เครื่อง ทํา น้ํา อุ่น เพิ่มแรงดันน้ำ

แรงดันน้ำของแต่ละบ้านไม่เท่ากัน ขึ้นกับสภาพพื้นที่ จำนวนประชากร และแรงดันจากสถานีส่งน้ำ คือ บ้านที่อยู่ใกล้แรงดันน้ำจะสูง เพราะเป็นต้นสายของท่อส่งน้ำ ส่วนปลายสายของท่อส่งน้ำ แรงดันน้ำจะลดลงเรื่อย ๆ บางหลังที่อยู่ปลายสุดจะเจอเหตุการณ์น้ำไม่ไหลบ่อย หรือบ้านที่อยู่สูงกว่าแรงดันน้ำจะต่ำลงด้วย ค่าแรงดันน้ำของบ้านเป็นอีกปัจจัยในการทำงานของเครื่องทำน้ำอุ่น ซึ่งเครื่องทำน้ำอุ่นจะมีสวิตช์ควบคุมการทำงานอีกครั้ง เช่น ต้องการอาบน้ำอุ่น แต่แรงดันน้ำไม่พอ ระบบน้ำอุ่นจะไม่ทำงาน เป็นต้น สวิตช์นี้จะมี 2 แบบคือ

Show
  1. แบบใช้ได้กับแรงดันน้ำปกติ (Pressure switch) ใช้หลักการแรงดันของน้ำเพียงอย่างเดียวควบคุมการทำงานของเครื่อง
  2. แบบใช้ได้กับแรงดันน้ำต่ำ (Flow Switch หรือ Reed switch) ใช้การไหลของน้ำและแม่เหล็กควบคุมการทำงานของเครื่อง

เครื่อง ทํา น้ํา อุ่น เพิ่มแรงดันน้ำ

ถ้าไม่แน่ใจว่าแรงดันน้ำที่บ้านจะมากน้อยแค่ไหน

ควรเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นที่ใช้กับน้ำแรงดันต่ำไว้จะดีกว่า เพียงแค่น้ำจากท่อนำเข้าไหลผ่านเครื่อง เครื่องพร้อมจะทำงานทันที ส่วน Pressure switch เหมาะกับบ้านที่แรงดันน้ำสม่ำเสมอและแรงพอสมควร เครื่องทำน้ำอุ่นจึงจะทำงาได้ 

ส่วนความปลอดภัย แบบ Flow Switch หรือ Reed switch ก็มีมากกว่า หากน้ำไม่ไหลเข้าเครื่องหรือไหลน้อยมาก เครื่องจะตัดการทำงาน ตรงกันข้ามกับแบบใช้ได้กับแรงดันน้ำปกติ (pressure switch) หากมีแรงดันตกค้างในระบบ เครื่องก็ยังคงทำงาน ความปลอดภัยจึงต่ำกว่า

ถ้าคุณไม่เคยเห็นหน้าตาของสวิตช์ทั้งสองให้ถามกับพนักงานว่ารุ่นไหนใช้กับน้ำแรงดันต่ำได้บาง 

เครื่อง ทํา น้ํา อุ่น เพิ่มแรงดันน้ำ

เชียงใหม่แอร์แคร์เอ็นจิเนียริ่ง


จำหน่าย ติดตั้ง รับเหมา วางระบบ เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำอุ่น จำหน่ายอะไหล่แอร์ราคาส่งทั่วประเทศ พร้อมบริการหลังการขายครบครัน

เพิ่มแรงดันน้ำทำเองก็ได้ง่ายจัง กรณีฝักบัวที่ผ่านเครื่องทำน้ำอุ่นอาจมีแรงดันน้ำที่ลดลง...

Posted by Dcondo Ramkhamhaeng on Wednesday, January 7, 2015

ปัจจุบัน เครื่องทำน้ำอุ่น ดูเหมือนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบ้านไปแล้ว (แม้อากาศจะไม่หนาวก็ตาม) เพราะหลายท่านเชื่อว่าการอาบน้ำอุ่นสามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อย ลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อจากการทำงานหรือเล่นกีฬา และช่วยให้ระบบการหมุนเวียนโลหิตในร่างกายทำงานได้คล่องตัวยิ่งขึ้น ทำให้เรารู้สึกสดชื่นและสบายตัว เครื่องทำน้ำอุ่นยี่ห้อไหนดี 

เครื่องทำน้ำอุ่นมีให้เลือกใช้งานหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมใช้กันตามบ้านทุกวันนี้คงหนีไม่พ้นระบบไฟฟ้าเพราะติดตั้งได้สะดวกและใช้งานง่าย อย่างไรก็ดีเครื่องทำน้ำอุ่นก็มีคุณสมบัติเด่นด้อยแตกต่างกันไป ดังนั้นการจะเลือกเครื่องชนิดใดมาใช้งาน เราก็ควรพิจารณาในหลายๆประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบทำความร้อน กำลังวัตต์ รวมถึงเรื่องความปลอดภัยที่ไม่ควรมองข้าม เครื่องทำน้ำอุ่นยี่ห้อไหนดี 

