สันนิบาตชาติ จัดตั้ง บน พื้นฐาน

สมาชิกภาพ

ประเทศที่เป็นฝ่ายชนะในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทุกประเทศได้ร่วมลงนามใน
สนธิสัญญาสันติภาพและเป็นสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติโดยอัตโนมัติ
ประเทศที่แพ้สงครามมีสิทธิเข้าเป็นสมาชิกขององค์การนี้ได้แต่ต้องปฏิบัติ
ตามสนธิสัญญาสันติภาพให้เรียบร้อยเสียก่อน ส่วนประเทศอื่น จะเข้าเป็นสมาชิก
ได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากการออกเสียงสองในสามของประเทศสมาชิก
ส่วนสหรัฐอเมริกาแม้จะเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดตั้งองค์การนี้ไม่ได้เป็นสมาชิก
เนื่องจากสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาไม่ยอมให้สัตยาบัน

วัตถุประสงค์ 

จุดประสงค์สำคัญที่สุดขององค์การสันนิบาตชาติ คือ
   การดำรงสันติภาพและป้องกันสงครามในอนาคต ประเทศสมาชิกต่างให้
้สัตยาบันที่จะเคารพเอกราช และบูรณภาพแห่ง อาณาเขตของประเทศต่าง ๆ
และในกรณีที่ประเทศสมาชิกใดถูกรุกรานทั้งทางด้านเศรษฐกิจหรือกำลังทหาร
ต้องเป็นหน้าที่ของประเทศสมาชิกอื่นในการร่วมมือกันต่อต้านผู้รุกราน

   องค์การสันนิบาตชาติมีหลักการในความร่วมมือกัน ดังนี้
1. ร่วมมือกันรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงระหว่างประเทศ
2. เป็นองค์กรกลางในการตัดสินชี้ขาดกรณีพิพาทระหว่างประเทศ
3. ร่วมมือกันดำเนินการลดกำลังอาวุธยุทโธปกรณ์
4. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อเปิดความสัมพันธ์ทางการทูต

การดำเนินงาน

     การดำเนินงานขององค์การสันนิบาตชาติมีองค์กรต่าง ๆ ทำหน้าที่และรับผิดชอบ
ดังนี้
สมัชชา คือ ที่ประชุมใหญ่ขององค์การ ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิก
ทั้งหมดกล่าวคือ ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศจะส่งผู้แทนไปประจำได้ประเทศละ 3
คน เป็นอย่างมากแต่การออกเสียงแต่ละประเทศลงคะแนนได้ 1 เสียง มีวาระการ
ประชุมปีละครั้งเพื่อพิจารณาปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อสันติภาพของ
โลกคณะมนตรี ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารองค์การประกอบด้วยสมาชิกประเภทถาวร 4
ประเทศ คือ ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี และญี่ปุ่น และสมาชิกประเภทไม่ถาวร ที่มาจาก
การเลือกตั้งอีก 4 ประเทศคณะมนตรีนี้ประชุมกันปีละครั้ง เพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆ
ที่เป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพของโลกและปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของสมัชชา
สำนักงานเลขาธิการ มีเลขาธิการซึ่งได้รับเลือกจากคณะมนตรีมีหน้าที่เป็นสำนักงาน
จัดทำรายงานรักษาเอกสารหลักฐาน อำนวยการวิจัยและประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ
คณะกรรมาธิการ มีคณะกรรมาธิการฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการด้าน
เศรษฐกิจและสังคม ได้แก่องค์การอนามัยระหว่างประเทศ สำนักแรงงานสากล
คณะกรรมาธิการฝ่ายดินแดนในอาณัติศาลยุติธรรมระหว่างประเทศทำหน้าที่
เกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศในการพิจารณาคดีต่าง ๆ และกรณีพิพาทเกี่ยว
กับพรมแดนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 คน

