สงครามการรบระหว่างไทยกับพม่าในครั้งนี้เกิดขึ้นในสมัยใด

สงครามการรบระหว่างไทยกับพม่าในครั้งนี้เกิดขึ้นในสมัยใด

กรุงศรีอยุธยาได้พัฒนาในทุก ๆ ด้านมาโดยลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ทรงจัดระบบการปกครอง ให้เป็นปึกแผ่น เข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเป็นรากฐาน ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อ ๆ มาได้พัฒนาต่อไปตามลำดับมาถึงรัชสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราชทรงปรับปรุงด้านการทหาร รวบรวมหัวเมืองอิสสระน้อยใหญ่มาอยู่ในอำนาจของ อาณาจักรอยุธยา ทำสงครามกับลานนายึดเมืองเชียงใหม่ได้ ในห้วงเวลาเดียวกันมอญ ได้ถูกพม่ารุกรานจนต้องตกอยู่ในอำนาจของพม่า ซึ่งกำลังทำสงคราม แผ่อาณาจักรอยู่ มีมอญส่วนหนึ่งจากเมืองเชียงกราน หนีพม่าเข้ามาพึ่งไทย

Authorกิตติ โล่ห์เพชรัตน์
Titleไทยรบพม่า : สงครามครั้งสุดท้ายที่ยิ่งใหญ่ / กิตติ โล่ห์เพชรัตน์, เรียบเรียง
Imprint กรุงเทพฯ : ก้าวแรก, 2556
Edition พิมพ์ครั้งที่ 1
Descript 203 หน้า : ภาพประกอบ, แผนที่ ; 21 ซม

SUMMARY

"มันแสนสี่ กูเจ็ดหมื่น หาญยืนสู้ ให้มันรู้ ว่ากูน้อย ไม่ถอยหนี ดาบต่อดาบ เลือดต่อเลือด เชือดร่างพลี แผ่นดินนี้ เพื่อลูกหลาน ขานถึงกู" บทกลอนนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงจิตใจอันเด็ดเดี่ยวกล้าหาญของนักรบไทย ที่มีในยามศึกสงคราเก้าทัพ ที่ต่างสละชีพปกป้องบ้านเมืองให้รอดพ้นจากสงคราครั้งยิ่งใหญ่นี้ มหายุทธสงครามเก้าทัพ คือเหตุการณ์หนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ไทย ที่เกิดขึ้นในต้นแผ่นดินรัตนโกสินทร์ เป็นสงครามระหว่างอาณาจักรสยามกับอาณาจักรพม่า หลังจากที่พระบาทสมเด็จพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีแห่งใหม่ เพียง 3 ปี (พ.ศ. 2328) สงครามเก้าทัพเป็นศึกชี้ชะตาแห่งสยามประเทศ เป็นอีกหน้าประวัติศาสตร์หนึ่งที่คนไทยมิควรลืมเลือน หนังสือเล่มนี้ได้บอกเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สงครามไทย โดยเน้นไปที่สงครามเก้าทัพ ผู้เขียนเลือกนำเรื่องราวที่คิดว่าน่าสนใจและน่าจะถูกต้องมานำเสนอ โดยนำมาร้อยเรียงจากมุมใดมุมหนึ่ง เนื้อหาที่กล่าวไว้อาจจะไม่ตรงกับความจริงหรือผิดเพี้ยนไปเมื่อนำไปเปรียบเทียบเคียงกับหลักฐานอีกทีหนึ่ง อย่างเช่น ปีศักราช ตามหลักฐานต่างๆ ที่อาจจะแตกต่างกัน หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และเพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณผ่านเรื่องราวของมหาศึกสงครามเก้าทัพ ที่ทรงปกป้องรักษาเอกราชของชาติไทย -- คำนำผู้เรียบเรียง

CONTENT

ประวัติศาสตร์สงครามไทย -- สาเหตุของการเกิดสงครามเก้าทัพ -- การจัดกำลังและยุทธวิธีการรบ -- มหาศึกสงครามเก้าทัพ -- บทวิเคราะห์และเหตุการณ์หลังสงครามเก้าทัพ -- สงครามต่อเนื่องจากสงครามเก้าทัพ -- ประวัติบุคคลสำคัญในศึกสงครามเก้าทัพ -- กลยุทธ์ในศึกสงคราม -- พระเครื่องศักดิ์สิทธิ์ในการสงคราม

SUBJECT


  1. ไทย -- ประวัติศาสตร์
  2. ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์
  3. 2325-
  4. สงครามเก้าทัพ

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library (5th Floor) 959.303 ก674ท CHECK SHELVES
สงครามการรบระหว่างไทยกับพม่าในครั้งนี้เกิดขึ้นในสมัยใด
Interlibrary Loan Request
Central Library (5th Floor) 959.303 ก674ท CHECK SHELVES
สงครามการรบระหว่างไทยกับพม่าในครั้งนี้เกิดขึ้นในสมัยใด
Interlibrary Loan Request

