ข้อดีของการไม่เรียนหนังสือ

ทำอย่างไรให้ลูก (นักเรียน ) ตั้งใจเรียนหนังสือ
โดย...นายมนัส อุณหศิริกุล 
อาชีพ ครู
ตำบลท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
ะE-mail : [email protected] 

(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)

ข้อดีของการไม่เรียนหนังสือ
          เด็กปัจจุบันนี้มีหลายลักษณะมีทั้ง เด็กเรียน เด็กอยากเรียน เด็กถูกบังคับให้เรียน แต่บนพื้นฐานของคำว่า เด็ก แล้ว ต้องสนใจในสิ่งใหม่หรือ
สนใจในสิ่งที่คนอื่นสนใจ เช่น สนใจอยากกินไอศกรีม สนใจอยากเที่ยว ความฝัน อยากได้ทุกสิ่งที่ใจคิดหวัง ไม่ชอบการบังคับ ทุกอย่างขึ้นกับว่า
อยากทำหรือไม่อยากจะทำเท่านั้น บางครั้งต้องอาศัยการเล่นมาช่วย ให้อยากเรียนรู้

ข้อดีของการไม่เรียนหนังสือ

ผู้เขียนขอยกบทความของรศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์ ซึ่งอาศัยแนวปฏิบัติ 6 ข้อคือ
          1. สร้างแรงบันดาลใจ เราอธิบายให้ลูกมองเห็นอนาคตข้างหน้า(แม้ว่าจะไกลไปบ้าง)ว่า ตั้งใจเรียนหนังสือแล้วจะได้อะไร จะเป็นอะไร เชื่อ
ว่าอย่างน้อยลูกก็จะเห็นหนทางข้างหน้า การเฝ้าแต่พูดเพ้อเจ้อให้"ขยันเรียนนะลูกๆ" ไม่น่าจะช่วยอะไร และยังน่าเบื่ออีกต่างหาก การยกตัวอย่าง
บุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิตจากการศึกษาเล่าเรียนน่าจะมี ประโยชน์กว่า เพราะลูกจะเห็นภาพได้ดีกว่ากันเยอะเลย
          2. ให้คำชมและรางวัล เรื่อง นี้สำคัญมากนะครับ คนเราเกิดมาต้องการคนชม ต่อให้แก่แล้วก็ต้องการคนชม แต่ว่าบางทีถ้าชมไม่ดีก็เป็น
การเสแสร้ง หรือพร่ำเพรื่อก็ไม่มีประโยชน์ เช่นเดียวกับรางวัลที่ให้ เด็กที่เราชมว่าเรียนดีทุกคนก็จะมีความสุข ลูกผมตอนเล็กๆ ถ้าเขาทำอะไรดี ๆ
แล้วเราชม เขาจะมีความสุขแล้วก็อยากจะทำอีก มันเป็นแรงกระตุ้นที่ค่อนข้างดีและแรง ส่วนการตำหนิ การว่ากล่าวควรจะใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น การ
ชมอย่างเดียวบางทีมัน จับต้องไม่ได้ ชมมากๆ ก็เบื่อไม่เห็นได้อะไร อาจมีการให้รางวัลบ้าง แต่ก็ต้องระวังการสร้างเงื่อนไขหรือตั้งรางวัล วิธีนี้ยังอาจ
จะเพาะนิสัยต่อรองและละโมบอีกด้วย