1. ระบบทำความร้อน

เปรียบเสมือนหัวใจของเครื่องทำน้ำอุ่น แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ

1. แบบน้ำผ่านร้อน น้ำจะไหลผ่านท่อหรือขดลวดทองแดงทำให้ได้น้ำร้อนเร็วทันใจและไหลแรงตัวเครื่องมีขนาดกะทัดรัด (ดูเพรียวบาง)แต่อาจมีปัญหาเรื่องความคงที่ของอุณหภูมิน้ำหากแรงดันน้ำอ่อนหรือไม่สม่ำเสมอ และมีโอกาสเกิดการอุดตันภายในท่อได้ง่าย จากหินปูนที่มากับน้ำ

เครื่อง ทํา น้ํา อุ่น เพิ่มแรงดันน้ำ

2. แบบหม้อต้ม น้ำจะไหลผ่านหม้อทองแดงหรือวัสดุสังเคราะห์ แล้วทำให้น้ำร้อนด้วยขดลวดความร้อน  ก่อนจะปล่อยน้ำออกไปใช้งาน จึงต้องใช้เวลาสักครู่ก่อนที่น้ำจะอุ่น

ระบบทำความร้อนแบบหม้อต้มนี้ สามารถแบ่งย่อยได้อีก2 ชนิด ได้แก่

2.1 หม้อทำความร้อนจากทองแดง ทนความร้อนได้ดี มีอายุการใช้งานยาวนาน แต่มีโอกาสเกิดตะกรัน ถ้าใช้กับน้ำที่ไม่ผ่านระบบกรองที่ดี

เครื่อง ทํา น้ํา อุ่น เพิ่มแรงดันน้ำ

2.2 หม้อทำความร้อนจากวัสดุสังเคราะห์ หรือพลาสติกคุณภาพสูงอย่าง “กริลลอน” (Grilon)ซึ่งเป็นวัสดุเดียวกับที่ใช้ทำหม้อน้ำในรถยนต์รุ่นใหม่ๆสามารถทนความร้อนได้สูงถึง 260 องศาเซลเซียส แต่ถ้าเป็นวัสดุเลียนแบบ ใช้พลาสติกคุณภาพต่ำ อาจรั่วซึมได้ง่าย ไม่สมราคากับการออกแบบหม้อต้มที่เป็นชิ้นเดียวแบบไร้รอยต่อ

เครื่อง ทํา น้ํา อุ่น เพิ่มแรงดันน้ำ

2. ระบบป้องกันไฟดูดไฟรั่ว

ระบบป้องกันไฟดูดโดยการตัดไฟฟ้าอัตโนมัติภายในเครื่องทำน้ำอุ่นหากมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลนั้น มี 2 ระบบ คือ

เครื่อง ทํา น้ํา อุ่น เพิ่มแรงดันน้ำ
เครื่อง ทํา น้ํา อุ่น เพิ่มแรงดันน้ำ
  • ELCB (Electronic Earth Leakage Circuit Breaker) หรือ ELB เป็นเบรกเกอร์กันไฟดูดที่มีหน้าตาคล้ายๆกับเซฟตี้เบรกเกอร์ของปั๊มน้ำ เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ ถ้ามีกระแสไฟฟ้ารั่วเบรกเกอร์ELCB จะตัดไฟฟ้าออกจากระบบภายในเสี้ยววินาที (0.01-0.1 วินาที) หากมีกระแสไฟรั่วเพียง 15 มิลลิแอมป์ จึงป้องกันไฟฟ้าดูดได้ทันท่วงที การทำงานเป็นระบบกลไก (Mechanic)ดังนั้นเราควรต้องหมั่นกดปุ่ม TEST บนแผงหน้าปัดอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อความมั่นใจว่าระบบตัดไฟยังทำงานดีอยู่
  • ELSD (Electronic Leakage Safety Device) หรือ ESDจริงๆแล้วก็คือ ELCB ที่พัฒนาให้เป็นแผงวงจรตัดไฟอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องทำน้ำอุ่นไปในตัว จึงทำให้ผู้ผลิตดีไซน์ตัวเครื่องทำน้ำอุ่นให้มีขนาดเล็กลงได้ สามารถตัดกระแสไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็ว หากมีไฟฟ้ารั่วไหลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

