รพ. ธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ นอกเวลา

** เฉพาะคลินิกพิเศษบริการเฉพาะทาง (นอกเวลาราชการ) เท่านั้น

Posted by โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ on Wednesday, December 18, 2019

  บริการตรวจรักษาพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการ ด้านสุขภาพจิตและจิตเวช ที่ไม่มีภาวะวิกฤตฉุกเฉิน โดยทีมสหวิชาชีพ รวมทั้ง บริการทดสอบทางจิตวิทยา (ต้องทำการนัดหมายล่วงหน้าเนื่องจากใช้เวลาในการตรวจรักษา)โดยมีคลินิกเฉพาะโรคเป็นระบบต่าง ๆ ดังนี้

คลินิกพิเศษเฉพาะทาง (นอกเวลาราชการ)

วันจันทร์-ศุกร์ (เฉพาะวันราชการ)

เวลาเปิด-ปิด รับเบอร์คิว 15.00 - 18.00 น.

** ขอปิดรับก่อนเวลา ถ้าคิวเต็ม ** ( เริ่มเรียกคิว เวลา 15.00 น. )

เวลาเปิด-ปิด รับเบอร์คิว เวลา 07.00 - 11.00 น.

** ขอปิดรับก่อนเวลา ถ้าคิวเต็ม ** ( เริ่มเรียกคิว เวลา 07.00 น. )

►สถานที่รับบริการ    อาคาร ม.ร.ว.สุวพรรณ สนิทวงศ์ และ อาคารดุลโสภาคย์

**นัดล่วงหน้า ** นัดหมายล่วงหน้า (เฉพาะผู้ที่มีเลขประจำตัวผู้ป่วย (HN) ของโรงพยาบาล) **

- โทร. 02 926 9860 เวลา 08.00 - 16.00 น. ไม่ปิดพักเที่ยง (เฉพาะวันราชการ)

- กดแถบริชเมนู Line @ Thammasat_Hospital “นัดหมายคลินิกพิเศษเฉพาะทาง (นอกเวลาราชการ)”

- ยกเว้นคลินิกพิเศษทันตกรรม โทรศัพท์นัดหมายโดยตรงกับทางคลินิกเท่านั้น โทร. 02 926 9371

   • กรอกข้อมูลผู้ป่วยใหม่ ณ เคาน์เตอร์สีฟ้า (ตรงข้ามงานประกันสุขภาพ)หรือลงทะเบียนผู้ป่วยใหม่ออนไลน์

► ผู้ป่วยเก่า /ผู้ป่วยมาไม่ตรงวันนัด

   • แสดงบัตรประจำตัวประชาชน

   • นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงบัตรนักศึกษา

   • เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ , เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงบัตรเจ้าหน้าที่

เหรียญทรงผนวช ร.10 ปี2521 รุ่นแรก เนื้อทองแดง (สภาพสวย)

    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงมีพระราชศรัทธาออกนวชในพระพุทธศาสนา    โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ได้ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้จัดการพระราชพิธีทรงผนวชสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ณ พัทธสีมาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถร) เป็นพระราชอุปัธยาจารย์
       ได้รับถวายพระสมณนามว่า "วชิราลงฺกรโณ" และเมื่อทรงผนวชแล้ว ได้ประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา 15 วัน ตลอดจนทรงลาสิกขาในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521  

      เหรียญรัชกาลที่ 10 ทรงผนวช  และเหรียญพระอาจารย์ท่านอื่น ๆ จัดสร้างในปีที่ทรงเสด็จออกผนวช วันที่ 6 เดือน 11 พ.ศ.2521 ประกอบด้วย 

1 เหรียญบาตรนํ้ามนต์ ในหลวงรัชกาลที่ 10 ขนาด7ซ.ม. เนื้อโลหะผสม  จำนวนไม่มาก

2 เหรียญบาตรนํ้ามนต์ หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่แหวน หลวงปู่ขาว ขนาด7ซ.ม. เนื้อโลหะผสม จำนวนไม่มาก

