นิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทำได้ด้วยตนเองมีอะไรบ้าง

กฎหมาย แพ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคบความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนซึ่งเรียกว่า บุคคลตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ซึ่งกฎหมายแพ่งได้จำกัดความสามารถของผู้เยาว์ไว้หลายประการ นักเรียนเป็นผู้เยาว์ยังไม่บรรลุนิติภาวะจึงควรจะต้องรู้เรื่องเกี่ยวกับ ความสามารถของผู้เยาว์ไว้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองที่จะได้ปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามกฎหมาย

1. ระยะเวลาแห่งการเป็นผู้เยาว์และการสิ้นสุดการเป็นผู้เยาว์
ผู้เยาว์ คือ เด็กหรือบุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ บุคคลจะพ้นจากการเป็นผู้เยาว์ได้ 2 กรณี
1. เมื่ออายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์
2. เมื่อ ทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติของกฎหมาย คือ กฎหมายกำหนดไว้ว่าการสมรสจะกระทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุครบสิบเจ็ดปีบ ริบูรณ์ และต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาทั้งสองฝ่าย

2. ความสามารถของผู้เยาว์
กฎหมายถือว่า บุคคลที่อยู่ในวัยผู้เยาว์ยังอ่อนทั้งในด้านสติปัญญา ร่างกาย ความคิดอ่าน ความรู้ ความชำนาญและไหวพริบ ยังเป็นผู้ไม่สมบูรณ์พอที่จะใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่ได้โดยลำพัง ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ผู้ไม่สุจริตถือโอกาสเอาเปรียบ โดยอาศัยความไม่ชำนาญและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้เยาว์ก่อความเสียหาให้แก่ ผู้เยาว์ ทางแก้ไขโดยกำหนดไม่ให้บุคคลอื่นมาเอาเปรียบผู้เยาว์กระทำได้ยาก กฎหมายจึงบัญญัติจำกัดความสามารถทางด้านผู้เยาว์ โดยถือเป็นหลักว่าผู้เยาว์จะใช้สิทธิทำกิจการใดๆที่จะก่อให้เกิดผลผูกพันทาง กฎหมายโดยลำพังไม่ได้ ต้องให้ผู้แทนโดยชอบธรรมกระทำการแทน หรือต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อน การทำกิจการนั้นๆ จึงจะสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ตัวอย่าง เด็กชายแดงไปขอยืมเงินจากนายดำ ซึ่งเป็นเพื่อนของบิดาเป็นจำนวนเงินห้าพันบาท นายดำให้เด็กชายแดงทำสัญญากู้เงินเป็นหนังสือไว้ ถือว่าสัญญากู้เงินนั้นเป็นโมฆียะตามกฎหมายเพราะเด็กชายแดงยังเป็นผู้เยาว์ ไม่สามารถทำสัญญาได้ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อน
ที่ว่าสัญญากู้เงินเป็นโมฆียะ หมายความว่าสัญญากู้เงินนั้นมีผลสมบูรณ์อยู่จนกว่าจะมีการบอกล้างโดยผู้มี อำนาจ เมื่อบอกล้างแล้วสัญญากู้เงินนั้นเป็นโมฆียะมาแต่เริ่มแรก
ถ้าหากกฎหมายไม่จำกัดความสามารถของผู้เยาว์ ในกรณีตัวอย่างนี้ถ้าเด็กชายแดงมีสิทธิที่จะทำสัญญากู้ยืมเงินได้ ก็อาจจะเสียเปรียบนายดำได้ ถ้านายดำเป็นคนมีนิสัยคดโกงชอบเอาเปรียบผู้อื่นอาจจะหลอกให้เด็กชายแดงลงลาย มือชื่อในสัญญา แล้วไปเติมข้อความภายหลัง เพราะเขาอาจมีวิธีการที่ทำให้เด็กชายแดงมีความไว้ว่างใจในตัวของนายดำ หรืออาจจะคิดดอกเบี้ยเงินกู้มากกว่ากฎหมายกำหนด ทั้งนี้เนื่องจากเด็กชายแดงเป็นผู้เยาว์ ความคิดอ่าน ความรู้ หรือไหวพริบยังไม่สมบูรณ์พอที่จะทำสัญญาหรือกิจการใดตามลำพัง ถ้าเด็กชายแดงมีความประสงค์จะทำสัญญากู้ยืมเงินจริงๆ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม
ผู้แทนโดยชอบธรรม หมายถึง บุคคลซึ่งตามกฎหมายมีสิทธิที่จะทำการแทนผู้เยาว์ หรือหมายถึงบุคคลซึ่งต้องให้ความอนุญาต หรือความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในอันที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
ผู้แทนโดยชอบธรรมนี้ เป็นผู้ที่กฎหมายมอบสิทธิและหน้าที่ให้เป็นผู้คุ้มครองแก้ไขและช่วยเหลือการ หย่อนความสามารถของผู้เยาว์ ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับตัวผู้เยาว์และในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้ เยาว์

ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์

ได้แก่
1. ผู้ใช้อำนาจปกครอง หมายถึงบิดามารดา
2. ผู้ปกครอง หมายถึงบุคคลอื่นนอกจากบิดาหรือมารดา ซึ่งถูกแต่งตั้งขึ้นเพื่อปกครองผู้เยาว์ ผู้ปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ในปกครอง

3 . นิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถกระทำได้ด้วยตนเอง
ผู้เยาว์สามารถกระทำการใดๆ ได้ดังต่อไปนี้
1. หาก เป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง ได้แก่ กิจการอันเป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียวไม่มีทางเสีย เช่น ผู้เยาว์รับทรัพย์สินที่บุคคลอื่นให้โดยเสน่หา โดยไม่มีข้อผูกมัดหรือเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น
ตัวอย่าง นายขุนทองเป็นผู้ที่มีฐานะดีมาก บ้านอยู่ใกล้กับบ้านของเด็กชายนกแก้ว เมื่อเด็กชายนกแก้วมีเวลาว่างก็จะไปช่วยนายขุนทองรดน้ำต้นไม้และช่วยทำงาน อื่น นายขุนทองรักใคร่เอ็นดูเด็กชายนกแก้วมาก วันหนึ่งนายขุนทองได้มอบเงินให้เด็กชายนกแก้วเป็นจำนวนเงินสองหมื่นบาท
กรณีนี้ถือว่าการนี้เป็นประโยชน์ต่อเด็กชายนกแก้วไม่มีทางเสีย เด็กชายนกแก้วซึ่งเป็นผู้เยาว์สามารถรับเงินจำนวนดังกล่าวได้ และมีผลสมบรูณ์ตามกฎหมาย
2 . กิจการที่จะต้องทำเองเฉพาะตัว เช่น การรับเด็กเป็นบุตร หรือเข้าสู่พิธีสมรส
ตัวอย่าง นายจำปา อายุ 18 ปี มีอาชีพรับจ้าง จัดว่าเป็นผู้เยาว์ นายจำปาลักลอบ ได้เสียกับนางสาวจำปีจนมีบุตรด้วยกันคนหนึ่งคือเด็กชายจำปูน ต่อมาจำปีได้ไปสมรสกับชายอื่น จำปาจึงนำเด็กชายจำปูนมาเลี้ยงและรับเป็นบุตร กรณีนี้จำปาผู้เยาว์สามารถกระทำได้ เพราะเป็นกิจการที่ต้องทำเองเฉพาะตัว ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม

3 . กิจการที่เป็นการสมควรแห่งฐานานุรูป และเป็นการจำเป็นเพื่อการเลี้ยงชีพตามสมควร เช่น การซื้อของกินเล็กๆ น้อยๆ เป็นต้น
4. ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุครบสิบห้าปีบริบูรณ์ พินัยกรรมซึ่งบุคคลที่มีอายุไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ทำขึ้นนั้นเป็นโมฆะ