ข้อดีของการไม่เรียนหนังสือ

          3. สร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ คน จะเรียนหนังสือต้องอยู่ในบรรยากาศของการเรียน ถ้าไม่มีบรรยากาศทำอย่างไรก็เรียนไม่ได้
พ่อแม่จำนวนมากละเลยในเรื่องนี้อย่างรุนแรง เนื่องจากเหน็ดเหนื่อยกับการงานมา ไม่ได้สนใจว่าลูกจะเรียนอย่างไร ถ้า วันธรรมดาไม่มีเวลาใส่ใจ
ลูกมากนัก อาจใช้วันหยุดเสาร์-อาทิตย์พาลูกไปร้านหนังสือดีๆ ที่มีหนังสือวิชาการ หนังสือสำหรับเด็ก ชวนกันเลือกหนังสือประเภทที่เขาอยากดู
อยากรู้ อยากเห็น หรือหาเวลาพาลูกไปเที่ยวตามที่ต่างๆ เช่น สถานที่ทางประวัติศาสตร์ วัดวาอารามที่เกี่ยวกับเรื่องที่ลูกเรียนอยู่ เด็กจะได้เห็นของ
จริง เวลาเรียนก็จะได้ไม่เบื่อ
          4. รีบขจัดความไม่เข้าใจในเรื่องที่เรียน ผม อยากให้คุณพ่อคุณแม่ลองนึกย้อนกลับไปสมัยที่ตัวเองยังเป็นเด็ก วิชาไหนเราเรียนแล้วรู้
เรื่อง เข้าใจดี ทำให้สอบได้คะแนนดี ทำให้อยากเรียนวิชานั้นมากขึ้น วนเวียนอยู่อย่างนี้ ซึ่งผมอยากจะเรียกว่า เป็นวัฏจักรของความสำเร็จในการ
เรียน ในทางตรงกันข้ามถ้าวิชาไหนเรียนแล้วไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ สอบได้คะแนนไม่ดี ก็ไม่อยากเรียน ซึ่งจะทำให้ไม่รู้เรื่องมากขึ้น เป็นวัฏจักรความ
เลวร้ายของการเรียน
          5. เพื่อนที่ดี เด็ก วัยรุ่นวัยเรียนมักจะเชื่อเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ พ่อแม่ต้องเข้าใจและทำใจว่าชีวิตก็เป็นอย่างนี้แหละ เราเองก็เป็นอย่างนี้
ไม่ใช่หรือ ยอมรับซะว่าเป็นเรื่องธรรมชาติและการแผลงฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศครับ เพราะฉะนั้นถ้าเพื่อนเป็นพวกชอบเรียน ก็จะพากันเรียน มีอะไร
ข้องใจก็จะปรึกษากันได้ ถ้าเป็นไปได้ก็พยายามส่งเสริมให้คบเพื่อนที่ชอบเรียนก็จะดีครับ
          6. ให้ลูกเรียนในสิ่งที่ลูกอยากเรียน ย้ำ นะครับว่าลูกอยากเรียน ไม่ใช่พ่อแม่อยากให้เรียน เราต้องสังเกตนะครับว่าลูกชอบอะไรแล้วส่ง
เสริมเขาให้ได้เรียน พ่อแม่บางคนโปรแกรมไว้หมดแล้วว่าอยากให้ลูกเป็นอะไร บางคนเคยอยากเรียนบางอย่างแต่เรียนไม่ได้ ก็มาเคี่ยวเข็ญให้ลูก
เรียนแทนโดยไม่ถามความสนใจของลูกเลย อย่างนี้เข้าข่ายทรมานลูกครับ เพราะฉะนั้นถามลูกก่อนนะครับว่าเขา อยากเรียนอะไร ฝันอยากเป็น
อะไร ถ้าไม่เหลือทนหรือเพ้อเจ้อเกินไปก็ยอมๆ ลูกบ้างเถอะครับ จะได้ไม่มีใครมีความทุกข์ ชีวิตลูกต้องให้ลูกกำหนด เราช่วยกำกับพอแล้ว

