วิทยาลัยแพทยศาสตร์ นานาชาติ จุฬา ภร ณ์ ค่าเทอม

หลังจากสถาบันการศึกษาชั้นนำต่างๆของไทย เปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติมากขึ้นเรื่อยๆ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็เช่นเดียวกัน ที่เปิดสอนหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติตั้งแต่ 7 ปีก่อน โดยเป็นแห่งแรกของไทยที่เปิดสอนหลักสูตรนี้ และใช้ชื่อว่า คณะแพทยศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ 

HELLO! Education ได้มีโอกาสพูดคุยกับผศ.นพ.เทพ เศรษฐบุตร รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์​ “เราเปิดสอนหลักสูตรแพทยศาสตร์ ซึ่งเป็นหลักสูตรไทยที่ได้รับการรับรองจากแพทยสภา แต่สอนเป็นภาษาอังกฤษ มานาน 7 ปีแล้วครับ”

วิทยาลัยแพทยศาสตร์ นานาชาติ จุฬา ภร ณ์ ค่าเทอม
การเรียนการสอนที่มีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัย

สำหรับวัตถุประสงค์ของมธ.ในการเปิดหลักสูตรนี้เมื่อ 7 ปีที่แล้ว ก็เพื่อรองรับเด็กไทยที่เรียนโรงเรียนนานาชาติ ซึ่งถนัดภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาไทย 

“จำนวน 70% ของนักศึกษาเราเป็นเด็กที่จบโรงเรียนนานาชาติในไทยหรือจากต่างประเทศ หรือบางคนอาจไปโตที่อเมริกาแล้วย้ายมาเรียนแพทย์ที่เมืองไทย ทำให้ไม่ค่อยถนัดภาษาไทยมากเท่าไร เป็นการเปิดโอกาสให้เขา”

และจากการเรียนระบบนานาชาติมาตั้งแต่เด็ก เมื่อมาเป็นนักเรียนแพทย์ ภาคภาษาอังกฤษที่มธ. จึงมีความกล้าในการพูด การแสดงออก การคิดวิเคราะห์และการตั้งคำถามอยู่แล้ว 

“สิ่งที่ผมคิดว่าสำคัญอีกอย่างก็คือ ไม่ว่าจะเรียนภาคภาษาไทย หริอภาษาอังกฤษ ต้องใช้ตำราแพทย์ที่เป็นภาษาอังกฤษล้วนเหมือนกันทั้งหมด เวลาสอบใบประกอบโรคศิลป์ของแพทยสภาก็เป็นภาษาอังกฤษด้วยเช่นกัน เวลาทำข้อสอบ MCQ ก็เป็นภาษาอังกฤษ ยกเว้นการทำ OSCE หรือการประเมินทักษะทางคลินิกต้องเป็นภาษาไทย ทำให้นักเรียนแพทย์ที่จบหลักสูตรนี้มีความถนัดภาษาอังกฤษมากกว่านักเรียนแพทย์หลักสูตรไทย 

วิทยาลัยแพทยศาสตร์ นานาชาติ จุฬา ภร ณ์ ค่าเทอม
นักเรียนแพทย์จะได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ

“นอกจากนี้ในการนำเสนองานวิจัยทางการแพทย์​ นักเรียนของเราจะสามารถเขียนผลงานเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ของต่างประเทศ เป็นภาษาอังกฤษได้ถนัดกว่า หรือเวลาไปประชุมแพทย์ที่ต่างประเทศ เขาจะสามารถพรีเซนท์ผลงานเป็นภาษาอังกฤษได้ง่ายอยู่แล้ว”

CICM X สถาบันต่างชาติ

หลักสูตรแพทยศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษของ CICM เป็นหลักสูตร 6 ปี 3 ปีแรกเป็น Pre-Clinical ซึ่งเรียนในห้องเรียน เมื่อถึงปี 3 จึงสามารถเลือกไปเรียนที่ University of British Columbia ในแคนาดาราว 4-6 สัปดาห์ 

สำหรับปี 4-5 นั้นเป็นการขึ้นวอร์ด ส่วนในปี 6 นักเรียนสามารถเลือกเรียนที่ UCLA หรือ University of Illinois at Chicago ที่สหรัฐอเมริกา เป็นเวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์         

“เรายังได้เชิญอาจารย์แพทย์จากต่างประเทศมาบรรยายให้นักเรียนเราฟังบ่อยๆ แต่เนื่องจากวิกฤติโควิดทำให้การเดินทางมาไทยต้องลดน้อยลง” 

วิทยาลัยแพทยศาสตร์ นานาชาติ จุฬา ภร ณ์ ค่าเทอม
การสร้างงานวิจัยใหม่ๆก็เป็นเป้าหมายหนึ่งในการเรียนแพทย์

