
1. นอนหลับไม่เพียงพอและนอนไม่เป็นเวลา
2. ตาแห้ง โดยเฉพาะคนที่อยู่กับคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เป็นเวลานาน ๆ
3. ความเครียด ยิ่งเครียดจะยิ่งเพิ่มโอกาสการเกิดตากระตุกได้
4. โรคภูมิแพ้ การแพ้และการระคายเคือง เพิ่มโอกาสการเกิดตากระตุกได้
5. ขาดวิตามิน B12 ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดปกติของกล้ามเนื้อและระบบประสาท

อาการตากระตุกเกิดจากสาเหตุใด

ตากระตุกเกิดได้จากหลายสาเหตุ ถ้าเกิดอาการรุนแรงควรปรึกษาแพทย์ ไม่ควรซื้อยามากินเอง

วิธีรักษาอาการตากระตุก
อาการตากระตุกนั้นสามารถหายเองได้เมื่อเรากำจัดปัจจัยเสี่ยงข้างต้นได้ แต่ในบางรายที่มีอาการเรื้อรังและรุนแรงต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาโดยแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งโดยทั่วไปสามารถทำการรักษาได้โดย
1. การรับประทานยาบางชนิด ซึ่งอยู่ในกลุ่มยาระงับประสาท
2. การใช้ยาฉีด ซึ่งเป็นยาชนิดเดียวกับที่ใช้ทำ Botox
3. การผ่าตัด นิยมใช้ในกรณีที่มีหลอดเลือดไปกดทับเส้นประสาท

อาการตากระตุกเกิดจากสาเหตุใด

วิธีรักษาอาการตากระตุกเกิดได้จากหลายสาเหตุนั้นมีหลายวิธี แต่ต้องกระทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

ทั้งนี้ การรักษาทั้ง 3 วิธีข้างต้นนั้น ต้องกระทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ห้ามทำเองโดยเด็ดขาด

แหล่งที่มา:https://www.เกร็ดความรู้.net/

ตากระตุก ตาเขม่น ที่ไม่เกี่ยวกับลางร้าย

อาการตากระตุกเกิดจากสาเหตุใด

อาการตากระตุก หรือเขม่น เกิดจากกล้ามเนื้อรอบดวงตาเกร็งตัวมากผิดปกติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง มีความรุนแรงตั้งแต่กระพริบตาถี่ขึ้น รอบตากระตุกเล็กน้อยซึ่งหายได้เอง หรือเป็นมากขึ้นจนเปลือกตากระตุกถี่และบ่อย หรือรอบตาเกร็งมาก ตาหรี่ลงลืมตาไม่ขึ้น เป็นข้างเดียวหรือสองข้าง เกิดขึ้นได้ทุกเวลา และอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากการมองไม่เห็นได้

อาการตากระตุกผิดปกติที่ควรพบแพทย์

  1. ตากระตุกติดต่อกันทุกวันเกิน 1 สัปดาห์
  2. มีอาการกระตุกที่บริเวณอื่นด้วย เช่น แก้มหรือมุมปาก
  3. ตากระตุกพร้อมกันทั้งสองข้าง
  4. ตาเกร็งกระตุกแรงมากจนลืมตาไม่ขึ้นรบกวนการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน
  5. มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ที่ตาร่วมด้วย เช่น เคืองตา แสบตา ตาแดง มีขี้ตา เป็นต้น

ข้อมูล ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2564
ที่มา : รศ. พญ.พริมา หิรัญวิวัฒน์กุล

หนังตากระตุกภาวะที่ควรเฝ้าระวัง

อาการตากระตุกเกิดจากสาเหตุใด

ภาวะหนังตากระตุก หรือ ตาเขม่น เป็นอาการที่กล้ามเนื้อรอบดวงตามีการเกร็งกระตุก หดตัวผิดปกติ มักเริ่มจากอาการเล็กน้อย และค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้น บางรายมีอาการรุนแรงถึงขั้นรบกวนการมองเห็นตาปิดและลืมตาไม่ขึ้น

สาเหตุส่วนใหญ่

  • โรคตา หรือ กระจกตาที่ทำให้เกิดการระคายเคือง เช่น ตาแห้ง จากการใช้สายตา หรือ เพ่งจอ คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
  • ความเครียด ไม่ได้พักผ่อน

อาการ

  • กะพริบตาถี่มากขึ้นหรือรอบตากระตุก อาจเกิดได้ทั้งข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง
  • กรณีรุนแรงผู้ป่วยจะมีอาการกะพริบตาค้าง หรือ ไม่สามารถลืมตาขึ้นเองได้ ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นแบบไม่รู้ตัว เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้

แนะนำ

  • หากมีอาการกระตุกเพียงเล็กน้อย แนะนำให้ผักสายตา หยอดน้ำตาเทียม
  • หากมีอาการเรื้อรัง ควรรีบพบจักษเพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและประเมินการรักษาต่อไป

ข้อมูล ณ วันที่ 21 เมษายน 2565
ที่มา : รศ. พญ.พริมา หิธัญวิวัฒน์กุล
ฝ่ายจักษุวิทยา

อาการตากระตุกเกิดจากสาเหตุใด

ตากระตุกคืออะไร

ตากระตุก ซึ่งจริงๆแล้วการกระตุกของเปลือกตาเป็นเรื่องปกติและไม่เป็นอันตราย

ตากระตุกส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาที แต่บางครั้งการกระตุกของเปลือกตาอาจคงอยู่เป็นเวลาหลายวันหรือนานกว่านั้น หากคุณมีอาการตากระตุกที่ไม่หายไปอย่างรวดเร็ว รีบไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพตา.

