การปฏิบัติตามแผนของวงจร PDCA ตรงกับข้อใด

อะไรคือ PDCA เพราะปัญหาเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหานั้นได้ ซึ่งทุกวันนี้มีเครื่องมือแก้ไขปัญหาและพัฒนาองค์กรอยู่มากมายให้เลือกสรร ขึ้นอยู่ว่าเครื่องมือใดเหมาะกับองค์กรนั้น ๆ มากกว่า บทความนี้เราจะพูดถึงอีกหนึ่งกระบวนการที่ให้ความสำคัญมากกว่าแค่การวางแผน แต่เน้นไปถึงการลงมือทำ ตรวจสอบ และปรับปรุงพัฒนาอย่างเป็นระบบ เรียกว่า วงจรบริหารงานคุณภาพ PDCA

มีหลากหลายหลักการที่ทำให้เราไปถึงความสำเร็จที่เราตั้งใจไว้ ซึ่งถ้าลองวิเคราะห์โดยใช้หลักการ Plan – Do – Check – Act เป็นกรอบในการวิเคราะห์ อาจแบ่งแยกได้เป็นดังนี้ การตั้งเป้าหมาย (Goal Setting) ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการลงมือทำในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพราะการมีเป้าหมาย หมายถึงการที่เรารู้ว่าเราจะเดินทางไปที่ไหน ยิ่งถ้ารู้ได้ว่าทำไมเราถึงต้องไป และยิ่งมองเห็นภาพของตัวเราเมื่อไปถึงเป้าหมายนั้นชัดเจนมากเท่าไร ยิ่งเกิดแรงกระตุ้นให้เราอยากออกเดินทางไปสู่เป้าหมายนั้นโดยเร็ว

1. การวางแผนงาน และ กำหนดวิธีการ (Planning)
หลังจากเรามีเป้าหมายแล้ว เราต้องนำเป้าหมายนั้นมากำหนดรายละเอียด สิ่งที่ต้องทำโดยเรียงตามลำดับความสำคัญ รายละเอียดขั้นตอน ปัจจัยต่างๆที่ต้องใช้ ระยะเวลาเริ่ม-สิ้นสุด บุคคลหรือทีมงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละขั้นตอน และที่สำคัญที่สุดคือ ตัวชี้วัดผล (KPI) เนื่องจากแผนงานหมายถึง เราจะเดินทางไปสถานที่นั้นด้วยวิธีไหน ไปถึงเมื่อไหร่ ดังนั้น ตัวชี้วัดจึงเป็นตัวที่จะคอยบอกว่าวิธีการที่เราเลือกใช้นั้นถูกต้องหรือไม่ เร็ว-ช้าอย่างไร ทรัพยากรที่ใช้ไปเป็นไปตามแผนหรือเกินกว่าที่กำหนดไว้ เพื่อที่จะได้ปรับแผนหรือวิธีได้อย่างทันที

2. การลงมือปฏิบัติ (Do)
ขั้นตอนนี้คือการลงมือปฏิบัติตามแผนงานและวิธีการที่เรากำหนดไว้อย่างมีวินัย ทักษะการบริหารต่างๆจะถูกหยิบมาใช้ในระยะการลงมือปฏิบัตินี้ เช่น การบริหารเวลาให้ได้ตามแผน การประชุมเพื่อตรวจสอบความคืบหน้า การมอบหมายงานเพื่อแบ่งเบาภาระ เป็นต้น ในเรื่องที่นอกเหนือจากการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาตัวเอง การออกกำลังกาย หรือการบริหารการเงินส่วนบุคคล ย่อมต้องใช้วินัยและการบริหารด้านต่างๆด้วยเช่นกัน

