กิจกรรมการจัดการโลจิสติกส์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน อะไรบ้าง หัวใจหลักของการจัดการแต่ละส่วนคืออะไร

Skip to content

กิจกรรมการจัดการโลจิสติกส์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน อะไรบ้าง หัวใจหลักของการจัดการแต่ละส่วนคืออะไร

  • หน้าหลัก
  • ทำสติ๊กเกอร์
    • สติ๊กเกอร์น้ำพริก
    • สติ๊กเกอร์ติดขวด
    • สติ๊กเกอร์ขนม
    • สติ๊กเกอร์ไดคัท
  • นามบัตร
    • ตัวอย่างนามบัตร
  • ผลงานเรา
    • ตัวอย่างผลงาน
    • ราคาจำนวนฉลากสินค้า
  • บทความ
  • ติดต่อเรา

โลจิสติกส์ (Logistics) หมายถึงอะไร?

  • View Larger Image
    กิจกรรมการจัดการโลจิสติกส์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน อะไรบ้าง หัวใจหลักของการจัดการแต่ละส่วนคืออะไร

โลจิสติกส์ (Logistics) หมายถึงอะไร?

โลจิสติกส์ (Logistics) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาสินค้าและวัตถุดิบ เคลื่อนย้ายสินค้า การจัดเก็บสินค้า และการกระจายสินค้า ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะทำงานในลักษณะบูรณาการกับการจัดการห่วงโซ่อุปทาน โลจิสติกส์เปรียบเสมือนเป็นฟันเฟืองหลักที่ช่วยในการขับเคลื่อนการดำเนินงานต่างๆของห่วงโซ่อุปทานให้เคลื่อนที่ หลายคนคงสงสัยกับแหล่งที่มาของคำว่า โลจิสติกส์ (logistics) ซึ่งเป็นคำที่มาจากภาษาฝรั่งเศสคำว่า logistique ที่มีรากศัพท์คำว่าโลเชร์ (loger) ที่หมายถึงการเก็บโดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการขนส่งสินค้าทางการทหารในการส่งกำลังบำรุงทั้งเสบียง อาวุธ และกำลังพลเพื่อสนับสนุนการรบ

อีกความหมายนึงคือการไหลจากจุดต้นทางตั้งแต่ผู้จัดส่งวัตถุดิบ (Supplier) ไปสู่ผู้ผลิต (Manufacturer) ผ่านไปยังผู้กระจายสินค้า (Distributor) จนถึงจุดหมายปลายทางนั่นคือลูกค้า (Customer) และผู้บริโภค (Consumer) เพราะฉะนั้นวันนี้ SGEPRINT ขำนำเสนอข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโลจิสติกส์มาฝากทุกคนค่ะ 

กิจกรรมการจัดการโลจิสติกส์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน อะไรบ้าง หัวใจหลักของการจัดการแต่ละส่วนคืออะไร


— โลจิสติกส์ขาเข้า และ โลจิสติกส์ขาออก คืออะไร ต่างกันอย่างไร? —

โลจิสติกส์ขาเข้า (Inbound Logistics)หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา การจัดเก็บ และการส่งมอบวัตถุดิบและชิ้นส่วนไปยังกระบวนการผลิตในโรงงานหรือธุรกิจต่างๆ โลจิสติกส์ขาเข้า เป็นกิจกรรมพื้นฐานที่มุ่งเน้นในเรื่องของการจัดซื้อจัดหาการกำหนดตารางการไหลเข้าของวัตถุดิบ เครื่องมือ และสินค้าขั้นสุดท้ายจากผู้จำหน่ายวัตถุดิบไปยังฝ่ายผลิต ฝ่ายคลังสินค้า รวมถึงร้านค้าปลีก  👉 ในขณะที่ โลจิสติกส์ขาออก (Outbound Logistics)เป็นกิจกรรมในการรวบรวม จัดเก็บ และกระจายสินค้าขั้นสุดท้าย รวมถึงการไหลของสารสนเทศที่เกี่ยวข้องจากโรงงานผู้ผลิตไปยังลูกค้าขั้นสุดท้ายหรือผู้บริโภค ซึ่งคลอบคลุมถึงกิจกรรมต่างๆ เช่น การเลือกวิธีการขนส่ง การจัดการการขนส่ง เป็นต้น ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการไหลออกของ ผลิตภัณฑ์จากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ

กิจกรรมการจัดการโลจิสติกส์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน อะไรบ้าง หัวใจหลักของการจัดการแต่ละส่วนคืออะไร