ที่มา:http://fangwittayayon.net/profiles/blogs/5053090:BlogPost:4444

การทำนิติกรรมของผู้เยาว์

นิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทำได้ด้วยตนเองมีอะไรบ้าง

ความสามารถในการทำนิติกรรม

ความสามารถในที่นี้เราหมายถึง ความสามารถในการทำนิติกรรมของ บุคคลธรรมดา

      บุคคลธรรมดาสามารถมีสิทธิต่าง ๆ ซึ่งกฎหมายรับรองและคุ้มครองให้มีได้ แต่การใช้สิทธิของบุคคลธรรมดาบางประเภทนั้นอาจจะใช้ได้ไม่เต็มตามที่กฎหมายกำหนด เช่น การใช้สิทธิในการทำนิติกรรมต่างๆ หากเป็นบุคคลซึ่งด้อยสิทธิด้วยภาวะทางกฎหมายแห่งสภาพบุคคลของคนเหล่านั้นเขาก็ไม่อาจใช้สิทธิได้เต็มที่ เราเรียกคนเหล่านั้นว่า ผู้หย่อนความสามารถ กล่าวคือ ความสามารถในการทำนิติกรรมนั้นหย่อนไปไม่เต็มที่นั่นเอง ซึ่งคนเราจะไม่สามารถใช้สิทธิได้เต็มที่เนื่องมาจาก

  1. สภาพธรรมชาติ เช่น เด็กไร้เดียงสา
  2. โดยกฎหมายจำกัดอำนาจ เช่น ผู้เยาว์ คนวิกลจริต คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ (เหล่านี้เรียกว่าผู้หย่อนความสามารถทั้งสิ้น)

     เหตุที่กฎหมายต้องจำกัดอำนาจบุคคลเช่นนั้นเนื่องจากบุคคลผู้หย่อนความสามารถนั้นไม่อาจใช้สามัญสำนึกเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนเองได้ตามมาตรฐานของบุคคลทั่วไป กฎหมายเกรงว่าบุคคลเหล่านั้นจะถูกผู้อื่นเอาเปรียบหรือทำการอย่างใดให้ตนเองเสียเปรียบบุคคลอื่นได้นั่นเอง


ผู้เยาว์คือใคร

บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์

ผู้เยาว์ คือ ผู้ซึ่งมีสภาวะแห่งชีวิตสมบูรณ์เป็นบุคคลแล้วสภาวะบุคคลนั้นดำเนินมาจนครบ 20 ปี

     อีกกรณีหนึ่ง คือ ผู้เยาว์ซึ่งอายุไม่ครบ 20 ปี ได้ทำการสมรสและการสมรสนั้นเป็นการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายด้วย การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้ การสมรสจะเริ่มกระทำได้โดยถือว่าชอบด้วยกฎหมายคืออายุ 17 ปี บริบูรณ์แล้วเท่านั้น โดยต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา หรือผู้ปกครองก่อน ซึ่งให้นำความในมาตรา 1436 มาใช้โดยอนุโลม หากผู้เยาว์ต้องการสมรสแต่อายุยังไม่ถึง 17 ปี แม้ผู้แทนฯ จะให้การอนุญาตก็ไม่อาจสมรสได้ ต้องร้องขอต่อศาลแต่เพียงประการเดียว โดยศาลจะพิจารณาถึงความจำเป็น เช่น ญ กำลังมีครรภ์ ศาลจึงจะอนุญาตให้สมรสได้ เมื่อมีการสมรสที่ชอบแล้ว ช และ ญ นั้นก็จะพ้นจากภาวะความเป็นผู้เยาว์ทันทีสามารถทำนิติกรรมได้ตามปกติ เหตุที่กฎหมายต้องกำหนดเช่นนี้ เพราะว่า ช ญ ที่สมรสแล้วต้องดูแลครอบครัวตนต่อไป จึงต้องมีความเป็นผู้ใหญ่ในทางกฎหมาย เช่น หากชายอายุ 16 ปี แต่มีบุตร เมื่อศาลอนุญาตให้สมรสเขาจะบรรลุนิติภาวะ สามารถทำนิติกรรมต่าง ๆ เช่น ต้องการจะยกที่ดินของตนเองให้แก่บุตรของตน หากกฎหมายไม่ให้เขาบรรลุนิติภาวะแล้วเขาไม่อาจกระทำได้ หรือการส่งลูกตนเข้าโรงเรียนต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินฐานานุรูปก็ไม่อาจกระทำได้ กฎหมายจึงต้องให้เขาบรรลุนิติภาวะเสีย


