เสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

26050

เสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

วันที่ 1 สิงหาคม 2022 08:05 น.

เสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา ชั้น ม.6 พลายงามชนะความขุนช้าง และมาลักพานางวันทองไปจากบ้านขุนช้าง ขุนช้างโกรธจึงไปถวายฎีกาพระพันวษา พระพันวษาเห็นว่าวันทองหลายใจจึงให้ประหารชีวิต

�ٻẺ
           �觴��¤ӻ�оѹ�쪹Դ��͹���Ҿ� ������Ѻ��͡������������Ӥѭ��ҧ � �� ����Ҿ������蹴Թ�ç����ͧ�˭�



          ����ҡ���������
           ��ó��������¡��ͧ�������ͧ�ع��ҧ�عἹ���ʹ�ͧ��͹���� ���д����ȷ��㹴�ҹ��������ͧ��С�кǹ��͹
           ��ù�����ͧ��Ǣع��ҧ�عἹ����Ѻ���Ҡ �ѹ��ɰҹ��Ҡ �������� �Ѫ�������稾�й���³�����Ҫ� ����ͧ�鹤������繹Էҹ �����ѧ�֧�ա�âѺ�繷ӹͧ
           ˹ѧ��;���Ǵ�� �������ê�ǡ�ا��Ҕ �����Ƕ֧����ͧ��Ƿ������ǡѺ����ͧ �ع��ҧ �عἹ ��Шҡ������㹾���Ǵ������ͧ���֧������Һ��ҢعἹ�Ѻ�Ҫ���������������稾�оѹ��� ������稾�����ҸԺ�շ�� 2 ��觤�ͧ�Ҫ�������ҧ �.�. 2034 � �.�.2072
           ����� ����稾�оѹ��Ҕ ������й��੾�о������蹴Թ���ͧ��㴾��ͧ��˹���ҡ�繾�й����Сͺ������õ�������Ѻ���¡�������蹴Թ


��������ͧ���
           �͹�ع��ҧ���®ա�
           ������ (��������ùҶ) ��ҹҧ�ѹ�ͧ仨ҡ���͹�ع��ҧ �ع��ҧ�֧���®ա� ��ѹ���ǹ�������稾�оѹ������ҧ�ѹ�ͧ�Ѵ�Թ����͡��� ������Ѻ�ع��ҧ �عἹ ���;����� �ҧ�ѹ�ͧ�ѧ��� �Ѵ�Թ���������稾�оѹ��Ҩ֧������ҡ������Ѻ����������ê��Ե�ҧ㹷���ش
           �͹�ع��ҧ���®ա� ��繵͹����Ӥѭ���ⴴ����觵͹˹������ �ҧ�ѹ�ͧ����繵���͡�ͧ����ͧ��١��Ҫ��Ե��� ���稾�оѹ��ҷç�Ѵ�Թ�������ê��Ե ��觨й�����ش�ش�ʹ�ͧ����ͧ (climax)
           �ѡɳ��� ��ó������������ ��������֡�ͧ�����������ҧ�֡��駶֧�� �����Ҽ���鹨������ʶҹ�Ҿ ��� �������㴡���

เสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

เวลาอ่านหนังสือหรือดูละครหลังข่าว เพื่อน ๆ เคยนึกสงสัยบ้างไหมว่า ทำไมพระเอกในเรื่องมีแฟนก่อนคบนางเอกตั้งหลายคน แต่กลับได้รับการถูกยกย่องว่าเป็น “พระเอก” แต่สำหรับผู้หญิงที่เคยผ่านมือชายมาก่อน กลับต้องรับบทเป็น “นางร้าย” อยู่ตลอด StartDee ขอบอกว่า ไม่ใช่แค่ละครสมัยนี้เท่านั้นนะ แต่วรรณคดีไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ อย่างเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา ก็มีพล็อตเรื่องไม่ต่างกันเท่าไร เพียงแต่ตอนที่เราหยิบยกกันมาให้เพื่อน ๆ อ่านนี้ ไม่ได้มีนางร้าย แต่กลับมี “นางเอก” ที่ดันไม่ได้บริสุทธิ์ผุดผ่องและมีแฟนแค่คนเดียวเหมือนนางเอกละครไทยทั่วไป เอ...นางเอกคนนี้เป็นใครกันนะ ต้องติดตามอ่านกันแล้ว ลุย

หากเพื่อน ๆ ไม่ใช่สายอ่านแต่ชื่นชอบการฟังและดูวิดีโอสนุก ๆ มากกว่า แนะนำให้ไปตำแอปฯ StartDee คลิกแบนเนอร์ด้านล่างได้เลย

เสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

ที่มาของเสภาขุนช้างขุนแผน

เสภาขุนช้างขุนแผน เป็นวรรณคดีที่ประพันธ์ขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยโปรดเกล้าให้ประชุมกวีเพื่อประพันธ์เสภาเรื่องนี้ขึ้นจากนิทานพื้นบ้านที่เล่าสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา อีกทั้งยังทรงพระราชนิพนธ์เองด้วยในบางตอน นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเติมเรื่องราวเนื้อหาต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยเนื้อหาและลีลาวรรณคดีของเสภาเรื่องนี้มีคุณค่าโดดเด่นเป็นอย่างยิ่ง วรรณคดีสโมสรจึงได้ยกย่องให้เป็นยอดแห่งกลอนสุภาพในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

แต่สำหรับเนื้อหาที่เพื่อน ๆ ชั้น ม.๖ เรียนกันนั้น มีแค่เฉพาะตอนขุนช้างถวายฎีกาเท่านั้น ซึ่งเป็นตอนที่ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง

ลักษณะคำประพันธ์ของเสภาขุนช้างขุนแผน

กวีที่แต่งเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถายฎีกานั้นใช้กลอนเสภาในการสร้างสรรค์วรรณคดีไทยเรื่องนี้ขึ้น โดยกลอนเสภา ถูกแต่งขึ้นเพื่อใช้ในการขับเสภาในราชสำนัก ถือเป็นกลอนที่มีความยืดหยุ่นในการใช้คำมาก โดยไม่ได้กำหนดลักษณะการแต่งตายตัว เพราะแต่ละวรรคจะเป็นไปตามทำนองเสภานั่นเอง

สำหรับกลอนเสภานั้นใน ๑ วรรคจะมี ๖-๙ คำ/พยางค์ และมีชื่อเรียกแตกต่างกันดังนี้

วรรคแรก มีชื่อเรียกว่า นารีเรียงหมอน 

วรรคที่สอง มีชื่อเรียกว่า ชะอ้อนนางรำ 

วรรคที่สาม มีชื่อเรียกว่า ระบำเดินดง 

วรรคสุดท้าย มีชื่อเรียกว่า หงส์ชูคอ

เสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

เท้าความก่อนจะมาถึงตอนขุนช้างถวายฎีกา

จะว่าไปแล้ว เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเองก็ไม่ได้ต่างอะไรจากละครหลังข่าวที่เพื่อน ๆ ดูมากนัก เนื้อเรื่องส่วนใหญ่วนเวียนอยู่ที่ตัวเอกสามคน คือขุนแผน ชายหนุ่มรูปหล่อ เคยบวชเรียนเป็นสามเณรชื่อพลายแก้ว ขุนช้างชายหนุ่มหน้าตาอัปลักษณ์แต่ฐานะดี และนางวันทอง หรือชื่อเดิมคือนางพิมพิลาไลย หญิงสาวผู้เลอโฉม เป็นที่รักและหมายปองของทั้งขุนแผนและขุนช้าง จนเกิดการแย่งชิงกันไปมา โดยนางพิมพิลาไลยนั้นแต่งงานออกเรือนกับพลายแก้วก่อน (ซึ่งจริงๆ ทั้งสองได้เสียกันตั้งแต่ก่อนจะมีพิธีแต่งงานแล้ว แถมพลายแก้วยังได้พี่เลี้ยงของนางพิมเป็นเมียด้วยอีกคน) แต่เมื่อพลายแก้วได้รับคำสั่งให้ไปรบที่เชียงใหม่ ขุนช้างก็หาอุบายมาหลอกนางพิมว่าพลายแก้วเสียชีวิตแล้ว แม่ของนางพิมจึงตกลงปลงใจให้นางพิมไปอยู่กับขุนช้างและเปลี่ยนชื่อเป็น “นางวันทอง” แต่ด้วยความที่ใจยังรักมั่นแต่พลายแก้วตามแบบฉบับนางเอกไทย นางวันทองจึงทำทุกวิถีทางเพื่อสงวนเนื้อตัวไว้ไม่ให้ขุนช้างแตะต้องได้

แต่เอ...ทำไมนางวันทองต้องย้ายไปอยู่กับขุนช้างด้วยนะ ทำไมไม่อยู่เป็นแม่ม่ายเก๋ ๆ แล้วค่อยแต่งงานใหม่เมื่อเจอคนที่ใช่ นั่นเป็นเพราะผู้หญิงไทยในสมัยก่อนไม่ได้มีสิทธิเหนือร่างกายของตัวเอง เมื่ออยู่กับบิดามารดาก็ถือว่าเป็นสมบัติของบิดามารดา แต่เมื่อถูกยกให้ชายหนุ่มบ้านอื่นไปแล้ว ก็จะถือเป็นสมบัติของบ้านนั้น และพ่อแม่จะไม่มีสิทธิไม่มีเสียง ไม่สามารถช่วยเหลือเกื้อกูลลูกสาวได้อีกต่อไป ตามกฎหมายตราสามดวง (ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในช่วงรัชกาลที่ ๒ อันเป็นจุดเริ่มต้นของวรรณคดีเรื่องนี้) เล่ม ๒ หน้า ๒๖๒ กล่าวว่า

