ปัญหา สุขภาพจิตในวัยรุ่น ด้าน พฤติกรรม มี อะไร บ้าง

ปัญหา สุขภาพจิตในวัยรุ่น ด้าน พฤติกรรม มี อะไร บ้าง

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสถานการณ์ COVID-19 รวมไปถึงสภาวะสังคม และเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งผลกระทบกับคนไทยไม่มากก็น้อย ไม่เพียงต้องสู้กับปัญหาด้านการงาน การเงิน และการดูแลสุขภาพร่างกาย แต่ยังรวมไปถึงสภาวะของจิตใจที่ยิ่งมีความเปราะบางในช่วงเวลาเช่นนี้ ซึ่งง่ายต่อการเกิดความเครียดสะสม และอาจพัฒนาไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้โดยไม่รู้ตัว ดังนั้นเราจึงอยากชวนทุกคนมาสังเกตตัวเองว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ และหากป่วยเป็นโรคนี้ก็ไม่ต้องกังวลใจเพราะในปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคนี้มากขึ้นและเป็นที่ยอมรับในสังคมไทย ทำให้มีตัวช่วยหรือมีคุณหมอเฉพาะทางที่คอยให้คำปรึกษา เพียงแค่เปิดใจเข้ารับการรักษาก็สามารถช่วยให้คุณหายจากโรคนี้ได้

รู้จักโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า คือ โรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม รวมถึงสุขภาพร่างกาย และคนส่วนใหญ่มักคิดว่าโรคซึมเศร้าหายเองได้ แต่ความจริงต้องอาศัยการบำบัดรักษาทางจิตเวชอย่างจริงจัง โดยแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ

  1. โรคซึมเศร้าทั่วไป (Major Depression) ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าชนิดนี้จะไม่มีความสุข หมดแรงบันดาลใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และมีอาการแบบนี้ติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  2. โรคซึมเศร้าเรื้อรัง (Dysthymia Depression) มีความรุนแรงน้อยกว่าชนิดแรก แต่มีอาการมาเป็นระยะเวลานานมากกว่า 2 ปี
  3. โรคซึมเศร้าแบบไบโพลาร์ดิสออเดอร์ (Bipolar Disorder) เป็นภาวะของอารมณ์ที่ต่างกันอย่างสุดขั้ว คือ ซึมเศร้าสลับกับอาการที่มีความสุขแบบสุด ๆ โดยอาการเหล่านี้จะมีผลต่อการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยมีปัจจัยสำคัญ คือ กรรมพันธุ์ พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องสูง โดยเฉพาะกรณีผู้ที่มีอาการเป็นซ้ำหลาย ๆ ครั้ง นอกจากนี้ยังมี สารเคมีในสมอง ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติอย่างชัดเจน เช่น ซีโรโทนิน (Serotonin) นอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) ที่ลดต่ำลง หรือมีความผิดปกติของเซลล์รับสารเคมีเหล่านี้ และสิ่งที่ผู้คนในปัจจุบันกำลังประสบกันอยู่คือ ลักษณะนิสัย ซึ่งนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า เช่น การมองโลกในแง่ลบเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่กดดันหรือตึงเครียด อย่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้เราต้องอยู่บ้าน ไม่สามารถออกไปทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ หรือบางคนอาจจะต้องเผชิญกับความเครียดจากที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นจำนวนงานที่เพิ่มมากขึ้นหรือต้องโยกย้ายงาน เป็นต้น

การสังเกตอาการ

อาการของโรคซึมเศร้าสามารถสังเกตได้จากหลายอาการ ซึ่งต้องเกิดอาการเหล่านี้เกือบทั้งวัน และติดต่อกันอย่างน้อย 14 วัน โดยถ้าหากเกิดอาการเหล่านี้อย่างน้อย 5 อาการถือว่าเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้า

  1. มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงในทางซึมเศร้า เช่น ไม่สดชื่นแจ่มใส หดหู่ อ่อนไหวง่าย นอกจากนี้ในเด็กหรือวัยรุ่นอาจมีอาการหงุดหงิดหรือโกรธง่ายร่วมด้วย
  2. เบื่อ หมดความสนใจหรือความสุขในการทำกิจกรรมต่าง ๆ แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่เคยทำแล้วสนุก เพลิน หรือมีความสุขมาก่อน
  3. มีปัญหาเรื่องการนอน เช่น นอนหลับยาก นอนไม่หลับ หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ บางคนอาจนอนหลับนานกว่าปกติ
  4. รู้สึกอ่อนเพลียไม่มีแรง หรือเหนื่อยง่าย
  5. เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาจจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ท้องอืดหรือท้องผูก เป็นต้น
  6. รู้สึกไร้ค่า รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง หรือมองโลกในแง่ลบ คิดว่าทุกสิ่งในชีวิตแย่ไปหมด ทำอะไรก็ไม่เป็นไปตามที่ตนต้องการหรือคาดหวังไว้ ในบางคนอาจจะโทษตัวเองมากเกินไปจนถึงขั้นคิดทำร้ายตัวเองหรือไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป
  7. ไม่มีสมาธิหรือลังเลใจไปหมด ไม่สามารถโฟกัสกับงานที่ทำอยู่ตรงหน้าได้ ทำให้ไม่มีความรอบคอบ รวมถึงไม่สามารถจัดการกับความเครียดหรือความกดดันได้ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
  8. พูดช้า ทำอะไรช้าลงหรือกระวนกระวาย ไม่อยู่นิ่ง
  9. เสพติดการช้อปปิ้ง เพราะการซื้อของทำให้เรารู้สึกดีในชั่วขณะหนึ่ง และในปัจจุบันที่เราเข้าถึงร้านค้าต่าง ๆ ผ่านทางออนไลน์ได้ง่าย ทำให้บางคนอาจเลือกที่จะเสพติดความสุขในระยะเวลาสั้น ๆ จากพฤติกรรมนี้

