อาการหมดประจำเดือนในเพศหญิงเกิดจากสาเหตุใด

อาการหมดประจำเดือนในเพศหญิงเกิดจากสาเหตุใด

ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

1. วัยหมดประจำเดือน คืออะไร

วัยที่มีการทำงานของรังไข่ลดลงบางคนประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมออาจจะมาถี่ขึ้นในช่วงแรก และค่อยๆ ห่างออกมาจนหมดไปในที่สุด โดยต้องมีประวัติขาดประจำเดือนเป็นเวลาอย่างน้อย 12 เดือน โดยที่ไม่ได้มีสาเหตุจากความผิดปกติอื่นๆ ซึ่งมักเกิดในช่วงอายุ 47-50 ปี

2. ทำไมเรียกวัย 40+ ว่า "วัยทอง"

เมื่อเริ่มวัย 40 ปีขึ้นไป ผู้หญิงส่วนใหญ่มักมีหน้าที่การงานที่มั่นคง รวมถึงมีครอบครัวและสังคมที่ดี จึงถือเป็นวัยแห่งความสำเร็จของชีวิต ดังนั้นจึงเป็นที่มาที่คนส่วนใหญ่มักเรียกวัยนี้ว่า "วัยทอง"

3. อาการวัยทอง เป็นอย่างไร

ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือขาดประจำเดือนร่วมกับมีอาการของการขาดฮอร์โมนเพศ เช่น ร้อนวูบวาบ, หงุดหงิดง่าย, นอนไม่หลับ, ปวดเมื่อยตามตัว, เหงื่อออกกลางคืน หรือมีภาวะช่องคลอดแห้ง เป็นต้น

4. แล้วเป็นไปได้ไหมที่จะเข้าวัยทอง ตั้งแต่อายุยังน้อย

สามารถพบได้โดยผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการขาดประจำเดือน หรือมีอาการของการขาดฮอร์โมนเพศ/อาการวัยทองดังที่ได้กล่าวไปแล้ว หรือในกรณีที่การผ่าตัดรังไข่ทั้ง 2 ข้าง ขณะอายุน้อย (น้อยกว่า 45 ปี) ก็ทำให้เข้าวัยทองฉับพลัน นอกจากนี้สตรีที่ได้รับยาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษาจากการรักษามะเร็งก็ทำให้เข้าวัยทองได้เช่นกัน นอกเหนือจากอาการวัยทอง ผู้ป่วยที่เข้าสู่วัยทองตั้งแต่อายุยังน้อยยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด และโรคกระดูกพรุน ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่องในระยะยาว

5. แต่ละคนจะมีอาการวัยทองคล้ายกันไหม

อาการที่พบบ่อยที่สุดของวัยทอง คือ ประจำเดือนผิดปกติและอาการร้อนวูบวาบ ซึ่งความรุงแรงของอาการดังกล่าวแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับอายุ, เชื้อชาติ, ภูมิอากาศ, น้ำหนักตัว, สภาพแวดล้อม เป็นต้น

6. เมื่อเข้าวัยทองยังมีลูกได้ไหม

ผู้หญิงเมื่อายุมากกว่า 35 ปี ปริมาณไข่และคุณภาพของไข่จะเสื่อมถอยลงอย่างมีนัยสำคัญทำให้มีบุตรยากมากขึ้น เมื่อเข้าวัยหมดประจำเดือนรังไข่หยุดการทำงานไปแล้วหากต้องการตั้งครรภ์ต้องใช้เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ โดยอาศัยไข่บริจาคเพื่อทำเด็กหลอดแก้ว แต่วิธีดังกล่าวเหมาะสำหรับผู้หญิงที่เข้าวัยทองตั้งแต่อายุน้อยเท่านั้นค่ะ ส่วนผู้หญิงที่เข้าวัยทองตามธรรมชาติไม่ควรตั้งครรภ์แล้วนะคะ เนื่องจากการตั้งครรภ์มีความเสี่ยงสูงต่อทั้งมารดาและทารก

7. ฮอร์โมนเพศมากจากไหน

ฮอร์โมนเพศหญิงประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนซึ่งสร้างจากรังไข่ โดยฮอร์โมนเอสโตรเจน เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมการเกิดลักษณะต่างๆของเพศหญิง เช่น เสียงแหลม, สะโพกผาย, มีหน้าอก นอกจากนี้ยังควบคุมมดลูก ช่องคลอดและต่อมน้ำนมด้วย ส่วนโปรเจสเตอโรนจะทำงานร่วมกับเอสโตรเจนในการเกิดประจำเดือนและการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุโพรงมดลูกให้เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์