“...บุทคลใดให้บุตรีเปนภรรยาท่านแล้ว อยู่มาภายหลังได้คิดจะกลับคืนเอาบุตรีมาเล่าไซ้ ท่านว่าจะคืนเอานั้นมิได้เลย…”

แม่ของนางวันทองจึงต้องการให้นางวันทองมีสามีใหม่ อย่างน้อยจะได้มีคนดูแล เนื่องจากตัวนางศรีประจันผู้เป็นแม่นั้นไม่สามารถปกป้องลูกสาวได้นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ขุนช้างกล่าวนั้นถือเป็นการโกหกคำโต เพราะพลายแก้วไม่ได้ตายในสนามรบ แต่รบชนะจนได้ยศเป็นขุนแผน แถมยังได้รับพระราชทานนางลาวทองมาเป็นภรรยาด้วย แม้ว่าขุนแผนจะได้ผู้หญิงคนใหม่ แต่กลับโกรธมากที่พบว่านางวันทองไปอาศัยอยู่กับขุนช้างเสียแล้ว ฝ่ายนางวันทองเองก็โมโหไม่ต่างกัน เพราะเห็นว่าขุนแผนนอกใจตน ทั้งสองจึงทะเลาะกันแล้วก็แยกจากันไปโดยความคับข้องหมองใจ ปรากฏว่าในคืนนั้น นางวันทองถูกขุนช้างข่มขืน นางจึงตกเป็นเมียของขุนช้าง อยู่กินกับขุนช้างไปโดยปริยาย (นี่มันพล็อตละครไทยชัด ๆ)

ถ่านไฟเก่ายังร้อนฉันใด ขุนแผนก็ยังคิดถึงนางวันทองฉันนั้น เลยลอบเข้าหานางวันทองแต่กลับพบคนรักเก่านอนเคียงคู่อยู่กับขุนช้าง ขุนแผนโกรธแต่ก็ทำอะไรไม่ได้ จึงได้แค่ประจานขุนช้างให้อับอายเท่านั้น หลังจากนั้นขุนช้างก็คิดหาทางแก้แค้นขุนแผนจนถึงขั้นทำให้ขุนแผนต้องระเห็จไปทำงานต่างถิ่น แถมยังถูกริบนางลาวทองอีกด้วย

ขุนแผนเลยทำการแก้แค้น ด้วยการลงมือปีนบ้านขุนช้างอีกครั้ง แต่คงจะคำนวณผิดไปหน่อยเลยไปเข้าห้องนางแก้วกิริยา เมียอีกคนของขุนช้างแทน พี่ขุนแผนแสนสะท้านของเราจึงลงมือเป่ามนต์ให้นางแก้วกิริยางงงวย ก่อนจะลงมือโอ้โลมปฎิโลมจนสุดท้ายก็ได้นางแก้วกิริยาเป็นภรรยาอีกคน

เอาล่ะ...มาถึงตรงนี้ เพื่อน ๆ อาจคิดว่าขุนแผนนี่เป็นพระเอกได้ยังไง เพราะสิ่งที่ขุนแผนทำกับนางแก้วกิริยาถือได้ว่าเป็นการข่มขืนชัด ๆ ซึ่งได้มีผู้วิเคราะห์ว่า การข่มขืนในครั้งนี้เป็นการข่มขืนที่มี “การรับผิด” หรืออย่างน้อยที่สุดคือการแสดงความรับผิดชอบต่อผู้หญิง ด้วยการที่ขุนแผนเองก็รับนางแก้วกิริยามาเป็นภรรยาอีกคน และนั่นทำให้สิ่งที่ขุนแผนทำไม่ได้ถูกมองเป็นการใช้กำลังเพื่อให้สมอารมณ์หมายของผู้ชายเพียงอย่างเดียว แต่ส่วนหนึ่งเป็นข้อผูกมัดให้ผู้ข่มขืนต้องรับผิดชอบอะไรบางอย่างต่อผู้หญิงมากกว่า ดังนั้น ถ้าว่ากันตามบรรทัดฐานของวรรณคดีไทยเรื่องนี้ การกระทำของขุนแผนนั้นไม่ได้ผิดแต่อย่างใด

แต่ไม่ใช่ว่าเพื่อน ๆ ผู้ชายจะนำบรรทัดฐานนี้มาใช้ในปัจจุบันได้นะ แม้ว่าเพื่อน ๆ จะรับผิดชอบตกลงเป็นแฟนกับผู้หญิงหลังจากทำมิดีมิร้าย แต่เพื่อน ๆ ก็ยังมีความผิดตามกฎหมายอยู่ดี

หลังจากขุนแผนได้นางแก้วกิริยาแล้ว ก็ถึงคราวไปลักนางวันทองออกมาจากบ้านของขุนช้าง และพากันไปอาศัยอยู่ตามป่าเขาอย่างยากลำบาก ซึ่งในระหว่างนี้นางวันทองก็ตั้งท้องขึ้นมา แต่ก็ดันมีเหตุให้มาถูกขุนช้างฉุดกลับไปอีก (ซึ่งขุนแผนเองก็ช่วยอะไรไม่ได้ เพราะตัวเองติดคุก เนื่องจากไปทูลขอนางลาวทองจากพระพันวษา) จนสุดท้าย นางวันทองคลอดลูกออกมาชื่อ พลายงาม ที่ต่อมาถูกส่งไปอยู่กับแม่ของขุนแผนจนเติบใหญ่ได้รับราชการและมียศเป็น “จมื่นไวยวรนาถ”