— หัวใจสำคัญของความแตกต่างระหว่างโลจิสติกส์ขาเข้าและโลจิสติกส์ขาออก —

จากความหมายของโลจิสติกส์ขาเข้าและโลจิสติกส์ขาออก สามารถนำมาวิเคราะห์หัวใจสำคัญของความแตกต่างระหว่างโลจิสติกส์ขาเข้าและโลจิสติกส์ขาออกได้ดังนี้ 👉🏻 โลจิสติกส์ขาเข้าเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดหาวัตถุดิบเข้าสู่โรงงานผู้ผลิต ส่วนโลจิสติกส์ขาออกเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการกระจายสินค้าไปยังลูกค้าหรือผู้บริโภค 👉🏻 โลจิสติกส์ขาเข้ามุ่งเน้นให้ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรและวัตถุดิบภายในโรงงานผู้ผลิต ส่วนโลจิสติกส์ขาออกนั้นมุ่งเน้นในด้านการนำสินค้าสำเร็จรูปหรือผลิตภัณฑ์ส่งไปยังลูกค้าหรือผู้บริโภค 👉🏻 และโลจิสติกส์ขาเข้าเป็นกิจกรรมที่ต้องมีการจัดการด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้จำหน่ายวัตถุดิบ (Suppliers) กับ โรงงานผู้ผลิต (Manufacturer) ส่วนโลจิสติกส์ขาออกเป็นการจัดการด้านความสัมพันธ์ระหว่าง ธุรกิจกับลูกค้าหรือผู้บริโภค

กิจกรรมการจัดการโลจิสติกส์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน อะไรบ้าง หัวใจหลักของการจัดการแต่ละส่วนคืออะไร


— การปรับตัวของธุรกิจในการพัฒนาโลจิสติกส์ขาเข้าและโลจิสติกส์ขาออก —

เนื่องจากโลจิสติกส์เป็นกิจกรรมที่มีส่วนสำคัญต่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้าจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสุดท้ายได้อย่างถูกต้องในเวลาที่กำหนด ซึ่งจะเห็นได้ว่า โลจิสติกส์ขาเข้า และโลจิสติกส์ขาออก เป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมต่อระหว่างองค์กรหรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน โดยในส่วนของโลจิสติกส์ขาเข้า เป็นกิจกรรมที่เป็นส่วนการเชื่อมต่อระหว่างผู้จำหน่ายวัตถุดิบกับผู้ผลิต  👉🏻 และในส่วนของโลจิสติกส์ขาออก เป็นกิจกรรมที่เป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างผู้ผลิตกับลูกค้าหรือผู้บริโภค ซึ่งธุรกิจโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมจะต้องปรับตัวโดยการให้ความสำคัญต่อพัฒนากระบวนการในกิจกรรม โลจิสติกส์ขาเข้าและโลจิสติกส์ขาออก โดยการวิเคราะห์กิจกรรมโลจิสติกส์ขาเข้าและโลจิสติกส์ขาออกเพื่อหาจุดที่จะต้องปรับปรุงและพัฒนา

กิจกรรมการจัดการโลจิสติกส์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน อะไรบ้าง หัวใจหลักของการจัดการแต่ละส่วนคืออะไร


— กรณีตัวอย่าง การจัดการโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมสัปปะรดกรณีศึกษาโรงงานขนาดใหญ่ — 

จากการวิจัยเรื่องการจัดการโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมสัปปะรด (ธนัญญา วสุศรี และคณะ, 2550) ได้ศึกษาความเชื่อมโยงของอุตสาหกรรมสัปปะรดตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นจนถึงขั้นตอนการส่งมอบให้กับลูกค้า ซึ่งสามารถวิเคราะห์กิจกรรม โลจิสติกส์ ขาเข้า และ โลจิสติกส์ ขาออก ได้ดังนี้

กิจกรรมโลจิสติกส์ขาเข้า (Inbound Logistics) ในกรณีตัวอย่างนี้เกี่ยวข้องกับการวางแผนของฝ่ายจัดหาวัตถุดิบ การวางแผนของฝ่ายผลิต การจัดซื้อจัดหา และการผลิต ซึ่งสรุปสั้นๆในส่วนของการวางแผนของฝ่ายจัดหาวัตถุดิบ ฝ่ายจัดหาวัตถุดิบจะรับผิดชอบงานได้ 3 ส่วน ดังนี้คือ