8. อาการร้อนวูบวาบในวัยทองเป็นอย่างไร

อาการเริ่มด้วยมีความรู้สึกร้อนบริเวณหน้าอกส่วนบน, ใบหน้า และค่อยๆไปทั่วลำตัว อาการเป็นอยู่ 2-4 นาที มักมีเหงื่อออกและใจสั่นร่วมด้วย บางครั้งมีอาการวิตกกังวลตามมามักเป็นหลายครั้งต่อวันและมักเกิดเวลากลางคืน อาการดังกล่าวจะหายได้เองใน 4-5 ปี หลังจากเข้าวัยหมดประจำเดือน

9. มีอาการแสบ เวลามีเพศสัมพันธ์

เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนระดับเอสโตรเจนในร่างกายจะต่ำมาก จึงทำให้เยื่อบุผิวช่องคลอดบางตัวลง มีภาวะช่องคลอดแห้ง นอกจากนี้การสร้างเมือกหล่อลื่นจากช่องคลอดก็ลดน้อยลง ทำให้มีอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ได้

10. ปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่ได้

การขาดเอสโตรเจนส่งผลให้เนื้อเยื่อและเส้นเลือดรอบกระเพาะปัสสาวะฝ่อเหี่ยวทำให้กลั้นปัสสาวะลำบาก เวลาไอ จาม หรือหัวเราะแรงๆ อาจเกิดปัสสาวะเล็ดได้ นอกจากนี้การที่เยื่อบุผิวของทางเดินปัสสาวะะบางลง ทำให้เกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะง่ายขึ้นคนไข้มักมีการปัสสาวะบ่อย หรือมีอาการปัสสาวะแสบขัดได้

“วัยทอง” เป็นช่วงชีวิตที่ผู้หญิงทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถอยู่กับวัยทองได้อย่างมีความสุข เพียงแค่ใส่ใจในการดูแลสุขภาพและปรึกษาสูตินรีแพทย์ หากอาการวัยทองของท่านรบกวนชีวิตประจำวันมากเกินไป

อาการหมดประจำเดือนในเพศหญิงเกิดจากสาเหตุใด

เรียบเรียงโดย พญ.ธนิฏฐา กองแก้ว

แพทย์เฉพาะทางด้านสูติ-นรีเวช

โรงพยาบาลธนบุรี 2

อาการหมดประจำเดือนในเพศหญิงเกิดจากสาเหตุใด

วัยทอง (Menopause) หรือวัยหมดประจำเดือน คือสภาวะเปลี่ยนแปลงของผู้หญิงทางร่างกายและจิตใจ เกิดจากรังไข่หยุดผลิตไข่ทำให้ขาดฮอร์โมนเพศหญิง ผู้ที่เข้าสู่วัยทองจะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 45- 55 ปี

ซึ่งก่อนที่จะเข้าสู่วัยทองนั้น ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงเหมือนเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้า คือ ประจำเดือนเริ่มมาคลาดเคลื่อน หรือมากะปริบกะปรอย และประจำเดือนขาดไป 1 ปี และกลับมาเป็นอีกครั้ง ก่อนจะหมดประจำเดือนอย่างถาวร

ผู้หญิงวัยทองบางคนอาจไม่มีอาการอะไร หรือ มีอาการเพียงเล็กน้อยและมีอาการอยู่ไม่นาน แต่ในผู้หญิงบางคนอาจมีอาการรุนแรงมากจนรบกวนชีวิตประจำวัน ซึ่งกรณีนี้แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อพิจารณาเรื่องการรับฮอร์โมนทดแทน ซึ่งแพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสม

อาการเข้าสู่วัยทอง
1. อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดไม่มีสาเหตุ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้
บ่อยครั้งที่มีความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ที่รวดเร็ว เดี๋ยวหงุดหงิด น้อยใจ หรือโมโหขึ้นมาแบบไม่มีสาเหตุ ส่งผลให้ควบคุมอารมณ์ได้ยาก บางรายอาจเครียดจนเกิดเป็นอาการซึมเศร้าตามมา ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นผลมาจากฮอร์โมนที่ลดลง

2. ร้อนวูบวาบตามร่างกาย
อาการนี้จะเป็นอาการที่พบได้บ่อยในช่วงก่อนจะหมดประจำเดือน ผู้ที่อยู่ในวัยใกล้หมดประจำเดือนจะรู้สึกร้อนวูบวาบตามร่างกาย บางรายอาจมีอาการผิวหนังแดง หน้าแดง นอกจากนี้อาการดังกล่าวส่งผลให้เหงื่อออก ร้อนๆหนาวๆ นอนไม่หลับ หงุดหงิดและเครียดได้อีกด้วย