ซึ่งจมื่นไวยวรนาถนี่แหละ ที่เป็นต้นเรื่องของเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา โดยตอนขุนช้างถวายฎีกานี้เกิดขึ้นหลังจากที่จมื่นไวยวรนาถชนะความต่อขุนช้างโดยการดำน้ำพิสูจน์ความจริง เพื่อน ๆ รู้ไหมว่าโทษครั้งนั้นของขุนช้างเกือบทำให้ขุนช้างต้องถูกประหารชีวิต แต่ดีที่ว่านางวันทองไปขอร้องลูกชายให้ไปกราบทูลพระพันวษาให้ยกโทษให้ จมื่นไวยวรนาถจึงใจอ่อนยอมไปเพ็ดทูลต่อพระพันวษา ขุนช้างจึงได้รับอภัยโทษ และพานางวันทองกลับไปอยู่สุพรรณบุรีด้วยกันอย่างสบายใจ

อย่างไรก็ตาม กลับเป็นจมื่นไวยวรนาถเองที่รู้สึกว่าชีวิตยังขาดหายเพราะไม่มีแม่ซึ่งก็คือนางวันทองมาอยู่ด้วย และที่สำคัญแม่ของเขาต้องอาศัยอยู่กับขุนช้างซึ่งเป็นคนที่คิดจะฆ่าตนเองเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก จึงทำให้จมื่นไวยวรนาถเจ็บใจเป็นสองเท่า ดังนั้นจึงคิดแผนการไปชิงนางวันทองจากขุนช้างให้กลับมาอยู่กับตนเอง

ถอดคำประพันธ์ เสภาขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา

จะกล่าวถึงโฉมเจ้าพลายงาม

ถ้าเป็นความชนะขุนช้างนั่น

กลับมาอยู่บ้านสำราญครัน

เกษมสันต์สองสมภิรมย์ยวน

พร้อมญาติขาดอยู่แต่มารดา

นึกนึกตรึกตราละห้อยหวน

โอ้ว่าแม่วันทองช่างหมองมวล

ไม่สมควรเคียงคู่กับขุนช้าง

เออนี้เนื้อเคราะห์กรรมมานำผิด

น่าอายมิตรหมองใจไม่หายหมาง

ฝ่ายพ่อมีบุญเป็นขุนนาง

แต่แม่ไปแนบข้างคนจัญไร

จมื่นไวยฯ แม้จะอยู่บ้านอย่างสุขสบายพร้อมพรั่งทั้งญาติมิตรและภรรยา แต่ก็เกิดคิดถึงแม่ซึ่งก็คือนางวันทอง แต่ในขณะเดียวกันก็รู้สึกโกรธที่แม่ต้องไปอยู่กับคนเลว ๆ อย่างขุนช้าง ทั้ง ๆ ที่พ่อของตนเป็นถึงขุนนาง จมื่นไวย ฯ จึงคิดหาทางพาแม่กลับมาอยู่ด้วยกัน แต่บ้านของทั้งสองอยู่ห่างไกลกันมาก จมื่นไวย ฯ จึงต้องใช้วิชาอาคมในการเดินทางไปหาแม่ ดังคำประพันธ์ด้านล่างนี้

ได้ยินเสียงฆ้องย่ำประจําวัง

ลอยลมล่องดังถึงเคหา

คะเนนับย่ำยามได้สามครา

ดูเวลาปลอดห่วงทักทิน

ฟ้าขาวดาวเด่นดวงสว่าง

จันทร์กระจ่างทรงกลดหมดเมฆสิ้น

จึงเซ่นเหล้าขาวปลาให้พรายกิน

เสกขมิ้นว่านยาเข้าทาตัว

ลงยันต์ราชะเอาปะอก

หยิบยกมงคลขึ้นใส่หัว

เป่ามนต์เบื้องบนชอุ่มมัว

พรายยั่วยวนใจให้ไคลคลา

จับดาบเคยปราบณรงค์ครบ

เสร็จครบบริกรรมพระคาถา

ลงจากเรือนไปมิได้ช้า

รีบมาถึงบ้านขุนช้างพลัน ฯ 

จมื่นไวย ฯ ใช้วิธีดูฤกษ์ยาม เอาเหล้าเซ่นผีพราย เสกว่านยาทาตัว หยิบยันต์มาแปะไว้บนอก สวมมงคลที่ศีรษะ รวมไปถึงเป่ามนตร์ลงที่ดาบคู่ใจ เพื่อเดินทางไปหานางวันทองที่เรือนของขุนช้าง นอกจากเป่าคาถาอาคมสำหรับหายตัวแล้ว จมื่นไวย ฯ ยังเสกคาถาให้ผีที่คุ้มครองบ้านเรือนของขุนช้างหายไปทั้งหมด และยังเป่ามนตร์ให้คนในเรือนหลับใหลไม่ได้สติ ซึ่งทำให้จมื่นไวยฯ เข้าไปหาแม่ที่ห้องของขุนช้างได้ แต่เมื่อไปถึงก็เห็นภาพบาดตาบาดใจของแม่ตัวเองกับขุนช้าง แม้จะเดือดดาลมาก แต่จมื่นไวย ฯ ก็สามารถสงบสติอารมณ์เพื่อให้ภารกิจสำเร็จได้