3 เหรียญเนื้อทองคำ เงิน ทองแดง (แกะเลข) เป็นชุดจำนวน 109 ชุด เงินเดี่ยวแกะเลขจำนวน 999 เหรียญ

4.ทองแดงกะไหล่ทองจำนวนเล็กน้อย 

5 ทองแดงรมนํ้าตาลจำนวน 84,000 เหรียญ

             พ.ศ. 2521 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ (ในหลวงรัชกาลที่ 10) มีพระราชศรัทธาออกบวชในพระพุทธศาสนา โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชโปรดให้จัดการพระราชพิธีผนวช ณ พัทธสีมาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) ถวายอนุสาสน์ได้รับถวายพระสมณนามว่า "วชิราลงฺกรโณ" และได้ประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตลอดสจนทรงลาสิกขาในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521

         เหรียญที่ระลึกสมเด็จพระบรมฯ ทรงผนวช ปี 2521 มหาวชิราลงกรณ์ราชวิทยาลัย จัดสร้างโดยวัดบวรนิเวศวิหาร วัตถุมงคลชุดนี้อธิฐานจิตปลุกเสกโดย

1 หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล

2หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง แล้วยังได้นำเข้าร่วมในพิธีพุทธาภิเษกอีก หลายวาระ เกจิคณาจารย์อธิฐานจิตทั้งกลางวันและกลางคืน พร้อมกับวัตถุมงคลอื่นๆ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินเททองชนวน แผ่นจารอักขระ ณ.ดอยแม่ปั๋ง เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2527 วัตถุมงคลชุดนี้พิธีพุทธาพิเษกเยี่ยมสุดๆ เพราะนิมนต์พระเถระ เกจิอาจารย์ ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น มาประกอบพิธีครับ พุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 6-7-8-9 เมษายน 2527 โดยโยงสายสิญจน์จน์มาจากวัดพระแก้ว

จุดไฟพระฤกษ์    โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว        ดับเทียนชัย   โดยสมเด็จพระญาณสังวร  

พระเถระร่วมอธิฐานจิต 108 รูป    เรียกว่าแทบจะทั่วประเทศไทยเลยทีเดียว   อาทิเช่น

สมเด็จญาณสังวร  (สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)   ,  ลพ.เก๋ วัดแม่น้ำ  , ลพ.ประสิทธิ์ วัดไทรน้อย  ,  ลพ.เริ่ง วัดจุกเฌอ  ,  ลพ.คอน วัดชัยพฤกมาลา  ,  ลพ.แพ วัดพิกุลทอง  ,  ลพ.คร่ำ วัดวังหว้า  ,  ลพ.เส็ง วัดบางนา  ,  ลพ.จ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์    เป็นต้น

ร่วมด้วยพระอริยะสงฆ์สายวิปัสสนา เช่น 

ลป.แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง , ลพ.พุธ วัดป่าสาลวัน , ลพ.ศรี วัดป่ากุง , ลพ.สมชาย วัดเขาสุกิม  ,ลพ.เมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ฯ , ลพ.เขี่ยม วัดถ้ำขาม , ลพ.ไพบูลย์ วัดดอยบุรษราคัม , ลพ.สิม วัดถ้ำผาปล่อง , ลพ.หลวง วัดป่าสำราญนิวาส    เป็นต้น                