ข้อดีของการไม่เรียนหนังสือ

ผู้เขียนจึงอยากนำเสนอถึงสาเหตุที่ทำให้เด็กเรียนไม่เก่ง ดังนี้
          1. ปัญหาทางด้านร่างกาย เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กโดยตรง เช่น เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น สายตาสั้น
สายตาเอียง ปัญหาการได้ยิน เช่น ได้ยินเสียงคุณครูไม่ชัดเจนหรือได้ยินเพียงเบาๆ หรือเด็กมีร่างกายอ่อนแอ เป็นโรคต่าง ๆ ปัญหาพวกนี้เป็น
อุปสรรคต่อการเรียนมากและทำให้เด็กเรียนไม่รู้เรื่องได้
          - วิธีช่วยเหลือ โดยธรรมชาติของเด็กเล็กมักจะไม่บอกพ่อแม่ถึงปัญหาความผิดปกติทางร่างกายของ ตนเอง พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูู ควรหมั่น
ถามบ่อย ๆ
          2. ปัญหาทางด้านอารมณ์ จิตใจและพฤติกรรม เด็กที่คิดมาก เครียดง่าย วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อตนเอง มักขาดความ
สุขในการเรียนและการทำกิจกรรมต่างๆ ส่วนเด็กที่ถูกพ่อแม่เลี้ยงอย่างตามใจเกินไปหรือถูกพ่อแม่ละเลยทิ้งขว้าง มักเป็นเด็กที่ขาดระเบียบวินัยใน
ชีวิต ซึ่งเขาจะไม่ใส่ใจการเรียนเพราะเห็นว่าไม่ได้มีความสำคัญอย่างใด แต่จะแสวงหาสิ่งอื่นที่ท้าทายมากกว่า จึงมักมีพฤติกรรมเกเร หนีโรงเรียน
ติดยาเสพติด
          - วิธีช่วยเหลือ มีเด็กเรียนเก่งมากมายที่กลายเป็นเรียนไม่เก่ง เพราะมีปัญหาทางด้านอารมณ์ จิตใจและพฤติกรรม ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้อง
ให้เวลาและความอบอุ่นกับลูกให้มาก โดยการใกล้ชิด ดูแล พูดคุยกับลูกหรือทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น อ่านหนังสือด้วยกัน สอนการบ้านลูก ช่วยกัน
ปลูกต้นไม้
          3. ปัญหาการขาดแรงจูงใจ เด็กบางคนรู้สึกว่าการเรียนเป็นเรื่องไม่สนุกเหมือนการเล่น และมักไม่เห็นประโยชน์หรือความสำคัญของการ
เรียนว่าดีกับตนเองอย่างไร หรืออาจเพราะเรียนวิชาหนึ่งแล้วไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่อง เรียนอ่อนในวิชาใดวิชาหนึ่งเลยพาลรู้สึกว่าไม่อยากเรียนอะไรเลย
เพราะคงเรียน ไม่รู้เรื่องเหมือนกัน
          - วิธีช่วยเหลือ คุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามกระตุ้นให้เด็กรู้สึกว่าการเรียนเป็นเรื่องสนุกโดย ใช้เทคนิคต่างๆเข้ามาช่วยเสริม เช่น การฝึกนับเลขโดยใช้ตุ๊กตาหรือหุ่นยนต์ตัวเล็กๆ การท่องศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้บทเพลง การเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้สิ่งแวดล้อม การทดลองด้วยตนเองหรือผ่านการดูสารคดี
          4. ปัญหาการขาดสมาธิ เด็กที่ขาดสมาธิหรือสมาธิสั้นจะขาดความอดทน อยู่ไม่สุข วอกแวกง่าย ไม่สามารถบังคับตัวเองให้จดจ่ออยู่กับ
การเรียนได้นาน ซึ่งปัญหาการขาดสมาธิในการเรียนจะส่งผลให้เด็กเป็นคนมีความจำที่ไม่ดี ไม่สามารถเรียนได้อย่างปะติดปะต่อ จึงมักเป็นเรื่อง
ยากมากที่เด็กขาดสมาธิจะเป็นเด็กที่เรียนเก่งได้
          - วิธีช่วยเหลือ อย่าให้ลูกอยู่ในสิ่งเร้ามากเกินไป เช่น ที่บ้านไม่ควรเปิดวิทยุโทรทัศน์เสียงดังตลอดวัน ควรให้ลูกได้มีเวลาอยู่กับความเงียบ
สงบบ้าง โดยอาจจัดมุมหนังสือนิทานในบ้านให้เขาได้ใช้เวลาที่จะอยู่ในมุมนั้นโดยเปิด เพลงจังหวะช้าๆเบาๆคลอไปด้วย ก็จะทำให้ลูกมีสมาธิดี

ข้อดีของการไม่เรียนหนังสือ

          ปัญหา “ลูกไม่อยากไปโรงเรียน” เป็น ปัญหาที่พ่อแม่แทบทุกคนต้องพบเจอกับช่วงแรกในวัยเรียนของลูก วิธีแก้ปัญหาในแต่ละชั้นตอน
ต้องทราบถึงสาเหตุเบื้องหลังที่ลูกไม่อยากไปโรงเรียน เราต้องสอนให้
1. สอนให้ลูกไม่กลัวการพลัดพรากจากพ่อแม่
          สาเหตุ แรกๆ ที่ทำให้เด็กไม่อยากไปโรงเรียนเพราะกลัวการพลัดพรากจากพ่อแม่ เวลาไปส่งเด็กเล็กในช่วงสองสามวันแรกที่โรงเรียน ให้
ระวังคำพูดที่ใช้ล่ำลากับลูก ควรใช้คำพูดที่หนักแน่นและมั่นคง เป็นการให้ความมั่นใจกับลูกว่าหลังจากเลิกเรียนแล้วพ่อและแม่จะกลับมารับ เช่น
“ขอให้สนุกที่โรงเรียนนะจ๊ะ แม่จะไปรับหนูเวลาสองโมงครึ่ง”
2. สอนให้ลูกรู้จักทักษะการเข้าสังคม
          เด็ก บางคนไม่ชอบโรงเรียนเพราะไม่มีเพื่อน จึงรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้างเวลาไปโรงเรียน ควรสอนให้ลูกรู้จักทักษะการเข้าสังคม เช่น การ
แนะนำตัวกับเพื่อนก่อน
3. ใส่ใจและให้ความช่วยเหลือแก่ลูกในการเรียน และการทำกิจกรรมของโรงเรียน
          เด็ก บางคนไม่ชอบไปโรงเรียนเพราะไม่สามารถทำกิจกรรมหรือเรียนหนังสือได้ทัน เพื่อนๆ หากลูกกลัวที่จะต้องทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น
ต้องพูดหน้าชั้น หรือกลัวสอบพ่อแม่อาจช่วยได้ด้วยการซักซ้อมที่บ้าน
4. สังเกตพฤติกรรมลูกอย่างใกล้ชิด หากสงสัยว่าลูกมีปัญหาในการเรียนรู้ควรพาไปหาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อช่วยวิเคราะห์
อาการ