หลังจากนั้น จมื่นไวย ฯ ก็เป่ามนตร์เพื่อให้แม่ตื่นจากการหลับใหล เมื่อนางวันทองเห็นลูกชายก็สะดุ้งโหยง จมื่นไวย ฯ เข้าไปก้มกราบแม่ ทั้งคู่กอดกันตามประสาแม่ลูก

จากเนื้อหาที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่าคนโบราณโดยเฉพาะคนในสังคมอยุธยามีความเชื่อด้านไสยศาสตร์เป็นอย่างมาก คนที่จะมีคาถาอาคมในสมัยก่อนจึงต้องเป็นผู้ที่ประพฤติดีจึงจะสามารถรักษาคาถาไว้ได้ กุศโลบายเรื่องไสยศาสตร์จึงออกมาเพื่อกำกับพฤติกรรมของคนให้ประพฤติแต่เรื่องดี ละเรื่องชั่ว ซึ่งทำให้คนสมัยก่อนอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

นางวันทองถามไถ่จมื่นไวย ฯ ถึงวัตถุประสงค์ในการมาครั้งนี้ ซึ่งก็ทำให้รู้ว่าลูกนั้นผูกใจเจ็บขุนช้างและมีความคิดถึงตนเอง จึงหวังว่าจะพาตนเองไปอยู่ด้วย นางวันทองรู้ทันทีว่าการกระทำแบบนี้จะต้องนำปัญหามาสู่ตนและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างแน่นอน นางวันทองจึงทัดทานลูกชาย ตามบทประพันธ์นี้

เจ้าเป็นถึงหัวหมื่นมหาดเล็ก

มิใช่เด็กดอกจงฟังคำแม่ว่า

จงเร่งกลับไปคิดกับบิดา

ฟ้องหากราบทูลพระทรงธรรม์

พระองค์คงจะโปรดประทานให้

จะปรากฏยศไกรเฉิดฉัน

อันจะมาลักพาไม่ว่ากัน

เช่นนั้นใจแม่มิเต็มใจ ฯ

เมื่อรู้ว่าแม่ไม่เต็มใจไปกับตน เพราะกลัวว่าจะเกิดปัญหา และยังเสนอให้ไปเพ็ดทูลขอต่อพระพันวษา จมื่นไวย ฯ กลับไม่สนใจคำพูดของแม่ แถมยังขู่แม่กลับด้วยคำพูดที่ไม่สุภาพ ดังนี้

จึงว่าอนิจจาลูกมารับ

แม่ยังกลับทัดทานเป็นหนักหนา

เหมือนไม่มีรักใคร่ในลูกยา

อุตส่าห์มารับแม่แล้วยังมิไป

เสียแรงเป็นลูกผู้ชายไม่อายเพื่อน

จะพาแม่ไปเรือนให้จงได้

แม้นมิไปให้งามก็ตามใจ

จะบาปกรรมอย่างไรก็ตามที

จะตัดเอาศีรษะของแม่ไป

ทิ้งแต่ตัวไว้ให้อยู่นี่

แม่อย่าเจรจาให้ช้าที

จวนแจ้งแสงศรีจะรีบไป ฯ

จมื่นไวย ฯ ตัดพ้อนางวันทองว่าไม่รักตนที่เป็นลูก แต่ไม่ว่าอย่างไร ลูกผู้ชายอย่างตนจะพาแม่ไปด้วยให้ได้ แม้จะต้องตัดศีรษะแล้วทิ้งตัวแม่ไว้ที่นี่ก็จะทำ สุดท้ายนางวันทองเองก็ต้องยอม เหตุเพราะรักลูก และก็กลัวว่าลูกจะฟันคอของตน

เมื่อมนต์คาถาเริ่มเสื่อมคลาย ขุนช้างเริ่มได้สติตื่นมาและรู้สึกงงงวย มองซ้ายมองขวาก็ไม่เห็นนางวันทองอยู่ข้างตัว ขุนช้างที่ยังไม่ได้สวมใส่เสื้อผ้าเลยแม้แต่น้อยก็ลุกขึ้นอาละวาด จากนั้นก็รีบออกไปตะโกนให้ข้าทาสออกตามหานางวันทองทั่วทั้งเรือน แต่ก็ไม่พบ ขุนช้าจึงสงสัยว่าอาจจะมีคนมาลักพานางวันทองไปอีก และรู้สึกโมโหสุดขีด