การทำนิติกรรมของผู้เยาว์

     ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนการใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน ผู้แทนฯ หมายถึง ผู้ซึ่งอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ได้ เช่น บิดามารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร หรือ บุคคลอื่นซึ่งถูกตั้งขึ้นมาเพื่อปกครองผู้เยาว์การใด (นิติกรรม) ที่ผู้เยาว์กระทำลงไปโดยลำพังไม่ได้ขอความยินยอมจากผู้แทนฯ การนั้นจะเป็นโมฆียะ คำว่า“โมฆียะ” หมายความว่า ไม่บริบูรณ์ อาจให้สัตยาบรรณหรืออาจบอกล้างได้ กล่าวคือสมบูรณ์อยู่จนกว่าจะถูกบอกล้าง

โดย ทนายสถิตย์  อินตา

083-568-1148

นิติกรรมผู้เยาว์สามารถทําได้ตามลําพังตนเอง มีอะไรบ้าง

ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร เช่น ผู้เยาว์เป็นนักเรียนต้องซื้อเครื่องเขียนแบบเรียน ต้องซื้อเสื้อผ้า รองเท้าเพื่อใส่ไปโรงเรียน การซื้อเช่นนี้เป็นการสมแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์ และเป็นการจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร แต่ถ้าผู้เยาว์ต้องการซื้อรถยนต์ ...

ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมได้ไหม

มาตรา๒๑“ผู้เยาว์จะทํานิติกรรมใด ๆ ต้อง ได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม ก่อน การใด ๆ ทีผู้เยาว์ได้ทําลงปราศจากความ ยินยอมเช่นว่านันเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติ ไว้เป็นอย่างอืน” Page 9 9 ผู้เยาว์ทํานิติกรรมได้ ๒ ทาง (๑) ทําด้วยตนเองโดยได้รับความ ยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม (๒) ทําโดยผู้แทนโดยชอบธรรม เป็นผู้ทําแทน

ผู้เยาว์ทำนิติกรรมใด ๆ จะมีผลอย่างไร

ผู้เยาว์จะถูกจำกัดความสามารถในการทำนิติกรรมต่าง ไว้ โดยหากผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆียะ ซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรมนั้นโดยปกติก็คือบิดามารดาของผู้เยาว์นั่นเอง ส่วนปู่ย่าตายาย ญาติ หรือผู้ปกครองตามความเป็นจริงนั้นไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมและไม่มีอำนาจให้ความยินยอม ...

การกระทำใดที่ผู้เยาว์สามารถกระทำได้ด้วยตนเองอย่างสมบูรณ์ และถูกต้องตามกฎหมาย

ผู้เยาว์อาจทำการใดได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร (มาตรา 24) เช่น ผู้เยาว์เป็นนักเรียนต้องซื้อเครื่องเขียนแบบเรียน ต้องซื้อเสื้อผ้า รองเท้าเพื่อใส่ไปโรงเรียน การซื้อเช่นนี้เป็นการสมแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์ และเป็นการจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร แต่ถ้าผู้เยาว์ต้องการ ...