1) จัดหาวัตถุดิบที่เป็นพืช ได้แก่ สัปปะรด อาหารสัตว์ และโครงการ สนับสนุนและตรวจติดตามเกษตรกร ทั้งนี้การวางแผนจัดหาวัตถุดิบนั้นจะมีการวางแผนรายปี รายเดือน รายสัปดาห์ และรายวัน

2) การวางแผนของฝ่ายวางแผนผลิต ฝ่ายวางแผนผลิตจะรับข้อมูลจาก 3 ส่วนหลัก ได้แก่ แผนการ จัดหาจากฝ่ายจัดหาวัตถุดิบ แผนการส่งออกจากฝ่ายบริการลูกค้า และข้อมูลปัจจัยในการผลิต เช่น จำนวนคนงาน คุณภาพวัตถุดิบ กำลังการผลิตของเครื่องจักร ซึ่งเมื่อได้ข้อมูลดังกล่าวแล้ว ฝ่ายวางแผนจะท าการคำนวณจำนวนตู้ ผลิตและแจ้งให้ฝ่ายบริการลูกค้าทราบ ข้อมูลอีกส่วนหนึ่งที่ใช้ในการวางแผนการผลิตจะได้จากข้อมูลการผลิต ประจำวันจากรายงานยอดผลิตของฝ่ายผลิตและนำไปเปรียบเทียบกับแผนการผลิตประจำวันว่าผลิตได้ตามแผนหรือไม่ และจะถูกจัดทำเป็นรายงานการผลิตประจำวัน

3) การจัดซื้อจัดหาสามารถแบ่งการจัดซื้อจัดหาออกเป็น 3 ประเภท คือ (1) วัตถุดิบหลัก คือ สัปปะรด และสารปรุงแต่ง (2) วัตถุดิบทางอ้อม ได้แก่ กล่อง ฉลาก กระป๋อง (3) บริการขนส่งสินค้าเพื่อการส่งออก

4) เมื่อฝ่ายผลิตได้รับ Daily Pack Plan จากฝ่ายการวางแผนการผลิต ฝ่ายผลิตจะทำการผลิตตามแผนดังกล่าวโดยเริ่มตั้งแต่การชั่งน้ำหนักสัปปะรดพร้อมรถขนส่ง จากนั้นจะถูกสุ่มตรวจสอบหาค่าปริมาณไนเตรทของสัปปะรด แล้วจึงนำสัปปะรดเทลงสู่สายพาน ผ่านการตรวจสอบความสุก และตรวจคัดของเสีย สัปปะรดที่ ไม่ได้คุณภาพจะถูกคัดออก สัปปะรดที่ผ่านการคัดจะถูกนำไปล้างภายนอกให้สะอาดด้วยไอน้ำร้อน จากนั้นคัดแยก ตามขนาด นำไปปอกเปลือกและเจาะแกนออกและผ่านกระบวนการต่างๆ จนกระทั่งบรรจุลงกระป๋อง รอตรวจสอบ คุณภาพจากฝ่ายประกันคุณภาพ และส่งมอบต่อไปยังคลังสินค้าเพื่อจัดเก็บสินค้าก่อนที่จะส่งมอบต่อให้กับลูกค้า

กิจกรรมโลจิสติกส์ขาออก (Outbound Logistics)

1) การจัดเก็บสินค้า เมื่อสัปปะรดผ่านการตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นจากฝ่ายประกันคุณภาพเรียบร้อยแล้ว สัปปะรดกระป๋องจะถูกส่งมอบเข้าสู่คลังสินค้า และจัดเก็บเป็นเวลา 7 วัน เพื่อรอผลการตรวจสอบขั้นสุดท้าย ก่อนจำหน่ายได้ สินค้าแต่ละรายการจะมีคำสั่งซื้อที่ต่างกันหรือยังไม่มีคำสั่งซื้อ ซึ่งจะต้องเก็บอยู่ในคลังสินค้าก่อน เมื่อสินค้าที่มีคำสั่งซื้อเข้ามาจะถูกนำมาตรวจสอบอีกครั้ง เมื่อผ่านการตรวจสอบจะนำสัปปะรดกระป๋องมาปิดฉลาก ตามที่ลูกค้าต้องการและพิมพ์ code ตามที่ลูกค้าต้องการ บรรจุลงลังกระดาษ นำขึ้นพาเลทแล้วนำเข้าสู่ตู้คอนเทนเนอร์