ศัพท์แพทย์สำหรับการกระตุกของตานี้เรียกว่า ตากระตุก (myokymia)

หากคุณพบอาการตากระตุกและไม่หายไป อาจเป็นสัญญาณถึงภาวะทางระบบประสาทที่ร้ายแรง ซึ่งส่งผลต่อเปลือกตา เช่น ตากะพริบค้างหรือใบหน้าเกร็งครึ่งซีก ภาวะที่ค่อนข้างหายากเหล่านี้มีความชัดเจนและรุนแรงกว่าตากระตุกทั่วไป และควรได้รับการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพตาทันที

อะไรทำให้เกิดตากระตุก

สาเหตุที่ทำให้เกิดตากระตุก ได้แก่:

  • ความเครียด

  • ความล้า

  • อาการเมื่อยล้าทางสายตา

  • คาเฟอีน

  • แอลกอฮอล์

  • ตาแห้ง

  • การขาดสารอาหาร

  • ภูมิแพ้

หากคุณมักจะมีอาการตากระตุก ให้ดูรายการนี้อย่างละเอียดและสังเกตว่าตัวกระตุ้นใดที่อาจเกิดกับคุณ บางครั้งการปรับเปลี่ยนอาหารและวิถีชีวิตเล็กน้อยสามารถลดความเสี่ยงของการตากระตุก หรือช่วยให้เปลือกตากระตุกหายไปได้อย่างมาก

สาเหตุของตากระตุก

1. ความเครียด

แน่นอนว่า ความเครียดเป็นสาเหตุที่พบบ่อยของอาการตากระตุก โยคะ ฝึกการหายใจ ใช้เวลากับเพื่อนหรือสัตว์เลี้ยง และใช้เวลาในกิจวัตรประจำวันมากขึ้นเป็นวิธีลดความเครียดซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เปลือกตากระตุก

2. ความล้า

การนอนหลับไม่เพียงพอไม่ว่าจะเป็นเพราะความเครียด หรือสาเหตุอื่น ๆ อาจทำให้ตากระตุกได้ การนอนให้เพียงพอและจัดตารางการนอนให้สม่ำเสมอสามารถช่วยได้

3. อาการเมื่อยล้าทางสายตา

อาการเมื่อยล้าทางสายตา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาการเมื่อยล้าทางสายตาจากอุปกรณ์ดิจิตอล จากการใช้คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนมากเกินไป ซึ่งนี่ยังเป็นสาเหตุที่พบบ่อยของเปลือกตากระตุก

ปฏิบัติตาม"กฎ 20-20-20" เมื่อใช้อุปกรณ์ดิจิทัล: ทุก ๆ 20 นาทีมองออกไปจากหน้าจอและปล่อยให้ดวงตาของคุณโฟกัสไปที่วัตถุที่อยู่ไกล (อย่างน้อย 20 ฟุต) เป็นเวลา 20 วินาทีหรือนานกว่านั้น ซึ่งจะช่วยลดความเมื่อยล้าที่อาจทำให้ตากระตุก

นอกจากนี้ควรสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสายตาของคุณเกี่ยวกับแว่นตาคอมพิวเตอร์ เพื่อบรรเทาอาการเมื่อยล้าทางสายตาจากอุปกรณ์ดิจิตอล

4. คาเฟอีน

การดื่มคาเฟอีกมากเกินไปอาจทำให้เกิดตากระตุก ลองลดกาแฟ ชา และน้ำอัดลม (หรือเปลี่ยนไปใช้แบบที่ไม่มีคาเฟอีน) สักหนึ่งหรือสองสัปดาห์ แล้วสังเกตว่าอาการตากระตุกหายไปหรือไม่

5. แอลกอฮอล์

หากคุณมีอาการตากระตุกหลังจากดื่มเบียร์ ไวน์ หรือสุราให้ลองงดสักระยะหนึ่ง เนื่องจากการบริโภคแอลกอฮอล์อาจทำให้เปลือกตากระตุก

6. ตาแห้ง

ผู้ใหญ่หลายคนต่างพบปัญหา ตาแห้งโดยเฉพาะหลังจากอายุ 50 ปี ตาแห้งเป็นเรื่องปกติมากในผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ ทานยาบางชนิด (โดยเฉพาะยาแก้แพ้และยาแก้ซึมเศร้า) ใส่คอนแทคเลนส์ และบริโภคคาเฟอีนและ/หรือแอลกอฮอล์