ฝ่ายจมื่นไวย ฯ เมื่อพาแม่กลับมาเรือนของตนเองได้สำเร็จแล้ว ก็เกิดรู้สึกตัวขึ้นมาว่าจะต้องเกิดเรื่องใหญ่แน่ ๆ ดังนั้นจึงคิดหาทางแก้ปัญหาโดยให้หมื่นวิเศษผลลูกน้องของตนเองไปที่เรือนของขุนช้างเพื่อไปแจ้งว่าจมื่นไวย ฯ เกิดป่วยและอยากให้แม่ไปดูแล ดังนี้

ข้าพเจ้าเป็นบ่าวพระหมื่นไวย

เป็นขุนหมื่นรับใช้อยู่ในบ้าน

ท่านใช้ให้กระผมมากราบกราน

ขอประทานคืนนี้พระหมื่นไวย

เจ็บจุกปัจจุบันมีอันเป็น

แก้ไขก็เห็นหาหายไม่

ร้องโอดโดดดิ้นเพียงสิ้นใจ

จึงใช้ให้ตัวข้ามาแจ้งการ

พอพบท่านมารดาจึงหายทุกข์

ข้าพเจ้าร้องปลุกไปในบ้าน

จะกลับขึ้นเคหาเห็นช้านาน

ท่านจึงรีบไปในกลางคืน

พยาบาลคุณพระนายพอคลายไข้

คุณอย่าสงสัยว่าไปอื่น

ให้คำมั่นสั่งมาว่ายั่งยืน

พอหายเจ็บแล้วจะคืนไม่นอนใจ ฯ

เมื่อได้ฟังข่าวจากหมื่นวิเศษผลขุนช้างก็รู้ทันทีว่าเป็นเรื่องโกหกและแค้นใจมากที่จมื่นไวย ฯ มากระทำแบบนี้บนเรือนของตน ขุนช้างเพิ่งไปพูนทองสมเด็จพระพันวษาตามบทประพันธ์ดังนี้

จะกล่าวถึงพระองค์ผู้ทรงเดช

เสด็จคืนนิเวศน์พอจวบค่ำ

ฝีพายรายเล่มมาเต็มลำ

เรือประจำแหนแห่เซ็งแซ่มา

พอเรือพระที่นั่งประทับที่

ขุนช้างก็รี่ลงตีนท่า

ลอยคอชูหนังสือดื้อเข้ามา

ผุดโผล่โงหน้ายึดแคมเรือ

เข้าตรงบโทนอ้นต้นกัญญา

เพื่อนโขกลงด้วยกะลาว่าผีเสื้อ

มหาดเล็กอยู่งานพัดพลัดตกเรือ

ร้องว่าเสือตัวใหญ่ว่ายน้ำมา

ขุนช้างดึงดื้อมือยึดเรือ

มิใช่เสือกระหม่อมฉานล้านเกศา

สู้ตายขอถวายซึ่งฎีกา

แพ้เหลือปัญญาจะทานทน ฯ 

แม้พระพันวษาจะรับฎีกาของขุนช้างแต่ก็ทรงกริ้วมากจึงให้คนนำตัวขุนช้างไปโบยเพื่อเป็นการทำโทษ และตั้งแต่นั้นพระพันวษาได้ตั้งกฎเกณฑ์ในการเข้าเฝ้าโดยห้ามให้ใครเข้าใกล้พระมหากษัตริย์โดยไม่ได้รับอนุญาต และมีโทษประหารชีวิต

เมื่อขุนแผนรู้ว่านางวันทองมาอาศัยอยู่ที่เรือนของลูกชายก็เกิดคิดถึง เมื่อนางลาวทองและนางแก้วกิริยาหลับก็แอบย่องไปหานางวันทองถึงห้อง โดยขุนแผนได้เล้าโลมนางวันทอง อีกทั้งยังพูดคุยถึงเรื่องราวเก่า ๆ เพื่อปรับความเข้าใจกัน แต่นางวันทองไม่ได้ยินดีที่ขุนแผนมาทำเยี่ยงนี้ เพราะเกรงว่าจะมีโทษทัณฑ์ จึงได้บอกให้ขุนแผนไปกราบทูลขอต่อพระพันวษา คุยกันไปมาทั้งสองก็พล็อยหลับไปและนางวันทองก็เกิดฝันร้ายตามบทประพันธ์นี้