3. มิเตอร์ไฟฟ้า &ขนาดสายไฟ…สำคัญไฉน

ก่อนตัดสินใจเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นมาใช้งาน เราต้องรู้ว่ามิเตอร์ไฟฟ้าที่บ้านสามารถรองรับกระแสไฟฟ้าได้กี่แอมแปร์  (A)เพราะหากเราเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นที่มีอัตราการกินไฟไม่สัมพันธ์กับมิเตอร์ไฟฟ้า อาจส่งผลให้เกิดไฟกระชาก ทำให้ตัวเครื่องได้รับความเสียหายและผู้ใช้อาจได้รับอันตรายอีกด้วย โดยมีข้อแนะนำง่ายๆดังนี้

เครื่อง ทํา น้ํา อุ่น เพิ่มแรงดันน้ำ
  • มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 5 (15)A ควรเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นที่กินไฟไม่เกิน 3,500วัตต์
  • มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15(45) A สามารถเลือกใช้เครื่องทำน้ำอุ่นขนาด 4,500 วัตต์ หรือ 6,000 วัตต์

นอกจากนี้การเลือกขนาดของสายไฟที่ใช้งานร่วมกับเครื่องทำน้ำอุ่นต้องได้มาตรฐาน (ขนาดสายไฟไม่เล็กเกินไป) เหมาะสมกับกำลังไฟของเครื่อง โดยมีสูตรคำนวณคร่าวๆดังนี้

หากเราเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นที่มีกำลังไฟ 3,500 วัตต์ ให้หารด้วย 1,320 จะได้ผลลัพธ์ 2.65 หมายความว่าเราจะต้องเลือกใช้สายไฟที่มีหน้าตัดไม่น้อยกว่า 3 SQ.MM สูตรนี้สามารถนำไปคำนวณการเดินสายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆได้อีกด้วย

4. เลือกกำลังวัตต์ให้เหมาะกับการใช้งาน

เครื่อง ทํา น้ํา อุ่น เพิ่มแรงดันน้ำ

วัตต์ (Watt) ในที่นี้คือ ขนาดกำลังไฟฟ้าของเครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องที่มีกำลังวัตต์มาก ความสามารถในการทำความร้อนก็ยิ่งมากขึ้นนั่นเอง โดยเลือกให้เหมาะสมกับสภาพอากาศของสถานที่ที่นำไปใช้ อย่างกรุงเทพฯและปริมณฑลเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นขนาด 3,500 -4,500 วัตต์ก็เพียงพอแล้ว เพราะสภาพอากาศไม่ได้หนาวเย็นมากแถมยังประหยัดค่าไฟและประหยัดเงินในกระเป๋าอีกต่างหาก แต่สำหรับพื้นที่อย่างภาคเหนือตอนบนของไทย โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว มีสภาพอากาศที่หนาวเย็นมากๆ ก็ควรเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นที่มีกำลังวัตต์สูงหน่อยประมาณ 6,000 วัตต์

5. แผงควบคุม

เครื่องทำน้ำอุ่นส่วนใหญ่จะให้น้ำอุ่นที่อุณหภูมิประมาณ 35-45 องศาเซลเซียส สำหรับแผงควบคุมหลักๆมี 2 ระบบคือ

เครื่อง ทํา น้ํา อุ่น เพิ่มแรงดันน้ำ
  • ระบบแมนนวล(Manual) เป็นระบบเปิด-ปิดเพื่อปรับระดับความร้อนของน้ำด้วยการหมุนหรือกดปุ่มเบอร์ 1, 2, 3 ด้วยกลไกง่ายๆไม่ซับซ้อน จึงใช้งานได้สะดวกและทนทาน แต่ไม่สามารถบอกอุณหภูมิของน้ำขณะใช้งานได้
  • ระบบดิจิทัล(Digital) เป็นระบบที่ใช้แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม ซึ่งมีจอแสดงอุณหภูมิเป็นตัวเลขจึงใช้งานง่ายและรักษาระดับอุณหภูมิน้ำให้คงที่ แต่หากเสียก็ซ่อมแซมยากและแพงสักหน่อย

6. คนรักสุขภาพต้องไม่พลาด…หัวฝักบัวปรับสายน้ำได้

เครื่อง ทํา น้ํา อุ่น เพิ่มแรงดันน้ำ

หัวฝักบัวที่ปรับสายน้ำได้ นอกจากจะช่วยให้เราสนุกกับการอาบน้ำอุ่นแล้ว ยังช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อและลดอาการเหนื่อยล้าจากการทำงานได้ดี โดยมี 1-5 ระดับหรือมากกว่านั้น ให้เลือกใช้ตามความชอบ(ขึ้นอยู่กับระดับราคาและรุ่นของเครื่องทำน้ำอุ่น) อาทิ Spray สายน้ำที่ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อและกระชับผิวกาย , Massage เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการผ่อนคลายเหมือนมีโฮมสปาส่วนตัว หรือ Jet สายน้ำพลังแรงนุ่มแต่ละเอียด ช่วยบรรเทาความเมื่อยล้าได้ดี