      ก่อนสร้างวัตถุมงคลชุดนี้คณะกรรมการได้นำแผ่นทอง เงิน ทองแดง ไปให้เกจิอาจารย์ทั่วประเทศลงอักขระ ถึง 1,121 องค์ นับว่าเป็นการลงแผ่นทองมากที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้ เรียกว่าเกือบจะทุกองค์ที่มีชื่อเสียงในตอนนั้น แทบจะทุกองค์เลย เช่น ลป.แหวน, ลป.สิม, ลป.ดุลย์ , ลป.สาม , ลต.พวง, ลพ.พุธ, ลพ.แพ, ลพ.เกษม, ลพ.คำแสน , ลพ.หลุย .ลป.ชอบ, ลพ.คูณ, ครูบาพรหมจักร ฯลฯ ทั้งหมด 1,121 องค์ จนได้รับการขนานนามว่า พระกริ่งยอดแห่งฟ้า ครับน่า ใช้ น่าสะสมเป็นที่สุด เป็นสิริมงคลแก่ผู้ครอบครองเป็นยิ่งนัก แม้ว่าคุณค่าราคาค่านิยมอาจจะไม่แพงหลักหมื่นหลักแสน แต่คุณค่าความศักดิ์สิทธิ์ ไม่เป็นรองวัตถุมงคลรุ่นใดๆทั้งสิ้น แนวโน้มในอนาคตนี้ ต้องแพงแน่นอน เป็นพระกริ่งที่น่าจับตามากๆ ปัจจุบันเริ่มเป็นที่เสาะหากันมาก เนื่องด้วยมีการนำประวัติพิธีการสร้างมาเผยแพร่ให้รับรู้เป็นที่กว้างขวาง ทำให้พระกริ่งรุ่นนี้เริ่มหมดจากท้องตลาดไปเรื่อยๆ


พระกริ่งคุ้มเกล้าทองคำหรือพระกริ่งศิรากาศ ภปร.สร้างเมื่อปี2522 หนัก 30 กรัม โดยกองทัพอากาศจัดสร้าง

วัตถุประสงต์+เจตนา(ดีมากครับ)  เพื่อนำรายได้ไปก่อสร้างอาคารคุ้มเกล้าตึกผู้ป่วย และจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ

พระกริ่งรุ่นนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานเททอง ณ วัดดอยแม่ปั่ง เชียงใหม่

และมาจัดพิธีพุทธาภิเษกอีก ครั้งที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 12 ส.ค.2526  สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเป็นองค์ประธานพร้อมด้วยสมเด็จพระราชาคณะและพระเถระผู้ใหญ่ รวม 60 รูป ณ อุโบสถวัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม ทำพิธีลงอักขระ แผ่นทอง นาก เงิน เป็นปฐมฤกษ์ จากนั้นได้นำไปให้พระเถราจารย์ผู้ทรงคุณทั่วประเทศจารึกอักขระจนครบ 1,250 รูป ยกตัวอย่างพระเถระผู้ทรงคุณอาทิเช่น

1.หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ ลงอักขระเมื่อวันที่ 16 ก.ย.2526

2.หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ ลงอักขระแผ่นทอง นาก เงิน เมื่อ 19 ส.ค.2526

3.หลวงปู่พรหมจักร์ วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน ลงอักขระเมื่อ 21 ส.ค. 2526

4.หลวงพ่ออุตมะ วัดวังกวิเวการาม กาญจนบุรี ลงอักขระเมื่อ 5 ต.ค. 2526

5.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี ลงอักขระวันที่ 3 ต.ค.2526   เป็นต้น

              พิธีชัยมังคลาภิเษกยิ่งใหญ่ พร้อมกัน 4 ภาค 5 ธันวาคม 2526 พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี นาถพร้อมด้วยพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทำพิธีเททองหล่อพระพุทธรูป และ ทำพิธีหลอมแผ่นทอง นาค เงิน ที่ได้ลงอักขระเพื่อเป็นชนวนสร้างพระกริ่ง "คุ้มเกล้า" ณ วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ ในวันที่ 16 มกราคม 2527 โดยมีพระสังฆราช และ พระเถระผู้ใหญ่ 9 รูป เจริญชัยมงคลคาถา พิธีพุทธาภิเษกยิ่งใหญ่ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง 6-7-8-9 เม.ย. 2527 รวม 4 คืนโดยนิมนต์พระเถรานุเถระ 108 รูป ร่วมพิธี โดยโยงสายสิญจน์มาจากวัดพระแก้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จุดไฟพระฤกษ์ องค์นี้เป็นพระกริ่ง ศิรากาศ พระมีขนาด 1.9 X 3.45 c.m. ด้านหน้าพระพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. และสัญลักษณ์ ของหน่วยแพทย์ทหารพระกริ่งคุ้มเกล้าทองคำสภาพสวยมากน้ำหนัก 30 กรัม