3. นอนไม่หลับ
อาการนอนไม่หลับเกิดได้บ่อยในวัยทองทั้งผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งเกิดจากความวิตกกังวล ภาวะอารมณ์เปลี่ยนแปลงไป หรืออาจเป็นเพราะอาการร้อนวูบวาบ จึงทำให้รู้สึกว่านอนหลับยาก

4.ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือปวดตามกระดูกและข้อ
อาการที่เกิดขึ้นเกิดจากการที่กระดูกเปราะบางลง ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามร่างกายและเจ็บตามข้อ ซึ่งอาการดังกล่าวเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนได้อีกด้วย

5. รูปร่างเปลี่ยน
ผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทองจะมีรูปร่างที่เปลี่ยนไป กล้ามเนื้อลดลง เอวเริ่มหาย มีไขมันเข้ามาแทนที่กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ และยังส่งผลให้ผิวแห้ง เหี่ยวไม่เต่งตึง

6. ปัญหาช่องคลอดแห้ง และความต้องการทางเพศลดลง
เมื่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปกติจะทำให้มีความสนใจหรือมีความต้องการทางเพศลดน้อยลง บางรายรุนแรงจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ในครอบครัวหรือชีวิตคู่ได้

7. มีอาการหลงๆลืม
เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจน มีความสัมพันธ์กับการควมคุมในสมองและสารด้านสื่อประสาทซึ่งมีผลกระทบต่อสมาธิและความจำ

8. ปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะ (กลั้นปัสสาวะไม่ได้)
ส่วนใหญ่เกิดจากการหย่อนยานของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน พบบ่อยเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น

วิธีดูแลสุขภาพช่วงวัยทอง
1. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการเสพสิ่งเสพติดของมึนเมา
2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทุกหมู่ โดยเน้นแคลเซียม ซึ่งมีอยู่มากในอาหารประเภทถั่ว งา ผักใบเขียว ปลาเล็กปลาน้อย และนม
3. ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที
4. พักผ่อนให้เพียงพอ และมีกิจกรรมเพื่อคลายเครียด
5. คู่สมรส ควรจะมีการพูดคุยกันอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับความต้องการและปัญหาด้านเพศสัมพันธ์
6. เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีทุกครั้ง
7. ในกรณีที่รู้สึกว่าช่วงวัยทองเป็นช่วงที่รบกวนชีวิตประจำวัน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อพูดคุยปรึกษาและแก้ไขปัญหา เช่น การใช้ฮอร์โมนยา หรือวิธีการอื่นที่เหมาะสม

อาหารสำหรับคนวัยทอง
1. ผลไม้สด เป็นอาหารที่มีไบโอฟลาโวนอยด์ ช่วยปรับสมดุลให้ร่างกาย ลดอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และควบคุมระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ด้วย
2. ถั่วเหลือง มีไอโซฟลาโวนสามารถเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกและลดอาการร้อนวูบวาบที่เกิดจากภาวะหมดประจำเดือนในวัยทองได้
3. เห็ดหูหนูขาว อุดมไปด้วยวิตามินหลากหลายชนิดมีสารคอลลาเจน กรดอะมิโน และสารต้านอนุมูลอิสระ
4.ข้าวกล้อง มีคาร์โบไฮเดรตกระตุ้นสารเซโรโทนินของคาร์โบไฮเดรต ทำให้ร่างกายหลั่งสารเซโรโทนินได้มากขึ้น เพื่อทำให้อารมณ์ดี ไม่หงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่แปรปรวน และสามารถช่วยลดความเครียดได้
5. เม็ดบัว มีวิตามินซีสูง ฟอสฟอรัส เหล็ก คาร์โบไฮเดรต สรรพคุณเด่นช่วยในเรื่องของการบำรุงร่างกาย บำรุงเลือดสำหรับสตรีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ทำให้เลือดไหลเวียนดี
6. นม มีโปรตีนสูงช่วยเสริมสร้างมวลกระดูก สามารถป้องกันโรคกระดูกพรุนทำให้กระดูกแข็งแรง
7. ดาร์กช็อกโกแลต มีสารฟลาโวนอยด์ รวมทั้งธาตุเหล็ก แคลเซียม สังกะสี และทองแดงทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยลดความเครียด
8. เก๋ากี้ ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันทำให้ไม่อ้วนง่าย ช่วยเสริมฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยบำรุงเลือด ปรับระบบประจำเดือน ช่วยลดอาการช่องคลอดแห้ง