หากตรวจสอบอาการเบื้องต้นเหล่านี้แล้วยังไม่มั่นใจ เราะยังมีอีกวิธีที่สะดวกสำหรับยุคนี้คือ การทำแบบทดสอบภาวะซึมเศร้าออนไลน์ ซึ่งมีลิงก์แนะนำให้ด้านล่างนี้ ซึ่งระดับความรุนแรงของโรคสามารถทราบได้หลังจากให้จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผู้เป็นวินิจฉัยอีกครั้ง

  • แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล https://med.mahidol.ac.th/th/depression_risk
  • แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม ของกรมสุขภาพจิต https://www.dmh.go.th/covid19/test/9q/2qto9q.asp?id=14832

แนวทางการรักษา

เมื่อป่วยเป็นโรคซึมเศร้า สิ่งแรกที่ต้องรีบทำโดยเร็ว คือ การเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีโดยจิตแพทย์ ซึ่งแนวทางการรักษาจะมีตั้งแต่การพูดคุยให้คำปรึกษา การทำจิตบำบัด รวมถึงการใช้ยาในกลุ่มแก้ซึมเศร้าหากมีความจำเป็น โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่รักษาได้ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอาการดีขึ้นจนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ และยิ่งได้รับการรักษาเร็วเท่าไหร่ อาการก็จะดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่หากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้รักษาได้ยากยิ่งขึ้น

วิธีการฟื้นฟูจิตใจร่วมกับการดูแลร่างกาย

สำหรับผู้ป่วยที่หายจากโรคซึมเศร้า คือ คนปกติที่ต้องกลับมาดูแลสุขภาพใจและกายให้แข็งแรงไปพร้อม ๆ กัน เพราะเมื่อทั้งสองอย่างมีความสมดุล ก็จะเกิดความสดใสมีชีวิตชีวา และห่างไกลจากโรคซึมเศร้าได้ ซึ่งมีวิธีง่าย ๆ ดังนี้

  • ดูแลอาหาร เน้นให้ครบ 5 หมู่ หากขาดสารอาหารบางอย่างไปจะทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น เช่น วิตามิน D เพราะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการสังเคราะห์สารสื่อประสาทอย่าง serotonin dopamine และ norepinephrine ที่มีส่วนสำคัญในการลดความเครียดและภาวะซึมเศร้าได้ หรือ Chocolate ที่มี Theobromine (ทีโอโบมีน) ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายคาเฟอีน ช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลาย
  • ออกกำลังกาย ควรทำสัปดาห์ละอย่างน้อย 4 วัน ต่อเนื่องกัน 30 - 40 นาที เพราะเมื่อออกกำลังกายร่างกายจะหลังสาร Endophine ในสมอง ซึ่งมีส่วนช่วยลดระดับความเครียดนั่นเอง
  • พักผ่อน นอนหลับให้เพียงพอ กับที่ร่างกายต้องการ ซึ่งโดยปกติแล้วจะอยู่ระหว่าง 6-8 ชั่วโมงต่อวัน เนื่องจากการนอนมีผลต่ออารมณ์ และความเครียด หากนอนไม่พอจะทำให้อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย รู้สึกไม่สดชื่นระหว่างวัน แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรนอนนานจนเกินไป เพราะจะทำให้ร่างกายหลั่ง Serotonin และ Endophine ออกมาน้อยลง ส่งผลให้ระดับความสุขระหว่างวันลดลง
  • ทำสมาธิ เพื่อผ่อนคลายจิตใจ มีงานวิจัยมากมายพบว่า การทำสมาธิช่วยให้สมองผ่อนคลาย และลดความเครียดได้
  • ฝึกคิดบวก ป้อนความคิดทางบวก ให้กับตัวเองอยู่เสมอ โดยเลือกที่จะใช้เวลากับคนที่คิดบวก เพราะคนคิดบวกจะพูดแต่เรื่องที่สร้างสรรค์และมีทางออกเมื่อเจอปัญหา ทั้งนี้เพื่อเป็นการฝึกฝนให้จิตใจมีความเข้มแข็งและสามารถเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ได้