ฝันว่าพลัดไปในไพรเถื่อน

เลื่อนเปื้อนไม่รู้ที่จะกลับหลัง

ลดเลี้ยวเที่ยงหลงในดงรัง

ยังมีพยัคฆ์ร้ายมาราวี

ทั้งสองมองหมอบอยู่ริมทาง

พอนางดั้นป่ามาถึงที่

โดดตะครุบคาดคั้นในทันที

แล้วฉุดคร่าพารี่ไปในไพร

สิ้นฝันครั้งตื่นตกประหม่า

หวัดผวากอดผัวสะอื้นให้

เล่าความบอกผัวด้วยกลัวภัย

ประหลาดใจน้องผันพรั่นอุรา

ใต้เตียงเสียงหนูก็กุกกก

แมลงมุมทุ่มอกที่ริมฝา

ยิ่งหวาดหวั่นพรั่นตัวกลัวมรณา

ดั่งวิญญาณ์นางจะพรากไปจากกาย ฯ

นางวันทองตกใจตื่นและร้องไห้หนักมาก จากนั้นก็เล่าความฝันให้ขุนแผนฟัง โดยขุนแผนได้ดูดวงตามตําราประกอบกับเวลายามที่นางวันทองฝันจึงรู้ทันทีว่านางวันทองรวมถึงฆาตเสียแล้ว ขุนแผนจึงคิดสะเดาะเคราะห์ให้นางวันทองในตอนเช้า

ฝ่ายพระพันวษาเมื่อออกราชการแล้วเห็นหน้าขุนช้าง ก็นึกถึงความที่ขุนช้างนำมาฟ้องจึงเปิดฎีกาออกอ่านแล้วก็เกิดโมโหจึงสั่งให้พระหมื่นศรีไปตามคู่ความมาพบที่ท้องพระโรง

ขุนแผนนั้นรู้ดีอยู่แก่ใจว่านางวันทองมีชะตาถึงฆาต จึงพยายามใช้คาถาเมตตามหานิยม ทาขี้ผึ้งที่ริมฝีปากและกินหมาก เพื่อหวังให้โชคชะตาที่ร้ายนั้นบรรเทาลง จากนั้น ขุนแผน จมื่นไวยวรนาถ และนางวันทองก็เดินทางมาเข้าเฝ้าตามพระราชโองการข้างต้น

เมื่อทั้งสามไปถึง พระพันวษาได้ต่อว่าจมื่นไวย ฯ ที่ทำอะไรไม่เกรงใจกฎหมายบ้านเมือง ไม่เห็นแก่หน้าตาของพระพันวษาบ้าง จากนั้นจึงสอบสวนนางวันทองถึงสาเหตุที่ต้องไปอยู่กับขุนช้าง นางวันทองได้ตอบไปตามความจริงว่า เมื่อขุนแผนติดคุกและตนเองท้องแก่ ขุนช้างได้เข้ามาอ้างว่าเป็นพระราชประสงค์ของพระพันวษาที่ต้องการให้ตนเองไปอยู่กับขุนช้าง ตนกลัวพระราชอำนาจจึงไปอยู่กับขุนช้างโดยไม่เต็มใจ พระพันวษาได้ยินดังนั้นก็โกรธมาก จึงต้องการชำระความนี้ให้เด็ดขาด ด้วยการให้นางวันทองเลือกว่าจะอยู่กับใคร ดังบทประพันธ์นี้

อีวันทองตัวมันเหมือนรากแก้ว

ถ้าตัดโคนขาดแล้วก็ใบเหี่ยว

ใครจะควรสู่สมอยู่กลมเกลียว

ให้เด็ดเดี่ยวรู้กันแต่วันนี้

เอ้ยอีวันทองว่ากระไร

มึงตั้งใจปลดปลงให้ตรงที่

อย่าพะวงกังขาเป็นราคี

เพราะมึงมีผัวสองกูต้องแค้น

ถ้ารักใหม่ก็ไปอยู่กับอ้ายช้าง

ถ้ารักเก่าเข้าข้างอ้ายขุนแผน

อย่าเวียนวนไปให้คนมันหมิ่นแคลน

ถ้าแม้นมึงรักไหนให้ว่ามา ฯ

พระพันวษามองว่านางวันทองก็เหมือนกับ “รากแก้ว” ของปัญหานี้ ถ้าตัดรากแก้วออกไป ใบไม้ซึ่งเปรียบได้กับปัญหาต่าง ๆ ก็จะเหี่ยวตายไป

แต่คงเป็นเวรกรรมของนางวันทองที่ดวงถึงฆาต จึงเกิดความประหม่าเลือกไม่ได้ กลัวว่าเลือกแล้วจะไม่ถูกพระทัยพระพันวษา เพราะขุนแผนก็เป็นรักแรกและนางวันทองยังคงรู้สึกกับขุนแผนเหมือนเดิมไม่เคยเปลี่ยนแปลง ส่วนขุนช้างก็ดูแลนางวันทองให้อยู่สุขสบายมาหลายปี ในขณะที่พลายงามเองก็เป็นลูกชายในไส้

พระพันวษาเห็นนางวันทองลังเลใจ ก็โมโหสุดขีด ติดเครื่องด่านางวันทองอย่างหนัก ตามบทประพันธ์ ดังนี้