ผลงานขององค์การสันนิบาตชาติ

การปฏิบัติงานขององค์การสันนิบาตชาติในฐานะองค์การระหว่างประเทศอาจ
นับได้ว่าล้มเหลวแม้ได้ทำการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งได้สำเร็จอยู่บ้างแต่ส่วนใหญ่เป็น
ปัญหาที่ไม่ค่อยมีผลกระทบต่อสังคมโลกและเป็นปัญหาที่ชาติมหาอำนาจ
ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงผลงานขององค์การสันนิบาตชาติที่ประสบความสำเร็จ เช่น
กรณีหมู่เกาะโอลันด์ (Aland Islands) ที่สวีเดนและฟินแลนด์ต่างแย่งชิงกันจะเข้า
ครอบครองใน ค.ศ. 1917 สวีเดนถือโอกาสส่งกองทหารเข้าไปยึดหมู่เกาะนี้
แต่ถูกกองทัพเยอรมนีซึ่งสนับสนุนขบวนการกู้ชาติของฟินแลนด์ขับไล่ ภายหลัง
สงครามโลกครั้งที่ 1 จึงมีการเสนอปัญหานี้ให้องค์การสันนิบาตชาติพิจารณาตัดสิน
ให้มอบหมู่เกาะโอลันด์อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของฟินแลนด์ แต่ต้องเป็นดินแดน
ปลอดทหารและมีสถานภาพกึ่งอิสระผลงานขององค์การสันนิบาตชาติที่ไม่ประสบ
ความสำเร็จ เช่นเหตุการณ์รุนแรงที่เกาะคอร์ฟู(Corfu Incident)ใน ค.ศ. 1923
อิตาลีใช้กำลังเข้ายึดครองเกาะคอร์ฟูของกรีซ เพื่อบีบบังคับรัฐบาลกรีซให้ชดใช้
ค่าเสียหายกรณีฆาตกรรมนายพลอิตาลี เหตุการณ์นี้ท้าทายความมีประสิทธิภาพ
ของการประกันความมั่นคงร่วมกันขององค์การสันนิบาตชาติซึ่งองค์การ
สันนิบาตชาติ ไม่สามารถยับยั้งหรือลงโทษอิตาลีได้ ทั้ง ๆ ที่กรีซและอิตาลีต่างก็เป็น
สมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติเหตุการณ์ญี่ปุ่นรุกรานแคว้นแมนจูเรียของจีน
ในค.ศ. 1931 องค์การสันนิบาตชาติก็ไม่สามารถใช้มาตรการใดลงโทษญี่ปุ่น
ได้วิกฤตการณ์ระหว่างประเทศที่แสดงถึงความล้มเหลวขององค์การสันนิบาตชาติ
ที่ชัดเจนที่สุด คือ สงครามอะบิสซิเนีย(Abyssinian War) ที่อิตาลีส่งกองทัพบุก
อะบิสซิเนียโดยไม่ประกาศสงครามเมื่อ ค.ศ.1935และสามารถยึดกรุงแอดดิสอาบาบา
ได้ในค.ศ. 1936 ซึ่งสมัชชาขององค์การสันนิบาตชาติได้ลงมติประณามอิตาลีว่า
เป็นฝ่ายรุกรานอิตาลีจึงตอบโต้องค์การสันนิบาตชาติด้วยการลาออกจากการเป็น
สมาชิกองค์การสันนิบาตชาติใน ค.ศ. 1937

จุดอ่อนขององค์การสันนิบาตชาติ

แม้องค์การสันนิบาตชาติจะได้ปฏิบัติภารกิจสำเร็จในช่วงต้น ๆ หลายกรณี
แต่ต่อมาก็คลายความศักดิ์สิทธิ์ลง ซึ่งน่าจะมีสาเหตุมาจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้

1. การที่ประเทศมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ไม่ได้เป็นสมาชิก ทำให้กฎข้อบังคับขององค์การสันนิบาตชาติบังคับใช้ได้ผลก็เฉพาะกับประเทศสมาชิก
ที่ไม่ค่อยมีอำนาจและบทบาทมากนัก ไม่มีผลบังคับประเทศมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่

2. ประเทศมหาอำนาจโจมตีประเทศอื่น มหาอำนาจหลายประเทศได้แสดงความ
ก้าวร้าวรุกรานประเทศอื่นเสียเอง ได้แก่ ฝรั่งเศสและเบลเยียมเข้ายึดครอง
เหมืองถ่านหินในแคว้นรูห์ ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นโลหิตใหญ่ของเยอรมนี
เยอรมันนีตอบโต้ด้วยการนัดหยุดงานทั่วประเทศการที่ประเทศต่างๆไม่ได้ให้
ความร่วมมือในการดำเนินงาน ขององค์การสันนิบาตชาติ ซึ่งมีจุดหมายที่จะนำ
สันติภาพมาสู่มนุษยชาติ ทำให้การดำเนินงานขององค์การนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