2) การส่งมอบ ในส่วนของการจัดการขนส่งสินค้านั้นฝ่ายบริการลูกค้าจะดูแลการประสานงานกับหน่วยงานภายนอก ได้แก่ เอเย่นต์เรือ รถหัวลาก เพื่อให้โรงงานจัดสินค้าเพื่อเดินทางไปส่งที่ท่าเรือกกรุงเทพฯ หรือ ICD ลาดกระบัง หรือท่าเรือแหลมฉบัง โดยกระบวนการเตรียมการส่งมอบสินค้าไปยังต่างประเทศจะเริ่มเตรียมงาน เมื่อฝ่ายวางแผนการผลิตได้กำหนดวันที่จะผลิตสำหรับคำสั่งซื้อนั้นๆ จากนั้นฝ่ายบริการลูกค้าจะดำเนินการจองเรือ และจัดทำเอกสารสำหรับการส่งออก เมื่อได้รับตารางการขนส่งจากเอเย่นต์เรือแล้ว ฝ่ายบริการลูกค้าจะแจ้ง กำหนดการของเรือไปยังฝ่ายคลังสินค้าเพื่อทำการติดฉลากและรอการขนส่งลงตู้คอนเทนเนอร์ต่อไป


เป็นอย่างไรบ้างคะทุกคน!! โลจิสติกส์ จะมีประสิทธิภาพสูงสุดมากแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับนักโลจิสติกส์หรือผู้บริหาร ด้านโลจิสติกส์ ที่จะสามารถวิเคราะห์และวางแผนการจัดการโลจิสติกส์ทั้งในส่วนของโลจิสติกส์ขาเข้าและโลจิสติกส์ ขาออกได้มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ดังนั้น ผู้ที่สามารถวิเคราะห์และวางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้การดำเนินการไหลของห่วงโซ่อุปทานก็จะมีประสิทธิภาพตามไปด้วย  สามารถติดตามบทความอื่นได้ที่นี่ 

By admin|2021-01-30T08:19:52+07:00January 30, 2021|Article|Comments Off on โลจิสติกส์ (Logistics) หมายถึงอะไร?

กิจกรรมการจัดการโลจิสติกส์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน อะไรบ้าง

กิจกรรมด้านโลจิสติกส์ ประกอบด้วย 9 กิจกรรม และการจัดการกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ สามารถแบ่งได้ 3 ส่วน ได้แก่ 1) การจัดการการไหลของสารสนเทศ 2) การจัดการการไหลของสินค้า และบริการ และ 3) การจัดการการไหลของเงิน การจัดการกับกิจกรรมต่างๆ จะทำให้ธุรกิจสามารถ วางแผน และควบคุม เพื่อลดต้นทุนรวมของทุกกิจกรรมโลจิสติกส์ ทำให้การบริหาร ...

กิจกรรมของโลจิสติกส์แบ่งออกทั้ง 2 ส่วนประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

1. การบริการลูกค้า ( Customer Service ) 2. การดำเนินการตามคำสั่งซื้อของลูกค้า ( Order Processing )

กิจกรรมทางโลจิสติกส์แบ่งออกเป็นกี่ส่วน

กิจกรรมด้านโลจิสติกส์มีทั้งหมด 13 กิจกรรมด้วยกัน แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นกิจกรรมหลักขององค์กร และกลุ่มที่เป้นกิจกรรมสนับสนุนการท างานขององค์กร กิจกรรมที่เป็นกิจกรรมหลักขององค์กรประกอบด้วย 8 กิจกรรม ส่วนที่เหลืออีก 5 กิจกรรมถือเป็นกิจรรมที่ช่วย สนับสนุนการด าเนินงานขององค์กร ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

หัวใจสําคัญของโลจิสติกส์ คืออะไร

หัวใจสำคัญของวงการโลจิสติกส์ก็คือตู้คอนเทนเนอร์เพราะไม่ว่าใช้การขนส่งรูปแบบใดก็ต้องใช้ตู้คอนเทนเนอร์ในการบรรจุสินค้าโดยเฉพาะการขนส่งระหว่างประเทศ ก็เพื่อปกป้องสินค้าและสร้างมาตรฐานความปลอดภัยสินค้าให้มีประสิทธิภาพ และยังเป็นตัวแปรสำคัญในการคำนวณต้นทุนขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการได้อย่างแม่นยำ ง่ายต่อการกำหนดต้นทุน แต่ที่ ...