สงครามเก้าทัพ เป็นสงครามระหว่างอาณาจักรพม่ากับกรุงรัตนโกสินทร์หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานีแห่งใหม่ เวลานั้นบ้านเมืองอยู่ในช่วงผ่านศึกสงครามมาใหม่ ๆ ประจวบทั้งการสร้างบ้านแปลงเมือง รวมทั้งปราสาทราชวังต่าง ๆ ในปี พ.ศ. ๒๓๒๘  พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่า หลังจากบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์อังวะแล้ว ต้องการประกาศแสนยานุภาพ เผยแผ่อิทธิพล โดยได้ทำสงครามรวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยรวมถึงเมืองประเทศราชให้เป็นปึกแผ่น แล้วก็ได้ยกกองกำลังเข้ามาตีไทย โดยมีจุดประสงค์ทำสงครามเพื่อทำลายกรุงรัตนโกสินทร์ให้พินาศย่อยยับเหมือนเช่นกรุงศรีอยุธยา  สงครามครั้งนี้พระเจ้าปดุงได้ยกทัพมาถึง ๙ ทัพ รวมกำลังพลมากถึง ๑๔๔,๐๐๐ นาย เวลานั้นทางฝ่ายไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรวบรวมกำลังไพล่พลได้เพียง ๗๐,๐๐๐ นาย จัดกองทัพออกเป็น ๔ ทัพโดยให้รับศึกทางที่สำคัญก่อน แล้วค่อยผลัดตีทัพที่เหลือ

สงครามการรบระหว่างไทยกับพม่าในครั้งนี้เกิดขึ้นในสมัยใด

อานามสยามยุทธ เกิดขึ้นระหว่างไทยกับเวียดนามเพื่อแย่งชิงกัมพูชาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

สงครามกับพม่าที่เมืองถลาง ในสมัยรัชกาลที่ ๒

ไทยรบพม่าที่เมืองเชียงตุง เป็นสงครามครั้งสุดท้ายระหว่างไทย-พม่า ในสมัยรัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๓๙๖

สงครามปราบฮ่อ เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปีพ.ศ. ๒๓๙๔ ฮ่อ หรือกองกำลังชาวจีน ที่ต่อต้านราชวงศ์แมนจู ได้ก่อการกบฏโดยเรียกกลุ่มตัวเองว่า กบฏไท้ผิง เพื่อปลดปล่อยตนเองออกจากการปกครองของราชวงศ์แมนจูที่เป็นใหญ่ยึดครองประเทศจีนอยู่ในขณะนั้น จนเกิดการรบพุ่งกันเป็นการใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๕ พวกไท้ผิงพ่ายแพ้ต้องหลบหนีไปซุ่มซ่อนตัวตามป่าเขาในมณฑลต่าง ๆ ของจีน ทั้งในมณฑลยูนนาน ฮกเอี้ยน กวางไส กวางตุ้ง เสฉวน และส่วนหนึ่งหลบหนีมายังตังเกี๋ย ทางตั้งเกี๋ยจึงดำเนินการปราบปรามทำให้พวกฮ่อต้องหนีมาอยู่ที่เมืองซันเทียน เมื่อปี พ.ศ. 2408 ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ขณะนั้นพวกฮ่อภายใต้การนำของ "ปวงนันชี" ซึ่งใช้ธงสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ ได้ซ่องสุมกำลังที่ทุ่งไหหิน และได้ประพฤติตนเป็นโจรเที่ยวปล้นบ้านเมืองในดินแดนสิบสองจุไทและเมืองพวน ซึ่งขณะนั้นถือเป็นอาณาเขตของฝ่ายไทย

การทำสงครามกับพม่าเกิดขึ้นในสมัยใด

สงครามพม่า–สยาม (พ.ศ. 2137–2148).

สงครามเก้าทัพไทยรบกับพม่าเกิดขึ้นในรัชสมัยใด

สงครามเก้าทัพ เป็นสงครามครั้งแรกระหว่างอาณาจักรพม่ากับอาณาจักรรัตนโกสินทร์ ตรงกับรัชกาลพระเจ้าปดุงและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สงครามเก้าทัพ ส่วนหนึ่งของ สงครามพม่า–สยาม เขียว หมายถึง เส้นทางเดินทัพของพม่า

สงครามครั้งสำคัญที่สุดระหว่างไทยกับพม่า คือสงครามใด *

สงครามครั้งใหญ่ที่สุดในสมัยกรุงธนบุรี ก็คือสงครามครั้งที่ อะแซหวุ่นกี้ เป็นแม่ทัพเข้ามาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ เรื่องราวในสงครามครั้งนี้เล่าขานกันมาก ก็เรื่องที่อะแซหวุ่นกี้ขอพักรบดูตัวเจ้าพระยาจักรี แม่ทัพไทย ทั้งยังทำนายไว้ว่าต่อไปจะได้เป็นกษัตริย์

ไทยกับพม่ารบกันในสมัยอยุธยากี่ครั้ง

- สงครามครั้งที่ 1 คราวพม่าตีเมืองเชียงกราน - สงครามครั้งที่ 2 คราวสมเด็จพระสุริโยทัยขาดคอช้าง - สงครามครั้งที่ 3 คราวรบกันด้วยเรื่องช้างเผือก - สงครามครั้งที่ 4 คราวเสียกรุงฯ แก่พระเจ้าหงสาวดี