7. แรงดันน้ำต้องเพียงพอ

เครื่อง ทํา น้ํา อุ่น เพิ่มแรงดันน้ำ

เนื่องจากแรงดันน้ำที่ออกจากก๊อกน้ำมีผลอย่างมากต่อการควบคุมอุณหภูมิของน้ำ ถ้าเบาเกินไปอาจทำให้เครื่องทำน้ำอุ่นไม่ทำงานหรือทำงานผิดปกติได้  แรงดันน้ำที่เพียงพอกับการติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่นอยู่ที่แรงดัน 0.10 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตรเราสามารถเช็กแบบง่ายๆด้วยตัวเอง โดยการต่อสายยางจากท่อน้ำที่จะติดตั้ง เมื่อยกปลายสายยางสูงจากก๊อก 2 เมตร น้ำต้องไหลได้สะดวกอยู่หรือเปิดน้ำจากฝักบัวให้สุด แล้วหงายฝักบัวขึ้น ถ้าน้ำพุ่งสูงมากกว่า 60 เซนติเมตร แสดงว่าแรงดันน้ำสูง สามารถติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่นได้ แต่ถ้าแรงดันน้ำไม่พอก็ต้องติดตั้งปั๊มน้ำเพื่อช่วยเพิ่มแรงดันน้ำในท่อให้สูงขึ้น ที่สำคัญควรใช้ช่างที่มีประสบการณ์มาติดตั้ง(ที่สำคัญอย่าลืมต่อสายดิน) เราก็จะมีน้ำอุ่นๆไว้ใช้งานและปลอดภัยอีกด้วย

8. การรับประกัน/บริการหลังการขายก็สำคัญ

เครื่องทำน้ำอุ่นมีให้เลือกใช้มากมายหลายแบรนด์ บางคนก็มีแบรนด์ที่น่าเชื่อถืออยู่ในใจแล้ว แต่หลายท่านก็ดูๆไว้แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจ แนะนำว่าควรเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นจากผู้ผลิตที่ได้การรับรองมาตรฐานหรือได้รับรางวัลต่างๆ อาทิ เครื่องหมายรับรองคุณภาพจาก มอก. ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5ฯลฯ แม้จะมีราคาสูงกว่าเครื่องทำน้ำอุ่นโนเนม แต่รับประกันในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยได้ระดับหนึ่ง

  • ตัวฮีทเตอร์ทำความร้อน และระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้มาตรฐาน ควรมีการรับประกันอย่างน้อย 1 ปี
  • ตัวหม้อต้มที่ได้คุณภาพและปลอดภัยควรเลือกที่มีการรับประกันอย่างน้อย 5 ปี

นอกจากนี้เวลาที่เราไปเดินซื้อตามห้างสรรพสินค้า ผู้ขายหรือตัวแทนสินค้ามักจะหว่านล้อมต่างๆนานาเพื่อให้เราลังเล หรือเปลี่ยนใจไปใช้สินค้าอีกแบรนด์ ดังนั้นแนะนำว่าอย่าเชื่อคำโฆษณาเกินจริงหรือเห็นแก่ของแถมเล็กน้อยมากเกินไป เราควรศึกษาข้อมูลต่างๆ ให้กระจ่างก่อนตัดสินใจซื้อด้วยความมั่นใจเต็มร้อยและอย่าลืมถามหาใบรับประกันสินค้าด้วย

ภาพประกอบ : อติยาฮ์ ศุภกุล


อ่านต่อ : เรียนรู้ทำความเข้าใจ ระบบน้ำในบ้าน

ติดตามข้อมูลดีๆจากบ้านและสวนได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

เครื่อง ทํา น้ํา อุ่น เพิ่มแรงดันน้ำ

เครื่องทำน้ำอุ่น Haier G2 พร้อมนวัตกรรมยับยั้งแบคทีเรีย AG+

เครื่อง ทํา น้ํา อุ่น เพิ่มแรงดันน้ำ

เครื่องทำน้ำอุ่น Haier H1 series/H2 series ผู้นำเครื่องทำน้ำอุ่นด้านความปลอดภัย และสุขภาพที่ดี ที่มาพร้อมกับดีไซน์ระดับโลกจากรางวัล Red Dot Design Award 2021

เครื่อง ทํา น้ํา อุ่น เพิ่มแรงดันน้ำ

MEX เครื่องทำน้ำอุ่นคุณภาพ ที่ยืน 1 ในเรื่องของดีไซน์

Home Appliances เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องทำน้ำอุ่นยี่ห้อไหนดี เครื่องทำน้ำอุ่นแบบน้ำผ่านร้อน เครื่องทำน้ำอุ่นแบบหม้อต้ม เลือกเครื่องทำน้ำอุ่น