ครานั้นพระองค์ผู้ทรงภพ

ฟังจบแค้นคั่งดังเพลิงไหม้

เหมือนดินประสิวปลิวติดกับเปลวไฟ

ดูดู๋เป็นได้อีวันทอง

จะว่ารักข้างไหนไม่ว่าได้

น้ำใจจะประดังเข้าทั้งสอง

ออกนั่นเข้านี่มีสำรอง

ยิ่งกว่าท้องทะเลอันล้ำลึก

จอกแหนแพเสาสำเภาใหญ่

จะทอดถมเท่าไหร่ไม่รู้สึก

เหมือนมหาสมุทรสุดซึ้งซึก

น้ำลึกเหลือจะหยั่งกระทั่งดิน

อิฐผาหาหาบมาทุ่มถม

ก็จ่อมจมสูญหายไปหมดสิ้น

อีแสนถ่อยจัญไรใจทมิฬ

ดังเพชรนิลเกิดขึ้นในอาจม

รูปงามนามเพราะน้อยไปฤๅ

ใจไม่ซื่อสมศักดิ์เท่าเส้นผม

แต่ใจสัตว์มันยังมีที่นิยม

สมาคมก็แต่ถึงฤดูมัน

มึงนี่ถ่อยยิ่งกว่าถอยอีท้ายเมือง

จะเอาเรื่องไม่ได้สักสิ่งสรรพ์

ละโมบมากตัณหาตาเป็นมัน

อีกร้อยพันให้มึงไม่ถึงใจ

ว่าหญิงชั่วผัวยังคราวละคนเดียว

หาตามตอมกันเกรียวเหมือนมึงไม่

หนักแผ่นดินกูจะอยู่ไย

อ้ายไวยมึงอย่านับว่ามารดา

กูเลี้ยงมึงถึงให้เป็นหัวหมื่น

คนอื่นรู้ว่าแม่ก็ขายหน้า

อ้ายขุนช้างขุนแผนทั้งสองรา

กูจะหาเมียให้อย่าอาลัย

หญิงกาลกิณีอีแพศยา

มันไม่น่าเชยชิดพิสมัย

ที่รูปรวยสวยสมมีถมไป

มึงตัดใจเสียเถิดอีคนนี้

เร่งเร็วเหวยพระยายมราช

ไปฟันฟาดเสียให้มันเป็นผี

   

อกเอาขวานผ่าอย่าปราณี

อย่าให้มีโลหิตติดดินกู

เอาใบตองรองไว้ให้หมากิน

ตกดินจะอัปรีย์กาลีอยู่

ฟันให้หญิงชายทั้งหลายดู

สั่งเสร็จเสด็จสู่ปราสาทไชย

ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามที่นางวันทองพูดไปทุกประการ สุดท้ายบาปทั้งหมดที่ใครต่อใครสร้างขึ้นก็มาตกที่นางวันทอง ต้องมาโดนพระพันวษาสั่งประหารเพราะมองว่าเป็นสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด และแม้ว่าวรรณคดีจะพยายามบอกว่านางวันทองถูกประหารเพราะถึงฆาต แต่จริง ๆ แล้วทุกอย่างมีต้นสายปลายเหตุ ถ้าเพื่อน ๆ พิจารณาดูดี ๆ จะเห็นว่า นางวันทองต้องมารับผลที่ตัวเองไม่ได้ก่อเลยแม้แต่น้อย ดังนั้น หากจะเรียกนางวันทองว่าเป็นผู้หญิงสองใจ เราก็อยากให้เพื่อน ๆ ลองคิดดูใหม่ว่า นางเหมาะสมกับฉายานี้แล้วจริง ๆ หรือ ?

ถอดคำประพันธ์เสภาขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกากันไปแล้ว แม้ว่าเนื้อหาอาจจะดูไม่เข้ากับยุคสมัยปัจจุบันไปหน่อย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าวรรณคดีเรื่องนี้ไม่มีคุณค่านะ ครูหนึ่งแห่ง StartDee จะพาเราไปวิเคราะห์คุณค่าด้านต่าง ๆ ของวรรณคดีไทยเรื่องนี้กัน (พร้อมด้วยการขับเสภาเพราะ ๆ เป็นของแถม ได้อรรถรสแน่นอน) 

นอกจากเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกาแล้ว ยังมีบทเรียนออนไลน์วิชาภาษาไทยสนุก ๆ อีกเยอะ ทั้งกาพย์เห่เรือ และการประเมินคุณค่าเรื่องสั้น หรือจะข้ามไปเรียนฟิสิกส์ มีเรื่องหลอดแก้วรูปตัวยูด้วยนะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : ธีรศักดิ์ (ครูหนึ่ง) จิระตราชู

References : 

https://prachatai.com/journal/2020/05/87759

พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล. "ผู้หญิงไทยในกฏหมายตราสามดวง : จากผู้หญิงเป็นใหญ่ ถึงผู้หญิงเป็นควาย ผู้ชายเป็นคน." วารสารอักษรศาตร์ปีที่ 32 ฉบับที่ 1, มกราคม 2546. essay. Retrieved from: https://cuir.car.chula.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/14012/Pornpen_Women.pdf?sequence=1&isAllowed=y