พิธีพุทธาภิเษก ทรง จุดไฟพระฤกษ์ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จากนั้นสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกได้เสด็จมาจุดเทียนจากไฟพระฤกษ์ (เป็นการเริ่มต้น) พิธีพุทธาภิเษกทั้งนี้ได้โยงสายสิญจน์ จากอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และได้ทำการนิมนต์พระเถราจารย์ 108 รูป จากทั่วประเทศ ผลัดเปลี่ยนนั่งปรกอธิษฐานจิตตลอดรวม 4 วัน 4 คืน

วัตถมงคลคุ้มเกล้าพระเถราจารย์๑๐๘รูป นั้งปรกปลุกเสก ยิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ ณ พิธีท้องสนามหลวงโดยโยงสายสิญจน์จากพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามมายัง ปะรำพิธีในคืนวันที่ 6-7-8-9เมษายน 2527 รวม4คืนโดยนิมนต์พระเถรานุเถระผู้ทรงคุณทั่วประเทศ108รูป ร่วมทำพิธีในวันแรกของพิธี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดไฟพระฤกษ์ ณ พรอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มอบให้พลอากาศเอก ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ อัญเชิญเข้าขบวนแห่มายังปะรำพิธีจากนั้นเวลา19.19 น.สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกได้เสด็จ มาจุดเทียนชัยจากไฟพระฤกษ์ เริ่มพิธีพุทธาภิเษกจนถึงรุ่งอรุณขิงวันที่10 เมษายน 2527 จึงได้เชิญสมเด็จพระญาณสังวรดับเทียนชัยเป็นอันเสร็จพิธีพุทธาภิเษกนับเป็น พิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ ....

....รายนามคณาจารย์ที่ลงแผ่นทอง....

1...สมเด็จพระอริยวงศา คตญาณสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกทรงลงอักขระแผ่นทองนากเงิน ณอุโบสถวัดราชบพิธรสถิตมหาสีมาราม 12สิงหาคม 2526

2...พระราชวุฒาจารย์(หลวงปู่ดูลย์)วัดบูรพาราม จ.สุริสทร์ ลงอักขระวันที่ 16 กันยายน 2526

3..พระคุณเจ้าหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ลงอักขระแผ่นทอง นาก เงิน ณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ 19 สิงหาคม 2526

4..พระสุพรหมยานเถร (หลวงปู่พรหมจักร)วักพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน ลงอักขระ 21 สิงหาคม 2526

5..พระอุดมสังวรเถร(หลวงพ่ออุตตมะ)วัดวังวิเวการาม จ.กาญจนบุรี ลงอักขระ 5 ตุลาคม 2526

6..พระสุนทรธรรมภาณี(หลวงพ่อแพ)วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี ลงอักขระวันที่ 3 ตุลาคม 2526

7..พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ (หลวงปู่เทสก์) วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ลงอักขระ 5 สิงหาคม 2526

8..หลวงพ่อเกษม เขมโก วัดป่าช้าไตรรัตนาราม อ.เมือง จ.ลำปาง ลงอักขระ 22สิงหาคม 2526

9..พระครูสุวรรณประดิษฐการ(หลวงพ่อจ้อย)วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ อ.ดอนสัก จ.สุราษฏร์ธานี ลงอักขระ 11 ตุลาคม 2526

10..สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.   

พระคุ้มเกล้า พระสายกรรมฐานเสกและเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ108รูปนั่งปรกปลุกเสกยิ่งใหญ่เป็น ประวัติการณ์ ณ มณฑลพิธี ท้องสนามหลวงในหลวงทรงเสด็จจุดไฟพระฤกษ์สมเด็จพระญาณสังวรดับเทียนชัยครับ