หัวใจเต้นเร็ว 160 ครั้งต่อนาที

   ในปัจจุบันผู้คนหันมาสนใจในเรื่องของการมีสุขภาพที่ดี SiPH จึงเห็นว่าการที่เราจะมีสุขภาพที่ดีได้นั้น มาจากพฤติกรรมหลายอย่าง หลายคนนั้นทำทุกอย่างเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง บ้างก็ออกกำลังกาย กินอาหารเสริม ควบคุมอาหาร แต่ถึงอย่างไรนั้น วิธีที่ดีที่สุดที่ SiPH จะแนะนำก็คือ การออกกำลังกาย นั่นเอง ฉะนั้นวันนี้ SiPH ก็มีเทคนิคง่าย ๆ 3 คำ ท่องไว้ สำหรับที่อยากจะออกกำลังกาย เพื่อการลดน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพและสุขภาพที่ดี นั่นก็คือ หนัก นาน บ่อย

หนัก (Intensity) โดยปกติเราใช้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นตัววัดความหนักของงาน ถ้าเป็นการออกกำลังกาย เพื่อลดน้ำหนักหรือเพื่อสุขภาพ อัตราการเต้นของหัวใจของผู้ออกกำลังกายควรอยู่ในอัตรา 60 - 80% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ซึ่งการออกกำลังกายก็มีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน

  1. คาร์ดิโอ (Cardio Exercise) เป็นหนึ่งในการออกกำลังกาย ที่เป็นการเสริมความแข็งแรงของระบบไหลเวียนเลือด หัวใจและปอด ให้สามารถนำออกซิเจนมาใช้ได้มากขึ้น เพิ่มศักยภาพในการออกกำลังกายให้ดีขึ้น และช่วยในการเผาผลาญแคลอรี่ เพื่อการลดน้ำหนักได้ดี
  2. เวทเทรนนิ่ง (Weight training) หรืออาจจะเรียกอีกอย่างว่า Resistance training หรือ การออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน เช่น การยกน้ำหนักที่เราสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นดัมเบลล์ บาร์เบล ยางยืด หรือน้ำหนักตัวของเราเอง

รู้ได้อย่างไรว่าแค่ไหนหนักพอ?

โดยคำนวณจาก ชีพจรสูงสุดของแต่ละอายุ =  220 – อายุ

ตัวอย่างเช่น : อายุ 40 ปี ชีพจรสูงสุดของคนอายุ 40 ปี = 220 - 40  = 180 ครั้ง/นาที

ต้องการออกกำลังกายที่ 60-80% ของชีพจรสูงสุด สามารถคำนวณได้ดังนี้

  • ชีพจรเป้าหมาย ( Target Heart Rate ) 60% = 60/100*180 = 108 ครั้ง/นาที
  • ชีพจรเป้าหมาย ( Target Heart Rate ) 80% = 80/100*180 = 144 ครั้ง/นาที

ดังนั้น คนอายุ 40 ปี หากจะออกกำลังเพื่อลดน้ำหนักควรให้หัวใจเต้นระหว่าง 108 – 144 ครั้งต่อนาที หรือสามารถดูได้จากตารางนี้

หัวใจเต้นเร็ว 160 ครั้งต่อนาที

นาน (Duration) โดยทั่วไปแล้วการออกกำลังกายให้มีประสิทธิภาพ จะแนะนำให้ทำอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ วันละประมาณ 20 - 30 นาที   หรือสามารถเพิ่มได้ถึงครั้งละ 60 นาที

บ่อย (Frequency) ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ หรือสามารถออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักได้มากกว่า 5 วัน/สัปดาห์

เคล็ดลับ

  • ชนิดของการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก (Type) ควรเป็นแบบแอโรบิค (Aerobic Exercise) เน้นการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่
  • จัดให้มีความสมดุลกันระหว่างการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรง การออกกำลังการเพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้ร่างกาย

การออกกำลังกายแบบแอโรบิค คือ การออกกำลังกายที่ร่างกายต้องการใช้ออกซิเจน โดยการออกกำลังกายแบบแอโรบิค จะออกกำลังกายด้วยระดับความหนักที่กำลังพอดี คือทำให้ระบบหลอดเลือดหัวใจของคุณ สามารถส่งออกซิเจนไปให้กล้ามเนื้อและคงระดับการออกกำลังกายขณะนั้นต่อไปได้เรื่อย ๆ โดยให้ระดับความหนักในการออกกำลังกายอยู่ประมาณ 60-80 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด ตัวอย่างการออกกำลังแอโรบิค เช่น การเดิน (เร็วๆ) การวิ่ง ว่ายน้ำ กระโดดเชือก เต้นแอโรบิค ถีบจักรยาน เป็นต้น

การที่ชีพจรเต้นเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาทีนั้นพบว่ามีความสัมพันธ์กับหัวใจที่เต้นเร็ว เนื่องจากหัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะให้ทั่วร่างกาย ถือเป็นหนึ่งในสัญญาณที่เตือนว่าร่างกายมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ในทางกลับกัน หากชีพจรเต้นช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที จะทำให้เกิดอาการหน้ามืด หมดสติ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตต่ำได้

วัดชีพจรอย่างไร

ก่อนที่จะวัดชีพจรต้องงดทำกิจกรรมเคลื่อนไหวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเดิน วิ่ง ขึ้นบันได ยกของหนัก หรือการทำงานหนักที่หัวใจเต้นเร็วแรงขึ้น ดังนั้น ควรวัดชีพจรตอนที่นั่งพักเฉย ๆ มาสักระยะแล้วอย่างน้อย 5-10 นาที รวมถึงการไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนอย่างชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง หากดื่มมาแล้วควรเว้นระยะก่อนวัดชีพจร 1 ชั่วโมงขึ้นไป