3. การตรวจสอบ (Check)
หลังจากเราเริ่มลงมือปฏิบัติไปได้สักระยะ ต้องเริ่มทำการตรวจสอบความคืบหน้าของสิ่งที่เราได้ลงมือปฏิบัติไปนั้นว่าเป็นไปตามแผนงานหรือไม่ ซึ่งสิ่งที่จะบ่งบอกได้ก็คือตัวชี้วัดที่เรากำหนดไว้นั่นเอง ถ้าจุดที่เราตรวจสอบได้ผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดที่เราตั้งไว้หรือดีกว่าแสดงว่าวิธีการที่เราเลือกใช้นั้นยังคงถูกต้อง แต่ถ้าตรวจสอบออกมาแล้วผลปรากฏว่าต่ำกว่าตัวชี้วัดที่ตั้ง ถือเป็นสัญญาณเตือนว่ามีความผิดปกติบางอย่างเกี่ยวกับแผนงานหรือวิธีการที่เรากำหนดไว้ในตอนแรก

4. การปรับปรุง (Act / Action)
ขั้นตอนนี้คือการปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนวิธีการหรือทรัพยากรบางอย่างเพื่อทำให้ผลลัพธ์กลับมาอยู่ในแผนงานหรือเส้นทางสู่เป้าหมายตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในครั้งแรก ซึ่งกระบวนการปรับปรุงเริ่มจากการวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่เราวางแผนหรือกำหนดไว้ ว่าเกิดจากองค์ประกอบหรือปัจจัยภายใน/ภายนอกใดบ้าง แล้วจึงมากำหนดมาตรการแก้ไข ปรับปรุงต่อไป

ประโยชน์ของ PDCA

  • สร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีกว่า เพราะกระบวนการนี้เริ่มต้นที่ปัญหา และต้องการแก้ไขมันเพื่อนำไปสู่เป้าหมายขององค์กร
  • เกิดการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นกระบวนการที่ทำซ้ำได้ในระยะยาว จึงเกิดประสิทธิภาพสูงสุดหากปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
  • ทำให้ตัดสินใจง่ายขึ้น เพราะมีการตั้งเป้าหมายและการวัดผลที่ชัดเจน ข้อมูลที่ได้มาสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาองค์กรต่อไป
  • ลดความเสี่ยงในการจัดการ เพราะกระบวนนี้ประยุกต์ใช้กับทีมเล็ก ๆ ก่อน หากเกิดความผิดพลาดก็จะควบคุมสถานการณ์ได้ง่ายกว่า ทั้งยังสามารถอุดรอยรั่วไม่ให้เกิดความเสี่ยงในอนาคต

ieProsoft โซลูชั่นครบวงจรด้านการบริหารการผลิตในอุตสาหกรรม

บริษัท ไออี บิสซิเนส โซลูชั่น จำกัด (IEBS) เป็นผู้ให้บริการระบบซอฟแวร์ทางด้านการจัดการอุตสาหกรรม การวางแผนการผลิตโดยลงลึกไปจนถึงการจัดตารางการผลิต มาตรฐานการการทำงาน การจัดสมดุลการผลิต รวมไปถึงการบริหารจัดการคลังสินค้า ครอบคุลมการบริการในด้านต่างๆที่สำคัญต่อการนำระบบไปใช้ในภาคธุรกิจ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ดูแลตั้งแต่การติดตั้ง การให้ปรึกษา การนำไปใช้งานจริง (Implementation) รวมถึงการวิเคราะห์ผลลัพธ์ต่างๆ เราสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ยุค ดิจิทัล ด้วยเครื่องมือในกลุ่ม ieProsoft อาทิเช่น ieSmart WI, ieLineBalancing, ieInventoryซึ่งซอฟแวร์ทั้งหมดนี้ เป็นตัวช่วยให้สามารถบริหารการจัดการผลิตได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มกำไรให้บริษัทได้เป็นอย่างดี

ปัจจุบัน IEBS มีการให้บริการซอฟแวร์ทั้งแบบบริการผ่านซอฟต์แวร์แบบ สแตนด์อโลน (Stand-alone Software) ไปจนถึงชุดซอฟต์แวร์เต็มรูปแบบ (Full-Blown) แบบคลาวด์โซลูชั่น (Cloud Solution) ได้แก่

  • ieSmart WI

    โปรแกรมสร้างมาตรฐานการทำงาน ที่ช่วยให้การสร้างงานฐานในโรงงานง่ายขึ้น เวลาได้มาตรฐานที่ชัดเจน สะดวก และเป็นองค์ความรู้สำหรับองค์กรได้เป็นอย่างดี

การปฏิบัติตามแผนของวงจร PDCA ตรงกับข้อใด

  • ieLineBalancing

    โปรแกรมจัดสมดุลสายการผลิต เหมาะสำหรับวิศวกร หรือเจ้าหน้าที่วางแผนการผลิตใช้ในการจัดวางแผนสายการผลิต ภายใต้ความต้องการที่ไม่แน่นอน และกำลังคนที่มีการเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา

การปฏิบัติตามแผนของวงจร PDCA ตรงกับข้อใด

  • ieInventory

    โปรแกรมจัดการคลังสินค้า ที่ช่วยให้การบริหารคลังในระดับอุตสาหกรรมเป็นเรื่องที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก ผ่านแฟลตฟอร์มออนไลน์ด้วยฐานข้อมูลบนคลาวด์

การปฏิบัติตามแผนของวงจร PDCA ตรงกับข้อใด

  • ieScheduling

โปรแกรมจัดตารางการผลิต เครื่องมือช่วยในการจัดการผลิตในระดับปฎิบัติการ ควบคุม และติดตามงานแบบทันเวลา (Realtime) และประเมินกำลังการผลิตได้รวดเร็ว

Post Views: 743

ข้อใดมีความหมายตรงกับพีดีซีเอ (PDCA)

PDCA คือ วงจรการบริหารงานคุณภาพ ย่อมาจาก 4 คำ ได้แก่ Plan (วางแผน), Do (ปฏิบัติ), Check (ตรวจสอบ) และ Act (การดำเนินการให้เหมาะสม) ซึ่งวงจร PDCA สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกๆ เรื่อง นับตั้งแต่กิจกรรมส่วนตัว เช่น การปรุงอาหาร การเดินทางไปทำงานในแต่ละวัน การตั้งเป้าหมายชีวิต และการดำเนินงานในระดับบริษัท ซึ่งรายละเอียดใน ...

PDCA มีชื่อเรียกตามข้อใด

วงจรเดมมิ่ง ประกอบด้วยขั้นตอน 4 ประการ เรียกว่า PDCA. P (Plan) คือ ขั้นตอนการวางแผน เพื่อเลือกปัญหา ตั้งเป้าหมาย การแก้ปัญหา และวางแผนแก้ปัญหา C (Check) คือ ขั้นตอนการตรวจสอบ และเปรียบเทียบผล D (Do) คือ ขั้นตอนการดําเนินการแก้ไขปัญหาตามแนวทางที่วางไว้ A (Action) คือ การกําหนดเป็นมาตรฐานและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

สาระสําคัญของวงจร PDCA ประกอบด้วยอะไรบ้าง

1) Plan คือ การวางแผน 2) DO คือ การปฏิบัติตามแผน 3) Check คือ การตรวจสอบ 4) Act คือ การปรับปรุงการดำเนินการอย่างเหมาะสม หรือ การจัดทำมาตรฐานใหม่ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของการยกระดับคุณภาพ

ข้อใดต่อไปนี้เป็นประโยชน์ของวงจร PDCA

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2552 : 4 ) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของ PDCA ไว้ดังนี้ 1. เพื่อป้องกัน 1.1 การนำวงจร PDCA ไปใช้ ทำให้ผู้ปฏิบัติมีการวางแผน การวางแผนที่ดีช่วยป้องกันปัญหาที่ไม่ควรเกิด ช่วยลดความสับสนในการทำงาน ลดการใช้ทรัพยากรมากหรือน้อยเกินความพอดีลดความสูญเสียในรูปแบบต่างๆ