          สาเหตุ หนึ่งของการที่ลูกไม่อยากไปโรงเรียนเนื่องจากเรียนไม่ทันเพื่อน ทำให้เกิดความท้อแท้ใจจนพาลไม่อยากไปโรงเรียน หากลูกมีปัญหา
เรียนไม่ทันเพื่อน หรือมีพัฒนาการไม่ตรงตามวัยซึ่งส่อว่าอาจมีปัญหาในเรื่องการเรียนรู้ ควรพาไปพบแพทย์โดยด่วน
5. หากลูกมีปัญหาถูกรังแก พ่อแม่ควรยื่นมือเข้าไปช่วยเหลืออย่างถูกวิธี
          บาง ครั้งการที่เด็กกลัวการไปโรงเรียนเป็นเพราะถูกคนอื่นรังแก ควรบอกลูกว่าหากถูกรังแกต้องบอกให้ครูทราบ และพยายามอยู่ห่างจากเด็ก
เกเร หรือหากพ่อแม่ต้องเข้าไปช่วยเหลือ ควรไปหาครูใหญ่ เพื่อชี้แจงถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น
6. โน้มน้าวความสนใจให้เด็กเห็นความสนุกสนานของการไปโรงเรียน
          เด็ก ทุกคนมีความอยากรู้อยากเห็น อยากเล่นสนุก หากครูรู้จะใช้วิธีการเบี่ยงเบนความสนใจ โน้มน้าวใจให้เด็กเห็นว่าอยู่โรงเรียนมีกิจกรรม
สนุกๆ ให้ทำมากมาย และอยู่ไม่นานผู้ปกครองก็จะมารับกลับ ตรงจุดนี้ผู้ปกครองและครูควรร่วมกันทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและไว้ใจว่า อยู่
โรงเรียนแล้วสนุก
7. พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ห่วงลูกมากเกินไป
          พ่อ แม่บางคนจะทำอะไรให้ลูกทุกอย่างเพราะกลัวลูกจะเป็นอะไรไป จนเด็กขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง เข้ากับใครไม่ค่อยได้นอกจากพ่อแม่
เพราะคนอื่นไม่อาจมาทำอะไรให้ได้อย่างพ่อแม่ โดยเฉพาะครูและเพื่อนๆ เลยรู้สึกขัดใจ ในกรณีเช่นนี้พ่อแม่ต้องมั่นใจว่าเด็กสามารถอยู่กับสิ่ง
แวดล้อมใหม่ๆ ได้

ข้อดีของการไม่เรียนหนังสือ

          แนวโน้มในอนาคตเด็กไทยคงมีการพัฒนาให้สนใจอยากเรียนมากขึ้นนะครับ คนเป็นครูอย่างผมก็คงมีงานมากขึ้นซึ่งก็ดีครับ เรียนในสิ่งที่
สนใจ ดีกว่าเรียนไปเรื่อย ๆ ครับ เพราะว่า ผลลัพธิ์ที่ได้ย่อมออกมาต่างกันครับ โดยอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกันในด้านการศึกษา
นะครับ


เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................

1. บทความของรศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์ เรื่อง 6 วิธีการกระตุ้นเด็กให้อยากเรียนหนังสือ 
ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2556 ใน

2. Website http://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=53&id=1846
โดย ดร.แพง ชินพงศ์ Life & Family / Manager online
3. Website https://sites.google.com/site/krurujirathongkam/tha-xyangri-meux-luk-mi-xyak-pi-rongreiyn
เรื่อง ทำอย่างไรเมื่อลูกไม่อยากไปโรงเรียน ของ โรงเรียนเทพเสด็จวิทยา