วิธีการวัดชีพจรง่าย ๆ ทำได้โดยการวางนิ้วชี้และนิ้วกลางลงบนข้อมือ กดลงไปเบา ๆ จะรับรู้ได้ถึงสัญญาณชีพที่เต้นตุ้บ ๆ อยู่ ให้จับเวลา 30 วินาทีแล้วนับว่าหัวใจเต้นไปกี่ครั้ง จากนั้นนำตัวเลขที่วัดได้มาคูณสอง (x2) ผลลัพธ์ที่ออกมาคือจำนวนการเต้นหัวใจภายใน 1 นาที และเพื่อความแม่นยำแนะนำให้ทำซ้ำอย่างน้อย 2-3 ครั้งแล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย

เคล็ดลับการวัดชีพจรให้ได้ผลดี : ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการวัดชีพจรคือตอนเช้าหลังจากการตื่นนอน แต่หากว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ สามารถตรวจชีพจรอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์โดยวัดชีพจรในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป เช่น หลังตื่นนอนตอนเช้า กลาง เย็น และก่อนนอน จากนั้นนำมาค่าหาเฉลี่ยจะได้ค่าชีพจรที่ถูกต้อง

ชีพจรเต้นเร็วไปจะทำอย่างไรดี

ถ้าชีพจรเต้นเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาที วิธีการเบื้องต้นที่สามารถช่วยได้ผลเป็นอย่างดีคือ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยครั้งละอย่างน้อย 30 นาที และอย่าปล่อยให้ตัวเองอ่อนเพลีย ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

อย่าลืมว่าการวัดชีพจรเป็นเพียงการตรวจด้วยตนเองแบบง่าย ๆ เท่านั้น ปัจจัยที่จะให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดยังมีอีกหลายสาเหตุ ถ้าชีพจรเต้นเร็วทุกครั้งที่ทำการตรวจ ร่วมกับอาการเหนื่อยหอบ เจ็บหรือแน่นหน้าอกเมื่อต้องออกแรงทำกิจกรรมต่าง ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจโดยละเอียด

หน้ามืดตาลาย ใจสั่น เจ็บหน้าอก หรือรุนแรงถึงขั้นเป็นลมหมดสติ อย่ามองข้าม เพราะคิดว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ที่จริงอาจเป็นสัญญาณเตือนของ “ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ”และส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ความเครียด และการสูบบุหรี่ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ

อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหลายคนจะไม่รู้ตัวเลย เนื่องจากมีอาการที่แตกต่างกันออกไป คิดว่าอาการเล็กน้อย บางคนอาจไม่พบอาการหรือความผิดปกติใดๆ แต่บางคนอาจมีอาการที่สังเกตได้ เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หรือหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ เจ็บหน้าอก หายใจหอบ เหงื่อออกมาก วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม หมดสติ เป็นต้น นั่นหมายความว่าอาจมีความเสี่ยงเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยจะแสดงอาการออกมาดังนี้

- อัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที อาจจะส่งผลให้มีอาการมึนงง ใจหวิว ระดับความดันโลหิตต่ำลง และอาจทำให้เป็นลมหมดสติ

- อัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่า 120 ครั้งต่อนาที อาจจะส่งผลให้มีอาการเหนื่อยง่ายเจ็บหน้าอก เสี่ยงภาวะหัวใจวายและเสียชีวิตเฉียบพลัน

ทำอย่างไรเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

การที่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นภาวะที่ยากจะควบคุม ต้องพบปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะวินิจฉัยจากอาการของผู้ป่วย และการตรวจร่างกาย โดยเฉพาะการตรวจสอบสมรรถภาพของหัวใจ หรือปัจจัยที่จะไปกระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถตรวจได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram :ECG)

- การตรวจสมรรถภาพของหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise stress test :EST)

- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram :Echo)

- การตรวจและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง

สาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีความแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งมีปัจจัยจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือความผิดปกติแต่กำเนิดหรือความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจหนาผิดปกติ รวมทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และความเครียด

ซึ่งที่โรงพยาบาลยันฮี เราพร้อมให้การบริการแก่ผู้เข้ารับการรักษา ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่เฉพาะทาง มีเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย

หัวใจเต้นเร็วมาก เกิดจากอะไร

การพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนดึก นอนน้อย การติดเชื้อ มีไข้สูง ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis) ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) ท้องเสีย ถ่ายเหลวปริมาณมาก

หัวใจเต้นเร็วแค่ไหนอันตราย

หัวใจเต้น 60-100 ครั้งต่อนาที : ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ หัวใจเต้นเกิน 100 ครั้งต่อนาที : มีภาวะหัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นเกิน 150 ครั้งต่อนาที : มีภาวะหัวใจเต้นเร็วมากเข้าขั้นอันตราย

หัวใจเต้นแรงดีไหม

หัวใจเต้นเร็วที่ไม่ใช่โรคหัวใจ หากมีภาวะซีดที่ไม่รุนแรงและไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ แต่พบว่ามีอาการหัวใจเต้นเร็ว ก็ยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ อาจออกกำลังกายสม่ำเสมอร่วมด้วย เพื่อช่วยให้ปอดและหัวใจทำงานได้ดีขึ้น และอาจช่วยให้หัวใจเต้นช้าลง

ผู้หญิงหัวใจเต้นกี่ครั้งต่อนาที

ค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นหัวใจของผู้หญิง อายุ 26 – 35 ปี ค่าเฉลี่ยนจะอยู่ที่ 73 – 76 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 54 – 59 ครั้ง/นาที อายุ 36 – 55 ปี ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 74 – 78 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 54 – 60 ครั้ง/นาที อายุ 56 – 65 ปี ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 74 – 77 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 54 – 59 ครั้ง/นาที