หากคุณมีเปลือกตากระตุกและดวงตาของคุณรู้สึกเป็นเม็ดหรือแห้ง ให้ไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลดวงตาของคุณเพื่อประเมินอาการตาแห้ง การคืนความชุ่มชื้นให้กับผิวดวงตาของคุณอาจทำให้ตากระตุกหายไปและลดความเสี่ยงของการเกิดตากระตุกในอนาคต

7. การขาดสารอาหาร

รายงานบางฉบับชี้ให้เห็นว่า การขาดสารอาหารทางโภชนาการบางอย่าง เช่น แมกนีเซียมอาจทำให้เปลือกตาเกร็งตัวได้ แม้ว่ารายงานเหล่านี้จะไม่สามารถสรุปได้ แต่ก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตากระตุกได้

หากคุณกังวลว่าอาหารของคุณอาจไม่ได้รับสารอาหารทั้งหมดที่คุณต้องการสำหรับการมีสายตาที่ดีต่อสุขภาพ ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลดวงตาของคุณก่อนที่จะซื้อหาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์

8. ภูมิแพ้

ผู้ซึ่งมีอาการ ภูมิแพ้ที่ตา อาจจะรู้สึกคัน บวม และตาแฉะ การขยี้ตาเนื่องจากอาการภูมิแพ้จะปล่อยสารฮีสตามีนเข้าไปในเนื้อเยื่อเปลือกตาและฟิล์มน้ำตาซึ่งอาจทำให้ตากระตุก

บางครั้งยาหยอดตาที่จำหน่ายได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์จะช่วยลดอาการภูมิแพ้ได้ แต่ยาแก้แพ้ในยาหยอดเหล่านี้อาจทำให้ตาแห้งได้ ดังนั้นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพดวงตาของคุณ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณทำสิ่งที่ถูกต้องสำหรับดวงตาของคุณ หากคุณมีอาการภูมิแพ้และตากระตุก

อีกวิธีในการหยุดตากระตุก: โบท็อก

ในบางกรณีอาการตากระตุกจะไม่หายไปแม้จะใช้วิธีการรักษาข้างต้นแล้วก็ตาม

เปลือกตากระตุกอย่างต่อเนื่อง สามารถรักษาได้ด้วยการฉีดโบท็อกซ์ เพื่อหยุดการหดตัวของกล้ามเนื้อโดยไม่สมัครใจในเปลือกตาที่ทำให้เกิดการกระตุก

เมื่อใดที่ต้องไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพตา

ไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพตา ทันทีหากคุณมีอาการตากระตุกอย่างต่อเนื่อง ลักษณะที่เปลี่ยนไปอย่างกะทันหัน หรือการเคลื่อนไหวของใบหน้าครึ่งหนึ่งของคุณ (รวมถึงเปลือกตาด้วย) หรือหากเปลือกตาทั้งสองข้างบีบแน่นจนไม่สามารถลืมตาได้ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงภาวะร้ายแรง

หน้าที่ตีพิมพ์ใน วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

หน้าปรับปรุงใน วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565

การ ตากระตุกเกิดจากอะไร

ภาวะหนังตากระตุก หรือ ตาเขม่น เป็นอาการที่กล้ามเนื้อรอบดวงตามีการเกร็งกระตุก หดตัวผิดปกติ มักเริ่มจากอาการเล็กน้อย และค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้น บางรายมีอาการรุนแรงถึงขั้นรบกวนการมองเห็นตาปิดและลืมตาไม่ขึ้น สาเหตุส่วนใหญ่ โรคตา หรือ กระจกตาที่ทำให้เกิดการระคายเคือง เช่น ตาแห้ง จากการใช้สายตา หรือ เพ่งจอ คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

ตากระตุกบ่งบอกถึงโรคอะไร

ปัจจัยที่อาจกระตุ้นกล้ามเนื้อเปลือกตาเกร็งกระตุก ได้แก่ อุบัติเหตุที่ศีรษะหรือใบหน้า ประวัติครอบครัวที่มีโรคการเคลื่อนไหวผิดปกติ เช่น Dystonia, Tremor ฯลฯ Reflex Blepharospasm จากโรคทางตา เช่น ตาแห้ง, เปลือกตาอักเสบ, ตาอักเสบ, ภาวะไวต่อแสง ฯลฯ มีสิ่งระคายเคืองเยื่อหุ้มสมอง

ทำยังไงให้หายตากระตุก

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ.
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ.
บริโภคคาเฟอีนให้น้อยลง.
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์.
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่.
พยายามลดหรือหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความเครียด.
ในกรณีที่มีอาการตาแห้งใช้ ควรใช้น้ำตาเทียมหรือยาหยอดตาเพื่อหล่อลื่นดวงตาและเยื่อตา.
ใช้วิธีประคบร้อนเมื่อเริ่มมีอาการ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณดวงตา.

ตากระตุกอันตรายไหม

ตากระตุก ซึ่งจริงๆแล้วการกระตุกของเปลือกตาเป็นเรื่องปกติและไม่เป็นอันตราย ตากระตุกส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาที แต่บางครั้งการกระตุกของเปลือกตาอาจคงอยู่เป็นเวลาหลายวันหรือนานกว่านั้น หากคุณมีอาการตากระตุกที่ไม่หายไปอย่างรวดเร็ว รีบไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพตา.