ปัญหา ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ของ ทวีปยุโรป เกิดจาก สิ่ง ใด เป็น สำคัญ

การกำจัดอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคที่ไม่ใช้แล้ว อย่างเช่นคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อิเล็คโทรนิคอื่นๆ ที่เรียกกันว่าขยะอิเล็คโทรนิคแบบปลอดภัยนั้น กำลังเป็นปัญหาที่ลุกลามอยู่ ในทวีปแอฟริกา

การกำจัดอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคที่ไม่ใช้แล้ว อย่างเช่นคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ โทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์อิเล็คโทรนิคอื่นๆ ที่เรียกกันว่าขยะอิเล็คโทรนิคแบบปลอดภัยนั้น กำลังเป็นปัญหาที่ลุกลามอยู่ในทวีปแอฟริกา

ในแต่ละปี โลกของเราผลิตขยะอิเล็คโทรนิคมากกว่า 50 ล้านตัน แต่ถูกนำไปแปรรูปหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่เพียงไม่ถึง 25% เท่านั้นเอง อุปกรณ์อิเล็คโทรนิคเหล่านี้ เข้าไปยังแอฟริกาในรูปของสิ่งของบริจาค หรือเป็นสินค้า แต่หลังจากอายุการใช้งานที่แสนสั้น ขยะเหล่านั้นก็ถูกนำไปทิ้ง ซึ่งรัฐบาลของประเทศเหล่านั้น ยังไม่สามารถหาวิธีกำจัดขยะอิเล็คโทรนิคแบบปลอดภัยได้

แต่สำหรับที่เคนยา บริษัทแปรรูปขยะอิเล็คโทรนิคแห่งหนึ่งกำลังเป็นหัวหอกสำคัญ ในการกำจัดขยะอิเล็คโทรนิคแบบปลอดภัย

เด็กนักเรียนของโรงเรียนประถม Our Lady of Nazareth ในกรุงไนโรบี ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์มือสองที่ได้รับบริจาคมาจากกลุ่มองค์กรผู้ไม่หวังผลกำไรในยุโรปกลุ่มหนึ่ง คอมพิวเตอร์เหล่านี้ ผ่านการทำความสะอาด ตรวจสอบสภาพ และปรับแต่งเพื่อใช้ในโรงเรียน และหน่วยงานอื่นๆ แต่คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ที่บริจาคมายังแอฟริกา ไม่ได้มีคุณภาพที่สูงนัก

คุณ Esther Mwiyeris Wachira ผู้ชำนาญวิชาการเทคโนโลยี แห่ง Global e-School and Communities Initiative หรือ GeSCI ซึ่งเป็นองค์กรไม่หวังผลกำไร ก่อตั้งขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ เพื่อช่วยเหลือบรรดาประเทศกำลังพัฒนา ในการใช้เทคโนโลยีข้อมูล และการสื่อสารเพื่อพัฒนาระบบการศึกษาค่ะ

คุณ Esther กล่าวว่า เมื่ออุปกรณ์อิเล็คโทรนิคที่เป็นของบริจาคเข้ามาในประเทศ อุปกรณ์เหล่านั้นก็จะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันต่างๆ เพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ อาจจะเป็น 1 หรือ 2 ปี และในช่วงเวลานั้น การดูแลรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ก็มีราคาแพง เพราะเครื่องมักจะเสียอยู่บ่อยๆ และที่แย่ไปกว่านั้น หลังจาก 1-2 ปี คอมพิวเตอร์สว่นใหญ่ ก็จะกลายเป็นขยะอิเล็คโทรนิคไปในที่สุด

ขยะอิเล็คโทรนิคในที่นี้หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคที่เก่าแล้ว ไม่มีประโยชน์แก่เจ้าของอีกต่อไป หรือหมดอายุการใช้งาน

นอกจากนี้ประเทศต่างๆ ในแอฟริกายังขาดความสามารถในการจัดการกับสารตะกั่ว แคดเมี่ยม สารปรอทพลาสติก และสารพิษอื่นๆ ที่อยู่ในขยะอิเล็คโทรนิคอีกด้วย

อุปรณ์อิเล็คโทรนิคมือสองในแอฟริกา ส่วนใหญ่แล้วมาจากประเทศในยุโรป ไม่ว่าจะมาในรูปของของบริจาคหรือเป็นสินค้า แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถใช้งานได้ในระยะยาว และในที่สุดก็ต้องนำไปทิ้ง

คุณ Neelie Kroes รองประธานสหภาพยุโรปกล่าวกับวีโอเอว่า ประเทศในยุโรปมีกฏหมายที่เข้มงวดในการกำจัดขยะอิเล็คโทรนิคทั้งในบ้านและนอกบ้าน และยังต้องมีการแปรรูปขยะอิเล็คโทรนิค และหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมด้วย และว่า การที่รัฐบาลของประเทศต่างๆ ในแอฟริกาหาวิธีจัดการกับขยะอิเล็คโทรนิคอย่างมีประสิทธภาพนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญ

คุณ Neelie Kroes กล่าวว่า บรรดาประเทศด้อยพัฒนานั้น มักจะคาดหมายกันว่า จะต้องพยายามผลักดันเศรษฐกิจ เพราะคิดว่า ยิ่งมีการพาณิชย์อิเล็คโทรนิคมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีมากขึ้นแล้วนั้น แล้วค่อยมาคิดแก้ปัญหาขยะกันในภายหลัง

แอฟริกาใต้ เป็นประเทศเดียวในทวีปแอฟริกาที่มีกฏหมายครอบคลุมในเรื่องของขยะอิเล็คโทรนิค ส่วนเคนยามีแนวทางการกำจัดขยะอิเล็คโทรนิค ซึ่งคาดว่าจะเป็นกฏหมายได้ภายในเวลา 2 ปี

นอกจากนี้ เคนยายังเป็นผู้นำในเรื่องของการนำขยะอิเล็คโทรนิคมาหวุนเวียนแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ ในแถบแอฟริกาตะวันออก ดังเช่นที่กรุงไนโรบีนั้น ศูนย์ขยะเครื่องไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็คโทรนิค ได้แปรสภาพเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแล้ว 4,000 เครื่อง ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2007

    คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว /ลงในกระดาษ

    1. ข้อจำกัดเกี่ยวกับด้านเกษตรกรรมของทวีปยุโรป คือข้อใด

    ก. ประชากรมีจำนวนน้อย ข. พื้นที่และแรงงานมีน้อย

    ค. สภาพแวดล้อมไม่อำนวย ง. ภูมิประเทศเป็นภูเขาหินเก่า

    2. บริเวณใดของทวีปยุโรปที่มีการเลี้ยงสัตว์จำนวนมาก

    ก. ยุโรปใต้ และตอนกลาง

    ข. ยุโรปตอนเหนือ และตอนใต้

    ค. ยุโรปตอนกลาง และตอนเหนือ

    ง. ยุโรปตอนเหนือ ตะวันตก และตะวันออก

    3. แหล่งปลาชุกชุมของทวีปยุโรปจะอยู่บริเวณใด

    ก. กลางทะเลเหนือ ข. ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

    ค. ตอนเหนือของทะเลบอลติก ง. ตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก

    4. เพราะเหตุใด สินแร่ในทวีปยุโรปจึงมีน้อย

    ก. เพราะส่งไปขายต่างประเทศจำนวนมาก

    ข. เพราะเส้นทางของสายแร่เปลี่ยนแปลงไป

    ค. เพราะมีการทำเหมืองแร่ประเภทเหมืองเปิดหลายแห่ง

    ง. เพราะมีการทำอุตสาหกรรมมาก และมีการขุดแร่ใช้มาเป็นเวลานาน

    5. ประเทศชั้นนำด้านอุตสาหกรรมของทวีปยุโรปมีหลายประเทศ ยกเว้นประเทศใด

    ก. อังกฤษ เยอรมนี ข. ออสเตรีย สเปน

    ค. สวีเดน ฝรั่งเศส ง. อิตาลี รัสเซีย

    6. ประเทศในทวีปยุโรปได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการอุตสาหกรรมอย่างไร

    ก. ผลิตสินค้าประเภทเครื่องประดับราคาแพงจำนวนมาก

    ข. ผลิตสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ และใช้แรงงานราคาถูก

    ค. ผลิตสินค้าประเภทใช้เทคโนโลยี มีการผลิตน้อยชิ้นแต่ละชิ้นมีมูลค่าสูง

    ง. ผลิตสินค้าหลากหลายชนิด เพื่อแข่งกับสินค้าอุตสาหกรรมจากทวีปเอเชีย

    7. อุตสาหกรรมในภูมิภาคใด ของทวีปยุโรปที่มีความเจริญน้อยกว่าภูมิภาคอื่น

    ก. ยุโรปใต้ ข. ยุโรปเหนือ

    ค. ยุโรปตะวันตก ง. ยุโรปตะวันออก

    8. เพราะเหตุใด ประชาชนจากทวีปอื่นจึงนิยมมาท่องเที่ยวในทวีปยุโรป

    ก. การคมนาคมสะดวก สินค้าราคาถูก

    ข. มีความปลอดภัยสูง มีการประชาสัมพันธ์ดี

    ค. มีแหล่งท่องเที่ยวอยู่ใจกลางทวีปยุโรป สะดวกต่อการเดินทาง

    ง. เพราะสภาพธรรมชาติสวยงาม อากาศหนาวเย็น มีความปลอดภัยสูง

    9. สินค้าที่ประเทศในทวีปยุโรปสั่งซื้อจากประเทศต่างๆ นั้น ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทใด

    ก. ประเภทวัตถุดิบ ข. ประเภทเครื่องจักรกล

    ค. ประเภทอาหารสำเร็จรูป ง. ประเภทสินค้าหัตถกรรม

    10. สินค้าที่ประเทศในทวีปยุโรปส่งไปขายต่างประเทศ ได้แก่สินค้าประเภทใด

    ก. สินค้าหัตถกรรม ข. สินค้าอุตสาหกรรม

    ข. สินค้าวัตถุดิบ เกษตรกรรม ง. สินค้าประเภทเครื่องประดับ

    11. การรวมกลุ่มของสหภาพยุโรป มีความสำคัญในเรื่องใด

    ก. มีอำนาจต่อรองทางการค้า

    ข. แสดงพลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่

    ค. มีความเข้มแข็งทางการเมือง

    ง. สร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างกัน

    12. ความเจริญก้าวหน้าด้านการพาณิชยกรรมของยุโรป จะอยู่ในภูมิภาคใด

    ก. ยุโรปตะวันออก ข. ยุโรปใต้และยุโรปเหนือ

    ค. ยุโรปกลาง และตะวันออก ง. ยุโรปตะวันตก เหนือ และใต้

    13. การคมนาคมขนส่งในบริเวณใดของยุโรป ที่มีประสิทธิภาพมาก

    ก. ยุโรปเหนือและยุโรปตะวันออก ข. ยุโรปตะวันตกและยุโรปใต้

    ค. ยุโรปเหนือ ง. ยุโรปใต้

    14. เพราะเหตุใด ประเทศในทวีปยุโรปจึงสามารถใช้เส้นทางรถไฟเชื่อมต่อกันระหว่างประเทศได้ทั้งทวีป

    ก. เพราะพื้นที่ไม่มาก

    ข. เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ

    ค. เพราะเส้นทางรถไฟใช้รางมาตรฐานแบบเดียวกัน

    ง. เพราะเส้นทางรถไฟส่วนใหญ่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์

    15. เพราะเหตุใด เส้นทางการคมนาคมทางอากาศของทวีปยุโรป จึงได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไป

    ก. ประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะดี ข. เพราะมีความปลอดภัยสูง

    ค. เพราะเป็นสายการบินสั้น ง. เพราะราคาถูก

    16. สายการบินใด ไม่สัมพันธ์กับประเทศที่เป็นเจ้าของสายการบิน

    ก. สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ - สวิตเซอร์แลนด์

    ข. บริติชแอร์เวย์ - สหราชอาณาจักร

    ค. ลุฟก์ฮันซา - เยอรมนี

    ง. แอร์ฟรานซ์ - ฝรั่งเศส

    17. เพราะเหตุใด ดินแดนในทวีปยุโรปบางแห่งจึงมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางสังคม

    ก. เพราะมีแรงงานต่างชาติเข้าไปอยู่มาก

    ข. เพราะมีการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม

    ค. เพราะมีอารยธรรมจากต่างประเทศเข้าไป

    ง. เพราะมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ

    18. พายุฤดูหนาวทั่วทวีปยุโรป มีผลให้เกิดความเสียหายในด้านใดมากที่สุด

    ก. การจราจรทางบก ข. การจราจรทางอากาศ

    ค. ชีวิต ทรัพย์สิน การเดินทาง ง. สภาพความเป็นอยู่ของคนในเมือง

    19. สภาพอากาศแปรปรวนผิดปกติในทวีปยุโรป มีผลมาจากข้อใด

    ก. น้ำในทะเล และมหาสมุทรสูงขึ้น ข. น้ำแข็งในขั้วโลกละลาย

    ค. ฝนตกผิดฤดูกาล ง. ภาวะโลกร้อน

    20. ไฟป่าในทวีปยุโรปมีผลสืบเนื่องมาจากสิ่งใด

    ก. ประชาชนเผาป่ากันอย่างต่อเนื่อง ข. ความแห้งแล้งติดต่อกันยาวนาน

    ค. การตัดไม้ทำลายป่า ง. ฝนทิ้งช่วง

    21. ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ของทวีปยุโรป เกิดจากสิ่งใดเป็นสำคัญ

    ก. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ผลิตออกมาไม่ได้มาตรฐาน

    ข. การผลิตสินค้าประเภทเทคโนโลยีมีจำนวนมาก

    ค. การอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ผลิตสินค้าจำนวนมาก

    ง. เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าหมดอายุการใช้งานเป็นจำนวนมาก

    22. ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในทวีปยุโรปที่มีผลต่อประเทศไทย คือข้อใด

    ก. ต้นทุนการผลิตสินค้าของไทยสูงขึ้น

    ข. การขนส่งสินค้าใช้เวลานานกว่าเดิม

    ค. จำหน่ายสินค้าในทวีปยุโรปได้น้อย

    ง. ประเทศไทยต้องยกเลิกการผลิตสินค้าหลายชนิด

    23. การที่ธารน้ำแข็งทางตอนเหนือของทวีปยุโรป มีอัตราการละลายมากกว่าปกติส่งผลกระทบ

    ต่อประเทศไทยในข้อใดมากที่สุด

    ก. พื้นดินแถบที่ราบชายฝั่งทะเลทรุดต่ำลง

    ข. น้ำท่วมในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย

    ค. น้ำท่วมในบริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้ของประเทศ

    ง. พื้นที่ชายฝั่งด้านอ่าวไทยได้รับความเสียหายจากการถูกกัดเซาะมากขึ้น

    24. ปัจจุบันประชาชนชาวยุโรปได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สินค้าที่มีกระบวนการผลิตที่ไม่ทำลาย

    ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับข้อใด

    ก. ประชาชนให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

    ข. ประชาชนมีความรู้เรื่องการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม

    ค. การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด

    ง. การเป็นแบบอย่างที่ดีของรัฐบาล

    25. ประเทศในทวีปยุโรปได้ส่งเสริมการลงทุนสีเขียว สอดคล้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากร

    และสิ่งแวดล้อมอย่างไร

    ก. การเป็นแบบอย่างที่ดีในการอนุรักษ์

    ข. การกำหนดแนวทางการผลิตสินค้า

    ค. ความร่วมมือกันปฏิบัติตามกฎหมาย

    ง. ความร่วมมือกันในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