ใช้คะแนนสอบ BMAT 

“เราเป็นสถาบันแรกๆที่ใช้คะแนน BMAT” ผศ.นพ.เทพบอกกับเรา BMAT (BioMedical Admission Test) คือการทดสอบความรู้พื้นฐานของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ นอกจากนี้ในการสมัครยังใช้คะแนน IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.5 หรือคะแนน TOEFL (internet-based) ไม่ต่ำกว่า 79 หรือคะแนน TU-GET (paper-based) ไม่ต่ำกว่า 550 (computer-based) ไม่ต่ำกว่า 79 ซึ่งสอบไม่เกิน 2 ปี

ผู้ที่ผ่านการทดสอบความรู้ ยังจะต้องผ่านการทำ Mini Mental Exam เพื่อดูว่านักเรียนมีวิธีคิดแบบใด ก่อนจะถึงด่านสัมภาษณ์เพื่อดูทัศนคติเป็นภาษาอังกฤษเป็นด่านสุดท้าย 

แต่ละปีทาง CICM รับนักเรียนแพทย์เพียง 30 คน โดยในปีการศึกษาที่จะถึงนี้จะเปิดรับใบสมัครทางออนไลน์เพียงอย่างเดียว ยกเว้นการสัมภาษณ์ที่นักเรียนที่ผ่านด่านวิชาการแล้วจะต้องเดินทางมาสอบสัมภาษณ์ด้วยตนเอง ( คณะแพทยศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ )

จากกระแสดราม่านักเรียนสอบติดคณะแพทยศาสตร์ เปิดขอรับบริจาคเพื่อนำไปเป็นทุนการศึกษา และปิดยอดรับบริจาคไว้ที่ 2,700,000 บาท เนื่องจากประเมินแล้วว่า เงินจำนวนดังกล่าวจะเพียงพอต่อการศึกษาตลอดหลักสูตรได้

  • ราคาน้ำมันวันนี้ (11 ธ.ค. 65) เช็กราคาดีเซล-แก๊สโซฮอล์ล่าสุด
  • การบินไทยจ้างเพิ่ม 1,600 คน แก้ปมบริการรับเที่ยวบินโต
  • งานกาชาด 2565 ที่สวนลุมพินี เริ่มแล้ว เดินทางอย่างไร จอดรถที่ไหน
  • จนทิพย์ ดราม่าสะท้อนค่านิยม สังคมไทยยกย่องแต่อาชีพหมอ?

“ประชาชาติธุรกิจ” สรุปข้อมูลค่าใช้จ่าย (อ้างอิงข้อมูลจาก Triam-ent.com เว็บไซต์ทางด้านความรู้ และการศึกษา เมื่อปี 2563) ของคณะแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัย 22 แห่ง ในประเทศไทย ดังนี้

CICM วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ เป็นวิทยาลัยหนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบไปด้วยหลายคณะ ซึ่งมีทั้ง แพทย์, ทันตะ, แผนจีน, ทรวงอก แต่ทั้งหมดจะเรียนเป็นภาษาอังกฤษ


พูดถึงเฉพาะแพทย์ศาสตร์นานาชาติละกัน เท่าที่ทราบ (ลูกเรียนอยู่) จะเรียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด การเรียนจะแยกจากแพทย์ (ภาคไทย) แทบจะไม่เกี่ยวกันเลย


นักศึกษามี 30 คน (เกือบทั้งหมดมาจากโรงเรียนอินเตอร์ เวลาเรียนจะพูดภาษาอังกฤษ เวลานอกเวลาเรียนก็มักจะพูดภาษาอังกฤษปนไทย) แต่ทุกคนพูด+อ่าน+เขียน ภาษาอังกฤษได้แทบจะเป็นเจ้าของภาษาเลย (สำเนียงดีมาก)


เวลาอ่านหนังสือสอบ ก็ภาษาอังกฤษล้วน ๆ เวลาสอบก็ภาษาอังกฤษ เรียกว่าถ้าคนจะมาเรียนไม่ชำนาญภาษาอังกฤษ คงลำบากเหมือนกัน


การเรียนก็จะต่างจากแพทย์ทั่วไป เพราะในห้องเรียนจะเป็นสไตล์อินเตอร์ มีการ discussion และค้นหาปัญหามากกว่าการท่องจำ


ค่าเทอมก็แพงน่าดู ปีละ 475,000*2 เทอม = 950,000 บาท

6 ปีก็ 5,700,000 บาท (พอจบแล้วก็ต้องไปใช้ทุน 3 ปี เหมือนแพทย์อื่น ๆ ด้วยนะ)


ถามว่าคุ้มไหม ขึ้นอยู่กับฐานะทางบ้าน ถ้าเงินเกือบ 6 ล้าน ไม่ใช่ปัญหาก็ต้องบอกว่าคุ้มมาก ยังไงอนาคตของการศึกษาไทย ก็ต้องมาทางอินเตอร์ทั้งนั้น (แพทย์เป็นคณะสุดท้ายเลยที่มีภาคอินเตอร์)


ถามว่าจบออกมาแล้วเป็นอย่างไร ยังตอบไม่ได้ เพราะเพิ่งเปิดมา 5 ปี ฉะนั้นนักศึกษาชั้นสูงสุดก็จะอยู่แค่ปี 5 (ยังไม่มีแพทย์จริง ๆ ออกมาทำงาน)